หลักฐานสำคัญของการเริ่มต้นประชาธิปไตยในประเทศไทย คือข้อใด

สยามรัฐออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2560 06:00 น. ตะเกียงเจ้าพายุ

ทวี สุรฤทธิกุล ร.5 ทรงสร้างประชาธิปไตยแบบไทยๆ ดังที่ได้เขียนมาหลายตอนเกี่ยวกับการสร้างประชาธิปไตยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อที่จะให้ปะติดปะต่อไปในการสร้างประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มา ผู้เขียนจะขอสรุปถึงลักษณะของประชาธิปไตยที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้าง ทบทวนให้ผู้อ่านได้ทราบอีกครั้ง เพื่อให้ทราบว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้าง และผู้เขียนเรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั้นคืออะไร ซึ่งมีลักษณะเด่นๆ 5 ประการ คือ 1. มีลักษณะเป็นผู้ปกครองแบบ “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือต้องเป็นพระมหากษัตริย์ที่ประชาชนหรือคนทุกกลุ่มให้การยอมรับหรือยินยอมให้เป็นผู้นำของเขา (เอนก = มาก ทุกกลุ่ม, ชนนิกร = ประชาชน สโมสร = ร่วมกัน ประชุมกัน สมมุติ = แต่งตั้งให้เป็น) โดยมีการใช้แนวคิดนี้มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่มาระงับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่นำระบบการสืบสันติวงศ์มาใช้ แต่ได้รื้อฟื้นขึ้นมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการผสมผสานเข้ากับการสืบสันตติวงศ์ด้วย โดยยังคงเน้นการยอมรับจากประชาชนทุกฝ่ายเป็นสำคัญ 2. มีลักษณะเป็นผู้ปกครองที่ใกล้ชิดสนิทแนบแน่นกับผู้ใต้ปกครอง ซึ่งก็สืบเนื่องมาจากการปกครองตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเช่นกัน ดังที่เราเรียกการปกครองในยุคนั้นว่า “การปกครองแบบพ่อปกครองลูก” แม้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีลักษณะเป็นเทวราชก็ยังต้องคงรูปแบบความใกล้ชิดนี้ไว้ สืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่ได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์อันใกล้ชิดนี้ให้แนบแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้สร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้ขึ้นอย่างจริงจัง จนเป็นพระราชกรณียกิจอันมั่นคงสืบมาตลอดทุกรัชกาล 3. มีลักษณะที่เน้นประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์เป็นสำคัญ ภายใต้แนวคิดที่มีแต่ต้นของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยที่พระมหากษัตริย์จะต้องเป็นผู้ปกครองและผู้นำที่ดี ที่จะ “นำ” ให้ประชาชนมีความสุข ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน ถึงขั้น “ร่วมเป็นร่วมตาย” ดังเช่นกรณีการเสียดินแดนครั้งแล้วครั้งเล่าในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 แต่ก็เป็นการยอมลดทอนพระเกียรติยศเพื่อรักษาเอกราชให้คนไทยทั้งชาติยังคงเชิดหน้าชูตาว่าไม่ได้สูญเสียอิสรภาพให้แก่ชาติใด 4. มีลักษณะที่ให้ความสำคัญกับความเป็นคน หรือ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เฉพาะแต่ที่ได้ทรงเลิกทาสเพื่อยกระดับความเป็นอารยะให้แก่คนไทยและสังคมไทย แต่ยังรวมถึงการจัดให้มีการศึกษาขั้นมูลฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อยกระดับสติปัญญาและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เพราะความเจริญทั้งด้านตัวมนุษย์และวัตถุทั้งหลายนี้คือรากฐานอันสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ให้ทุกคนได้ระลึกว่าผู้ปกครองให้ความสำคัญแก่พวกเขาอย่างแท้จริง 5. มีลักษณะเป็นการปกครองใช้หลักเมตตาธรรม อันได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ในแนวที่พระมหากษัตริย์นั้นคือ “พระโพธิสัตว์” ผู้บำเพ็ญบารมีและมีคุณธรรมสูงส่ง ประกอบไปด้วยความเสียสละ เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ ปกป้อง และเป็นที่พึงพิง ดังนี้พระมหากษัตริย์จึงมีฐานะเป็นทั้ง “ผู้ก่อเกิด ผู้ให้ ผู้ปกป้องคุ้มครอง และผู้เป็นที่พึ่งพิงอาศัย” ดังพุทธชาดกเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้านั้น ซึ่งทำให้คนไทยระลึกอยู่เสมอว่าผู้ปกครองจะต้องเป็นบุคคลที่มี “ความสูงส่ง” ทั้งทางด้านพระปรีชา พระจริยวัตร และคุณธรรม ทั้งนี้หากจะประมวลรวมการสร้างประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5 ดังที่ได้บรรยายมาหลายตอนแล้วนั้น ก็จะพบว่ามีแนวคิด กระบวนการ และวิธีการโดยสรุป ดังนี้ 1. ภายใต้แนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์กษัตริย์ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประชาชน เราจึงได้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้ดำเนินพระจริยวัตรอยู่ในแนวทางนั้นมาโดยตลอด เช่น การเสด็จประพาสต้น และการปรากฏพระองค์ให้คนไทยได้ชื่นชมพระบารมีอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 2. ทรงตั้งพระราชหฤทัยมั่นในผลประโยชน์ของประชาชน อันหมายถึงผลประโยชน์ของชาตินั้นไว้เป็นอันดับแรก และเป็นเป้าหมายสูงสุดในการประกอบพระราชกรณีกิจทุกอย่าง ดังจะเห็นได้การการทุ่มเทเงินในท้องพระคลังเพื่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งหลาย ให้ประเทศมีความเจริญและราษฎรสุขสบาย 3. ทรงฟังเสียงจากผู้คนทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน ใช้การปรึกษาหารือ การมีส่วนร่วม การประสานประโยชน์ และความนุ่มนวลยืดหยุ่น ไม่เฉพาะแต่ในเรื่องของการปฏิรูปในด้านต่างๆ แต่ในด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ก็ได้ทรงริเริ่มและวางรากฐานไว้ 4. การเร้าระดมให้สังคมไทยตื่นตัวและร่วมมือกัน ทั้งในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์และอาณาประชาราษฎร ทรงเป็นผู้นำที่ดี ทรงพระปรีชา ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ปกครองที่สุดประเสริฐ และทรงทุ่มเททำงานหนักจนแทบจะไม่ได้ถนอมพระวรกาย เพื่อพาไทยให้พ้นวิกฤติและนำชาติไปสู่ความทันสมัย 5. ทรงยอมรับในแนวคิดทางการเมืองการปกครองของต่างประเทศ แต่ก็ทรงมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม ความเชื่อ และอุดมการณ์แบบไทยๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ ระบบอุปถัมภ์ และความเป็นญาติพี่น้อง แต่คนอื่นๆ โดยเฉพาะชนชั้นปกครองในยุคนั้น ไม่สามารถที่จะตามทันแนวคิดของพระองค์ท่าน มองไม่เห็นพระราชวิสัยทัศน์ดังกล่าว ประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงหยุดชะงัก อย่างไรก็ตาม พระราชณิธานและความพยายามในเรื่อง “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่สูญสิ้นไปแต่อย่างใด แม้จะมีความพยายามอย่างยากลำบากและยังไม่ประสบความสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 ซึ่งเป็นพระราชโอรสสืบต่อราชบัลลังก์ จนเกิดรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เพื่อสร้างประชาธิปไตยตามแนวคิดของข้าราชการกลุ่มหนึ่งนั้น พระราชปณิธานดังกล่าวก็ยัง “สว่างไสว” อยู่ในใจของคนไทย และได้ฟื้นคืนมาหลังการรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน 2490

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง