ภูมิปัญญาไทยที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม คือข้อใด

ผู้เขียนมีประสบการณ์พาเพื่อนหรือครูชาวต่างชาติไปเที่ยววัดโพธิ์ วัดพระแก้ว วัดอรุณฯ รวมกันราวสิบกว่าครั้ง วัดโพธิ์นี่ไปบ่อยเพราะฝรั่งชอบนวดแผนไทย คนพาไปก็เข้าไปนวดด้วยเสียเลย สบายดี แต่จะยุ่งยากใจเมื่อเพื่อนฝรั่งถามข้อมูลต่างๆ ลึกมากจนตอบไม่ถูก เพราะแต่ละคนล้วนคงแก่เรียน อยากรู้อยากเข้าใจไปเสียหมด

ไม่นานมานี้ได้ไปฟังเสวนาเรื่อง ‘วัดโพธิ์ มรดกความทรงจำแห่งโลกกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม’ โดยอาจารย์ ดร. เสาวณิต วิงวอน และคุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ทั้งสองท่านมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

เพื่อนฝรั่งได้ยินชื่อนี้ครั้งแรกจะเหวอในความยากและยาว Andrea หนุ่มอิตาลีเคยถามผู้เขียนว่า ทำไมมี 2 ชื่อ ผู้เขียนเกาหัวแกรกเพราะไม่รู้ แต่วันนี้ตอบได้แล้ว พร้อมกับที่รู้ว่าไฮไลต์สำคัญ (ที่ไม่ค่อยมีคนทราบเรื่องราวเบื้องหลัง) ของวัดโพธิ์ 2 อย่างคือ จารึกวัดโพธิ์ กับตุ๊กตาศิลาจีน นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมความเข้าใจว่ารูปปั้นจีนขนาดใหญ่ที่ประดับประตูคืออับเฉาถ่วงเรือนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด

 

รู้จักวัดโพธิ์

“กษัตริย์สมัยโบราณชอบสร้างวัด อย่างวัดโพธิ์นี่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระเพทราชา” อาจารย์ ดร. เสาวณิต กล่าว

อาจารย์เล่าว่าตอนแรกวัดโพธิ์ไม่ได้ใหญ่ขนาดนี้ แต่เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงอุปถัมภ์ทำนุบำรุง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบูรณะจนโอ่อ่างดงาม

ที่เรียก ‘วัดโพธิ์’ เพราะแต่เดิมวัดนี้ชื่อ ‘วัดโพธาราม’ สันนิษฐานว่าเพราะเป็นที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ แต่ต่อมาคติความเชื่อเรื่องการบูชาพระศรีมหาโพธิ์เสื่อมคลายลงไป ไม่ได้รับความนิยมเหมือนครั้งอดีต จึงคงเหลือแต่ชื่อเรียกสืบต่อมา จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธารามเสียใหม่เมื่อ พ.ศ. 2332 และพระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ’ แปลว่า ‘ที่อยู่อันงามของพระพุทธเจ้า’ (คำว่า ‘พระเชตุพน’ หมายถึง ที่อยู่ของพระพุทธเจ้า) และกลายเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เปลี่ยนคำสร้อยท้ายนามวัดเป็น ‘วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม’

ในสมัยรัชกาลที่ 3 สยามเศรษฐกิจดี มีเงินกำไรเป็นอันมากจากการค้าสำเภา จึงทรงสร้างวัดใหม่รวมถึงบูรณะวัดเก่ามากมาย เนื่องจากพ่อค้าวาณิชชาวไทยที่เดินทางไปยังจีนมีโอกาสเห็นงานศิลปะสวยงามของจีน ทั้งในราชสำนักและบ้านเศรษฐีชาวจีนที่ติดต่อค้าขายด้วย (ตัวอย่างเช่น เขามอ เป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อค้าชาวไทยไปเห็นแล้วนำกลับมาทูลรัชกาลที่ 3) จึงเห็นว่าการสร้างและบูรณะวัดในยุครัชกาลที่ 3 มีการนำศิลปะจีนมาใช้อย่างเต็มที่ โดยใช้ช่างไทย ช่างจีน ปนกัน  และในรัชสมัยของพระองค์นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นการทำ ‘จารึกวัดโพธิ์’ มรดกทรงคุณค่าของชาติ

 

จารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจำแห่งโลก

จารึกวัดโพธิ์จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่างๆ ทั้งหมด 8 หมวดบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามศาลาราย ผู้แต่งจารึกเหล่านั้นมีตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง พระ และไพร่ รวม 53 ท่าน เป็นความรู้ต่างๆ เช่น ศาสนา ภาษา วรรณกรรม วัฒนธรรมประเพณี จิตรกรรม ประติมากรรม และการแพทย์

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติเมื่อ 27 พฤษภาคม 2554

มรดกความทรงจำ เป็นคำที่ UNESCO กำหนดขึ้น หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ความคิด ที่เป็นภูมิปัญญาของแต่ละกลุ่มชน บันทึกไว้ในวัสดุ (เช่น กระดาษ หิน เยื่อไม้ไผ่) หากเป็นสถานที่ เช่น โบราณสถาน สถานที่เที่ยวทางธรรมชาติ UNESCO จะเรียกว่า ‘มรดกโลก

อาจารย์ ดร.เสาวณิต ระบุว่า คุณสมบัติที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็น ‘มรดกความทรงจำ’ ได้ คือต้องเป็นสิ่งเดียว ไม่มีสำเนา ถ้าสูญหายไปจะเกิดความเสียหาย และต้องแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชนนั้นๆ

ในช่วงที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจารึกวัดโพธิ์ เป็นช่วงที่ชาติตะวันตกเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามา และนำวิทยาการใหม่ๆ มาเผยแพร่ พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ในการบันทึกความรู้ของไทยไว้ มิให้สูญหายไปกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

สมัยก่อนความรู้ต่างๆ อยู่ในสำนักใครสำนักมัน อยู่ในที่มิดชิด เช่น พวกตำรายา แต่รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เป็นของสาธารณะ ใครจะมาศึกษาก็ได้ เป็นการบันทึกความรู้โบราณให้คงอยู่ ท่านจึงเลือกให้สลักลงหิน มีเรื่องเล่าว่าทรงบังคับให้เจ้าของความรู้ต่างๆ สาบานว่าจะบอกความจริง ก่อนบันทึกลงจารึกวัดโพธิ์

พระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 3 คือ ให้วัดโพธิ์เป็นคลังความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม วัดโพธิ์จึงเปรียบเสมือน ‘มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของคนไทย’

ช่วงรอยต่อรัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 สภาพของเราในขณะนั้นเสี่ยงต่อการเสียบ้านเสียเมือง เรารอดมาได้เพราะพระมหากษัตริย์ของเราทรงมีโลกทัศน์กว้างไกล” อาจารย์ ดร.เสาวณิต กล่าว “ถ้าอ่านจารึกครบทุกหมวด จะเห็นทันทีว่าประเทศนี้ไม่ได้เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ดูแลตัวเองได้ มียา มีภาษา มีวรรณกรรม และเราบันทึกความรู้เหล่านี้ไว้เป็นเรื่องเป็นราว และการที่ทรงเลือกบันทึกที่วัดนี้ ก็เพราะอยู่ใกล้วัง ใกล้เหล่าทูตานุทูตทั้งหลาย ไม่ได้เลือกไปทำที่วัดไกลๆ เป็นการทำตัวเองให้ดูมีคุณค่าในสายตาฝรั่ง อย่างน้อยจะมาข่มกันก็ทำไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์”

 

ลั่นถันและเขามอ

หนังสือ ตุ๊กตาศิลาจีนวัดโพธิ์ กล่าวว่า จากจารึกเรื่องรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ทำให้ทราบว่าได้สร้างรูปอสูรหรือรูปยักษ์ปูนปั้นถือกระบองขนาดใหญ่ไว้ประดับซุ้มประตูประตูละคู่ แต่เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะนั้นทรงรื้อลงหมด แล้วตั้งรูปลั่นถันประตูละคู่แทน ลั่นถันหรือตุ๊กตาจีนประดับซุ้มประตูเป็นรูปขุนนางฝ่ายบู๊ ซึ่งมีรูปร่างขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน และมีหน้าตาดุร้ายคล้ายยักษ์ เพราะคงเห็นว่าจะทำให้ดูต่างไปจากวัดอรุณราชวรารามและวัดพระแก้วที่มีรูปยักษ์อยู่แล้ว

‘ลั่นถัน’ ที่เห็นในวัดโพธิ์ก็คือบรรดาตุ๊กตาศิลาจีนทั้งหลาย มีทั้งขุนนางฝ่ายบุ๋นและบู๊ รูปสัตว์ และรูปประชาชนทั่วไป ส่วนเขามอคือภูเขาจำลองที่ประดับด้วยต้นไม้ ตุ๊กตาจีน เจดีย์จีน ตึกจีน

คุณจุลภัสสรกล่าวว่าความเข้าใจผิดใหญ่หลวงของคนทั่วไปรวมถึงมัคคุเทศก์จำนวนหนึ่งคือ ตุ๊กตาตัวใหญ่นั่นแหละคือ ‘อับเฉา’ ที่ใส่ใต้ท้องเรือกันโคลงเมื่อเดินทางมาจากเมืองจีน

“ขาไปเราขนของหนักไปขาย เช่น ของป่าต่างๆ แต่ขากลับของที่นำกลับเข้ามาเป็นของเบา เช่น เครื่องถ้วย แพรพรรณ จึงต้องมีหินถ่วง แต่ตุ๊กตาตัวใหญ่ไม่ใช่อับเฉานะครับ กินที่ด้วย หนักก็หนัก ใครจะยกใส่เรือ อีกทั้งถ้าตุ๊กตาล้มทีฟาดเครื่องถ้วยแตกหมด ตุ๊กตาที่เป็นอับเฉาตัวจริงคือศิลาจีนขนาดเล็กที่ประดับตามเขามอ”

ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกันใหม่ว่า ไม่ใช่ว่าตุ๊กตาศิลาจีนที่เห็นทุกตัวจะนำมาจากเมืองจีน

พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน กล่าวไว้ว่า ศิลาที่นำมาก่อสร้างวัด ทั้งอาคาร สถาปัตยกรรม สิ่งของเครื่องใช้ และตุ๊กตาศิลาจีน นำมาจากราชบุรี เพชรบุรี สุโขทัย ลพบุรี สระบุรี และชลบุรี (เกาะสีชัง อ่างศิลา) โดยใช้เงินกำไรจากการค้าสำเภา จ้างช่างจีนมาแกะสลักขึ้นในเมืองไทยนี่เอง หลักฐานนี้จึงสอดคล้องกับที่คุณจุลภัสสรบอกว่า “อับเฉาของจริงคือเฉพาะตุ๊กตาศิลาจีนตัวเล็ก ใช้วางแทรกตามกล่องบรรจุเครื่องถ้วยเพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกัน”

คุณจุลภัสสรเล่าว่า ลั่นถันและเขามอเป็นของประกอบกันมาแต่ก่อน เมืองจีนหนาวมีหิมะปกคลุม ประชาชนอยาก ‘เก็บ’ บรรยากาศภูเขาไว้ในบ้าน จึงสร้างเครื่องประดับชนิดนี้ขึ้นมา มีต้นไม้กับศิลาจีนประดับ และต่อมาแนวคิดนี้แพร่หลายไปยังญี่ปุ่นและเกาหลี

พ่อค้าชาวไทยที่ไปค้าขายไปเห็นสิ่งนี้ตามบ้านเศรษฐีจีนก็กลับมาทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่พระองค์ทรงมีสวนไทยอยู่แล้ว เลยทรงให้เพิ่มสวนจีนตามแบบที่ว่ามาเข้าไปด้วย โดยประดับด้วยก้อนหิน ขุดเกาะแก่ง และมีน้ำไหล และมีรับสั่งให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ว่า เมื่อเดินทางไปค้าขายที่ไหนก็จงหาหินสวยๆ กลับมาทำตุ๊กตาศิลาจีนด้วย

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดเรื่องซุบซิบว่าเหตุที่เจ้านายสิ้นกันหลายองค์เป็นเพราะพระองค์ทรงเอาหินจากที่ต่างๆ มามาก รัชกาลที่ 3 จึงกริ้วและรับสั่งให้ย้ายหินออกไปให้หมด แล้วคนสมัยก่อนจะเอาไปไว้ไหน ก็ไว้ที่วัดนั่นไง ดังนั้น 4 วัด (วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดอรุณราชวราราม และวัดราชโอรส) จึงมีเขามอและตุ๊กตาศิลาจีนอยู่ เพราะเป็นวัดใกล้วังทั้งสิ้น ส่วนวัดราชโอรส เป็นวัดของพระองค์เอง

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ฟังมาจากอาจารย์ ดร. เสาวณิต และ คุณจุลภัสสร ทำให้ผู้เขียนมีข้อมูลที่ถูกต้องไปเล่าให้เพื่อนฝรั่งฟังต่อ เพราะเคยเข้าใจผิดมาก่อน ชี้บอกเขาใหญ่เลยว่านั่นแหละอับเฉา อธิบายอย่างดีว่าอับเฉาคืออะไร ทำไมเราจึงติดต่อกับเมืองจีนในช่วงนั้น เพื่อนฝรั่งก็ โอ ไอซี กันไป

แต่นี่เป็นความรู้ใหม่ที่ต้องเขียนอีเมลกลับไปแก้ไขให้บรรดาเพื่อนฝรั่ง (ที่เคยผ่านมือผู้เขียนพาเที่ยววัดโพธิ์) แม้เขาไม่ได้จ่ายเงินจ้างเป็นทางการ แค่ไปเที่ยวกันสนุกๆ แต่เพราะเราเป็นคนไทย และนี่คือสถานที่สำคัญที่เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ เราจึงไม่ควรให้ข้อมูลเขาแบบผิดๆ

มาฟังเสวนาและเดินชมวัดโพธิ์กลางแดดร้อนเปรี้ยงคราวนี้จึงไม่เสียเที่ยว มีเรื่องราวไปเล่าต่อได้ว่า วัดโพธิ์ไม่ได้มีดีแค่ Thai Massage กับ Reclining Buddha นะยู

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วัด

Home /Art & Culture/Scoop

29 พฤศจิกายน 2565

Share on

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

“เรื่องนี้เราจะไม่รอ”

เป็นคำพูดที่ นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการของธนาคารกสิกรไทยเน้นย้ำกับ The Cloud เพื่อแสดงเจตนาที่แน่วแน่ในการร่วมเปลี่ยนผ่านสังคมธุรกิจของประเทศไทยไปสู่กระบวนการที่ยั่งยืน แม้เรื่องนี้จะไม่ง่าย แต่ธนาคารยักษ์ใหญ่ก็ยินดีที่จะก้าวออกมาข้างหน้าเพื่อชวนทุกคนเดินไปด้วยกัน

เป้าหมายที่ทุกองค์กรทั่วโลกตั้งใจทำให้สำเร็จ คือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งครอบคลุมทุกมิติของมนุษยชาติ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด แนวทางการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่ดี หรือ ESG ถูกหยิบยกมาใช้บ่อยขึ้น และกำลังจะกลายเป็นขอบเส้นของมาตรฐานการทำธุรกิจในบริบทใหม่ที่ทุกคนต้องเดินตาม

เปลี่ยนวันนี้ ก่อนจะไม่มีโอกาสได้เปลี่ยน และธนาคารกสิกรไทยก็เริ่มต้นมาได้สักพักแล้ว

เริ่มต้นที่ตัวเรา

สิ่งสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน คือการชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรมของผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด เริ่มจากกระบวนการทำงานภายในองค์กรที่ทำได้ทันที จากนั้นเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้า ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ ส่วนที่ยากที่สุดคือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ปลายทาง ซึ่งต้องนำมาพิจารณาด้วย

การจัดการภายในจึงเป็นสิ่งที่เริ่มได้เร็วกว่าทางอื่น

“เรามองมาที่การทำงานของเรา ว่าอะไรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะบ้าง นั่นก็คือรถยนต์ที่เราใช้ เรามีรถเป็นพันคัน สองคือการใช้ไฟฟ้า แม้เราจะไม่ใช่โรงงาน แต่ก็มีสาขา มีสำนักงานขนาดใหญ่ทั่วประเทศถึง 7 อาคาร ซึ่งใช้ไฟฟ้าพอสมควร

“ถามว่าจะไม่ใช้รถหรือไฟฟ้าได้ไหม ก็ไม่ได้ เราพยายามปรับไปใช้น้ำมัน E85 ก็ช่วยลดคาร์บอนได้บ้าง สุดท้ายเราจะเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในอนาคต ดังนั้น รถหมดสัญญาแล้วก็จะทยอยเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าครับ ส่วนเรื่องการใช้ไฟฟ้า เราติดโซลาร์เซลล์ตามสาขาต่าง ๆ คิดว่าน่าจะประมาณ 200 – 300 สาขาที่ธนาคารเป็นเจ้าของพื้นที่และมีศักยภาพในการติดตั้งได้ จากทั้งหมด 800 สาขาที่มี ก็ช่วยลดค่าไฟได้ 10 – 20% ที่เหลือก็ต้องหักล้างเรื่องคาร์บอนเครดิตเอาอีกที” 

ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีร่องรอยของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น

Green Transition การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่เป็นไปได้

เป้าหมายที่สำคัญของธนาคารกสิกรไทยในการผลักดันเรื่องความยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย โดยธนาคารมีความตั้งใจจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของธนาคาร ใน พ.ศ. 2573 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในพอร์ตโฟลิโอของธนาคารตามทิศทางของประเทศ ด้วยชุดความคิดที่เป็นไปได้และทำได้จริงมากกว่าการประกาศเป้าหมายเท่ ๆ

“สิ่งที่ท้าทายคือ พอร์ตสินเชื่อของเรามีถึง 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งใหญ่มาก เราต้องดูว่าจะเริ่มตรงไหน จบตรงไหน ทำได้จริงแค่ไหน ซึ่งเราทำคนเดียวไม่ได้ ขึ้นกับว่าลูกค้าเอากับเราด้วยไหม เราก็ต้องไปเฟ้นหาว่าลูกค้ากลุ่มไหนจะไปด้วยกันต่อ เราเพิ่งจ้างที่ปรึกษาระดับโลกมาวิเคราะห์พอร์ตสินเชื่อของเรา ดูเป็นรายอุตสาหกรรมเลย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มที่เราจะเน้น โดยประเมินออกมาเป็น 3 เซกเตอร์ที่มีบทบาทมากที่สุดคือ 27% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งพอร์ตของเรา ส่วนอีก 2 อันคิดเป็นสัดส่วน 13% ถ้าทำทั้งหมด 5 กลุ่มนี้ ก็จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งพอร์ตของเรา อย่างธุรกิจพลังงาน โรงไฟฟ้าเป็นพอร์ตที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐทั้งเรื่องพลังงานทดแทนและโรงไฟฟ้าด้วย เรื่องนี้เราจับตามองอยู่ แต่เราก็ไม่รอนะ เราคุยกับลูกค้าไปเลยว่าพอจะเปลี่ยนตรงไหน อย่างไรได้บ้าง”

บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่างเข้าใจและรู้ถึงความสำคัญของ ESG รวมทั้งรายงานต่าง ๆ ที่ต้องจัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับการกำกับดูแล คุณกฤษณ์มองว่านี่เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

“สุดท้ายเราต้องพูดเป็นตัวเลขออกมาให้ได้ อย่างพวกถ่านหิน เราก็ไม่ปล่อยกู้ให้โรงไฟฟ้าถ่านหินโรงใหม่ เราทำแบบนี้มาได้สักปีหนึ่งแล้ว คือของเดิมที่มีอยู่ แต่ถ้าเขาจะปรับปรุงเพื่อลดการใช้ถ่านหินลง เราก็พร้อมคุย เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ถึงยังไงผมก็ไม่คิดว่าเราจะตัดพวกเขาออกไปได้ เพราะว่าเวลาลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าไปแล้ว เราก็ต้องอยู่กับเขาไปอีก 20 ปี สมมติสร้างโรงงานมา 5 พันล้านแล้ว จะมีใครมาปิดมันง่าย ๆ ดังนั้น ต้องช่วยกันคิดที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง

“ช่วงที่ผ่านมามีประชุมกับกลุ่มนักลงทุนตลอด ล่าสุดมีกลุ่มที่เข้ามาขอคุยเรื่อง ESG อย่างเดียวเลย ดูว่าเราเป็นอย่างไร อันไหนทำได้ อันไหนทำไม่ได้ เราก็รู้สึกดี ผมเองไม่ได้มีคำตอบให้เขาทุกอย่าง แต่เราบอกเขาเรื่อง KBank Way คือ Walk the Talk พูดแล้วก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ เราจะไม่พูด”

เรียบง่ายแต่หนักแน่นเอาเรื่อง สำคัญวิถีของธนาคารกสิกรไทย

ความยั่งยืนทำคนเดียวไม่ได้

สิ่งที่เป็นอุปสรรคและความท้าทายของธนาคารคือ การชวนผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กมาร่วมเปลี่ยนผ่านกระบวนการทางธุรกิจไปด้วยกัน ซึ่งกลุ่มนี้อาจต้องใช้ทั้งแรงผลักและแรงจูงใจมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่

“ความท้าทายของเราคือลูกค้าขนาดที่เล็กลงมา ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เขาจะมองว่าพอต้องใช้เงินลงทุนที่มากขึ้น แต่ผลตอบแทนหรือกำไรที่ได้อาจจะลดลง แล้วแบบนี้แรงจูงใจที่จะให้เขาทำคืออะไร อย่างลงทุนทำโรงงานสีเขียว 100 ล้านบาท ถ้าเราเป็นผู้ประกอบการก็จะคิดว่าทำไปทำไม อย่างแรกเราต้องมีแรงจูงใจ เราเองต้องไปชวนลูกค้าคุย เอาตัวเลขไปเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจ อันที่สองผมว่าภาครัฐก็ต้องเข้ามาช่วยด้วย ผมคิดว่าภาครัฐควรทำเป็นรายอุตสาหกรรมไป ไม่ต้องทำผ่านระบบธนาคาร บอกไปเลยว่าถ้าใครเดินมาทางนี้ จะได้แบบนี้ ถ้าใครไม่ทำตามนี้ ก็จะเกิดผลแบบนี้ ภาครัฐก็ต้องเล่น 2 บทด้วย” 

ล่าสุด ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่โครงการหรือกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand Taxonomy) ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำนิยามและหมวดหมู่ เพื่อให้ภาครัฐ ธนาคาร และกลุ่มธุรกิจ มีความเข้าใจตรงกันและมีจุดที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดแผนและนโยบายต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งสถาบันการเงินต้องประเมินความเสี่ยง รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอีกก้าวของการร่วมมือกันในวงที่กว้างขึ้น

“ในต่างประเทศเขาบังคับผ่านกฎหมายเป็นรายอุตสาหกรรมเลยนะ เริ่มจากการวัดคาร์บอนก่อน พิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมไป ซึ่งปัจจุบันบ้านเรายังไม่มีเรื่องพวกนั้น ตอนนี้เริ่มแล้วแต่ยังเป็นภาพกว้าง ๆ อยู่ ผมว่าการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ เราเอาสิ่งนั้นมาเชื่อมกับธุรกิจเยอะขึ้น ผมเป็นกรรมการผู้จัดการที่ดูแลด้านเป้าหมายสินเชื่อและด้านความเสี่ยง ดูว่าเป็นอย่างไร รายได้มาจากทางไหน เสี่ยงอย่างไร ผมก็เอาเรื่อง ESG ใส่ไปด้วย มันยากขึ้นคือเป้าสินเชื่อก็ต้องทำให้ได้ เรื่อง ESG ก็ต้องทำให้ชัดว่าพอร์ตสินเชื่อเราจะวิ่งไปทางไหน และทำไมต้องเป็นทางนั้น นี่เป็นโจทย์ทางธุรกิจไปแล้ว

“เรามี Climate Pillar เป็นเสาหลักอันใหม่ขึ้นมา คือรวมโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาไว้ด้วยกัน แล้วทางนี้ก็จะเอามาตั้งเป็นเป้า เราอยากเป็นผู้นำด้าน ESG ของภูมิภาคก็ต้องออกมาทำก่อน ทั้งการตั้งเป้าหมาย มีคำมั่นสัญญา ผู้นำในความหมายของเราไม่ใช่ผู้นำที่ทิ้งคนอื่นนะ แต่เป็นผู้นำที่ชวนคนอื่นเข้ามาทำด้วย มีคนถามว่ากลัวคนอื่นมาแข่งมั้ย ผมตอบว่าผมชอบเลย มาแข่งเรื่อง ESG ถือว่าดี ใครมีวิธีดี ๆ หรือเทคโนโลยีอย่างไรก็มาแชร์กัน เรื่องนี้อยากชวนมาแข่งนะ เพื่อทำให้เป็นรูปธรรม จับต้องได้มากขึ้น ตอนนี้เราพยายามสร้างมาตรฐานใหม่และคุยกับแบงก์ชาติ แต่ต้องบอกว่าเรื่องนี้ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกัน ถ้าลูกค้าไม่เอาด้วยก็จะเกิดช้าครับ”

การเปลี่ยนแปลงที่มีผลในวงกว้าง จะฉายเดี่ยวไม่ได้

เป้าหมายความยั่งยืนที่ชี้วัดได้

แล้วตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยมีสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านและความยั่งยืนอยู่เท่าไหร่ 

นี่คือคำตอบ

“ประมาณ 1 – 2 % ของสินเชื่อทั้งหมดครับ เมื่อก่อนมีความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียวว่าวัดยังไง ปีนี้เราเริ่มนับแล้ว ตอนนี้จะชัดขึ้นว่าอันไหนได้หรือไม่ได้ อาคารสร้างขึ้นมาแบบประหยัดพลังงานหรือเปล่า สร้างอย่างไร เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกอันที่เราเน้น เนื่องจากปล่อยคาร์บอนเยอะ ต้องมีกระบวนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก่อนการพิจารณาเครดิต เราทำมาหลายปีแล้ว อย่างเช่น ลูกค้าอยากทำโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ ฟังดูน่าจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน เราก็ดูว่าเขากู้เงินไปแล้วจะใช้ทำอะไรบ้าง คืนอะไร อย่างไร มาตรฐานสากลของสิ่งนั้นคืออะไร ปล่อยมลพิษไปแล้วกระทบอะไรมั้ย เทคโนโลยีที่ใช้คืออะไร ถ้าผ่านตามมาตรฐานหมด ก็จะเข้าไปคณะกรรมการของธนาคาร ถ้าเขาไฟเขียวถึงจะเอามาดูต่อ แปลว่าถ้าไม่ได้ตามมาตรฐาน เราก็จะไปคุยถึงปัญหา หา Solution ให้ลูกค้า แต่ถ้ายังทำไม่ได้เราไม่คุยด้วย

“ตอนนี้เราตั้งเป้าเพิ่มสินเชื่อและการลงทุนสีเขียวเข้าไปในระบบอีกสัก 2 แสนล้านบาท เราอยากชวนธุรกิจมาทำกันเพิ่ม เรื่องความยั่งยืนนี้ ธุรกิจขนาดใหญ่ยังไงก็จุดติด แต่ว่าสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กและขนาดกลางจะยากหน่อย ส่วนประชาชนทั่วไปก็เป็นเรื่องวิถีชีวิต อย่างรถหรือบ้านที่ประหยัดพลังงาน ก็ต้องปรับเปลี่ยน เราอยากเป็นต้นแบบเรื่องความยั่งยืนให้พวกเขา

“ส่วนการตรวจสอบมันก็จะมีกระบวนการอยู่ เราดูว่าเครื่องจักรเขาเป็นไปตามที่กำหนดมั้ย มีทีมลงไปดู มีกระบวนการทบทวนวงเงิน เวลาเราให้เงินใครไป เราก็ต้องไปติดตามและดูแล ถือเป็นความท้าทายเวลาที่เราจะทำเรื่องความยั่งยืนให้ใหญ่ขึ้น บางอย่างอาจต้องมีองค์กรภายนอกเข้ามาช่วย สุดท้ายก็จะเกิดการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องตามมาด้วย” 

ธนาคารกสิกรไทยประกาศตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนที่ 2.5 หมื่นล้านบาทต่อปี รวมเป็นวงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ภายใน พ.ศ. 2573 แม้ใน 3 ไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2565 ตัวเลขจะยังไปไม่ถึงจุดที่หวัง ซึ่งธนาคารได้ให้สินเชื่อไปแล้วกว่า1.6 หมื่นล้านบาท แต่ก็ยังคงผลักดันต่อและคาดว่าขนาดของสินเชื่อใน พ.ศ. 2566 น่าจะโตได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

“ตัวเลขพวกนี้จะสะท้อนว่าเราทำได้และทำจริงมั้ย ปล่อยไปแล้วเป็นไง ติดข้อจำกัดอะไรบ้าง อีกเรื่องคือแผนที่วางไว้ ลูกค้าเดินด้วยกับเราหรือเปล่า เรามีองค์ความรู้ที่จะขยายไปอุตสาหกรรมอื่นมั้ย ซึ่งโจทย์พวกนี้ต้องรวมไว้ใน Climate Pillar ซึ่งกลายเป็นเป้าหมายของทีมขายไปแล้ว พวกเขาก็รับโจทย์ไป ผมเองก็ถูกคาดหวังให้รายงานตัวเลขพวกนี้ตลอดกับบอร์ดและสื่อมวลชน ผมเชื่อว่าการที่เราแชร์เรื่องพวกนี้ได้ เป็นการตอกย้ำว่าเราทำตามที่สัญญาและเห็นว่ามันสำคัญ”

เมื่อ The Cloud ถามคุณกฤษณ์ว่าเป้าหมายที่ประกาศออกมาดูจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวือหวา ถือว่าธนาคารระวังตัวไปหน่อยหรือไม่ คำตอบที่ได้น่าสนใจทีเดียว

“ผมว่าบางเรื่องเราทำคนเดียวไม่ได้ จะมาประกาศว่าจะไม่ปล่อยกู้ให้พวกธุรกิจพลังงานเลย หยุดปล่อยกู้หมดถ้าไม่ใช่ธุรกิจสีเขียว ทำแบบนี้เท่ากับเราทิ้งลูกค้านะ ซึ่งไม่ใช่การตัดสินใจที่มีเหตุผล เพราะว่าลูกค้ากับเราต้องไปด้วยกันต่างหาก ผมว่าเราต้องคำนวณเป็นตัวเลขออกมาให้ได้ ถ้าเหมาะสมเราก็จะทำ ถ้าอันไหนทำได้เราก็จะให้คำมั่นสัญญา สิ่งที่เราทำคือ Walk the Talk อันไหนเราสัญญาจะทำ เราทำ แต่สิ่งที่เราจะไม่ทำคือเราจะไม่รอ บางคนบอกว่าเรื่องนี้รอได้ รอคนอื่นทำไปก่อน แต่ที่กสิกรไทยเราไม่รอครับ”

พูดแล้วทำ อันไหนไม่ทำก็ไม่พูด

ยั่งยืนที่วิถีชีวิตและโอกาสเติบโต

สิ่งที่แยกจากกันไม่ได้สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งใหม่ คือการพาทุกคนไปข้างหน้าด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนก็เช่นกัน สิ่งที่ผู้บริหารธนาคารกสิกรไทยเป็นห่วงคือภาคเกษตรกรรม ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนทางออกสำหรับเกษตรกรที่อยู่ในระบบนับล้านรายจะยังไม่ชัดเจนนัก ซึ่งเกษตรกรเองอาจจะยังไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ รวมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก็ยังมีราคาสูง บทบาทของภาครัฐจึงสำคัญมากในการออกนโยบายและมาตรการจูงใจเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้เกิดขึ้น

ชุดความคิดใหม่ ๆ นอกกรอบจึงต้องนำมาใช้กับกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นตัวเร่งที่ดีให้ผู้บริโภคปรับตัวได้เร็วขึ้น

“เรามีโครงการ SolarPlus คือคิดว่าถ้าเราสามารถคุยกับลูกบ้านในหมู่บ้านต่าง ๆ ให้พวกเขาอนุญาตให้ติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน โดยที่เราออกเงินให้ เขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ลูกบ้านได้ประหยัดค่าไฟ โดยที่ธนาคารปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่ติดตั้ง สุดท้ายแล้วลูกบ้านไม่ต้องใช้เงินลงทุน บริษัทติดตั้งก็ได้ธุรกิจเพิ่ม ธนาคารเราได้เรื่องคาร์บอนเครดิต แต่จะยากตรงการขออนุญาตและกระบวนการนี่ล่ะครับที่ต้องผลักดันกันต่อไป นี่เป็นวิธีคิดที่ออกมานอกกรอบ หรืออย่างโครงการส่งเสริมการเช่าจักรยานยนต์ไฟฟ้าแล้วให้มาเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่สาขาธนาคารได้ นี่ก็เริ่มแล้วและจะขยายต่อไป

“นอกจากมิติของสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ธนาคารเราทำได้มากคือมิติด้านสังคม ผ่านโจทย์สำคัญเรื่องความครอบคลุมทางการเงิน ปัจจุบันคนใช้ K PLUS มีประมาณ 20 ล้านรายแล้ว แต่ก็ยังมีรายย่อยที่เข้าถึงบริการสินเชื่อยากลำบาก เราก็พยายามทำให้พวกเขาเข้าถึงเงินได้มากขึ้น ปีที่ผ่านมาเราทำให้รายย่อยเข้าถึงสินเชื่อเพิ่มได้ 5 – 6 แสนราย ปีหน้าก็จะไปต่อ เรื่องนี้ต้องดูควบคู่กับปัญหาหนี้ครัวเรือนด้วยนะ ถ้าดันให้สินเชื่อโตมากเกินไป ก็เหมือนธนาคารทำบาป เพราะต้องดูเรื่องความสามารถในการชำระด้วย หนี้กับรายได้ต้องโตคู่กัน หน้าที่เราคือต้องให้กู้กับคนที่เขาชำระหนี้คืนได้ ไม่ใช่ปล่อยให้กับคนที่เขาใช้หนี้แล้วไม่เหลือเงินกินใช้เลย การไปไล่เติมหนี้ฝั่งเดียวมันทำได้ชั่วครั้งชั่วคราว ต้องทำให้เขาเติบโตขึ้นด้วย การทำให้เข้าถึงแหล่งเงินเป็นแค่การเปิดประตู แต่การทำให้เขาเติบโตต่างหากคือสิ่งที่ยั่งยืน”

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง