ข้อใดเป็น จุด มุ่งหมาย ของการศึกษา เกี่ยวกับอารยธรรมของโลก ยุคโบราณ

“อารยธรรม” ตามความหมายทางภาษาคือความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย หรือความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี ภาษาอังกฤษคือ “Civilization” สันนิษฐานว่ามีความเกี่ยวโยงกับคำว่า Civis และ Civitas ในภาษาละติน โดย Civis หมายถึงประชาชน และ Civitas หมายถึงเมือง จึงอนุมานได้ว่า Civilization นั้นประกอบด้วยส่วนสำคัญคือผู้คนซึ่งรวมตัวกันจนเกิดเป็นสังคมเมือง 

อารยธรรมโลกโบราณเกิดขึ้นได้อย่างไร? 

จุดเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันเป็นหลักแหล่ง พึ่งพาอาศัยกันเพื่อความอยู่รอด จากกลุ่มคนขยายตัวเป็นเมือง เกิดการสร้างทักษะ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างข้อตกลงเพื่อวางรากฐานกฎเกณฑ์ จนเกิดเป็นระบบสังคมที่ซับซ้อน มีแบบแผนของขนบธรรมเนียมและประเพณี มีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้าน เมล็ดพันธุ์แห่งอารยธรรมก็งอกงามขึ้นจากจุดนั้นเอง 

อารยธรรมโบราณสำคัญของโลก 

เมื่อสังคมเริ่มขยายใหญ่ขึ้น จึงเกิดการกระจายตัวของกลุ่มคนออกไปตามแต่ละภูมิภาค การโยกย้ายถิ่นฐานไปสร้างชุมชนใหม่ทำให้เกิดความหลากหลายทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การสร้างอารยธรรมอันมีเอกลักษณ์ของตนเอง แหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญของโลก ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อียิปต์โบราณ อินเดียโบราณ กรีก และจีนโบราณ ล้วนสร้างรากฐานทางภูมิปัญญาไว้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งอิทธิพลต่อสังคมในยุคต่อมาอย่างเห็นได้ชัด 

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย 3500-500 BCE

อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีเอกลักษณ์โดดเด่นหลายด้าน เกิดจากการผสมผสานความรู้และวิทยาการจากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวซูเมอร์ หรือสุเมเรียน ที่รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่บนพื้นที่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เมโสโปเตเมีย” ในภาษากรีกโบราณ คือ "พื้นที่ระหว่างแม่น้ำ” ท่ามกลางภูมิประเทศอันแห้งแล้ง แม่น้ำได้พัดพาเอาตะกอนดินมาทับถมกันจนเกิดเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการเพาะปลูกและอยู่อาศัย จนได้รับการขนานนามให้เป็น “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์”

ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีแกะสลักบนเสาหิน ขุดพบที่อิหร่านเมื่อ ค.ศ. 1901ล้อโบราณช่วง 750 BCE สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย พบที่อิรัก

หลักฐานความเจริญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้แก่ การประดิษฐ์ตัวอักษรที่นักโบราณคดีเชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดของโลกเรียกว่า “อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform Script)” ซึ่งเป็นต้นแบบของตัวอักษรกรีกและโรมัน และอักษรภาพ (Hieroglyphics) ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เช่น การประดิษฐ์วงล้อ ซุ้มโค้ง (Arch) สำหรับรองรับโครงสร้างอาคาร การแบ่งชั่วโมงออกเป็น 60 นาที รวมไปถึงการตราประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi ) หนึ่งในกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิสตรีมาตั้งแต่ยุคโบราณก่อนที่โลกสมัยใหม่จะตื่นรู้กันในหลายร้อยปีต่อมา 

อารยธรรมอียิปต์โบราณ 3150-300 BCE

อียิปต์โบราณ หรือไอยคุปต์ เพี้ยนเสียงมาจากภาษา Amarna ที่เรียกว่า Hikuptah (อ่านว่า ไอ-คุบ-ต้า) แปลว่า แม่น้ำไนล์ ตามตำแหน่งที่ตั้งซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อารยธรรมอียิปต์โบราณรุ่งเรืองนับพันปี 

มหาพีระมิดแห่งกิซา หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณที่ยังเหลืออยู่ในยุคปัจจุบันหีบและโลงบรรจุมัมมี่ก็มีการแบ่งลำดับตามชนชั้นกระดาษชนิดแรกของโลกทำมาจากต้นกก (Papyrus)

อารยธรรมของอียิปต์โบราณสร้างมรดกมากมายหลายด้านให้แก่โลก โดดเด่นทั้งวิทยาการความรู้ และความเชื่อที่มีอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ซึ่งเป็นที่มาของหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณอย่างมหาพีระมิดแห่งกิซา และการทำมัมมี่ ซึ่งชี้ให้เห็นความแตกฉานในศาสตร์แต่ละด้านอย่างลึกซึ้ง นอกจากนั้นยังผลิตกระดาษจากต้นกก (Papyrus) ขึ้นใช้แทนการจารึกอักษรลงบนแผ่นหิน ซึ่งบันทึกวิทยาการความก้าวหน้าของชาวอียิปต์โบราณไว้มากมาย ความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของอารยธรรมอียิปต์โบราณหยั่งรากลึกและแผ่ขยายออกไป จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของอารยธรรมตะวันตกในเวลาต่อมา

อารยธรรมกรีก 2000 BCE-146 CE

อารยธรรมกรีกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์ (Athens) เมืองหลวงของประเทศกรีซในปัจจุบัน เป็นอารยธรรมโลกตะวันตกที่เจริญรุ่งเรืองมาก ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้อารยธรรมกรีกเฟื่องฟูคือที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอยู่บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านและชายฝั่งทะเลอีเจียน ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้ชิดกับอารยธรรมสำคัญของโลกอย่างอียิปต์โบราณ และเมโสโปเตเมีย  ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความเจริญด้านต่าง ๆ ระหว่างกัน

วิหารพาร์เธนอนสร้างขึ้นระหว่าง 447-432 BCE เพื่อถวายเทพีแห่งปัญญา "Athena"อริสโตเติลคือพระอาจารย์ผู้วางรากฐานความรู้ให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

จุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมกรีกคือการได้รับยกย่องให้เป็นต้นแบบงานศิลปกรรมของโลก ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างสรรค์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความศรัทธาทางศาสนา ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อแสดงความเคารพบูชาต่อเทพเจ้า สถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลกอย่างวิหารพาร์เธนอน หนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งสามมิติ นอกจากนี้แล้วสิ่งที่เปรียบเสมือนอัตลักษณ์ของอารยธรรมกรีกคือความเจริญด้านปรัชญา นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นอมตะ ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล ล้วนแล้วแต่เป็นนักคิด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย 

อารยธรรมอินเดียโบราณ 2500 BCE-1858 CE

อารยธรรมอินเดียโบราณเกิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ปัจจุบันคือแคว้นปัญจาบในประเทศปากีสถาน หรืออีกชื่อคือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่บริเวณเมืองโบราณโมเฮนโจ-ดาโร (Mohenjo-daro) และเมืองฮารัปปา (Harappa) โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเตเมีย ชนพื้นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานคือชาวดราวิเดียน หรือทราวิฑ (Dravida) ก่อนที่ภายหลังจะถูกครอบครองโดยชาวอารยัน จึงเกิดการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของสองชนชาติ และเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางอารยธรรมที่ถ่ายทอดมาถึงอินเดียยุคใหม่อย่างที่เรารู้จักกันดี

ผังเมืองฮารัปปา (Harappa) ตั้งอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถานในยุคปัจจุบันคัมภีร์พระเวท คือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 

ลักษณะเด่นของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ คือความเจริญด้านสังคมเมือง เห็นได้จากการวางผังเมืองที่เป็นระเบียบ แบ่งผังเมืองออกเป็นตาราง มีระบบท่อระบายน้ำของเมืองเชื่อมบ้านแต่ละหลัง มีการตัดถนนเป็นมุมฉาก สะท้อนความรู้ด้านเรขาคณิตขั้นสูง นอกจากนี้ยังมีผลงานวรรณกรรมอันทรงคุณค่าอย่างมหาภารตะ และรามายณะ รวมไปถึงเป็นถิ่นกำเนิดของหลายศาสนา ทั้งพุทธ และเชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมี “คัมภีร์พระเวท” เป็นหัวใจสำคัญที่มีอิทธิพลต่อระบบความคิด ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของระบบความคิดทางศาสนา และปรัชญาของอินเดียทั้งหมด

อารยธรรมจีนโบราณ 4000 BCE-1644 CE

อารยธรรมจีนโบราณก่อกำเนิดขึ้นบริเวณเขตลุ่มแม่น้ำหวงหรือแม่น้ำเหลืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนในปัจจุบัน ก่อนจะขยายตัวเข้าไปในเขตลุ่มแม่น้ำแยงซี เนื่องจากเป็นอารยธรรมที่หล่อหลอมขึ้นภายในดินแดนของตนเองเป็นส่วนใหญ่ จึงได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกไม่มากนัก ทำให้มีรากฐานที่มั่นคงและความเป็นเอกภาพสูงต่างจากอารยธรรมร่วมสมัยอย่างอินเดียโบราณ และเมโสโปเตเมียที่ก่อตัวขึ้นจากการผสมผสานกันของหลายวัฒนธรรม

เข็มทิศโบราณถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในสมัยราชวงศ์ฮั่นส่วนหนึ่งของภาพเขียนบนผ้าไหมของจาง เซวียน ศิลปินยุคราชวงศ์ถัง

ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมจีนโบราณเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานจนสิ้นสุดสมัยการปกครองแบบราชวงศ์ วิทยาการของชาวจีนโบราณนั้นก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ดาราศาสตร์ ศิลปะ วรรณกรรม เปรียบได้กับอู่อารยธรรมที่พร้อมพรั่ง วิทยาการอันก้าวหน้าของชาวจีนยุคโบราณเป็นที่ประจักษ์ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ เช่น การประดิษฐ์เข็มทิศขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก การคิดค้นดินปืน การรักษาด้วยการฝังเข็ม และที่สำคัญคือริเริ่มเลี้ยงไหมและแปรรูปเป็นแพรพรรณ ปลุกให้เส้นทางสายไหมถือกำเนิดบนหน้าประวัติศาสตร์เส้นทางการค้าอันยิ่งใหญ่ของโลก 

เราเรียนเรื่องอารยธรรมโลกโบราณกันไปทำไม? 

เมื่อลองมองลึกลงไปในแง่ของประวัติศาสตร์ อารยธรรมโบราณมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวิทยาการความรู้ของมนุษย์อย่างสอดประสานกันในทุกยุคสมัย จากรูปแบบทางสังคมที่เรียบง่ายสู่การขยายตัวอันซับซ้อน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วพริบตา หากแต่ผ่านกาลเวลาสั่งสมมาช้านาน การศึกษาอารยธรรมโลกโบราณคือการย้อนกลับไปมองอดีตเพื่อเรียนรู้ถึงที่มาของปัจจุบัน ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมใด ๆ ล้วนเกิดจากการพัฒนาเพื่ออยู่รอดและอยู่อย่างไรให้มีคุณค่า เปรียบได้กับเมล็ดพันธุ์ทางภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษเพาะเลี้ยงไว้ให้หยั่งรากลงไปให้ลูกหลานได้พึ่งพา อารยธรรมแห่งโลกอนาคตจะผลิบานไม่ได้เลย หากไม่รู้จักรากฐานว่าเราเติบโตมาอย่างไร

THiNKNET Design Studio ได้รวบรวมแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกที่น่าสนใจไว้ในสื่อการศึกษา “อารยธรรมโลกโบราณ” ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของอารยธรรมโบราณ เช่น อียิปต์โบราณ กรีก โรมัน อินเดียโบราณ จีนโบราณ ไวกิ้ง มายา ฯลฯ เนื้อหาอ่านง่าย พร้อมแผนที่โลกแสดงจุดกำเนิดอารยธรรม และแผนภาพลำดับช่วงเวลาการกำเนิดอารยธรรม ถ่ายทอดผ่านภาพประกอบสวยงาม เหมาะสำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 15-17 ปี

จะเห็นได้ว่าโลกนี้ประกอบไปด้วยอารยธรรมที่หลากหลาย ปัจจัยภูมิศาสตร์ เช่น ทะเลทราย ภูเขา ป่าดิบชื้น ลุ่มแม่น้ำ คือส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละสังคมมีลักษณะเฉพาะของตนเอง อารยธรรมในส่วนต่าง ๆ ของโลกจึงแตกต่างกันไป ความหลากหลายนี้เองที่หลอมรวมอารยธรรมมนุษย์ให้ยังคงพัฒนาต่อไปข้างหน้า แต่ก็มีจุดร่วมเดียวกันคือการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ และฝันหาอนาคตข้างหน้านั่นเอง

ดูรายละเอียดของสินค้าและสั่งซื้อสื่อการเรียนรู้เรื่องอารยธรรมโลกโบราณได้ที่นี่ ศึกษาความแตกต่างทางกายภาพของโลก ได้จากแผนที่ชุดกายภาพโลก 2 ภาษา หรือดูขอบเขตการปกครองของโลกยุคปัจจุบันได้จากแผนที่ชุดรัฐกิจโลก 2 ภาษาแบ่งสีตามประเทศ

THiNKNET Design Studio ยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็น สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ แผนที่เพื่อการวางแผนธุรกิจ รวมถึงหนังสือคู่มือท่องเที่ยว "เที่ยว ล่า สุด" หนังสือท่องเที่ยวที่ออกตามล่าหาความเป็นที่สุดในทุก ๆ การเดินทาง

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook : THiNKNETDesignStudio  
ซื้อสินค้าสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ แผนที่เพื่อการตกแต่ง และหนังสือคู่มือท่องเที่ยวได้ ที่นี่   
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Line: @thinknetdesign
Tel: 0 2480 9990 

ขอบคุณข้อมูล 
// legacy.orst.go.th/?knowledges=อียิปต์-๒๘-มีนาคม-๒๕๕๔ 

//www.matichonweekly.com/column/article_95638 

//www.matichonweekly.com/column/article_366399 

//education.nationalgeographic.org/resource/key-components-civilization 

//www.bbc.com/thai/thailand-46849203 

//www.worldhistory.org/civilization/ 

//fromental.co.uk/craftsmanship/the-history-of-silk/

ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมโลกยุคโบราณ

เพื่อให้เห็นคุณค่าสิ่งของโบราณ เพื่อพัฒนอารยธรรมของตนให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้ทราบความแตกต่างของอารยธรรม เพื่อให้ทราบว่าอารยธรรมของตนเก่าแก่กว่าอารยธรรมอื่น

การศึกษาอารยธรรมของโลกยุคโบราณมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการศึกษาอารยธรรม ๑. ช่วยในการตัดสินใจของมนุษย์ ๒. สามารถอธิบายความเป็นมาของสิ่งต่างๆได้ ๓. ท าให้เกิดความเพลิดเพลิน ๔. ท าให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อความเข้าใจต่อสังคมปัจจุบันได้

ข้อใดจัดเป็นอารยธรรมแห่งแรกของโลก

อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีเอกลักษณ์โดดเด่นหลายด้าน เกิดจากการผสมผสานความรู้และวิทยาการจากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกัน คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวซูเมอร์ หรือสุเมเรียน ที่รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่บนพื้นที่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เมโสโปเต ...

ข้อใดคืออารยธรรมโลกยุคโบราณตะวันออก

อารยธรรมตะวันออก ได้แก่อารยธรรมจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห และอารยธรรมอินเดียบริเวณลามแม่น้ำสินธุ มิได้มีผลต่อจากชนชาติในประเทศของตนเท่านั้นแต่มีอิทธิพลต่อประเทศใกล้เคียงและห่างไกล และยืนยาวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แผนที่อารยธรรมจีนโบราณ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง