ข้อใดเป็นหลักการสำคัญที่สุดในการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร

การเก็บรักษาอาหาร

อาหารแต่ละประเภทมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป  รวมถึงรูปร่าง ขนาด ปริมาณสารอาหารที่แตกต่างกันด้วย  ทำให้ต้องมีการจัดเก็บซึ่งอาจจัดเก็บในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  หรือจัดเก็บไว้เป็นระยะเวลายาวนานทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการจัดเก็บอาหารชนิดนั้นๆ  เช่น มีอุณหภูมิหรือความชื้นที่เหมาะสม ตลอดจนอาจเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหารรวมทั้งป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์  ที่ทำให้เกิดโรคในอาหารด้วย

การเก็บรักษาอาหารแบ่งได้ 4 ประเภท  ดังนี้

1.) การเก็บรักษาอาหารสด

อาหารสด เป็นอาหารที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมี  ทางกายภาพ และการทำลายโดยจุลินทรีย์ได้ง่าย  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารสดเสื่อมสภาพและเสียคุณค่าทางโภชนาการได้ง่าย  ดังนั้นจึงต้องรีบเก็บรักษาในห้องเย็นหรือตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 1-4 องศาเซลเซียส  อย่างไรก็ตาม ในห้องเย็นนั้นการสูญเสียน้ำหนักของอาหารสดก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราสามารถเพิ่มกระบวนการเก็บรักษาโดยการควบคุมความชื้นในห้องเย็น (ร้อยละ 80) และการห่อหุ้มอาหารด้วยกระดาษเคลือบขี้ผึ้งจะช่วยยืดอายุการเก็บอาหารได้อย่างน้อย 5-10 วัน  เพราะเป็นการช่วยชะลอการระเหยของน้ำจากอาหารได้อย่างน้อยร้อยละ 5-10 นอกจากนี้ ความเย็นจะช่วยลดอัตราการหายใจและยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้

เนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ  เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่เน่าเสียได้เร็ว  เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนเหมาะในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย  ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเน่าเสียเราควรเก็บเนื้อสัตว์ไว้ในช่องด้านล่างของช่องแช่แข็งซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ 0-2 องศาเซลเซียสหรือจะใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีฝาปิดอย่างมิดชิดหรือแช่ไว้ในซ่องแช่แข็งซึ่งจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสซึ่งจะช่วยให้เก็บอาหารประเภทนี้ได้ยาวนานขึ้น

ไข่  เน่าเสียง่าย  ควรเก็บไว้ในส่วนที่เป็นตัวตู้ซึ่งสามารถเก็บได้นานถึง 3 สัปดาห์

นอกจากนี้เราควรหมั่นสำรวจวันหมดอายุของอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็น  และไม่ควรเก็บอาหารไว้มากเกินไป จนการถ่ายเทอากาศในตู้เย็นเป็นไปได้ยาก  เพราะจะทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพได้

2. การเก็บรักษาอาหารแห้ง

อาหารแห้ง  เป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูปเรียบร้อยแล้ว  โดยระเหยน้ำออกจึงมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ในอาหารน้อยทำให้การเก็บรักษาอาหารแห้งทำได้ง่ายกว่าอาหารสด  เพียงควบคุมปริมาณความชื้นในอาหารให้ต่ำกว่าร้อยละ 1-10 และเก็บรักษาไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันการกัดแทะของหนู  มด แมลงสาบ ตัวอย่างการเก็บรักษาอาหารแห้งเช่น

2. 1 ข้าวสาร  สำหรับข้าวสารบรรจุถุงต้องเก็บรักษาในที่แห้ง  ไม่เปียกชื้นและสำคัญที่สุดอย่าให้โดนน้ำ บริเวณที่วางหรือห้องจัดเก็บต้องสะอาดปราศจากสิ่งสกปรก  สิ่งเจือปน และสารเคมีต่างๆ เช่น ไม่ควรจัดเก็บวางใกล้สารเคมีควรหลีกเลี่ยงแดด กรณีรับประทานไม่หมดหลังเปิดถุงสินค้าแล้วควรปิดถุงให้สนิทเพื่อป้องกันความชื้นสิ่งสกปรกและการเสื่อมคุณภาพของข้าว

2. 2 กระเทียม หอมแดง  ควรผูกรวมกันเป็นมัด  หรือกระจุกแล้วแขวนไว้ที่สูงเพื่อฝั่งลมให้แห้งอยู่เสมอทำให้เก็บไว้ได้นาน

2. 3 เนื้อแห้ง ปลาแห้ง  ควรเก็บใส่ถุงพลาสติกแล้วปิดปากถุงให้สนิท  แล้วนำเข้าตู้เย็นจะช่วยยืดอายุการเก็บได้นานและชะลอการเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้

2. 4 แป้ง  ควรเก็บในภาชนะที่แห้งและปิดสนิทเพราะแป้งถ้ามีความชื้นสูงจะทำให้ขึ้นราได้ง่าย

2. 5 น้ำตาล  ควรเก็บใส่ภาชนะที่แห้งมีฝาปิดสนิทไม่ให้มีความชื้น

3. การเก็บรักษาอาหารที่อุณหภูมิห้อง

อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มนี้  เช่น ธัญพืช ถั่ว อาหารกระป๋อง  และอาหารบรรจุขวดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว  ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ต้องอยู่ในบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมที่แห้งไม่มีความชื้น  เพราะความชื้นจะทำให้เชื้อราและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเจริญเติบโตได้ดี สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องเมื่อเปิดแล้วควรเก็บในตู้เย็นไม่ควรวางทิ้งไว้

4. การเก็บอาหารแบบแช่เยือกแข็ง

ปัจจุบันอาหารแช่เยือกแข็งมีบทบาทต่อวิถีชีวิตคนไทยและคนทั่วโลกมากขึ้น  ตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีการทำความเย็นการกระจายสินค้าการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อ  ห้างสรรพสินค้า ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งรูปแบบใหม่ๆอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้อาหารแช่เยือกแข็งยังสามารถลดเวลาในการเตรียมอาหาร  สะดวกในการใช้เพียงนำมาละลายในเตาอบหรือเตาไมโครเวฟ ก็สามารถได้อาหารที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับอาหารสด หรืออาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคอาหารแช่เยือกแข็งของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นทุกปีอาหารที่นิยมนำมาแช่เยือกแข็ง  เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ต่างๆ ผัก และผลไม้บางชนิด นอกจากนี้ในปัจจุบันยังนิยมแช่เยือกแข็งเพื่อรักษาอาหารสำเร็จรูปเมื่อต้องการรับประทานก็นำมาอุ่นได้ง่ายและสะดวกต่อผู้บริโภค

การแช่เยือกแข็งแบ่งเป็น 2 แบบคือ

1. การแช่เยือกแข็งแบบช้า (Slow Freezing) เป็นวิธีการแช่เยือกแข็งโดยทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารทั้งสิ้นเยือกแข็งภายในเวลาตั้งแต่ 3-72 ชั่วโมง  โดยใช้อุณหภูมิต่ำกว่า-15 องศาเซลเซียสการแช่แข็งจะดำเนินไปอย่างช้าๆ โดยน้ำที่อยู่ภายนอกเซลล์จะแข็งตัวเร็วกว่าน้ำที่อยู่ภายในเซลล์  เนื่องจากน้ำภายนอกเซลล์มีความเข้มข้นของตัวถูกละลายต่ำกว่าการทำให้อาหารแข็งตัวอย่างช้าๆนี้ น้ำจะค่อยๆแยกตัวออกจากในเนื้อสัตว์รวมตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งที่มีผลึกใหญ่มีขนาดไม่สม่ำเสมอจะอยู่ระหว่างเซลล์ในบริเวณที่มีน้ำมาก  เมื่อกลายเป็นน้ำแข็งจะขยายตัวจนดันเซลล์ให้แตกได้ดังนั้นเมื่อนำเอาอาหารประเภทนี้มาละลายถ้าเซลล์แตกจำนวนมากๆ สารอาหารต่างๆ ก็จะไหลออกมาทำให้รสชาติของอาหารด้อยลงและมีลักษณะแข็ง

2. การแช่เยือกแข็งแรมเร็ว (Quick Freering) เป็นวิธีการแช่เยือกแข็งโดยทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารทั้งในเยือกแข็งภายในเวลา 30 นาที  หรือน้อยกว่านั้น อุณหภูมิอาจอยู่ระหว่าง 15 ถึง-40 องศาเซลเซียสการแช่เยือกแข็งแบบนี้อุณหภูมิของผลิตภัณฑ์อาหารจะลดลงอย่างรวดเร็ว  เกล็ดน้ำแข็งขนาดเล็กจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระเบียบทั่วเนื้อเยื่อของสัตว์ทั้งภายนอกและภายใน การถ่ายเทความร้อนอย่างรวดเร็วจะทำให้เกล็ตน้ำแข็งเล็กๆไม่สามารถเพิ่มขนาดได้  จึงได้น้ำแข็งเล็กๆที่มีขนาดสม่ำเสมอกระจายอยู่ภายในเซลล์เมื่อนำอาหารแช่เยือกแข็งมาละลายผลึกน้ำแข็งเล็กๆย่อมละลายอย่างรวดเร็วและนำยังคงอยู่ภายในเซลล์ ทำให้สูญเสียสารอาหารน้อยและอาหารมีคุณภาพดี

ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับอาหารแช่เยือกแข็ง

  1. เมื่อซื้ออาหารแช่เยือกแข็งมาควรรีบเก็บในของน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว  อย่าปล่อยให้ละลายเพราะน้ำในอาหารจะไหลออกมาอาหารจะเสียรสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการไปกับน้ำ

  2. วิธีละลายน้ำแข็งจากอาหารที่ดีที่สุดก่อนนำไปประกอบอาหาร  ควรนำอาหารออกจากซองน้ำแข็งมาใส่ตู้เย็นชั้นล่าง ถึงแม้จะใช้เวลานานแต่ได้ผลดีกว่าละลายนอกตู้เย็นเพราะอุณหภูมิภายนอกตู้สูงกว่า  จุลินทรีย์เจริญเติบโตรวดเร็วอาหารก็จะเน่าเปื่อยเสียง่าย ไม่ควรละลายโดยเทน้ำราดอาหารเพราะน้ำจะพาสารต่างๆที่ให้รสชาติและคุณค่าทางโภชนาการออกไปด้วย

  3. การแช่เยือกแข็งในครัวเรือน  ควรกะปริมาณของอาหารสำหรับแช่เยือกแข็งที่พอเหมาะที่จะใช้แต่ละคราว  บรรจุภาชนะแยกเป็นส่วนๆส่วนที่ทำให้ละลายแล้วต้องใช้หมดในคราวเดียวกัน  ไม่ควรนำอาหารมาละลายแล้วนำไปแช่แข็งซ้ำอีกเพราะจะทำให้สูญเสียน้ำและสารอาหารมากขึ้น

การเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร

เกษตรกรรม  เป็นอาชีพหลักของคนไทยดังนั้นประเทศไทยจึงมีสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ผลผลิตทางการเกษตรที่สดมีแหล่งกำเนิดอยู่ใกลจากตลาดรับซื้อมักจะเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นการดูแลควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคในสภาพที่ยังสดใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญการเก็บรักษาการบรรจุภัณฑ์เป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะช่วยรักษาคุณภาพและลดความเสียหายที่เกิดกับผลผลิตได้

สาเหตุที่ทำให้ผักผลไม้สดเสื่อมคุณภาพเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. การหายใจ  เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเอนไซม์  ทำให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของอาหารพวกแป้ง โปรตีน  และไขมันที่พืชสะสมไว้แล้วปล่อยพลังงานออกมาและสร้างแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้น  อัตราการเน่าเสียจึงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอัตราการหายใจของพืช การเสื่อมคุณภาพของผลไม้สดเนื่องจากการหายใจเช่นทำให้คุณค่าทางอาหารลดน้อยลง  รสชาติเปลี่ยนไปสูญเสียน้ำหนักและทำให้อาหารในเนื้อเยื่อของผลิตผลลดน้อยลงเป็นเหตุให้ผลิตผลสุกงอมและเน่าเสียในที่สุด

2. การคายน้ำ  ผักผลไม้ประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80 หรือมากกว่า) และในระยะการเจริญเติบโตจะได้รับน้ำอย่างพอเพียงโดยผ่านทางระบบรากของพืช  แต่เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วน้ำเหล่านี้ถูกตัดขาดผลิตผลพืชมีชีวิตอยู่ได้ด้วยน้ำที่สะสมไว้เมื่อผลิตผลยังหายใจอยู่การคายน้ำก็ยังคงเกิตอยู่ต่อไปด้วยการสูญเสียน้ำทำให้น้ำหนักลดลงยิ่งสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นรูปร่างและความยืดหยุ่นของผลิตผลพืชจะยิ่งลดลงจนอ่อนนิ่มและเที่ยวแห้งไป

3. ความชื่น  ถ้าความชื้นในอากาศน้อยการสูญเสียน้ำของพืชผ่านทางกระบวนการคายน้ำจะยิ่งเร็วขึ้น  ดังนั้น ถ้าเราสามารถควบคุมอิทธิพลที่มีต่อการคายน้ำโดยการเก็บผลิตผลไว้ในสภาพแวดล้อมอมความชื้นสูงมากๆก็จะสามารถช่วยยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวได้มาก

4. อุณหภูมิ  มีอิทธิพลโดยตรงต่อกระบวนการหายใจของพืช  ถ้าปล่อยให้อุณหภูมิของผลิตผลพืชสูงขึ้นอัตราการหายใจก็จะสูงขึ้นด้วย  ทำให้ผักผลไม้เน่าเสียเร็วดังนั้นการรักษาอุณหภูมิของผลิตผลพีซให้อยู่ในระดับต่ำจะทำให้กระบวนการหายใจลดลงเป็นการช่วยยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลพืชได้ทางหนึ่ง

อุณหภูมินอกจากมีอิทธิพลต่อการหายใจแล้ว  ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลิตผลพืชด้วย  เช่น เก็บผลิตผลพืชไว้ที่อุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียสจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ  ถ้าเก็บที่ 60 องศาเซลเซียสกระบวนการเกี่ยวกับเอนไซม์ทุกชนิดจะหยุดและผลิตผลก็จะตาย เกิดความเสียหาย

5.การเกิดแผลและการช้ำ  การเกิดแผลและการซ้ำของผลิตผลพืชนอกจากทำให้เซลล์แตกและเนื้อเยื่อเสียหาย  แล้วยังทำให้สูญเสียน้ำโดยตรงและที่สำคัญกว่านั้นคือทำให้กระบวนการหายใจของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้ยังเป็นทางผ่านให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลายผลิตผลได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย

การยืดอายุผักและผลไม้

หลักการที่ใช้ยืดอายุผักและผลไม้  คือ การควบคุมกระบวนการเปลี่ยนแปลงผลิตผลที่นำไปสู่ความเสื่อมสลายโดยการควบคุมอัตราการหายใจของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด  ซึ่งสามารถทำให้ยึดอายุได้นานโดยการจัดการปัจจัยภายนอกให้เหมาะสม ได้แก่

  1. ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับผลิตผลแต่ละชนิด

  2. ควบคุมความชื้นภายในภาชนะบรรจุไม่ให้เกิดหยดน้ำ

  3. ควบคุมและป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลง

  4. ควบคุมปริมาณแก๊สเอทิลีนที่ผักผลไม้สร้างขึ้นภายในภาชนะบรรจุไม่ให้มีปริมาณมาก  เนื่องจากสามารถทำความเสียหายให้กับผลิตผลได้

  5. ควรจัดบรรยากาศแวดล้อมผลิตผลสดภายหลังการบรรจุให้เหมาะสม  แล้วปล่อยให้มีการปรับสภาพภายในภาชนะบรรจุด้วยตัวของผลิตผลเอง

การยืดอายุตอกไม้

ดอกไม้  จัดเป็นผลิตผลทางการเกษตรชนิดหนึ่งซึ่งต้องผลิตให้ได้คุณภาพสูง  เนื่องจากการผลิตดอกไม้ให้มีคุณภาพดีจะช่วยให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง  ตามไปด้วยโดยคุณภาพดอกไม้ที่ดีหมายถึงลักษณะและคุณสมบัติรวมของดอกไม้ที่อยู่ในระดับที่ยอมรับกันได้ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิต  การผลิตดอกไม้ให้ได้คุณภาพต้องมีระบบประกันคุณภาพซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่การวางแผนการผลิตจนถึงตลาดซึ่งระบบการประกันคุณภาพจะทำให้ผู้ใช้ดอกไม้มั่นใจว่าจะได้ดอกไม้ที่มีคุณภาพดี

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพของดอกไม้ มีดังนี้

1. น้ำ  ดอกไม้จะเที่ยวหรือเสื่อมสภาพเนื่องจากไม่สามารถดูดน้ำไปใช้ได้อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ  เช่น เนื้อเยื่อของก้านดอกเสื่อมสภาพ หรือเกิดการอุดตันจากแบคทีเรีย หรือในท่อลำเลียงน้ำมีฟองอากาศเกิดขึ้น  นอกจากนี้คุณภาพของน้ำก็เป็นตัวกำหนดว่าดอกไม้จะใช้ประโยชน์จากน้ำนั้นได้หรือไม่ตาม ปกติน้ำที่ใช้ในการแช่ดอกไม้ต้องมีคุณภาพดีเช่นมีเกลือปะปนอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลยน้ำที่ไม่มีประจุหรือน้ำกลั่นจะเหมาะสมมากกว่าน้ำประปาน้ำที่มีฟลูออไรด์ปะปนอยู่จะลดอายุการปักแจกันของดอกไม้บางชนิดเช่นแกลดิโอลัสและเยอบีรา ฯลฯ น้ำที่มีความเป็นกรดจะเคลื่อนที่ไปในก้านดอกได้ดีกว่าน้ำที่มีความเป็นกลางหรือด่าง

2. แก๊สเอทิลีน  ดอกไม้หลายชนิดตอบสนองต่อแก๊สเอทิลีนในระดับที่ต่ำมาก  เช่น ดอกคาร์เนชั้นถ้าหากได้รับเอทิลีนในระดับเพียง 1 ต่อล้านส่วนก็สามารถตอบสนองโดยแสดงอาการเหี่ยวและกลีบม้วนเข้าหาดอก  ซึ่งอาการนี้เรียกว่า Sleepiness ดอกกล้วยไม้บางชนิดจะมีสีซีดและเหี่ยวลงเมื่อได้รับแก๊สเอทิลีน

3. สารควบคุมการเจริญเติบโต  มีสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด  ที่สามารถช่วยTะยกระบวนการเสื่อมสภาพของดอกไม้ได้  เช่น BA (Benzyladenine) จะช่วยชะลอการสูญเสียความเบียวของใบพืช และ NAA (Naphthyl acetic acid) ช่วยลดการหลุดร่วงของดอก  เช่น ดอกอะกาแพนทัส

4.  สารเคมี  สารเคมีหลายชนิดช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของดอกไม้ได้  เช่น ซิลเวอร์ในเตรต ซิลเวอร์ไทโอซัลเฟต น้ำตาลทราย  และสารฆ่าเชื้อจุลินทรี ย์สารเคมีที่ใช้ในการชะลอการเสื่อมสภาพนั้นมีวัตถุประสงค์ในการใช้สารต่างๆ กัน  เช่น ใช้เพื่อทำให้ดอกไม้ที่เที่ยวกลับคืนสู่สภาพเดิม ใช้เพื่อเพิ่มอาหารในระยะเวลาสั้นๆ ใช้เพื่อกระตุ้นให้ดอกบาน  หรือใช้เป็นสารละลายในการปักแจกัน

5.สภาพแวดล้อม  เช่น  อุณหภูมิ  ความชื้น มีผลกระทบต่อการเสื่อมคุณภาพมากโดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงจะเร่งการเสื่อมสภาพของดอกไม้

ข้อใดคือหลักการสำคัญของ"การแปรรูปอาหาร

หลักการที่สาคัญของการถนอมและแปรรูปอาหารมี 3 ประการ การป้องกันหรือยืดเวลา การย่อยสลายอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ การป้องกันหรือยืดเวลาการสลายตัวที่เกิดขึ้นเองของอาหาร และการป้องกันความเสียหายของอาหารทางกายภาพ กรรมวิธีการถนอมและแปรรูปอาหาร ปัจจุบันมี กรรมวิธีการถนอมและแปรรูปอาหารมีหลากหลายรูปแบบ สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ ...

ข้อใดคือหลักการในการถนอมอาหาร

การถนอมอาหาร (food preservation) คือ วิธีการปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร ชะลอการเสื่อมเสียของอาหาร (food spoilage) จากสาเหตุต่างๆ ทั้งด้าน จุลินทรีย์ เคมี และทางกายภาพ โดยการถนอมอาหารจะเน้นการรักษาคุณภาพด้านต่างๆของอาหาร ทั้งทางด้านรสชาด คุณค่าทาง

การยืดอายุอาหารมีอะไรบ้าง

หลักการแปรรูปและถนอมอาหารทั้ง 5 วิธี.
1. การทำให้แห้ง ถนอมอาหารด้วยการทำให้แห้ง ... .
2. การใช้ความร้อน ... .
3. การใช้ความเย็น ... .
4. การหมักดองอาหาร ... .
5. การใช้สารเคมีในการถนอมอาหาร.

อายุการเก็บรักษาอาหารมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารอย่างไร

การเก็บรักษาอาหารนั้นมีความสำคัญทั้งในแง่ของความปลอดภัย เช่น ไม่ให้มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้นในอาหารจนทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องร่วงท้องเสีย และการคงสภาพอาหารให้ยังคงน่ารับประทาน เช่น ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน สีสันไม่เปลี่ยนไป ยังคงความกรอบ และมีรสชาติที่พึงประสงค์ได้ เป็นต้น โดยเกณฑ์ที่ใช้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง