หลักการพัฒนาชุมชนสิ่งใดสำคัญที่สุด

เรื่องที่ 4 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน

         การมีส่วนร่วม (participation) คือ เป็นผลมาจากการเห็นพ้องกันในเรื่องของความ ต้องการและทิศทางของการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีมากจนเกิดความคิดริเริ่มโครงการเพื่อการปฏิบัติ เหตุผลแรกของการที่มีคนมารวมกันได้ควรจะต้องมีการตระหนักว่าการกระทำทั้งหมด ที่ทำโดยกลุ่ม ผู้นำชุมชน หรือกระทำผ่านองค์กร (organization) ดังนั้นผู้นำชุมชน องค์กรจะต้องเป็นเสมือนตัวนำให้บรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงได้ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา เช่น การมีส่วนร่วม หลักการพัฒนาชุมชน กระบวนการพัฒนาชุมชน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องใช้ในงานพัฒนาชุมชน และคนก็มีส่วนสำคัญที่สุด เพราะ คนเป็นศูนย์กลางหลักในการพัฒนาที่จะทำให้ชุมชนมีการพัฒนาไปในทางที่ดี การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจของการพัฒนาชนบท ไม่มีประเทศไหนที่พัฒนาโดยปราศจากการร่วมมือของประชาชน

          หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคราชการนั้น International Association for Public Participation ได้แบ่งระดับของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น ระดับ ดังนี้

                1. การให้ข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับต่ำที่สุด แต่เป็นระดับที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นก้าวแรกของการที่ภาคราชการจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ วิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางเสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น

                2. การรับฟังความคิดเห็น เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น

                3. การเกี่ยวข้อง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของภาครัฐ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ เป็นต้น

                4. ความร่วมมือ เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการ เป็นต้น

                5. การเสริมอำนาจแก่ประชาชน เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มอบอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจทั้งหมด การทำโครงการและกิจกรรมต่างๆที่เกิดจากความต้องการของประชาชน เป็นต้น

                ดังนั้นจากข้อความที่กล่าวมาทำให้รู้ว่าทั้งทางภาครัฐและภาคประชาชนควรมีการสร้างหลักการมีส่วนร่วมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้ต่างฝ่ายได้รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการไปพร้อมกัน ประชาชนก็จะได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการทำกิจกรรมและการพัฒนาชุมชนของตนเองให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมเป็นหลักประกันที่สำคัญที่จะทำให้ประชาชนทุกคนดำเนินชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

          การพัฒนาชุมชน คือ การทำงานกับประชาชนมิใช่ทำให้ประชาชน เพราะฉะนั้น กิจกรรมใดๆ ที่จะดำเนินงานในชุมชนนั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่มาจากการริเริ่มของประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของบทบาทของผู้ปฏิบัติงานพัฒนานั้นเป็นผู้กระตุ้น ชี้นำ ให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหาหรือหาทางสนองความต้องการของตนแล้วร่วมกันทำงานตามที่คิดขึ้นมาแล้วนั้น การเข้าไปทำงานกับประชาชนในลักษณะนี้ ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาจะต้องเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ กระทำตนให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชนในชุมชนและต้องทำงานอย่างมีหลัก งานจึงจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วผู้ปฏิบัติงานพัฒนาจะยึดหลักการพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน 10 ประการ คือ

          1.  ต้องพัฒนาชุมชนทุกๆ ด้านไปพร้อมกัน ถ้าพิจารณาอย่างกว้างๆ จะเห็นว่า สิ่งที่จะต้องทำการพัฒนาในชุมชนนั้นมีเพียง 2 ประการ คือ ด้านวัตถุและจิตใจ ด้านวัตถุนั้น หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุทุกๆ ด้าน เช่น ถนนหนทาง ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานรักษาพยาบาล ไฟฟ้า วิทยุ เป็นต้น เมื่อสภาพแวดล้อมทางวัตถุเจริญก้าวหน้าดีแล้ว ไม่ได้หมายความว่า สภาพจิตใจของประชาชนจะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วยเสมอไป จึงจำเป็นต้องส่งเสริมสภาพจิตใจให้แปรเปลี่ยนไปในทิศทางที่ถูกต้องด้วย เช่น การให้การศึกษา    ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมพร้อมกันไปด้วย

          2.  ยึดประชาชนเป็นหลักในการพัฒนา การทำงานกับประชาชนนั้นจะต้องคำนึงถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนกำลังประสบปัญหาอะไร กำลังมีความต้องการอะไร อะไรเป็นปัญหารีบด่วน เป็นความต้องการรีบด่วนที่จะต้องรีบแก้ไข อะไรเป็นปัญหาความต้องการที่รองลงมา สิ่งเหล่านี้จะต้องคำนึงถึงตัวประชาชนเป็นที่ตั้ง การแก้ปัญหาจึงจะตรงจุดมิใช่แก้ปัญหาจากปัญหาและความต้องการของผู้ปฏิบัติงานพัฒนาเอง

          3.  การดำเนินงานจะต้องค่อยเป็นค่อยไป จุดมุ่งหมายของการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ก็คือ ต้องการแปรเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในชุมชนและวัตถุไปพร้อมๆ กัน ฉะนั้น การดำเนินงานตามกิจกรรมจึงไม่ควรเร่งรีบจนเกินไปจนประชาชนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร การมุ่งผลงานตามกิจกรรมอย่างเดียวนั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างแท้จริง การดำเนินงานจึงต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยเลือกทำในชุมชนที่พร้อมกว่าก่อน

          4.  ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมของชุมชนเป็นหลัก ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมในท้องถิ่นมีลักษณะสนับสนุนการพัฒนาแล้ว จึงควรส่งเสริมให้วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นให้ได้มีบทบาทในการพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น สิ่งใดที่เป็นการขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมควรหลีกเลี่ยง หรือถ้าเห็นว่าประเพณีบางอย่างไม่ถูกไม่ควรก็ไม่ควรจะไปตำหนิ    ติเตียนตรงๆ แต่ควรชี้นำเสนอแนะให้ประชาชนเห็นว่าดีและไม่ดีอย่างไรด้วยเหตุผลแล้วช่วยกันหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

          5.  ต้องพยายามใช้ทรัพยากรในชุมชนให้มากที่สุด ผลงานพัฒนาชุมชนนั้น ควรจะเริ่มจากการนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยชี้นำสอนแนะให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปเป็นวัสดุเครื่องใช้ในครัวเรือนให้ได้ คำว่า ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ทุกสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ตัวคน วัตถุ สถาบันทางสังคม และกลุ่มต่างๆ  เป็นต้น

          6.  ต้องยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน การดำเนินงานพัฒนาชุมชนจะเริ่มด้วยการประชุมปรึกษาหารือกัน ร่วมกันคิดว่าจะทำอะไร เมื่อตกลงกันแล้วก็จะร่วมกันทำโดยมอบหมายงานให้แต่ละคนได้รับผิดชอบร่วมกัน งานจะมาจากเบื้องล่าง คือ ตัวประชาชนในชุมชนเอง ไม่ได้มาจากถูกสั่งให้กระทำ ในการเข้าไปแก้ปัญหาของประชาชนนั้น ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาจะไม่ใช่วิธีออกคำสั่งแต่จะให้การศึกษา ชักชวน ชี้นำให้ประชาชนได้เห็นปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขโดยความสมัครใจ

          7.  ต้องใช้หลักการประสานงาน งานพัฒนาชุมชนจะประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหนอยู่ที่การประสานงาน เพราะงานพัฒนาชุมชนนั้นมิใช่งานของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นงานที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบทุกหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานพัฒนาก็มิใช่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทุก ด้าน จึงต้องอาศัยการประสานงานเป็นหลักในการดำเนินงาน

          8.  เริ่มต้นทำงานกับกลุ่มผู้นำก่อน ผู้นำในท้องถิ่นเป็นผู้ที่ประชาชนในชุมชนให้ความเคารพเชื่อถือ จะพูดจาทำอะไร ประชาชนส่วนใหญ่จะยอมรับและคล้อยตาม การจะกระทำกิจกรรมพัฒนาในชุมชนหากผู้นำเห็นชอบด้วย ปัญหาการขัดแย้งและการให้ความร่วมมือก็จะน้อยลงหรือหมดไป

          9.  การดำเนินงานต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของชาติ การจัดทำแผนงานหรือกิจกรรมใดๆ จะต้องให้เป็นไปตามแผนพัฒนาระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสมอ

          10.  ปลูกฝังความเชื่อมั่นในตนเองให้กับประชาชน ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานสำเร็จลงได้ แม้งานนั้นจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม หากมีความมั่นใจและเชื่อในพลังงานที่ตนมีอยู่แล้ว การดำเนินงานก็จะสำเร็จลงได้โดยไม่ยากนัก

หลักการปฏิบัติงาน   4 .

          กรมการพัฒนาชุมชนได้ประยุกต์หลักการดำเนินงานพัฒนาโดยทั่วไปข้างต้นให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนยึดถือและนำไปเป็นหลักปฏิบัติ 4 ประการ เรียกว่า หลัก 4 . คือ ประชาชน ประชาธิปไตย ประสานงาน และประหยัด

          1.  ประชาชน (People oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนต้อง

              ทำงานกับประชาชนไม่ได้ทำให้ประชาชนพัฒนาทัศนคติของประชาชนทุกเพศ ทุกวัยโดยการเพิ่มพูนทักษะ  พิจารณาสภาวการณ์และปัญหาของชุมชนและประชาชนเป็นหลักในเรื่องงาน

          2.  ประชาธิปไตย (Democracy oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องทำงานในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นในระดับหมู่บ้าน ตำบลสนับสนุนให้ประชาชนรวมกลุ่มกันริเริ่มกิจกรรมเพื่อปรับปรุงท้องถิ่นด้วยตนเองอาศัยหลักการเข้าถึงประชาชนในการทำงานและร่วมงานกับผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในรูปกลุ่ม

          3.  ประสานงาน (Co-ordination oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องร่วมมือประสานงานกับหน่วยงาน องค์การทั้งของรัฐบาลและเอกชนชักนำบริการของนักวิชาการไปสู่ประชาชนและกระตุ้นให้ประชาชนไปหานักวิชาการเพื่อรับบริการตามความต้องการโดยเหมาะสมพัฒนากรจะเป็นผู้เชื่อมประสานงานระหว่างนักวิชาการกับประชาชน

          4.  ประหยัด (Economy oriented) ในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้อง

ให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองเป็นหลัก รัฐบาลช่วยเหลือในสิ่งซึ่งเกินความสามารถของประชาชนเท่านั้นในการจัดทำกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พยายามนำทรัพยากรในชุมชนทั้งในด้านกำลังคนและวัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดทุกฝ่ายร่วมกันคิดและวางแผนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมไว้ล่วงหน้าจึงจะทำให้ประหยัดแรงงาน เวลา วัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง