อุตสาหกรรมดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“สถาบันไอเอ็มซี” สำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัลประเทศไทยให้กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า (depa) เริ่มจากการสำรวจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และขยายมาเป็นอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

“สถาบันไอเอ็มซี” สำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัลประเทศไทยให้กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า (depa) ต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี เริ่มจากการสำรวจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และขยายมาเป็นอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้งสั่งซื้อสินค้า ดูหนังฟังเพลง และส่งอาหาร

วิธีสำรวจข้อมูลอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทีมผู้สำรวจค้นหาข้อมูลรายได้บริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียนในหมวดธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรมดิจิทัล รวมถึงนำตัวเลขนำเข้าสินค้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาคำนวณมูลค่าอุตสาหกรรม รวมถึงสำรวจข้อมูลจำนวนจ้างงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมบริษัทต่างๆ เพื่อประมาณการจำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรม

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมทั้งสามที่ทีมไอเอ็มซีได้สำรวจแล้ว ดีป้ายังให้หน่วยงานอื่นสำรวจมูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ได้สำรวจมูลค่าอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งหากนำมูลค่าอุตสาหกรรมทั้ง 5 ด้านมารวมกัน จะพบว่า ช่วงปี 2564 อุตสาหกรรมดิจิทัลบ้านเรามีมูลค่าสูงถึง 1.58 ล้านล้านบาท ขยายตัว 14.33% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สะท้อนอัตราการเติบโตมาก และอาจสวนทางกับหลายๆ อุตสาหกรรมที่ชะลอตัวในช่วงสองปีที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์โควิด

ตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมทำให้เห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการใช้ดิจิทัลกันอย่างมากและอุตสาหกรรมโตขึ้นทุกภาคส่วน ทั้งการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ โทรคมนาคม อุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงสุดคือ บริการดิจิทัล เติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 37.76% มีมูลค่า 346,693 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่โตขึ้น 20.14% มีมูลค่า 386,892 ล้านบาท อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เติบโตขึ้น 13.04% มีมูลค่า 163,877 ล้านบาท และอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนต์ เติบโตขึ้นน้อยที่สุดที่ 7% มีมูลค่า 42,065 ล้านบาท

นอกจากนี้ เราพบว่า สังคมไทยกำลังเข้าสู่บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้คนใช้งานแพลตฟอร์มค้าปลีกออนไลน์ (e-Retail) รับชมสื่อออนไลน์ และใช้บริการขนส่ง (e-Logistics) มากขึ้น ซึ่งตลาดที่เติบโตชัดเจนคือ e-Logistics เช่น บริการสั่งอาหาร ถือเป็นตลาดที่มีการขยายตัวมากกว่า 57% เช่นเดียวกับ e-Retail ที่เติบโต 44%

ตลาดฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ พบว่า นำเข้าคอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเพิ่มจาก 3.94 ล้านเครื่องในปี 2563 เป็น 5.89 ล้านเครื่องปี 2564 แม้แต่อุปกรณ์อย่างพรินเตอร์ที่เคยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนลดลง แต่ก็พบว่าปีที่แล้วมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าสู่สังคมดิจิทัลของไทย รวมถึงการล็อกดาวน์ และการทำงานจากระยะไกล (Work from Home)

ส่วนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ มูลค่า 66,093 ล้านบาท โตขึ้น 12.50% และบริการซอฟต์แวร์มีมูลค่า 97,784 ล้านบาท โตขึ้น 13.40% ในด้านซอฟต์แวร์มีมูลค่านำเข้าจากต่างประเทศสูง 40,153 ล้านบาท ทั้งพบว่า มูลค่าซอฟต์แวร์แบบคลาวด์ (Cloud) ที่ใช้งานผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ได้ยืดหยุ่น เติบโตมากกว่าแบบ On-Premise ที่เป็นรูปแบบเดิมๆ สะท้อนว่าผู้คนเริ่มสามารถทำงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่อยู่ที่ใดก็ได้

หากพิจารณาจำนวนบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมทั้งสาม พบว่า มีถึง 525,278 คน แบ่งเป็นอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะจำนวน 311,051 คน ซอฟต์แวร์ 129,544 คน และ บริการดิจิทัล 84,683 คน แต่ตัวเลขบุคลากรส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไอที ดังเช่น ในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์จะเป็นพนักงานการขายหรือพนักงานผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่โตมาก ทำให้สร้างการจ้างงานให้กับคนในอาชีพอื่นจำนวนมาก เช่น พนักงานส่งของ หรือพนักงานออนไลน์เป็นจำนวนมาก

แม้ตัวเลขอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยรวมโตค่อนข้างดีมาก แต่ถ้าพิจารณาถึงข้อมูลที่สำรวจจากรายได้ของบริษัทที่มีจำนวนสองหมื่นกว่าบริษัท แบ่งเป็น บริษัทด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 12,046 บริษัท ด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ 9,658 บริษัท และด้านอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล 523 บริษัท จะพบว่า บริษัทในอุตสาหกรรมมากกว่า 90% จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีรายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และมีการจ้างงานในบริษัทโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 10 คน

รายได้อุตสาหกรรมดิจิทัลส่วนใหญ่จึงมาจากจำนวนบริษัทที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก มีบริษัทเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานมากกว่า 100 คน

ปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมดิจิทัลในบ้านเรา ไม่โตขึ้นไปได้มากกว่านี้ อยู่ที่บุคลากรด้านไอที ซึ่งยังมีจำนวนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะคนเก่งๆ ที่มีการแย่งตัวในบริษัทขนาดใหญ่ และเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้บริษัทไม่โตและพัฒนาได้ต่อเนื่อง บริษัทขนาดเล็กก็หาบุคลากรที่มีความสามารถได้ยาก เมื่อขาดบุคลากรก็ต้องปิดตัวไป เห็นชัดว่า โอกาสอุตสาหกรรมดิจิทัลกำลังมีแต่ปัญหา ทุกคนเห็นคล้ายกัน คือเรายังขาดบุคลากร

โจทย์การเร่งพัฒนาบุคลากรด้านนี้ โดยเฉพาะคนที่ต้องมารองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง เอไอ บล็อกเชน บิ๊กดาต้า และเมตาเวิร์ส ยังจำเป็น ถ้าอยากเห็นอุตสาหกรรมดิจิทัลบ้านเราโตยิ่งขึ้น และลดพึ่งพานำเข้าเทคโนโลยี บริการจากต่างประเทศ และถ้าเรามีจำนวนบุคลากรที่มีคุณภาพมากพอ ไทยสามารถเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลได้

เรากำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก อันเนื่องมาจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่ชาญฉลาดและทันสมัยยิ่งกว่าเดิม จนได้รับการขนานนามว่าเป็นยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลหรือ Industry 4.0 นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Industry 4.0 ไม่ใช่แค่การลงทุนในเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิวัติวิธีดำเนินงานและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมด้วย เพราะมีแค่ธุรกิจที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและเล็งเห็นถึงข้อได้เปรียบเท่านั้นที่จะสามารถปรับตัวและยืนหยัดอยู่เหนือคู่แข่ง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้าได้

กว่าจะเป็น Industry 4.0 มีวิวัฒนาการอย่างไร และเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน Industry 4.0 มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมจาก Industry 1.0 ถึง 4.0

ก่อนจะถึงยุค Industry 4.0 โลกของเราผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วถึง 3 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 คือ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนวิธีการผลิตจากแรงงานคนและสัตว์มาเป็นเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไอน้ำและพลังงานน้ำ
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้โรงงานสามารถพัฒนาสายการผลิตที่ทันสมัย เพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างยิ่งใหญ่
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 คือ การปฏิวัติดิจิทัลที่เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาดิจิทัลขั้นสูง มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในกระบวนการผลิตแทนที่แรงงานมนุษย์ด้วยระบบอัตโนมัติซึ่งมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 คือ ยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อฐานข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการผลิตและบริการ ทำให้โรงงานมีกระบวนการผลิตที่ชาญฉลาดมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Internet of Things ปัญญาประดิษฐ์ และระบบ Automation ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองตามโปรแกรมที่มนุษย์ควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องจักรให้สามารถผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตได้มากขึ้น

เทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน Industry 4.0

Internet of Things (IoT)

Internet of Things (IoT) เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Smart Factory ในยุค Industry 4.0 โดยเครื่องจักรในโรงงานจะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์อัจฉริยะพร้อมระบุที่อยู่ IP จึงช่วยให้เครื่องจักรเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งกลไกเหล่านี้ทำให้สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสายการผลิตจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายธุรกิจ อีกทั้ง Supply Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Cloud Computing

การประมวลผลแบบ Cloud Computing เป็นรากฐานสำคัญของ Industry 4.0 เพราะช่วยเชื่อมต่อความต้องการทั้งด้านการผลิต การบูรณาการด้านวิศวกรรม Supply Chain การขายและการบริการให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ข้อมูลจำนวนมากที่จัดเก็บไว้บนระบบ Cloud ยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับเจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับการใช้งานและการเติบโตของธุรกิจในแต่ละช่วงได้

AI และ Machine Learning

AI และ Machine Learning ช่วยให้ทุกธุรกิจใช้ประโยชน์จากปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นได้อย่างเต็มที่ ไม่จำกัดแค่ในโรงงานเท่านั้น เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยในการคาดการณ์และวางแผนระบบอัตโนมัติให้กับการดำเนินงานทางธุรกิจและกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น การใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากสินทรัพย์ประเภทต่างๆ รวมถึงข้อมูลรูปแบบการใช้งานของแต่สินทรัพย์ มาคาดการณ์ด้วยการสร้างอัลกอริธึมให้ระบบเกิดการเรียนรู้โดยสามารถระบุช่วงเวลาที่สินทรัพย์นั้นๆ มีแนวโน้มที่จะพังระหว่างกระบวนการดำเนินงานได้ ช่วยให้ธุรกิจวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ล่วงหน้า ป้องกันปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Augmented Reality (AR)

เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) รองรับการใช้งานได้หลากหลาย เช่น การเลือกชิ้นส่วนในคลังสินค้าและการส่งคำแนะนำการซ่อมแซมผ่านอุปกรณ์พกพา ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถแจ้งข้อมูลแบบทันทีหรือเรียลไทม์ให้แก่พนักงาน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการตัดสินใจแก้ปัญหาและวางแผนขั้นตอนการทำงานล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Cybersecurity

การโจมตีทางไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดและมีผลกระทบต่อเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology: OT) ได้แก่ Malware Phishing Spyware และการละเมิดความปลอดภัยของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ Industry 4.0 จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทั้งอุปกรณ์ IT และ OT ด้วยการวางระบบ Cybersecurity เพื่อช่วยป้องกันโรงงานและสายการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย และอาจทำให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงักหรือเกิดความเสียหาย

Digital Twin

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ Industry 4.0 ทำให้ผู้ผลิตสามารถสร้าง Digital Twin หรือแบบจำลองเสมือนของกระบวนการผลิตในโรงงานและ Supply Chain โดยดึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT อุปกรณ์ Programmable Logic Control (PLC) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตสามารถใช้ Digital Twin เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต ปรับปรุง Workflow และออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการจำลองกระบวนการผลิต หรือใช้ทดสอบการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเพื่อหาวิธีลดเวลาหยุดทำงานและปรับปรุงกำลังการผลิต

สรุป

Industry 4.0 คือยุคสมัยใหม่ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นการเชื่อมต่อระหว่างกันของเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญ เช่น Internet of Things (IoT), Cloud Computing, AI, AR, Machine Learning, Cybersecurity และ Digital Twin เพื่อใช้เทคโนโลยีต่างๆ สร้าง Smart Factory ที่มีกระบวนการผลิตอัจฉริยะ พร้อมสร้างระบบนิเวศแบบองค์รวมและการเชื่อมต่อทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นด้านการผลิตและการจัดการ Supply Chain

ปัจจุบัน Industry 4.0 ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกบริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับเปลี่ยนทั้งด้านกระบวนการผลิต การทำงานร่วมกับคู่ค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ และบุคลากร นับจากนี้ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงาน และเพิ่มพูนทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับ Industry 4.0 ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสและการเติบโตให้กับธุรกิจในยุคแห่งอุตสาหกรรมดิจิทัลได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อุตสาหกรรมดิจิตอลคืออะไร

อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามพลวัตรของเทคโนโลยี โดยนิยาม และขอบเขตได้วิวัฒนาการและขยายมาจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เดิม และสำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในครั้งนี้ จะนิยามอุตสาหกรรมค่อนข้างกว้าง หมายถึง “อุตสาหกรรมการผลิต และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ...

เทคโนโลยีดิจิตอล มีอะไรบ้าง

11 เทคโนโลยีแห่งยุคดิจิทัล.
AI หรือ Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ ... .
IoT หรือ Internet of Thing. ... .
Big data. ... .
Blockchain. ... .
5G. ... .
3D printing. ... .
Robots. ... .
Drone โดรน.

เศรษฐกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy หรือ DE) คือเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(หรือเรียกว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทันยุคสมัย) เป็นกลไกส าคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูป กระบวนการผลิตการด าเนินธุรกิจ การค้า การบริการ การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดินรวมทั้ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ...

เศรษฐกิจดิจิทัลมีพื้นฐานมาจากอะไร

เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การขนส่ง การขาย และการบริการ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง