ตัวแปรต้นของการสงสัยนี้คืออะไร

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างเป็นกระบวนการ เพื่อตอบปัญหาที่สงสัยโดยปัญหานั้นเกิดจากความสนใจของผู้ทำโครงงาน ดังนั้นผู้ที่จะศึกษาและทำโครงงานจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ มีการสังเกต จดบันทึก และวางแผนรูปแบบขั้นตอนในการทำโครงงานอย่างเป็นระบบ
ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
    นักการศึกษาได้แบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะกิจกรรมการศึกษาค้นคว้า สำหรับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529) ธีระชัย ปูรณโชติ (2531) และ Sherburne (1975) ได้กล่าวถึงประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ในลักษณะที่สอดคล้องกันว่า โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
    1.      โครงงานประเภททดลอง
    2.      โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
    3.      โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
    4.      โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบาย
1.     โครงงานประเภททดลอง
    ลักษณะของโครงงานประเภททดลองนี้ต้องมีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ต้องการศึกษาที่จะส่งผลให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อน ขั้นตอนการทำโครงงานประเภทนี้จะต้องมีการกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลอง ดำเนินการทดลองเพื่อหาคำตอบของปัญหา หรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ แปรผล และสรุปผล การทำโครงงานประเภททดลองนี้ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องทำการทดลองเพื่อศึกษา ความเป็นไปได้เบื้องต้น (preliminary study) เสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลบางประการมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของการศึกษาค้นคว้าจริงต่อไป
    การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งตัวแปรออกเป็น 3 ประเภท คือ
    1.     ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) คือสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่เราต้องการศึกษาทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้น จริงหรือไม่
    2.      ตัวแปรตาม (dependent variable) คือสิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุเปลี่ยนไปตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลก็ จะเปลี่ยนไปด้วย
    3.      ตัวแปรที่ต้องควบคุม (controlled variable) คือสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะมีผลต่อการทดลองซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือนกัน เพราะอาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน

    เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรง่ายขึ้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า
    -    ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระคือสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา
    -    ตัวแปรตามคือสิ่งที่เราต้องการจะวัดหรือผลการทดลอง
    -    ตัวแปรที่ต้องควบคุมคือสิ่งที่ไม่ต้องการจะศึกษาแต่สิ่งนั้นจะไปมีผลทำให้ตัวแปรตามคลาดเคลื่อน
    ตัวอย่างเช่น ต้องการจะศึกษาว่าแสงสีอะไรเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า ก็อาจจะกำหนดสีของแสงนั้นขึ้น 5 สี ได้แก่ แดง ม่วง เหลือง เขียว และน้ำเงิน ดังนั้น การออกแบบการทดลองก็ต้องปลูกผักคะน้า 5 แปลง แต่ละแปลงก็ให้แสงแต่ละสี จากตัวอย่างนี้
    -    ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ สีของแสง
    -    ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโต ซึ่งอาจใช้เกณฑ์วัดความสูง นับจำนวนใบ ชั่งน้ำหนักในวันสุดท้ายของการทดลอง
    -    ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ พันธุ์ผักคะน้า ปริมาณน้ำที่รด ฤดูกาลที่ปลูก ดิน ระยะห่างระหว่างต้น ขนาดของแปลง จำนวนต้นต่อแปลง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน จึงจำเป็นต้องให้ทุกกลุ่มที่ทดลองเหมือนกัน
    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของโครงงานประเภททดลอง ซึ่งโครงงานประเภทนี้ทำกันอย่างแพร่หลายมาก ข้อดีของโครงงานประเภทนี้จะมีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ครบทั้ง 5 ขั้น คือ ตั้งแต่การกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐาน วางแผนทดลอง รวบรวมข้อมูล และสรุปผล  นอกจากนั้นโครงงานประเภททดลองยังเป็นโครงงานที่ฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ในด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปรอีกด้วย  ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานประเภทนี้ให้มากๆ
2.     โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
    ลักษณะของโครงงานประเภทนี้เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ในธรรมชาติ แล้วนำมาจัดจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ โดยไม่มีการกำหนดตัวแปร ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่
    -    การศึกษาลักษณะของอากาศในท้องถิ่น
    -    การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชิวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง
    -    การศึกษาการเจริญเติบโต หรือวงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งในสภาพธรรมชาติหรือในห้องทดลอง โดยไม่มีการกำหนดตัวแปร
    -     การสำรวจสารพิษ การสำรวจหิน แร่ และสิ่งมีชีวิตในบางท้องที่
    -     การศึกษาสมบัติของสารบางชนิด
    -     การศึกษาโครงสร้างภายในของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ฯลฯ

    โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเพื่อตอบคำถามหรือเพื่อรู้เท่านั้น การนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนั้น และจุดอ่อนของโครงงานประเภทนี้อยู่ตรงที่ไม่ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาตร์ด้านการกำหนดและควบคุมตัวแปร
3.     โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
    ลักษณะโครงงานประเภทนี้จะต้องมีการกำหนดตัวแปรที่ต้องศึกษาเหมือนกับ โครงงานประเภททดลอง แต่ผลของโครงงานประเภทนี้จะได้อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์และมีข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย ซึ่งต่างจากโครงงานประเภททดลองตรงที่ผลของโครงงานประเภททดลองจะมีแต่เฉพาะ ข้อมูล โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์นี้จะมีการกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาซึ่งมีทั้งตัวแปร ต้น หรือตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุม เช่นเดียวกับโครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ส่วนใหญ่จะกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาดังนี้
    ตัวแปรต้น  ส่วนใหญ่จะศึกษาในด้าน
    -    รูปทรงหรือโครงสร้างที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์
    -    ชนิดของวัสดุที่เหมาะสมในการทำสิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ
    ตัวแปรตาม ส่วนใหญ่จะวัดคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งกำหนดเกณฑ์การวัดต่างๆ กันออกไปตามชนิดของสิ่งประดิษฐ์
    ส่วนตัวแปรที่ต้องควบคุมนั้นจะควบคุมในสิ่งที่จะทำให้ผลการวัดตัวแปรตาม คลาดเคลื่อน จะควบคุมอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งประดิษฐ์
    เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างโครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องหนึ่งคือ "โครงงานเรื่องเครื่องฟักไข่แบบประหยัด"
    สมมติว่าโครงงานเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อหารูปทรงและวัสดุที่เหมาะสมของเครื่องฟักไข่ ดังนั้นโครงงานเรื่องนี้จึงมีการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ
    ขั้นตอนที่ 1 หารูปทรงที่เหมาะสม
    1)    ตัวแปรต้น คือ รูปทรงของเครื่องฟักไข่แบบต่าง ๆ
    2)    ตัวแปรตาม คือ ความสะดวกของการใช้งาน การประหยัดไฟ ค่าร้อยละของไข่ที่ฟักออก เป็นต้น
    3)    ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ ขนาดของขดลวดความร้อนต้องเท่ากัน ไข่ที่ฟักต้องเหมือนกัน คือมีเชื้อและเกิดจากแม่พันธุ์ อายุ และการเลี้ยงเหมือนกัน วัสดุที่ทำเครื่องฟักเหมือนกัน วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนเหมือนกัน
    ขั้นตอนที่ 2
    1)    หาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับเป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนของเครื่องฟัก
        -    ตัวแปรต้น คือ วัสดุชนิดต่างๆ ที่ใช้เป็นฉนวน
        -    ตัวแปรตาม คือ การรักษาอุณหภูมิ การประหยัดไฟ ค่าร้อยละของไข่ที่ฟักออก เป็นต้น
    -     ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ ขนาดของขดลวดความร้อนเท่ากัน ไข่ที่ใช้ฟักต้องเหมือนกัน คือมีเชื้อและเกิดจากแม่พันธุ์ อายุ และการเลี้ยงดูเหมือนกัน รูปทรงเครื่องฟักเหมือนกัน และวัสดุที่ทำเครื่องฟักเหมือนกัน
    2)    หาความต้านทานของขดลวดที่เหมาะสม
    -    ตัวแปรต้น  คือ  ขนาดของขดลวดที่มีความต้านทานต่างๆ กัน
    -    ตัวแปรตาม  คือ  อุณหภูมิของเครื่องฟัก การประหยัดไฟ เป็นต้น
    -    ตัวแปรที่ต้องควบคุม  คือ  รูปทรง ฉนวน เป็นต้น
    จากตัวอย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์จะต้องมีการกำหนดและควบคุมตัวแปรเช่นเดียวกับ โครงงานประเภททดลอง ถ้าการทำสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาโดยไม่ได้มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เราจะไม่จัดว่าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์แต่จัดว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ซึ่ง ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในเรื่องลักษณะของโครงงาน โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์นี้อาจจะมีลักษณะเป็นแบบจำลองก็ได้ แต่ต้องแสดงให้เห็นการทำงานของแบบจำลองนั้นจริงๆ ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์นี้ นอกจากจะมีข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาทดลองขั้นต้นเพื่อนำมาใช้ประกอบงานได้จริงๆ หรือแบบจำลองที่แสดงการทำงานได้ ซึ่งมองเห็นประโยชน์ของการนำไปใช้ได้ชัดเจน จึงเป็นโครงงานที่น่าสนใจกับผู้ชมมาก
    4.     โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบาย
    ลักษณะโครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่อธิบายทฤษฎีเก่าในแนวใหม่ หรือสร้างทฤษฎีใหม่เพื่อล้มล้างทฤษฎีเก่า หรือนำทฤษฎีเก่ามาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาในเรื่องที่ต้องการหาคำตอบ ผู้ทำโครงงานประเภทนี้จะต้องมีความรู้เรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง จึงมีนักเรียนทำโครงงานประเภทนี้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือดาราศาสตร์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
    -    โครงงานคลื่นการเดินของกิ้งกือ ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
    -    โครงงานการใช้สมการการวิเคราะห์ถดถอย (multiple regression) ในการประมาณพื้นที่รา บนขนมปังพ่นด้วยสารละลายพาราเซตามอล ของโรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์  สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร

ตัวแปรตาม คือข้อใด

ตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล (Dependent Variable) หมายถึง สิ่งที่เกิดตามมาเพราะผลของตัวแปรอื่น เป็นผลจากตัวแปรต้น ในทางวิจัยจึงเป็นตัวแปรที่เป็นเป้าหมายในการศึกษา สรุปโดยง่ายคือผลลัพธ์ของสมมุติฐาน

ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองมีอะไรบ้าง

1) ตัวแปรต้น ( ตัวแปรอิสระ) (Independent variable) คือ ตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบ และดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ 2) ตัวแปรตาม (Dependent variable) คือ ตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระในตัวมันเอง เปลี่ยนแปลงไป ตามตัวแปรอิสระ เพราะเป็นผลของตัวแปรอิสระ

ตัวแปรต้นคืออะไรพร้อมยกตัวอย่าง

ตัวแปรต้น คือ ชนิดของดินที่เราใช้ปลูกต้นถั่วเขียวนั่นเอง (เปลี่ยนชนิดของดิน เพื่อดูความสูงของต้นถั่วเขียวว่าเหมือนกันหรือไม่) ตัวแปรตาม คือ ความสูงของต้นถั่วเขียว (เป็นผลของการทดลอง เป็นสิ่งที่เราต้องเก็บค่า)

ตัวแปรที่มีผลต่อการทดลองมีกี่ชนิดอะไรบ้าง

ตัวแปร คือ ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ก. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) คือ ตัวแปรที่คาดว่าอาจเป็นต้นเหตุของปัญหานั้น ข. ตัวแปรตาม หรือตัวแปรไม่อิสระ (dependent variable) คือ ตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง