ทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องใด

ท่านสามารถติดต่อเข้าศึกษาดูงานได้ที่ : 053-873429 งานสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ 053-873400 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร (ในวันและเวลาราชการ)

รับชมวีดีทัศน์ >> แนะนำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รับชมวีดีโอองค์ความรู้ :
การเพาะเมล็ดอะโวคาโด แบบลงดินและในน้ำ
การทำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง (สูตรเร่งด่วน)
น้ำหมักจุลินทรีย์ 3 สูตร (น้ำหมักหน่อกล้วย, น้ำหมักสมุนไพร, น้ำหมักผลไม้ 3 ชนิด)
เทคนิคการบังคับมัลเบอร์รี่ให้ออกดอกนอกฤดูกาล
มะละกอต้นเตี้ยและการขยายพันธุ์พืชตระกูลส้ม
ภูมิปัญญาการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแบบล้านนา
สาธิตวิธีเปลี่ยนยอดมะม่วง โดยวิธีการเสียบยอด (แบบเสียบลิ่ม)
สาธิตวิธีการแกะเมล็ดมะม่วงเพื่อทำเป็นต้นตอ


ปราโมทย์ ไม้กลัด 1ความเป็นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการจัดหาน้ำให้แก่เกษตรกรสำหรับใช้ในการทำการเกษตรเสมอมา ด้วยทรงตระหนักว่าสระน้ำในไร่นาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก จึงทรงคิดวิธีกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การจัดการด้านการใช้น้ำกับพื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้พระราชทานแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"แบบจำลองทฤษฎีใหม่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ทดลองใช้ทฤษฎีใหม่ ในครั้งแรกด้วยการจัดซื้อที่ดินในขนาดเฉลี่ยของราษฎรหนึ่งครอบครัว คือประมาณ 15 ไร่ บริเวณใกล้วัดมงคลชัยพัฒนา ต.ห้วยบง อ.เมือง จ.สระบุรี ทรงใช้แบบจำลองทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่เป็น 3 ส่วนดังนี้
  • ส่วนที่หนึ่ง พื้นที่ร้อยละ 30 (ประมาณ 3 ไร่) ให้ขุดเป็นสระกักเก็บน้ำประจำไร่นา ลึก 4 เมตร จุน้ำได้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อไว้กักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ทำนา รวมทั้งไว้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรผสมผสานได้พอเพียงตลอดปี
  • ส่วนที่สอง พื้นที่ร้อยละ 60 (ประมาณ 10 ไร่) ให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร โดยการทำไร่นาสวนผสม ด้วยการปลูกข้าวร้อยละ 30 ที่เหลือปลูกพืชสวน ไม้ผล ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมและตลาดท้องถิ่น
  • ส่วนที่สาม พื้นที่ร้อยละ 10 (ประมาณ 2 ไร่) เป็นบริเวณที่อยู่อาศัย โรงเรือน คอกสัตว์ ทำกองปุ๋ย กองฟาง ลานตาก-นวดพืชผล ฯลฯ
หลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้ คือการให้เกษตรกรมีความพอเพียงที่จะเลี้ยงตัวเองได้อย่างพอมีพอกิน ส่วนที่เหลือจึงจะนำออกขายเป็นรายได้ต่อไป และปัจจัยสำคัญในการผลิตของเกษตรกรก็คือ การมีแหล่งน้ำที่จะสามารถหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้พระองค์ท่านได้ทรงคำนวณสูตรการใช้ประโยชน์พื้นที่ การจัดการแหล่งน้ำที่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรอย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในขั้นแรกในเรื่องของการขุดสระน้ำ เกษตรกรต้องได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ มูลนิธิ หรือองค์กรเอกชนต่าง ๆ เนื่องจากมีราคาการลงทุนค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องน้ำที่จะมาเติมสระให้เต็มเพื่อให้พอเพียงหล่อเลี้ยงไร่นาไปได้ตลอดปี เช่น ในกรณีน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีพอเพียงให้สำรองไว้เพียงใด หรือลำพังสระน้ำแม้จะได้รับน้ำฝนเต็มก็เพียงปีละครั้ง และยังมีการระเหยสูญเสียไป พระองค์ท่านจึงได้พระราชทานข้อมูลเรื่องน้ำในทฤษฎีใหม่ที่สมบรูณ์ไว้ด้วยว่า ต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำใหญ่มาเติมให้แก่สระน้ำในไร่นา และอ่างเก็บน้ำใหญ่เองก็อาจต้องเติมจากอ่างที่ใหญ่ยิ่งกว่าด้วยขั้นตอนการดำเนินงานกล่าวได้ว่าแนวพระราชดำริของแบบจำลองทฤษฎีใหม่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้เริ่มจากขั้นตอนแรกที่ให้เกษตรกรรายย่อยสามารถยังชีพได้อย่างพอมีพอกิน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขึ้นในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆในขั้นที่สอง ต้องให้เกษตรกรเข้าใจเรื่องการจัดการไร่นาของตน ด้วยการทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการรวมกลุ่มสหกรณ์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิตและการตลาด จึงจะไปสู่ขั้นที่สามที่จะสามารถสร้างอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้โดยหวังว่าจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในท้ายที่สุดการขยายผลหลังจากได้ทดลองใช้ทฤษฎีใหม่ได้ผลที่ จ.สระบุรีแล้ว ได้มีการขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ที่ จ.กาฬสินธุ์ จ.นราธิวาส จ.นครศรีธรรมราช ฯลฯ ซึ่งการดำเนินการจนถึงปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีว่าเกษตรกรสามารถมีน้ำสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อยังชีพและทำรายได้แก่ครอบครัวได้ในระดับที่น่าพอใจหลายหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัดต่าง ๆ มีการขยายผลแนะนำเผยแพร่โครงการนี้ไปสู่ราษฎรทั่วประเทศ ซึ่งเกษตรกรต่างให้ความสนใจนำรูปแบบทฤษฎีใหม่ไปดำเนินการอย่างกว้างขวางแบบจำลอง "ทฤษฎีใหม่"
พื้นที่ 15 ไร่
1 ผู้ตรวจราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ ๑๕ ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ใว้ใช้จ่ายและมีอาหารใว้บริโภคตลอดปี (กรมวิชาการ, ๒๕๓๙: ๗๗) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า "…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…" (สำนักพระราชวัง, ๒๕๔๒: ๓๑)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด ๑๖ ไร่ ๒ งาน ๒๓ ตารางวาใกล้วัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี และทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมโครงการของรัฐ ทั้งนี้ก่อนที่จะทรงนำเอกสารออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ นั้น ทรงให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารพัฒนา" ตามแนวพระราชดำริ อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรโดยประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎรและรัฐ ทำการเผยแพร่อาชีพการเกษตรและจริยธรรมแก่ประชาชนในชนบท โดยทรงหวังว่าหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางสาธิตในท้องที่อื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรนั้น ก็คือแนวคิดและมรรควิธีที่รู้จักกันในนาม "เกษตรทฤษฎีใหม่" (อำพล, ๒๕๔๒: ๓-๔)พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้นสถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าเมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, ๒๕๔๒)
ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลางเมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
(๑) การผลิตเกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(๒) การตลาดเมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(๓) ความเป็นอยู่ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
(๔) สวัสดิการแต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
(๕) การศึกษามีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(๖) สังคมและศาสนาชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าเมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
    เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง) ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕ แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
| ทฤษฎีการพัฒนาการเกษตรแบบ "พึ่งตนเอง" และ "เศรษฐกิจพอเพียง" | ทฤษฎีใหม่ : แนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน | เกษตรยั่งยืนและระบบเกษตรธรรมชาติ|| การจัดการทรัพยากรน้ำ| การจัดการทรัพยากรป่าไม้ | การจัดการทรัพยากรที่ดิน| การจัดการทรัพยากรประมง| การจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร| การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม|

ทฤษฎีใหม่ เกี่ยวกับอะไร

"ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก

ทฤษฎีใหม่ กล่าวถึงเรื่องใดเป็นสำคัญหมายถึง?

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ...

ทฤษฎีใหม่ เกิดจากอะไร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการจัดหาน้ำให้แก่เกษตรกรสำหรับใช้ในการทำการเกษตรเสมอมา ด้วยทรงตระหนักว่าสระน้ำในไร่นาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก จึงทรงคิดวิธีกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การจัดการด้านการใช้น้ำกับพื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้พระราชทานแนวพระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่"

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สามเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ขั้นที่ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่าย ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง