กล่องหัวเรื่องใช้สำหรับอะไร

ส่วนหัวแสดงถึงแท็กส่วนหัวที่ใช้ในการจัดโครงสร้างข้อความเพื่อนำทางผู้คนและเครื่องมือค้นหาผ่านหน้าและเพื่อเพิ่มการเข้าถึงของหน้า

หัวข้อคืออะไร?

ส่วนหัวเรียกอีกอย่างว่าแท็กส่วนหัวและช่วยให้ผู้คนและเครื่องมือค้นหาเข้าใจข้อความได้อย่างง่ายดายโดยแนะนำพวกเขาผ่านบทความหรือเนื้อหา

ทำไมและวิธีการใช้หัวเรื่องบนเว็บไซต์?

แท็กส่วนหัวช่วยจัดโครงสร้างข้อความ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และระบุว่าส่วนหรือย่อหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร นี่เป็นวิธีที่ง่ายและง่ายมากในการทำให้เนื้อหาสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นและอ่านได้ง่ายขึ้นโดยผู้เข้าชม และโดยโปรแกรมรวบรวมข้อมูลที่จัดทำดัชนีหน้าเว็บสำหรับเครื่องมือค้นหาด้วย CMS ส่วนใหญ่มีระดับหัวเรื่องหลายระดับ โดยปกติแล้วจะเริ่มจากหัวเรื่อง 1 (H1) ไปจนถึงประเภทที่ 6 (H6) โดยที่ H1 จะแสดงข้อมูลที่สำคัญที่สุด เช่น หัวเรื่อง และจะใหญ่ที่สุดเช่นกัน เมื่อหมายเลขหัวเรื่องเพิ่มขึ้น ความสำคัญและขนาดข้อความจะลดลง

คุณสามารถเปลี่ยนชื่อเรื่องของข้อความใดๆ ที่คุณได้รับได้

สิ่งสำคัญ: แม้ว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนชื่อเรื่องของข้อความและบันทึกบรรทัดหัวเรื่องใหม่ได้ ตามค่าเริ่มต้นแล้ว Outlookจะแสดงข้อความที่ถูกจัดกลุ่มตามหัวข้อการสนทนา เมื่อต้องการดูบรรทัดหัวเรื่องที่เปลี่ยนแปลงใหม่ในรายการข้อความของคุณ คุณจะต้อง สร้าง เปลี่ยน หรือปรับแต่งมุมมอง

เปลี่ยนบรรทัดหัวเรื่องของข้อความที่คุณได้รับ

  1. ดับเบิลคลิกที่ข้อความเพื่อเปิด คุณไม่สามารถเปลี่ยนชื่อเรื่องข้อความจาก บานหน้าต่างการอ่าน ได้

  2. เลือกบรรทัดเรื่อง เคล็ดลับ: คลิกที่ใดก็ได้ภายในบรรทัดเรื่อง เมื่อคุณเห็นเคอร์เซอร์ที่กะพริบ ให้กด CTRL+A เพื่อเลือกบรรทัดเรื่องทั้งหมด

    เชื่อว่าหลายคนที่อ่านบทความนี้คงเคยมีประสบการณ์การใช้อีเมลกันมาแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะขยับตัวทำอะไร จะเป็นการติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ สมัครโซเชียลมีเดีย ดาวน์โหลดเกม หรือแม้แต่การช็อปปิ้งออนไลน์ก็ล้วนแต่ต้องใช้ E-mail เป็นตัวกลางในการยืนยันตัวตนเกือบทั้งสิ้น แต่รู้หรือไม่ว่ากิจกรรมการรับ-ส่งอีเมลนั้นเป็นเพียงการใช้งานไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของความสามารถทั้งหมดของอีเมล

    E-mail คืออะไร

    หลักๆ แล้วเราคงรู้ว่าจุดประสงค์หลักของอีเมลนั้นมีไว้รับ-ส่ง ข้อความหรือไฟล์ต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพราะ E-mail นั้นเป็นคำย่อมาจาก Electronics Mail หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของอีเมลนั้นทำให้เราสามารถส่งข้อความข้ามทวีปได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งจดหมาย แต่สำหรับประเทศไทยนั้นโดยมากหากจะใช้ส่งออกข้อมูลก็มักจะใช้งานอีเมลกันในรูปแบบที่ค่อนข้างเป็นทางการ สำหรับการทำงาน ส่วนอีเมลที่ใช้รับข้อมูลเข้าก็มักเป็นการรับข่าวสารหรือโปรโมชันที่ไม่จำเป็นต้องมีการตอบกลับ

    ส่วนประกอบของ E-mail มีอะไรบ้าง

    เราสามารถแยกส่วนประกอบของอีเมลได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
    ส่วนของหัวเรื่อง (Head) เป็นส่วนที่มีไว้สำหรับระบุปลายทางการส่งอีเมล (E-mail Address) ว่าต้องการส่งถึงใคร อีเมลนี้ส่งมาจากใคร รวมไปถึงการระบุหัวข้อคร่าว ๆ ว่าอีเมลฉบับนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร

    ส่วนของเนื้อความ (Body) คือส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญในการรับส่งอีเมล เพราะผู้ใช้งานต้องระบุรายละเอียดเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารลงไป ซึ่งพื้นที่ว่างส่วนนี้ไม่เพียงแต่จะสามารถใส่ข้อความ (Text) ลงไปได้อย่างเดียวเท่านั้น ยังสามารถใส่ลูกเล่น เพิ่มสีสัน เน้นส่วนข้อความที่สำคัญ เพิ่มรูปภาพ ไฟล์งาน ไปจนถึงการปิดท้ายข้อความด้วยลายเซ็น และช่องทางติดต่ออื่น ๆ ได้ด้วย

    คำที่พบบ่อยในการใช้ E-mail

    To (ถึง): เป็นช่องกรอกข้อมูลสำคัญที่หากเว้นว่างไว้จะไม่สามารถส่งอีเมลได้ เพราะระบบไม่รู้ว่าจะต้องส่งอีเมลไปให้ใคร การกรอกที่อยู่อีเมลผู้รับนั้นจะต้องกรอกที่อยู่ และทุกครั้งก่อนการกด Send (ส่ง) ควรตรวจสอบปลายทางให้ถูกต้องเพื่อลดปัญหาที่จะตามมาจากการไม่ได้รับอีเมล หรือส่งอีเมลให้ผิดคน เพราะหากข้อมูลผิดไปเพียงตัวอักษรเดียวก็สามารถทำให้อีเมลส่งไปไม่ถึงปลายทางได้เลย

    Subject (เรื่อง): คือช่องสำหรับกรองหัวข้อเรื่องที่ต้องการพูดคุย ถึงแม้ว่าในส่วนนี้ระบบส่วนใหญ่จะไม่บังคับให้กรอก สามารถส่งออกอีเมลได้โดยขึ้นเป็น No Subject แต่เราแนะนำว่าเพื่อการสื่อสารที่ดี ควรใส่หัวเรื่องอีเมลทุกครั้ง เพราะอย่างน้อยปลายทางผู้รับจะได้ทราบคร่าว ๆ ว่าสิ่งที่พูดถึงในอีเมลนั้นหมายความว่าอะไร และเพื่อลดเวลาในการกลับมาหาอีเมลภายหลัง เพราะหากมีอีเมลที่เป็น No Subject หลาย ๆ อีเมล คงต้องเสียเวลาในการเปิดดูข้อมูลภายในทีละฉบับกว่าจะหาอีเมลที่ต้องการเจอ

    CC (สำเนา): CC ย่อมาจากคำว่า Carbon Copy เนื่องจากในสมัยก่อนการคัดลอกข้อความนั้นจะมีการใช้กระดาษคาร์บอนสีดำรองไว้หลังกระดาษที่ใช้เขียนหรือพิมพ์ดีด เพื่อให้แรงกดตัวอักษรถูกคัดลอกลงไปยังกระดาษแผ่นหลัง ความหมายของ CC ในการใช้อีเมลจึงหมายถึงการส่งสำเนาข้อมูลไปยังผู้รับที่ไม่ต้องการให้ตอบกลับ หรือไม่ใช่ผู้ที่รับข้อมูลโดยตรง ซึ่งการส่ง CC นั้นจะเป็นการส่งข้อมูลแบบ Public คือผู้รับอีเมลทั้งหมดไม่ว่าจะมีชื่ออยู่ในช่อง To หรือ CC จะสามารถเห็นกันและกันได้ทั้งหมดว่ามีใครบ้างที่ได้รับข้อมูล

    BCC (สำเนาลับ):มาจากคำว่า Blind Carbon Copy คล้ายกับการส่งแบบ CC แต่จุดประสงค์ในการใช้คือเพื่อส่งข้อมูลถึงผู้รับจำนวนมากโดยไม่ต้องการให้ผู้รับข้อมูลทั้งหลายทราบว่ามีการส่งอีเมลฉบับนั้นถึงใครบ้าง เพราะ B ย่อมาจากคำว่า Blind ที่แปลว่ามองไม่เห็นนั่นเอง

    From (ผู้ส่ง):คือส่วนที่ระบุว่าใครเป็นผู้ส่งอีเมลฉบับนี้มาให้ ซึ่งจะเป็นส่วน “บังคับ” ที่ไม่สามารถปิดบังได้ ผู้รับอีเมลไม่ว่าจะในรูปแบบของ To, CC หรือ BCC ล้วนต้องเห็นที่อยู่อีเมลของผู้ส่งเสมอ

    Date (วันเวลา): ระบุวันและเวลาที่มีการส่งออกอีเมลนั้น ๆ

    RE (ตอบกลับ): คำนี้จะปรากฏขึ้นที่หัวเรื่อง (Subject) โดยอัตโนมัติเมื่อมีการกดปุ่ม Reply เพื่อตอบกลับไปยังผู้ส่งอีเมลมาหาเราเพียงคนเดียว หรือ Reply All เมื่อต้องการตอบกลับไปยังทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ส่งอีเมลมาหา และผู้ที่มีชื่ออยู่ในช่อง CC การขึ้น RE: อัตโนมัติหน้าหัวเรื่องจะช่วยให้สะดวกต่อการตอบกลับอีเมลฉบับเดิม แต่ส่วนนี้หากเราต้องการแก้ไขหัวเรื่องก็สามารถปรับแก้หรือลบออกได้

    FW (ส่งต่อ): มาจากคำว่า Forward ที่แปลว่าส่งต่อ ใช้สำหรับส่งสำเนาอีเมลไปยังผู้รับคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อดั้งเดิมที่ผู้ส่งอีเมลคนแรกส่งมา เช่น A ส่งอีเมลให้ B หลังจากนั้น B ฟอร์เวิร์ดอีเมลทั้งฉบับส่งต่อให้ C เพื่อรับทราบข้อมูล

    FYI คำนี้ไม่ใช่คำที่ปรากฏอยู่บนเมนูของการใช้อีเมล แต่เป็นคำที่ผู้ใช้งานอีเมลนิยมใช้กันมาก เมื่อต้องการส่งต่อข้อมูลเพื่อแจ้งให้รับทราบ เพราะคำนี้เป็นคำย่อมาจาก For Your Information หากเราต้องการส่งต่ออีเมล (Forward) เพื่อแจ้งข้อมูลโดยไม่มีความเห็นใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลที่ส่งต่อ แต่ก็ไม่อยากให้อีเมลนั้นดูโล่งเหมือนไม่มีการบอกกล่าวใด ๆ เลย ก็สามารถนำคำว่า FYI มาใช้ได้ ซึ่งในบรรดาผู้ใช้อีเมลจะทราบกันดีว่าหมายถึงการแจ้งให้ทราบ เรียนให้ทราบนั่นเอง

    การประยุกต์ใช้ E-mail

    กว่า 80% ของผู้ใช้อีเมล ใช้เพียงฟังก์ชันการรับและส่งเท่านั้น แต่ความจริงแล้วอีเมลยังสามารถทำอะไรได้มากกว่านั้น ศักยภาพของอีเมลสามารถที่จะประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้เครือข่ายผลิตภัณฑ์เดียวกัน เราจะพาคุณเปิดโลกการเรียนรู้ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานอีเมลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดเวลาการทำงาน เพิ่มคุณภาพ กลายเป็นมือฉมังด้านการใช้งานอีเมล

    1. 18 วิธีง่าย ๆ ในการจัดการกล่องจดหมายจาก Gmail

    หนึ่งในอีเมลที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ G-Mail ของผู้ให้บริการเซอร์วิสยักษ์ใหญ่อย่าง Google ที่นอกจากจะสมัครใช้งานง่ายแล้ว ยังผูกโยงบัญชีได้ทุกผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม G-Suite เช่น YouTube, Calendar, Photo และยังสามารถใช้งานข้ามค่ายได้ง่าย อย่างการสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ต่าง ๆ เพียงไม่กี่คลิก

    หลักสูตร 18 วิธีง่าย ๆ ในการจัดการกล่องจดหมายจาก Gmail นี้จะพาคุณไปเรียนรู้ทุกซอกทุกมุมของการใช้งาน G-mail ที่คุณอาจไม่เคยได้ลองใช้มาก่อน เพราะเราสอนแบบไม่กั๊กถึง 18 หัวข้อการใช้งาน ตั้งแต่วิธีใช้พื้นฐานอย่างการรับ-ส่ง การตั้งค่าแจ้งเตือนให้อ่านอีเมล การจัดหมวดหมู่อีเมลด้วยวิธีต่าง ๆ หรือการยกเลิกการส่งอีเมลหากเผลอกดผิด การปรับแต่งการแสดงผลกล่องอีเมล การคัดกรองและ Block อีเมลที่เป็น Spam ไปจนถึงวิธีใช้งานอีเมลเมื่อไม่มีอินเทอร์เน็ตด้วย เรียกได้ว่าแค่เรียนคอร์สนี้เพียงสองชั่วโมงคุณก็สามารถกลายเป็นผู้ใช้งาน G-mail ระดับมืออาชีพได้เลย

    2. Outlook 365 เคล็ด (ไม่) ลับฉบับมือโปร

    มาถึงอีกหนึ่งอีเมลที่นิยมใช้กันบ้าง คราวนี้เป็นฝั่งผลิตภัณฑ์ภายใต้บริษัทยักษ์ใหญ่อีกแห่งอย่าง Microsoft อีเมลไคล์เอนของไมโครซอฟต์นั้นได้รับการพัฒนาและเปลี่ยนชื่อมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ Hotmail, MSN Hotmail, Windows Live มาจนถึง Outlook ซึ่งอีเมลฝั่ง Outlook นั้นค่อนข้างเป็นที่นิยมในการใช้งานแบบองค์กร เนื่องจากก่อนจะกลายมาเป็น Outlook 365 ในปัจจุบัน โปรแกรม Microsoft Outlook แบบที่ต้องติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำให้การใช้งานสะดวก และจัดการอีเมลได้อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งในคอร์สนี้เราจะพูดถึงการใช้งานบนแอปพลิเคชัน Outlook 365 จะสอนให้คุณเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานการรู้จักส่วนต่าง ๆ การตั้งค่าทั่วไป การใช้รับ-ส่งอีเมล การตั้งค่าการตอบกลับเมื่ออยู่นอกออฟฟิศ รวมไปถึงสอดแทรกเรื่องการป้องกันอีเมลให้ปลอดภัยให้ด้วย

    3. เพิ่มศักยภาพการทำงานด้วย Outlook + To-Do

    นอกจากสอนการใช้งาน Outlook 365 อย่างเต็มรูปแบบแล้ว หลักสูตรนี้ยังจะพาไปเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันในเครือ Microsoft อย่าง To do ที่จะช่วยลิสต์รายการสิ่งที่ต้องทำ และแจ้งเตือนไม่ให้เราลืมงานที่สำคัญ การทำเครื่องหมายเน้นย้ำกิจกรรมที่สำคัญ การแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนด ไปจนถึงการตั้งค่าสถานะเพื่อการทำงานร่วมกันทั้งสองแอป ต่อให้งานเยอะแค่ไหนก็สามารถใช้สองแอปนี้จัดเรียงความสำคัญและย้ำเตือนได้ไม่มีพลาด

    4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน Outlook + Calendar + Teams

    ตั้งแต่แรกเริ่ม Outlook นั้นก็ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ตอบสนองการใช้รับ-ส่งอีเมลในองค์กรได้สะดวกและเป็นระเบียบ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกเลยที่มันจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันสำหรับใช้ในการทำงานได้มากมาย โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็น Outlook 365 ที่ทำงานบนออนไลน์เต็มรูปแบบด้วยแล้ว ขีดจำกัดของการทำงานร่วมกับโปรแกรมหรือแอปอื่น ๆ ยิ่งขยายกว้างออกไป

    เราขอแนะนำหลักสูตรนี้สำหรับองค์กรที่ใช้ผลิตภัณฑ์ในเครือ Microsoft เพราะความสามารถของ Outlook นั้นเมื่อรวมเข้ากับ Microsoft Calendar และ Microsoft Teams จะกลายเป็นสุดยอดเครื่องมือการทำงานที่ครอบคลุมการทำงานแบบ Work from Anywhere ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งอีเมล รับ-ส่งไฟล์งาน การนัดประชุม การพูดคุยกันในเครือออฟฟิศก็สามารถทำได้ง่ายดาย

    5. กระดานประชุมงานอัจฉริยะ Outlook + Whiteboard

    เมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป การทำงานร่วมกันในระยะไกลก็ย่อมพัฒนาไปด้วย สำหรับงานที่ต้องแชร์ไอเดียร่วมกัน (Brainstorm) หลายคนคงไม่คิดว่าจะสามารถทำได้ง่ายนักเมื่ออยู่กันคนละแห่ง จะต้องส่งไฟล์ไปมาเป็นสิบเป็นร้อยรอบเวียนกันหรือเปล่า คำตอบคือ “ไม่ใช่เลย” ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขจากแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Microsoft Whiteboard ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่าคือกระดานไวท์บอร์ดสำหรับเขียนข้อความ แปะโน้ต หรืออะไรก็ตามที่เราทำกันเมื่อใช้ไวท์บอร์ดทั่วไป เพียงแต่แอปพลิเคชันนี้นำ Whiteboard ขึ้นมาไว้บนออนไลน์กลายเป็นไวท์บอร์ดแบบดิจิทัล ที่ช่วยให้เราสามารถแชร์ไอเดีย ขีดฆ่าข้อความ ลากโยง แปะโน้ตได้ราวกับนั่งทำงานร่วมกันอยู่จริง ๆ

    6. ตั้งค่าสิทธิ์เอกสารส่วนตัว และแชร์ด้วย Delve และ Outlook

    แอปพลิเคชัน Delve เป็นแอปพลิเคชันอีกหนึ่งตัวที่เราอาจไม่ค่อยคุ้นหน้าคุ้นตานัก ลักษณะการทำงานจะเป็นการจัดเรียงเอกสารต่าง ๆ จากเพื่อนร่วมงานในรูปแบบ Card (คล้าย ๆ Pinterest) สามารถค้นหาข้อมูลแยกตามกลุ่มเพื่อนร่วมงานได้ ถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งให้ผู้ใช้ค้นหาเอกสารได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากการค้นหาไฟล์ตรง ๆ ในระบบ

    7. คอร์สติวสอบประกาศนียบัตร Microsoft Outlook 2019

    มาถึงคอร์สแนะนำสุดท้าย เป็นคอร์สที่สอนการใช้งาน “โปรแกรม Microsoft Outlook 2019” ซึ่งเป็นเวอร์ชันแบบลงโปรแกรมบนเครื่อง โดยเนื้อหาภายในหลักสูตรนี้นอกจากจะสอนการใช้งานโปรแกรมแล้ว ยังอ้างอิงหัวข้อการสอนตาม Objective การสอบตามใบประกาศนียบัตรมาตรฐานสากล Microsoft Office Specialist : Outlook 2019 เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคว้าประกาศนียบัตรรับรองเพื่ออัปเกรดโปรไฟล์ของตัวเองเพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน

    หลักสูตรทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถเลือกเรียนรู้ไดด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ [Skillon] และสำหรับองค์กรที่อยากพัฒนาศักยภาพการทำงานสามารถรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการอบรมได้ทุกช่องทางการติดต่อของบริษัท เออาร์ไอที จำกัด หรือโทร 02-610-3095 ถึง 3097

    Subject มีไว้สำหรับทำอะไร

    Subject (เรื่อง): คือช่องสำหรับกรองหัวข้อเรื่องที่ต้องการพูดคุย ถึงแม้ว่าในส่วนนี้ระบบส่วนใหญ่จะไม่บังคับให้กรอก สามารถส่งออกอีเมลได้โดยขึ้นเป็น No Subject แต่เราแนะนำว่าเพื่อการสื่อสารที่ดี ควรใส่หัวเรื่องอีเมลทุกครั้ง เพราะอย่างน้อยปลายทางผู้รับจะได้ทราบคร่าว ๆ ว่าสิ่งที่พูดถึงในอีเมลนั้นหมายความว่าอะไร และเพื่อลด ...

    Email Address ใช้สําหรับทําอะไร

    หมายเลขไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง หมายเลขประจำตัวหรือรหัสประจำตัวที่กำหนดให้แก่สมาชิก ผู้ใช้หมายเลขนี้จะใช้สำหรับส่งจดหมายหรือเรียกดูข้อความที่ส่งมาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวโปรแกรมที่ใช้ จะต้องทำหน้าที่เหมือนที่ทำการไปรษณีย์ โดยจะรับข่าวสารที่มีผู้ส่งมาแล้วเก็บรอไว้ จนกว่าผู้รับจะเรียกออกมาดู

    ที่อยู่ของผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่าอะไร

    อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com.

    Subject ในจดหมายคืออะไร

    เริ่มต้นกันที่หัวข้อ ( “subject” ในภาษาอังกฤษ ) ข้อความบรรทัดแรกที่เราเขียนจะไปปรากกฏอยู่ในกล่องข้อความอีเมลของผู้อ่าน หัวข้อจะบอกจุดประสงค์ของเนื้อหาจดหมายของคุณ ซึ่งจะต้องเขียนให้สั้นและกระชับได้ใจความ ตามปกติแล้วควรจะเขียนเป็นประโยคสั้นๆ หรือประโยคคำถาม ตัวอย่าง : Request for information on…

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง