ศูนย์เกิด แผ่นดินไหว และ จุดเหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว แตก ต่าง กัน อย่างไร

ด้วยความที่ช่างเจริญพันธุ์ของคลื่นไหวสะเทือนนี้ ทำให้แม้เกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว จะมี ลูกๆ หลานๆ คลื่น 4 ชุด วิ่งตามกันมา จวบจนเมื่อครอบครัวคลื่นวิ่งมาชนเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เราวางดักไว้ คลื่นไหวสะเทือนจะถูกลอกลายลงบนกราฟบันทึกแผ่นดินไหวให้เราเห็นอย่างในรูปล่าง

ลำดับเวลาการเดินทางไปถึงที่ต่างๆ ของคลื่นไหวสะเทือนหรือคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละชนิด

ด้วยความที่เกิดก่อน คลื่นรุ่นลูกอย่างพี่ปฐมจะวิ่งเข้าเส้นชัยถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นคลื่นแรก จากนั้นก็ตามมาด้วยน้องทุตยที่วิ่งช้ากว่า ส่วนคลื่นเลิฟจริงๆ ก็มีฝีเท้าพอๆ กับพี่ปฐม แต่เพราะเกิดมาทีหลังเป็นรุ่นหลาน เลยต้องวิ่งกวดตามมาทีหลังเป็นอันดับ 3 ปิดท้ายด้วยคลื่นเรลีย์ ที่วิ่งช้ากว่าน้องทุติยนิดหน่อย (0.9 เท่า) เลยคว้าที่โหล่ รับตำแหน่งเป็นตัวปิดขบวนคลื่น…ตามระเบียบ

หรือถ้าลองจับคลื่นทั้ง 4 มาเรียงแถวหน้ากระดานตามลำดับไหล่ จะพบว่า คลื่นรุ่นลูกนั้นเตี้ยแคระ พี่ปฐมจะเล็กที่สุดตามด้วยน้องทุตย ส่วนคลื่นรุ่นหลานก็ไม่รู้ว่าพันธ์เดิมมันดีหรือโด๊ปอาหารเสริม ทั้งสองตัวถึงสูงใหญ่อย่างเห็นได้ชัด

จากกฎเหล็กที่พี่ต้องวิ่งนำน้อง ทำให้ตลอดชีวิตของน้องทุติยจึงเหมือนถูกสาปให้ต้องตามตูดพี่ปฐมอยู่ร่ำไป และยิ่งต้องเดินทางไกลมากขึ้นเท่าใด พี่ปฐมก็ยิ่งไร้เยื่อใย ทิ้งน้องทุติยห่างไปทุกทีๆ

คลื่นไหวสะเทือนที่วัดได้จากแผ่นดินไหวเพียง 1 เหตุการณ์ (บน) กรณีที่สถานีตรวจวัดอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (ล่าง) กรณีที่สถานีตรวจวัดอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว

ซึ่งจากอาการวิ่งไม่รอกันของคลื่นสองพี่น้องนี้ นักแผ่นดินไหวจึงได้โอกาส หยิบมาใช้ประโยชน์ในการสะกดรอยคลื่น สืบดูว่ามันมาจากไหน โดยใช้สมการการเคลื่อนที่แบบง่ายๆ อย่างที่เห็นในสมการ 1

สมการ 1

สมมุติให้ V คือ ความเร็วคลื่น ส่วน S คือระยะทางที่คลื่นวิ่งได้ และ T คือเวลาที่คลื่นใช้ในการเดินทาง ดังนั้นความแตกต่างของเวลาที่มาถึงสถานีตรวจวัดระหว่างพี่ปฐมและน้องทุติยจึงเขียนได้คล้ายๆ กับสมการ 2

สมการ 2

จากสมการ 2 เราก็รู้อยู่แล้วว่าทั้งสองพี่น้องนั้นวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ (Vp และ Vs) ส่วนเวลาที่ต่างกันในการมาถึงสถานี (Tp-Ts) ก็วัดกันตรงๆ จากกราฟแผ่นดินไหวใน ซึ่งถ้าลองคำนวณกลับไปกลับมา อาศัยกระดาษทดซักหน้าสองหน้า เราก็น่าจะประเมินค่า S ได้ไม่ยาก

โดยความหมาย ถ้าเราเก็บค่า S เอาไว้ดูคนเดียว เราก็คงรู้แค่ว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมันน่าจะอยู่ตรงไหนซักที่ ที่ห่างจากสถานีตรวจวัดของเราด้วยระยะทาง S กิโลเมตร แต่ถ้าบังเอิญเพื่อนเราวัดคลื่นได้ด้วย ต่างคนต่างคิด แล้วมานั่งทายกันเรื่องค่า S เอาซัก 3 ค่าขึ้นไป ก็จะมีเพียงจุดเล็กๆ จุดเดียวเท่านั้น ที่ทุกคนเฉลยค่า S ออกมาแล้วไม่มีใครผิด ซึ่งจุดนั้นคือ ตำแหน่งที่มาของแผ่นดินไหว

หลักการประเมินจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (ซ้าย) เมื่อต้องนั่งคุยกันเรื่องศูนย์กลางแผ่นดินไหวกันอย่างน้อย 3 คน (ขวา) การเรียกชื่อตำแหน่งแผ่นดินไหว

ตำแหน่งต้นเหตุของแผ่นดินไหว ในทางวิชาการเรียกว่า จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (hypocenter หรือ focus) โดยแสดงรายละเอียดของตำแหน่งแผ่นดินไหวทั้ง 1) ละติจูด 2) ลองจิจูด และ 3) ความลึก ของแผ่นดินไหวแผ่นดินไหว นอกจากนี้ในกรณีของการนำเสนอข้อมูลตำแหน่งแผ่นดินไหวบนแผนที่ ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ โดยไม่พิจารณาค่าความลึก นักวิทยาศาสตร์เรียกการบอกตำแหน่งแผ่นดินไหวในรูปแบบนี้ว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter)

สรุปง่ายๆ ปิดท้าย คือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา 1 เหตุการณ์ ถ้าเราสามารถตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนได้อย่างน้อย 3 สถานีขึ้นไป เราก็สามารถหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ โดยใช้ สมการ v = s/t ที่เราเรียนกันตอนมัธยม เห็นไหมครับ การชี้เป้าแผ่นดินไหว ง่ายนิดเดียว

คำถามท้ายบท ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

ส.ค. 19

Posted by apt95

1. อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ “ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” กับ “จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว”
ตอบ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือตำแหน่งที่เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินที่ให้เกิดการสั่นไหว แต่ จุดเหนือศูนย์แผนดินไหว คือตำแหน่งที่อยู่เหนือตำแหน่งของตำแหน่งที่เกิดการเคลื่อนตัว ของแผ่นดินที่ให้เกิดการสั่นไหวขึ้นมาบนพื้นดิน

2. แนวที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของผิวโลก ในประเทศไทยมีแยวเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดหรือไม่
ตอบ แนวภูเขาไฟและแผ่นดินไหวนั้นจะอยู่บริเวณรอยเลื่อนต่างๆของเปลือกโลก ซึ่งประเทศไทยนั้นมีแนวรอยเลื่อนขนาดเล็กอยู่ตามแนวชายแดนภาคตะวันตก แต่ภูเขาไฟในประเทศไทยไนั้นเป็นภูเขาไฟ ที่ไม่มีพลังแล้วทั้งสิ้น

3. แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแยก รอยแตกของหินใต้พื้นผิวโลกเมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด
ตอบ หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt) หินทัฟฟ์ (tuff), หินแอกโกเมอเรต(agglomerate), หินพัมมิซ (Pumice), หินสคอเรีย (Scoria), หินออบซีเดียน (Obsedian) เป็นต้น

4. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
ตอบ สาเหตุเกิดจากการเลื่อนของแผ่นธรณีทำให้เกิดความเครียดสะสมและปลดปล่อยออกมาเป็น คลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทติยภุมิ

5. นักเรียนคิดอย่างไรจากคำกล่าวที่ว่า “ภูเขาไฟเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในโลก”
ตอบ เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เรา สามารถนำวัตถุที่ภูเขาไฟพ่นออกมาเพื่อศึกษา และองค์ประกอบ ของหินเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภายในโลก

6. บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
ตอบ ประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด
1) ทำให้เกิดแผ่นดินใหม่
2) แร่ธาตุมหาศาลทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์บนพื้นดิน
3) ทำให้สามารถศึกษาองค์ประกอบของโลกจากการศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่ภูเขาไฟ
พ่นออกมา
4) ทำให้เกิดอัญมณีมีค่าทางเศรษฐกิจ
5) เป็นแหล่องท่องเที่ยวเชิงวิทยาศาสตร์
โทษของภูเขาไฟ
1) สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อชีวิตและทรัพย์ต่อพื้นที่

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

About apt95

I love a blog.I want to have ablog

View all posts by apt95 »

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวแตกต่างอย่างไร

: ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เป็นจุดเริ่มต้นใต้พื้นดินของการกระจายคลื่นแผ่นดินไหวออกไปทุกทิศทางในรูปทรงกลม และส่งคลื่นผ่านตัวกลาง(ชั้นหิน/ดิน) มาถึงผิวดิน จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เป็นตำแหน่ง ณ ผิวดินเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งผ่านคลื่นแผ่นดินไหวออกไปจากจุดนี้เช่นกัน

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter) คือจุดข้อใด

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (อังกฤษ: epicenter, epicentre จาก ละติน: epicentrum หรือ กรีกโบราณ: ἐπίκεντρος) คือจุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หรือจุดโฟกัส (ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางที่เกิดการถ่ายเทพลังงานเมื่อเกิดแผ่นดินไหว)

จุดโฟกัสและจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว คืออะไร

จุดเกิดแผ่นดินไหว (อังกฤษ: focus) หมายถึงตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวและเป็นศูนย์กลางที่เกิดการปลดปล่อยความเครียดและพลังงานซึ่งถูกกักเก็บไว้ในชั้นหิน จุดนี้เป็นจุดเดียวกับที่รอยเลื่อนเริ่มต้นการเคลื่อน

ตำแหน่งบนผิวโลกที่ตรงกับศูนย์เกิดแผ่นดินไหวใต้ผิวโลกเรียกว่าอะไร

คลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์ (epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมี 2 ประเภท คือ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง