ข้อใดคือการทำงานของเทคโนโลยี blockchain

TRCLOUD - Blockchain Enterprise Solution เป็นการประยุกต์ใช้ Blockchain กับงานบริหารจัดการในองค์กร เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงิน การติดตามการซื้อและจัดส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ ซึ่ง Blockchain จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา

ลักษณะงานที่จะต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain คือ ลักษณะงานที่ต้องการบูรณาการข้อมูล และในเวลาเดียวกันต้องการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบ และป้องกันการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต (Corrupt) ข้อมูลได้

TRCLOUD สามารถสร้าง Application ที่ใช้ข้อมูลผ่าน Clearing Server ดังนี้แล้วทำให้เราสามารถออกแบบระบบที่ต้องการความเชื่อถือ และความแม่นยำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบเวชระเบียน รวมถึงระบบการกู้ยืมเงิน เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน Blockchain

งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น กรมที่ดินต้องการความโปรงใสในการเก็บข้อมูลโฉนดที่ดิน ป้องกันการปลอมแปลง รวมถึงการทุจริตการแก้ไขข้อมูล กรมที่ดินจำเป็นต้องใช้ระบบ Blockchain แทนการเก็บข้อมูลด้วย Database แบบเดิม และกระจายการตรวจสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

งานด้านการแพทย์ ใช้ Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วย

งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และลดค่าใช้จ่าย

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสด ตั้งแต่วัตถุดิบออกจากฟาร์มไปสู่ลูกค้า กำหนดวันหมดอายุ

งานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น Muse Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อว่า Peer Tracks ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้ นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

ผู้ใช้ (Node) ทุกคนต้องมีกุญแจสองอัน อันแรกคือ Private key ที่ถือเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของของสมุดบัญชีพร้อมกับ Password ซึ่งถูกจากสร้างลายเซ็นต์และชุดตัวเลขที่ใช้อัลกอริทึมสร้างขึ้นมาทำให้ไม่มีทางซ้ำกับเลขอื่นๆ และใช้สิ่งเหล่านี้มายืนยันการทำธุรกรรม ส่วนกุญแจอีกอันที่ต้องใช้คือ Public Key เปรียบเสมือนที่อยู่ที่ข้อมูลส่งไปถึง ทั้ง Private Key และ Public Key จะใช้งานคู่กันแต่ต่างหน้าที่กันคือ อันนึงใช้เข้ารหัส และอีกอันนึงใช้ในการถอดรหัส สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกคนคือ Private Key และ Password ต้องเก็บเป็นความลับของเจ้าของเท่านั้น เพราะหากมีเงินอยู่ในนั้น 10-100 ล้านแล้ว แต่ Private Key และ Password ดันหายไป ผู้ใช้จะไม่สามารถเรียกคืนหรือทวงคืนมาได้จากโลกเสมือน หรือแม้แต่ใครหวังฮุบเงินก้อนนั้นไปก็ทำไม่ได้เช่นกัน

*โดยหลักแล้วข้อมูล หรือ Data ที่ต้องการส่งจะเป็นอะไรก็ได้ จำนวนเงิน สัญญา คะแนน ฯลฯ

 

2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger :

ข้อมูลการเดินบัญชี (Transaction) ถูกเริ่มต้นสร้างขึ้น รายการจะแจ้งว่าตัวเลขทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่จำนวนเงินที่ถูกต้องที่มีอยู่ในบัญชีของ A ถูกส่งไปให้บัญชีของ B ที่แสดงจำนวนเงินที่มีอยู่เช่นกัน โอนเท่าไหร่ ตัวเลขขึ้นตามนั้น ตรงนี้ทำให้เราเห็นรายการทั้งหมดที่เป็นยอดบวกลบที่ถูกต้อง ทำให้เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับเรื่องที่มาของเงินได้ตลอด โดยทั้งหมดในรายการนี้จะถูกเก็บไว้ใน สมุดจดบัญชี (Public Ledger) แล้วส่งข้อมูลแบบที่ยังไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง (Unconfirmed Transaction) ให้ผู้ใช้ทุกคน

 

3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้ :

หลังจากที่ได้รับข้อมูล (Data) แล้วจะมีผู้ตรวจสอบมายืนยันความถูกต้อง เราเรียกคนคนนี้ว่า Miner มาจากผู้ใช้ที่เสนอตัวเข้ามา กติกาคือใครจะเสนอตัวก็ได้ ขอให้มีหลายคนเสนอ จากนั้น Miner ทั้งหลายจะเกิดการแข่งขันกันเป็นผู้ตรวจสอบ (โดยใช้วิธีการคำนวณค่า Hash หรือสมมุติเป็นการแก้สมการนับล้านๆครั้ง เพื่อให้ได้ค่ายืนยันกล่อง ตัวอย่างการใช้เวลาในการหาค่าสมการ ปกติ Bitcoin ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที จริงๆแล้วอาจเร็วหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสกุลเงินดิจิทัล)

ใครเสร็จก่อนและไม่ได้รับการคัดค้านความถูกต้องจากผู้ใช้ทั้งหมด จะได้รับค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูปแบบของรางวัล (Reward ) ของความพยายาม หรือรับเป็น Transaction fee ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยช่วงแรกจะกำหนดไว้ 50BTC และจะลดลงเรื่อยๆทุก 4 ปี (เรียกการลดตามระยะเวลาที่กำหนดนี้ว่า Halving) แต่ด้วยจำนวนบล็อคที่มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เหลือแค่ครั้งละ 25 BTC เท่านั้น (ในบาง transaction อาจไม่มีรางวัล) ตรงนี้สร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีเงินในโลกดิจิทัลได้สร้างฐานะขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ เราเลยเรียกกันว่านักขุดทอง

ส่วนความยากที่ต้องเป็นที่หนึ่งนี้เราเรียกว่า Proof of Work หรือตัวพิสูจน์การทำงาน ถูกนำมาใช้ยืนยัน Transaction นั่นเอง โดยยืนยันชิ้นที่เสร็จก่อน เพื่อป้องกันการยืนยันซ้ำซ้อนจาก Miner อื่นๆ (Double Spending) เพราะหากมีการยืนยันซ้ำซ้อน Transaction นั้นจะถูกตีกลับ (Reverse) ต้องทำการแก้สมการใหม่เพื่อยืนยันอีกครั้ง ตรงนี้ค่อนข้างใช้เวลา เมื่อเสร็จแล้วจึงจะรวบเก็บทุกอย่างที่เกิดขึ้นของรายการนั้นไว้ใน กล่อง (Block) เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงให้แก่กล่องถัดไป (เรียกเลขหลักฐานนั้นว่า Previous Hash) ที่จะเกิดขึ้น

* หลังจากนี้หากมีอีกกล่องที่ซ้ำกัน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือถูกตีกลับ แต่อันไหนได้รับการยืนยันก่อนจะถูกส่งต่อร้อยเรียง และอ้างอิงสายที่ยาวกว่าถือเป็นข้อมูลที่จะถูกนำไปใช้ต่อๆไป

 

4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain:

จากนั้น Block หรือข้อมูลการเดินบัญชีที่ได้รับการตรวจสอบแล้วและมีข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเป็นสิ่งที่อ้างอิงสู่กล่องถัดไป จะถูกส่งมาต่อเพื่อร้อยเรียงกันและกันไปเรื่อยๆ สภาพการเรียงตัวกันแบบ –กล่องนี้มาก่อนและกล่องนี้มาหลัง- ไม่สามารถสลับสับเปลี่ยนได้ และข้อมูลที่อยู่ในกล่องจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นการอัพเดทข้อมูลให้กับผู้ใช้ทุกคนต่อไป ตรงนี้เองคือความปลอดภัยที่ใครก็ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้ เพราะหากกล่อง C มีข้อมูลที่ผิดพลาดเข้ามา หรือมีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับกล่อง B ทุกอย่างในกล่องจะถือเป็นโมฆะ (Invalid) กล่องนั้นจะไม่สามารถเกิดเป็นธุรกรรมที่สมบูรณ์ได้เลย และรายการที่เป็นกล่องถัดๆไปก็จะ Invalid ไปด้วย จนกว่าจะมีกล่องถัดไปที่ถูกต้องมาต่อท้าย

 

5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้

เมื่อทุกอย่างสำเร็จตามขั้นตอน เงินจะถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้ทุกคนพร้อมกัน การส่งต่อข้อมูลจากเครื่องถึงเครื่อง เรียกว่า  Peer-to-peer ส่วนเงินที่ว่านี้เป็นเพียงแค่จำนวนที่ถูกระบุขึ้น ไม่มีเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เป็นสินทรัพย์แบบนึงในโลกดิจิทัลที่ถูกบันทึกด้วยเทคโนโลยีเท่านั้น นอกจากนั้นข้อมูลที่อัพเดทแก่ผู้ใช้มีความเป็น Original หมด แม้ว่าจะเป็นสำเนาก็ตาม เพราะถือเป็นข้อมูลเดียวกันที่ได้รับรองความถูกต้องแล้ว และอยู่ในมือ อยู่ในเครื่องของแต่ละคน ต่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น หายนะต่างๆ ทั้งระเบิด ไฟไหม้ อุทกภัย ในที่ไหนซักที่ Blockchain แทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะข้อมูลถูกกระจายไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้งานอย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง

 

สรุปได้ว่า Blockchain คือ ระบบฐานข้อมูล (Database) หรือรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่ไม่มีตัวกลาง แต่มีการปกป้องข้อมูลอย่างดีเยี่ยม บรรจุด้วยข้อมูลที่เราไว้ใจได้ประกอบด้วย Data , Hash และ Previous Hash สำหรับผู้ไม่หวังดีแล้ว ไม่สามารถโขมยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรได้ หรือคิดปลอมแปลงข้อมูลผิดๆเข้าไปก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อมูลที่ว่านั้นจะถูกเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เมื่อไหร่ที่เอกสารมีการอัพเดท ทุกสำเนาในมือจะถูกอัพเดทไปด้วยเช่นกัน ในแง่ของเครดิตหรือความน่าเชื่อถือมีสูงมาก ขึ้นชื่อในเรื่องความปลอดภัย มิหนำซ้ำยังมีราคาประหยัด ในแง่ที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในแง่ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการดูแลระบบ เพราะไม่ต้องมีตัวกลางหรือระบบศูนย์กลางใดๆ อีกต่อไป แถมยังไม่มีระบบล่มเพราะข้อมูลที่ผิดใช้กับระบบนี้ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีภัยพิบัติใดๆที่สามารถทำลายอุปกรณ์ทุกตัวในระบบได้พร้อมๆกัน และเช่นเดียวกัน หากมันถูกแฮ็ก นั้นหมายความว่ามันต้องแฮ็กทุกๆเครื่องพร้อมๆกัน หรืออย่างน้อยที่สุดต้องแฮ็กเครื่องให้ได้มากกว่า 51% ของเครื่องที่ถือสำเนาจึงจะพอสำเร็จได้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระบบ  Blockchain ถึงได้เจ๋งสุดๆ และตอบโจทย์ได้ดีมากๆ

 

ในบทความถัดไป เราจะพูดเรื่องของ Bitcoin ว่าเกี่ยวข้องกับ Blockchain อย่างไร นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Cryptocurrency อีกด้วย และเงินในโลกเสมือนจริงจะถูกใช้งานได้จริงหรือไม่

ข้อใดคือการทํางานของเทคโนโลยี Blockchain

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง

Block chain เหมาะกับงานประเภทไหน

Blockchain ที่เปิดให้ใช้งานได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งส่วนมาก จะเป็นการรวมตัวกันขององค์กรที่มีลักษณะธุรกิจเหมือนกัน และต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายระหว่างธนาคาร ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการท า ธุรกรรม หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ภายในกลุ่มของธนาคาร เช่น Japanese Bank และ R3CEV.

ข้อใดคือคุณสมบัติของเทคโนโลยี บล็อกเชน

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ด้วยการเป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลดิจิทัลที่เข้าถึงได้เพียงเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมกับมี Ecosystem ที่อำนวยความสะดวกด้านการจัดการธุรกรรมและความปลอดภัยอย่างเป็นอัตโนมัติ การทำธุรกรรมบน Blockchain จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่น้อยกว่า ยกตัวอย่าง ...

ลักษณะการทํางานของบล็อกเชน มีกี่ลักษณะ

ลักษณะการทำงานของ Blockchain.
1. A ต้องการโอนเงิน (ส่งข้อมูล) ไปให้ B ผ่านเลขบัญชี โดยใช้ Private key+Password และ Public Key: ... .
2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger : ... .
3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้ : ... .
4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain: ... .
5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง