ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (data) และสารสนเทศ (Information) เป็นอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

ข้อมูล คือ เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงซึ่งเหตุการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของหรือสิ่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูล เพื่อที่จะนำไปใช้งานหรือใช้ประโยชน์ในภายหลัง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้

ข้อมูล (Data) ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ  ทั้งหมดนี้จะมีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก  สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการประมวลผลใดๆ จึงเป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยขั้นตอนในการประมวลคือมีการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจริงเท็จอย่างไร แล้วนำไปดำเนินการประมวลผลโดย ใช้วิการจัดแบ่งข้อมุล แบ่งเป็นกลุ่มๆตามประเภทและจัดเรียงข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและ สุดท้ายการคำนวณข้อมูล ซึ่งข้อมุลบางตัวนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขจึงจะต้องมีการคำนวณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งานและเป็นข้อมุลสุดท้ายที่ได้มานั้นดีที่สุด และหลังจากการประมวลผลแล้วนั้นเราก็ต้องจัดเก็บข้อมูล โดยอาจจะใช้การจัดเก็บลงเครื่องหรือสื่อบันทึกต่างๆ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อีกด้วย

สรุปได้ว่า “ข้อมูล” คือ ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่ม เรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น ยังไม่สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ จะแตกต่างกับ “สารสนเทศ” นั้นคือ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆแล้ว เป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด สามารถนำมาอ้างอึง ใช้งานได้เลย

ข้อมูล อาจจะยังเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่…

สารสนเทศ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ในการวางแผน เ็ป็นต้น

ความรู้ (knowledge)  คือ สิ่งที่ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในปัญหาที่ต้องการนำข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ไปแก้ไข

หรือความรู้ที่แฝงอยู่ในข้อมูล เป็นสิ่งที่สามารถสกัดจากสารสนเทศที่มีรูปแบบน่าสนใจ เป็นจริงสำหรับข้อมูลใหม่หรือข้อมูลที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เป็นรูปแบบใหม่ที่มนุษย์ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายจากการวิเคราะห์สารสนเทศจะได้เป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้

สรุป
ข้อมูล อาจจะยังนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงไม่ได้
สารสนเทศ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ในการวางแผน เป็นต้น
องค์ความรู้ คือ การจัดการความคิด หรือทฤษฎีต่างๆ ที่พบเห็นมาเป็นหมวดหมู่ และสามารถนำมาใช้งานในศาสตร์ต่างๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (data) และสารสนเทศ (Information) เป็นอย่างไร

ภาพจากอินเตอร์เน็ต ข้อมูล สารสนเทศและความรู้

                   ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ภาพ  เสียง  วีดิโอ  ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ที่เราสนใจ ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล เป็น การเริ่มต้นในการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดี จะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร การใช้เครื่องวัดต่าง ๆ การใช้ดาวเทียม การออกแบบสอบถาม ฯลฯ

                   สารสนเทศ (Information) หมายถึง  ข้อมูล หรือ สิ่งซึ่งได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ หรือ สารสนเทศ หมายถึง   ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์    ดังนั้น  สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง  เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  โดยอาจเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ดังนี้

ระบบสารสนเทศ

                   สารสนเทศแบ่งออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น ดังนี้

1.  สารสนเทศที่ทำประจำ                                                     

2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย

3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จำทำขึ้นโดยเฉพาะ

                   ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

     1. บุคลากร  

     2. ขั้นตอนการปฏิบัติ                           

     3. เครื่องคอมพิวเตอร์  

     4. ซอฟต์แวร์ 

     5. ข้อมูล

ประเภทของข้อมูล

     การแบ่งประเภทของข้อมูล อาจแบ่งได้หลายวิธีแล้วแต่จุดประสงค์ของการแบ่งนั้น  ถ้าแบ่งตามการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งประเภทของข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ

1.) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ข้อมูลทุติยภูมิ     หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้วบางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศไปแล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่ได้ไปสำรวจเอง ตัวอย่างเช่นข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่มีผู้ทำไว้อาจเป็นหน่วยราชการตลอดจนได้มาจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ  ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูล

2.) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น 

คุณสมบัติของข้อมูล

ข้อมูลที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

     1. ความถูกต้อง                                      

     2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน           

     3. ความสมบูรณ์

     4. ความชัดเจนและกระทัดรัด              

     5.ความสอดคล้อง

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ                  

 การจัดทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและการดูแลสารสนเทศเป็นข้อ ๆ ดังนี้

     1.การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล                

     2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

     3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

     ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล , การตรวจสอบข้อมูล , การเก็บรวบรวมข้อมูล , ต้องเก็บข้อมูลให้มากพอและทันต่อเวลา , การตรวจสอบข้อมูล , ข้อมูลที่เก็บมาต้องมีการตรวจสอบ          

ความถูกต้อง ให้มีความเชื่อถือได้ วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสม ถ้าพบข้อผิดพลาดของข้อมูลต้องแก้ไข ข้อมูลที่จะนำไปใช้หรือเก็บบันทึกไว้ต้องถูกต้อง

 การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

 การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วย

     1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล                                      

     2. การจัดเรียงข้อมูล

     3. การสรุปผล                                                     

     4. การคำนวณ

การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

อาจประกอบด้วย

     1. การเก็บรักษาข้อมูล                                           

     2. การค้นหาข้อมูล 

     3. การทำสำเนาข้อมูล                                            

     4. การสื่อสาร

การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

   อาจแบ่งตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผลได้เป็น 2 แบบ คือ

1. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online processing) 

เป็นการประมวลผลแบบที่ข้อมูลวิ่งจากปลายทางไปยังเครื่องที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบนี้เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด เช่น การจองตัวเครื่องบิน การเบิกเงินจากเครื่อง เอทีเอ็ม ฯลฯ

2. การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing)

เป็นการประมวลผลเป็นครั้ง ๆ  โดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนเมื่อต้องการผลก็นำข้อมูลมาประมวล การทำโพลสำรวจ

ข้อมูล และสารสนเทศ มีความแตกต่างกันอย่างไร

              ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ คำว่า ข้อมูล” (Data) และ สารสนเทศ” (Information) นั้นมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่ซึ่งทำการเก็บรวบรวมมาได้ โดยข้อเท็จจริงนี้เป็นบุคคล วัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ หรือสถานที่และข้อมูลดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสถานที่ รูปภาพหรือเสียงก็ได้ สำหรับ สารสนเทศนั้นหมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้อ้างอิง ดำเนินงาน หรือตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด โดยสารสนเทศนี้อาจอยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้  การประมวลผลสารสนเทศ เพื่อให้เห็นภาพของข้อมูลและสารสนเทศชัดเจนขึ้น จะขอยกตัวอย่างเรื่อง เกรดเฉลี่ยของนักเรียนในแต่ละภาคเรียน ซึ่งเกรดเฉลี่ยนั้นจะได้จากการนำเกรดในแต่ละวิชาที่นักเรียนลงเรียนมาทำการประมวลผล ดังนั้น ในที่นี้เกรดแต่ละวิชาของนักเรียนจึงเป็น ข้อมูลในขณะที่เกรดเฉลี่ยของนักเรียนเป็น สารสนเทศอย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงหนึ่ง ๆ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลและสารสนเทศก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ที่จะใช้ข้อเท็จจริงนั้น 

คุณสมบัติของข้อมูล

     1.ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำและอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากสุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้

     2.ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการมีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้

     3.ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม

     4.ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

     5.ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูลความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ 

สรุป

ข้อมูลและสารสนเทศมีความแตกต่างกันที่ข้อมูล ป็นข้อเท็จจริงที่รวบรวมไว้ในรูปแบบต่างๆ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมอย่างต่อเนื่อง แต่ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประเมินผลมาแล้วเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงในการทำงาน หรือการตัดสินทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นสารสนเทศมีความหมายง่ายๆว่า ข้อมูลที่มีความหมายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

แหล่งข้อมูล : 

ข้อมูลและสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศ คือ ข้อมูล เป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้ จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศ คือข้อมูลที่นามาผ่าน กระบวนการเพื่อสามารถนาไปใช้ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันที

ข้อมูล (data) และ สารสนเทศ (Information) มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

การจัดการความรู้ (KM) ข้อมูล (data): ผลที่ได้จากกระบวนการจัดเป็นข้อมูล นอกจากนี้สารสนเทศ (information) ที่ไม่ได้ผ่านการประมวลถือว่าเป็นข้อมูล ภายในตาราง excel เก็บข้อมูลไม่ใช่สารสนเทศ อีกตัวอย่างตัวเลขของการขายของบริษัทที่อยู่ในแผ่นตารางคือข้อมูล ถ้ามีการจัดประเภทข้อมูลอาจทำให้ได้ผลที่เป็นประโยชน์ออกมา

ข้อมูลและสารสนเทศ(Data/Information) คืออะไร

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือตัวเลขดิบๆ ไม่ได้ให้ความหมายอะไร ส่วนสารสนเทศ คือ ชุดข้อมูลที่ผ่านการจัดการ กำกับบริบท หรือให้ความหมายมาแล้ว ช่วยให้ Insight บางอย่างกับผู้อ่านสารสนเทศได้ สารสนเทศเป็นผลลัพธ์ของข้อมูล หากไม่มีข้อมูลหรือข้อมูลดิบ เราก็ไม่สามารถสร้างสารสนเทศหรือ Information ขึ้นมาได้

ข้อมูล Data คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมาย และการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัดข้อมูล เป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลข ภาพ เสียง หรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริง และต่อ ...