ขอบเขตการ ทํา งาน คือ อะไร

ประเด็นที่น่าสนใจ 

  • การวิเคราะห์งานคือกระบวนการแรกก่อนที่จะมีการบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนในการวิเคราะห์บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งงานต่างๆ
  • ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์งานก็คือ คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และคำบรรยายคุณสมบัติของงาน (Jobการ Specification)
  • ความสำคัญของการวิเคราะห์งานนั้นช่วยให้การประสานงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย และทำให้พนักงานตำแหน่งต่างๆรู้หน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี

การที่พนักงานในแต่ละตำแหน่งในองค์กรสามารถรับรู้หน้าที่หรือขอบเขตและความรับผิดชอบของตัวเองได้นั้น แน่นอนว่าหลักๆแล้วมาจาก คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ที่ได้รับตั้งแต่วันแรกของการทำงาน และการจะรู้ว่าตำแหน่งที่ตนเองรับผิดชอบอยู่นั้นครอบคลุมคุณสมบัติใดบ้าง ก็สามารถรับรู้ได้จาก คำบรรยายคุณสมบัติของงาน (Job Specification) แต่ทั้งสองสิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเองและอาจสร้างความสับสนและซับซ้อนได้หากปราศจาก “การวิเคราะห์งาน” หรือ Job Analysis นั่นเอง

Contents

  • การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) คืออะไร ?
  •  ความสำคัญของการวิเคราะห์งาน 
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • 4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์งาน 
    • 1.วางแผน (Planning)
    • 2.กำหนดขอบเขตของงาน (Set the scope for Job Analysis)
      • 1. เนื้องาน
      • 2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน
      • 3. ความต้องการ
    • 3. ระบุงานให้ชัดเจน (Job Identification)
    • 4.รวบรวมข้อมูล (Data Collection)
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • บทสรุป

การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) คืออะไร ?

ก่อนจะตอบคำถามนั้น อยากให้ผู้ที่ทำงานในฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือฝ่ายสรรหาบุคลากรลองถามตัวเองดูว่า เคยไหมที่ต้องพบกับปัญหาไม่รู้ว่าจะเขียนคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) หรือคำบรรยายคุณสมบัติพนักงาน (Job Specification) อย่างไรดี ? หรือการจะฝึกอบรมพนักงาน (Training) ควรจะเริ่มต้นอย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้าง ? หากเป็นเช่นนั้น การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ถือเป็นขั้นตอนแรกที่เป็นพื้นฐานสำคัญมากๆ

การวิเคราะห์งาน  คือ กระบวนการที่ใช้ในการวิเคราะห์บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งในองค์กร รวมถึงวิเคราะห์คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานนั้น ๆ ซึ่งมีปัจจัยประกอบหลายอย่าง เช่น ทักษะที่จำเป็น ความรู้ ความสามารถ และบุคลิกภาพที่เหมาะสม ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินกระบวนการนี้ ผู้ดำเนินการจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในลักษณะงานโดยละเอียดถี่ถ้วน และเพื่อให้ได้ข้อมูลโดยละเอียดนั้นก็มีขั้นตอนในการเก็บข้อมูลหลากหลายวิธีด้วยเช่นกัน (ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อต่อไป)

เพราะการวิเคราะห์งาน ถือเป็นพื้นฐานทั้งหมดของการตัดสินใจในการประเมินผลและคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน เพราะฉะนั้นก่อนจะทำการกำหนดผู้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งงานต่างๆ ก็จำเป็นต้องมีความเข้าใจในลักษณะของงานนั้น ๆ ก่อน การวิเคราะห์งานจึงช่วยให้เข้าใจรายละเอียดของงาน ตำแหน่งงาน คุณสมบัติของงานได้มากขึ้น และสุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์งานก็คือ คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และ คำบรรยายคุณสมบัติของงาน (Job Specification) เพื่อนำไปใช้ในระบบบริหารงานบุคคลและพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่อไปนั่นเอง

เมื่อไหร่ที่ควรใช้ Job Analysis ?

Job Analysis มักจะใช้เมื่อต้องการกำหนดตำแหน่งงานใหม่ หรือต้องการปรับโครงสร้างขององค์กร ปรับปรุงรูปแบบงานใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงงานใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์งานอย่างละเอียดเพื่อให้ทราบถึงลำดับขั้นตอนในการจ้างงานในลำดับต่อไป ซึ่งการวิเคราะห์งานที่ดีและละเอียดนั้นจะนำไปสู่ความได้เปรียบขององค์กร เพราะนอกจากจะทำให้องค์กรเข้าใจรูปแบบโครงสร้างองค์กรของตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว ยังทำให้ผู้สมัครงานมองเห็นขอบเขตหน้าที่ของตำแหน่งตัวเองได้ดีขึ้นด้วย

 ความสำคัญของการวิเคราะห์งาน 

ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่า การวิเคราะห์งานนั้นคือกระบวนการในการวิเคราะห์บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของงานแต่ละตำแหน่ง เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์งานจึงมีความสำคัญตรงที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานในแต่ละส่วนชัดเจน สามารถควบคุมงานให้บรรลุเป้าหมายได้ตามแต่ละขอบเขตของงานที่กำหนด ช่วยในการประสานงานระหว่างแผนกให้สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งรู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการวิเคราะห์งานนั้น สามารถนำไปบันทึกไว้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และคุณสมบัติของบุคลากร (Job Specification) ในลำดับต่อไป ซึ่งพอจะอธิบายโดยสรุปได้ ดังนี้

Job Description คือ การแสดงถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับลักษณะงาน และวิธีการในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

  • ลักษณะของงาน (Job Identification)
  • สรุปหน้าที่ของงานคร่าวๆ (Job Summary)
  • หน้าที่ที่ต้องทำ (Duties)
  • ความสัมพันธ์กับงานหรือตำแหน่งอื่นๆ (Relation to other job)
  • เครื่องมือ/อุปกรณ์/เครื่องจักร/วัสดุที่ต้องใช้ในการทำงาน (Equipment & Materials)
  • เงื่อนไขในการทำงาน (Condition)

Job Specification คือ การแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคลากรที่ต้องการ สำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

  • คุณสมบัติทั่วไป
  • ทักษะความรู้ และความสามารถ
  • ประสบการณ์ และความชำนาญ
  • คุณลักษณะพิเศษ
  • สภาพร่างกายและจิตใจ

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q: อยากรู้วิธีเขียน Job Description ดีๆ ดึงดูดคนเก่งครับ

พอจะมีวิธีในการเขียน Job description ให้ดึงดูดดคนที่เก่งๆ ไหมครับ และสามารถคัดคนที่ไม่เก่ง คนที่ไม่ใช่ออกไปได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

A: ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นนะครับ

อันดับแรกคือการเขียนอย่างไรให้ดึงดูด อันนี้สามารถเขียนได้ อยากแนะนำให้ลองเข้าไปศึกษา //www.linkedin.com/jobs/ โดยส่วนใหญ่จะบอกเรื่องความท้าทายของงาน การใช้ software ขั้นสูง การทำงานที่มีความรับผิดชอบสูงมาก,,,

4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์งาน 

เพื่อให้การวิเคราะห์งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง  ผู้ดำเนินการวิเคราะห์งานก็ต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนของการวิเคราะห์งานเป็นอย่างดีด้วย โดยขั้นตอนสำหรับการวิเคราะห์งานนั้นพอจะแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

1.วางแผน (Planning)

นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก คือการวางแผนและกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการวิเคราะห์งาน เพราะงานนั้นมีหลายประเภทและมีหลายตำแหน่ง ผู้ดำเนินการต้องทราบว่าต้องการจะวิเคราะห์งานประเภทอะไร ตำแหน่งอะไร ต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง ต้องทราบถึงวิธีการในการเก็บข้อมูล ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการวางแผนว่าจะวิเคราะห์งานใดบ้าง จะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ รวมไปถึงงบประมาณที่ต้องใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะต้องมีการร่วมมือกับแผนกอิ่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

2.กำหนดขอบเขตของงาน (Set the scope for Job Analysis)

หลังจากวางแผนว่าจะวิเคราะห์งานประเภทใดรวมไปถึงระยะเวลาที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการกำหนดขอบเขตที่ต้องการจะวิเคราะห์ ซึ่งพอจะแยกได้ออกเป็น 2 ขอบเขตกว้างๆ คือ

กิจกรรมของงาน – ซึ่งได้จากการรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานจริง กิจกรรมนี้จะชี้ให้เห็นว่าพนักงงานทำหน้าที่อะไร และจะปฏิบัติงานเหล่านั้นได้อย่างไร

พฤติกรรมของบุคคล – ซึ่งเป็นข้อมูลของรายบุคคล เช่น ความรู้สึก การสื่อสาร การตัดสินใจ บุคลิกภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ทำแบบสอบถาม หรือสัมภาษณ์

เมื่อทราบขอบเขตกว้างๆ สำหรับทำการวิเคราะห์งานแล้ว ผู้ดำเนินการวิเคราะห์งาน สามารถแจกแจงขอบเขตของงานให้ละเอียดและชัดเจนขึ้นได้ ดังนี้

1. เนื้องาน

  • หน้าที่ของพนักงาน
  • สิ่งที่พนักงานต้องทำ
  • เครื่องมือ อุปกรณ์ที่พนักงานใช้ในการทำงาน
  • งานที่นอกเหนือจากงานประจำที่ทำ
  • ความคาดหวังจากพนักงาน และระดับผลงานที่ต้องการ
  • การอบรมที่จำเป็นสำหรับพนักงาน

2. สภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในงาน
  • ตำแหน่งนี้จำเป็นต้องรายงานกับใคร
  • ใครต้องรายงานตำแหน่งนี้
  • ความต้องการของพนักงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  • การประเมินผลพนักงาน

3. ความต้องการ

  • ความรู้และข้อมูลพื้นฐานที่ต้องการเพื่อให้การทำงานสำเร็จ
  • ทักษะเฉพาะทาง เช่น การสื่อสาร สารสนเทศ การผลิต ฯลฯ
  • ความสามารถส่วนบุคคล เช่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การรับมือกับสถานการณ์คับขัน ทัศนคติในการทำงาน ความสามารถในการจัดการงาน
  • การศึกษา ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร และใบอนุญาต
  • บุคลิกภาพ ความสามารถในการปรับตัว ความอดทน จริยธรรมในการทำงาน ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน ความเข้าใจในการทำงาน พฤติกรรมที่แสดงออกต่อเพื่อนร่วมงาน

3. ระบุงานให้ชัดเจน (Job Identification)

ขั้นตอนต่อมาคือ การระบุงานให้ชัดเจน เพราะในการวิเคราะห์งานนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ผู้ทำการวิเคราะห์ต้องคำนึง ผู้ดำเนินการจำเป็นต้องทราบว่าพนักงานแต่ละแผนกต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง แตกต่างหรือมีความคล้ายคลึงกันมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้การวิเคราะห์งานเป็นไปอย่างถูกต้อง และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สุดท้ายที่ชัดเจน สิ่งที่ผู้ดำเนินต้องระบุให้ชัดเจนมี 3 อย่างหลักๆ ด้วยกัน คือ

1.ตำแหน่ง (Position)
คือ ชื่อเฉพาะหรือชื่อเรียกอาชีพของพนักงาน เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายอาคารและสถานที่ ฝ่ายจัดซื้อจัดขาย ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายไอที เป็นต้น

2.หน้าที่ (Duty)
คือ สิ่งที่พนักงานต้องทำเป็นหลัก เช่น หน้าที่ของฝ่ายบุคคล คือ เข้าใจและเชื่อมโยงความต้องการของบุคลากรกับเป้าหมายของงานได้ หน้าที่ของฝ่ายผลิต คือ วางแผนจัดการการผลิตและรับผิดชอบในการหาซื้อวัตถุดิบ ส่วนหน้าที่ของฝ่ายบัญชีและการเงิน ก็คือ กำหนดนโยบายและวางแผนงานด้านบัญชีและการเงินให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของบริษัท

3.งาน (Job)
คือ ประเภทของแต่ละตำแหน่งในองค์กร เช่น ในองค์กรมี 9 แผนก คือ แผนกบุคคล แผนกจัดซื้อจัดขาย แผนกบัญชีและการเงิน แผนกติดต่อลูกค้า แผนกไอที แผนกอาคารและสถานที่ แผนกการผลิต แผนกวางแผนเชิงกลยุทธ์ แผนกวิจัยและพัฒนา เป็นต้น

4.รวบรวมข้อมูล (Data Collection)

หลังจากที่ได้วางแผน กำหนดขอบเขตและระบุงานอย่างชัดเจนแล้ว ผู้ดำเนินการก็พอจะทราบเบื้องต้นแล้วว่าจะวิเคราะห์งานอะไรบ้าง วิเคราะห์กี่ตำแหน่ง ต้องใช้ข้อมูลใดบ้าง และแหล่งข้อมูลเหล่านั้นต้องหาได้จากที่ไหน ขั้นตอนต่อไปก็คือขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้กัน การวิเคราะห์งานจะสำเร็จและมีประสิทธิภาพก็อยู่ที่ข้อมูลนั้นรวบรวมมาได้ดีแค่ไหน ละเอียดและชัดเจนเพียงใด ซึ่งวิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูลก็มีหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

 วิธีการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์งาน

  1. Observation : สังเกตการณ์เพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการถ่ายวีดีโอแต่ละงานเอาไว้
  2. Performing the Job : ทดลองปฏิบัติงานจริงเพื่อให้ทราบถึงลักษณะงานโดยเฉพาะ
  3. Interviews : สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ ทั้งแบบรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม เช่นหัวหน้างาน พนักงาน ลูกค้า และ จากแหล่งข้อมูลอื่น
  4. Critical Incidents :  วิเคราะห์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น อธิบายตัวอย่างพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีของลักษณะในการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมของการทำงาน
  5. Diaries : บันทึกการทำงานที่ทำทุกวันของแต่ละตำแหน่ง
  6. Background Records : บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน นอกเหนือจากเนื้องาน เช่น โครงสร้างองค์กร คู่มือการฝึกอบรม นโยบายหน่วยงาน คู่มือการปฏิบัติงาน หรือคำอธิบายการออกจากงานเดิม
  7. Questionnaires : ทำเป็นแบบสอบถาม โดยการใช้แบบฟอร์มและตารางตรวจสอบ (Checklists) หรือการใช้คำถามปลายเปิด เป็นต้น

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q. ควรหรือไม่ควรระบุเงินเดือนใน Job Description คะ ?

อะไรคือข้อดีข้อเสียของการระบุ หรือไม่ระบุเงินเดือน ลงใน job description คะ ?

A. การระบุเงินเดือน(เป็นช่วง) จะช่วยกรองคนที่เงินเดือนไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมออกไป แต่ก็ใช่ว่าจะได้ผู้สมัครที่คุณภาพดี และอาจจะมีผู้สมัครน้อยลงได้

การไม่ระบุเงินเดือน ก็อาจจะเพิ่มตัวเลือกในการจ้างงานให้เราได้เจอผู้สมัครที่อาจจะมีความสามารถที่ตรงกว่า แต่อาจจะมากกว่าช่วงเงินเดือนที่รับได้นิดหน่อยให้เราพอต่อรองได้ก็เป็นได้…

บทสรุป

การวิเคราะห์งานนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญของการเข้าใจตำแหน่งงานทั้งหมดในองค์กร รวมถึงเป็นพื้นฐานในการเข้าใจโครงสร้างการทำงานและรูปแบบองค์กรด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ที่ดำเนินการในการวิเคราะห์งานก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเก็บข้อมูล เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์งานนั้นไม่สามารถทำได้เพียงระยะเวลาอันสั้น แต่อาศัยการเก็บข้อมูลที่ละเอียด ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลทีมีประสิทธิภาพและเป็นข้อมูลสำหรับ Job Description และ Job Specification ในลำดับต่อมา

คุณกำลังมองหาพนักงานที่ใช่อยู่หรือเปล่า?

SourcedOut แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เชื่อมบริษัทกับนักสรรหามืออาชีพโดยตรง

ช่วยลดต้นทุนในการสรรหากว่า 30% – 50% เมื่อเทียบกับบริษัทจัดหางานทั่วไป

ไม่มีการจ้างงานเพิ่ม ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่มีความเสี่ยง!

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบใช่หรือเปล่า?

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดีๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก
คุณสามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง