ข้อใดคือภูมิปัญญาในการบริหารจัดการน้ำของอาณาจักรสุโขทัย

ภูมิปัญญาล้านนาในการบริหารจัดการน้ำ

ภูมิปัญญาล้านนาในการบริหารจัดการน้ำ

“ฝาย” ภูมิปัญญาล้านนาในการบริหารจัดการน้ำ มีการกำหนดกฏเกณฑ์การทำงานตั้งแต่สมัยพ่อขุนมังรายณ์ ในการร่วมมือกันของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร

        ลักษณะภูมิประเทศของล้านนาเป็นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีการทำไร่นาและการตั้งชุมชน จึงจำเป็นต้องมีระบบชลประทานที่เหมาะสมเพื่อการทำเกษตรกรรม การทำนาโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีได้การทำนาจากการใช้น้ำจากน้ำเหมือง ซึ่งจะให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอเพราะมีน้ำมาหล่อเลี้ยงตลอดปี โดยที่ระบบเหมืองฝายที่ได้มีการพัฒนาการมานานหลายทศวรรษอย่างต่อเนื่อง ปรากฎในพงศาวดารและตำนวนของอาณาจักรโบราณทั้งหลาย ได้แก่ ตำนานสุวรรณโคมคำ โยนกนาคนคร หิรัญนครเงิน ยางเชียงแสน ตำนานเมืองพะเยา เป็นต้น อาณาจักรเหล่านี้ใช้ระบบเหมืองฝายเพื่อทดน้ำขึ้นมาใช้ในไร่นาเพื่อใช้ในการเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาที่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศได้อย่างเหมาะสม ดังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารโยนก (พระยาประชากิจกรจักร์. 2516) ตอนหนึ่งที่ว่า “…ข้าจักลอมน้ำอันหนึ่งฟากน้ำปิง กล้ำวันออกให้เป็นแม่น้ำ … ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้แป๋งฝายเอาน้ำเข้านา”

        การชลประทานของล้านนาได้มีการพัฒนาการต่อมาด้วยการวางระเบียบแบบแผนการจ่ายน้ำทั้งระบบขนาดใหญ่และขนาดเล็กโดยข้อกำกนดเหล่านี้ได้มีตราไว้ในกฎหมายเก่าแก่ของล้านนา คือ “มังรายศาสตร์ “ โดยสาระสำคัญ ข้อกำหนดในกฎหมานนี้เป็นการร่วมแรงกันในการสร้างและการบำรุงรักษาเหมืองฝาย รวมทั้งการปรับโทษในการขโมยน้ำและการทำเหมืองฝายชำรุดเสียหาย ภูมิประเทศที่สร้างเหมืองฝายนิยมเลือกบริเวณที่มีลำห้วย ณ ทำเลที่น้ำไหลลงมาจากหุบเขา เมื่อกั้นทำนบแล้วก็จะส่งน้ำไปตามลำเหมือง หรือคลองส่งน้ำที่ขุดขึ้นจากการร่วมใจร่วมแรงของประชาชนในท้องถิ่น น้ำนี้จะถูกปันเข้าสู่ไร่นาเบื้องล่าง สำหรับเหมืองฝายขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นอย่างถาวรนั้น ส่วนมากจะนิยมสร้างขว้างแม่น้ำสายใหญ่ ฝายขนาดใหญ่จะมีลำเหมืองส่งน้ำไปเลี้ยงพื้นที่นาทำให้สามารถขยายที่ทำนาทำไร่ได้กว้างขวางขึ้น โดยมีระบบเหมืองซอยหลายสายแจกจ่ายน้ำเป็นเครือข่าย ในกรอบอ้างอิงของชาวบ้านล้านนา “ฝาย”เป็นทำนบกั้นน้ำขนาดใหญ่ “แต” เป็นทำนบหรือประตูน้ำที่แยกจากฝายเข้าสู่เหมืองขนาดเล็ก “ต่าง” เป็นประตูน้ำเล็กแยกน้ำจากแตไปสู่ไร่นา และ ”ตอน” เป็นทำนบคลองย่อยที่มีขนาดเล็กสุดที่จ่ายน้ำเข้าสู่ที่นาแต่ละแปลง

        การบำรุงรักษาดูแลเหมืองฝาย การควบคุมการแจกจ่ายน้ำ การยุติข้อพิพาทแย่งชิงน้ำกัน และการแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ นั้นจะต้องมีผู้ควบคุมดูแลซึ่งหัวหน้าใหญ่ที่คอยดูแลเหมืองฝายให้เกิดประโยชน์เหมาะสมเรียกว่า “แก่ฝาย”ส่วนการระบายน้ำเข้าไร่นาจะมีผู้จัดการเรียกว่า “แก่เหมือง” สำหรับแก่เหมืองจะต้องเป็นผู้ดูแลลำเหมืองและจัดสรรปันน้ำให้แก่ลูกเหมืองอย่างถูกถ้วนและยุติธรรม ส่วนแก่ฝายก็ได้ผู้ที่เลือกมาจากแก่เหมืองที่มีลักษณะเป็นผู้นำสูงและเป็นที่ยอมรับนับถือ เพราะจะต้องเป็นหัวหน้าแก่เหมืองทั้งหมด โดยปกติแก่ฝายคนหนึ่งจะมีแก่เหมืองเป็นลูกน้อง 10 – 20 คน และแก่ฝายแก่เหมืองนั้นต้องทำงานหลายอย่าง และต้องใช้เวลามากในการดูแลรับผิดชอบคลองเล็กคลองย่อยของระบบแก่เหมืองของแต่ละหมู่บ้านจะคอยบอกกล่าวความต้องการใช้น้ำของชาวนาให้กับแก่เหมืองที่ดูแลคลองส่งน้ำที่ใหญ่กว่าขึ้นไปเป็นลำดับไปจนถึงแก่ฝายและรับถ่ายทอดคำสั่งและข้อมูลการตัดสินใจจากแก่ฝายและแก่เหมืองอื่นๆ และมีการจัดประชุมปรึกษาหารือกันทั้งหมดเพื่อซ่อมแซมฝาย ปันน้ำในฤดูแล้ง หรือบอกกล่าวเกณฑ์แรงงานลูกบ้าน แก่เหมืองแต่ละคนจะมีหน้าที่ตัดสินใจภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเองดังนี้

1. แก่เหมือง

  • จัดสรรปันน้ำในหมู่บ้านให้ทั่วถึงยุติธรรม
  • ตรวจตราดูแลลำเหมืองและประตูน้ำในหมู่บ้านไม่ให้ชำรุดเสียหาย
  • นัดหมายชาวบ้านให้มาช่วยกันทำและซ่อมแซมเหมืองฝาย
  •  รับความคิดและคำสั่งจากแก่ฝายมาสู่การปฏิบัติในหมู่บ้าน ภายใต้การควบคุมดูแลของตน
  • แก้ปัญหาและตัดสินเมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องน้ำในหมู่บ้าน
  • ทำบัญชีรายชื่อชาวนาผู้ร่วมใช้น้ำและเป็นสมาชิกของระบบเหมืองฝาย

2. แก่ฝาย

  • ตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาเหมืองฝาย รวมทั้งการขุดลอกและซ่อมแซมลำเหมือง
  • เก็บบัญชีรายชื่อชาวนาผู้ร่วมใช้น้ำ
  • ตรวจตราและควบคุมการจัดสรรปันน้ำแก่สมาชิกให้ทั่วถึง
  • ตรวจตราและดูแลประตูน้ำ (แต ต่าง ตอน) ของทุกหมู่บ้านให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ หากพบผู้ใดฝ่าฝืนต้องตามตัวมารับโทษ ปรัยหรือส่งเรื่องราวให้กับฝายปกครอง
  • ตัดสินใจและกำหนดวันเวลาในการสร้างหรือซ่อมแซมฝาย
  • ประสานงานกับฝ่ายปกครอง เพื่อเสนอปัญหา งบประมาณ เป็นต้น
  • เป็นผู้ตัดสินถ้าเกิดกรณีพิพาทเรื่องน้ำ

ที่มา :

พรพิไล เลิศวิชา, สุพชัย  เมถิน , นนธชัย นามเทพ. เหมืองฝาย จัดการน้ำ จัดการคน บนพื้นฐานภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม.2552

ศาสตราจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง.หนังสือชุดภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวของชาวบ้านไทย (ภูมิปัญญาล้านนา).2540

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง