ภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอะไร

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย

 

 

สาเหตุการยืมของภาษาไทย

มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจบริบทของประเทศไทยในอดีตที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อการค้าขาย และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายเพื่อใช้ในการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศทั้งที่มีพื้นที่ติดต่อกับเรา หรือประเทศที่เราต้องการจะทำการค้าด้วยเป็นการติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูต นอกจากนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ในด้านศาสนา สังคม ภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย หรือการส่งคนไทยออกไปศึกษายังต่างประเทศแล้วกลับมาเผยแพร่ให้คนไทยด้วยกันเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้คำจากภาษาต่างประเทศเริ่มขยายตัวเข้ามา และมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยของคนไทยมากขึ้นด้วย โดยภาษาต่างประเทศที่เราจะพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ ภาษาอังกฤษ เขมร จีน ชวา มลายู เวียดนาม ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ บาลี และสันสกฤต

 

 

อิทธิพลจากการยืมคำภาษาต่างประเทศ

ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเริ่มขยับขยายเข้ามาปะปนกับภาษาไทยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านของคำศพท์ที่มีการขยายกว้างขึ้น ทำให้เกิดคำไวพจน์ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำของไทยบางคำ แต่รูปคำนั้นอาจนำมาจากภาษาอื่น และทำให้คนไทยเริ่มมีวัฒนธรรมการใช้คำทับศัพท์ หรือคำศัพท์ใหม่ ๆ มากขึ้นด้วย ซึ่งเพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจมากขึ้นเดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนมาดูว่าในภาษาไทยมีคำอะไรบ้างที่มาจากภาษาต่างประเทศ

 

ตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย

หลังจากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับความเป็นมา หรือว่าอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อคำศัพท์ในภาษาไทยแล้ว เร่จะมาดูตัวอย่างคำจากภาษาต่างประเทศที่ภาษาไทยเรานำมาใช้จนแทบจะไม่มีใครสังเกตเลยว่าคำนี้เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น มาดูกันว่ามีคำที่มาจากภาษาอะไรบ้าง

ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ

สำหรับภาษาอังกฤษถือว่าเป็นอีกภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาก ๆ โดยส่วนใหญ่คนไทยจะใช้คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษจนแทบจะหาคำไทยมาทดแทนไม่ได้ อย่างการเรียกเครื่องใช้ หรือสิ่งของที่นำเข้ามา หรือเป็นนวัตกรรมจากต่างประเทศ อาทิ คอมพิวเตอร์ รีโมต สวิตซ์ รวมถึงชื่ออาหาร กีฬา หรือวัฒนธรรม การใช้ชีวิตบางอย่างที่คนไทยได้รับมาอีกที และจะใช้ลักษณะของการถ่ายโอนเสียงในภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับเสียงในภาษาไทย

ตัวอย่างคำภาษาจีน

ภาษาจีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยนับตั้งแต่ที่บ้านเมืองเราเริ่มทำการค้าขายกับจีน เรารับวัฒนธรรมการกินอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ของประเทศจีนมาค่อนข้างมาก คำภาษาจีนบางคำจึงได้รับการบัญญัติในพจนานุกรมของไทยให้เราได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำในภาษาจีนนั้นมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรี หรือจัตวา หรือมักจะเป็นคำที่มีสระประสมอย่างสระเอียะ อัวะ แต่บางคำที่คนไทยนำมาใช้จนกลมกลืนไปกับเสียงในภาษาไทยก็อาจจะทำให้การออกเสียงเปลี่ยนจากในภาษาจีนไปบ้าง เช่น ลิ้นจี่ ที่มาจากคำว่า ลีจี ในภาษาจีน หรือคำว่า กงสี ที่มาจากคำว่า กงซี ในภาษาจีน

ตัวอย่างคำภาษาญี่ปุ่น

ในส่วนของคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรามักจะได้รับอิทธิพลเข้ามาจากวัฒนธรรมการกินอย่างชื่อของอาหาร หรือวัตถุดิบบางอย่าง เช่น ซุชิ สุกี้ ชาบู รวมไปถึงชื่อกีฬาบางประเภท เช่น ซูโม่ ยูโด คาราเต้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด

ตัวอย่างคำภาษาเขมร

ภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาเขมรค่อนข้างมากส่วนใหญ่เราจะพบภาษาเขมรในคำราชาศัพท์ หรือคำไวพจน์ของไทย ซึ่งภาษาเขมรจะมีลักษณะพิเศษสามารถแผลงคำได้ เช่น ตรวจ แผลงเป็นตำรวจ เกิด แผลงเป็น กำเนิด เดิน แผลงเป็น ดำเนิน หรือชาญ แผลงเป็น ชำนาญ เป็นต้น

บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างน้อง ๆ ทุกคน หลังจากที่ได้เรียนรู้คำจากภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของเราแล้ว ได้สาระความรู้เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ต้องบอกว่าการศึกษาคำยืมจากภาษาต่างประเทศนั้นจะช่วยให้น้อง ๆ ได้เห็นทั้งการเปลี่ยนแปลงของภาษา และสามารถใช้คำจากภาษาเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจมากขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ อยากจะทบทวน หรือศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

การใช้ Quantity words

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร “Quantity words” คือคำบอกปริมาณนั่นเอง เช่น much, many, few, a few, lots

กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร (จุดตัดแกน x และจุดตัดแกน y)

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึง การแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณแล้วนำมาเขียนแสดงเป็นกราฟโดยใช้วิธีการหาจุดตัดของแกน x และ แกน y

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบ การแยกตัวประกอบ ของจำนวนนับใด หมายถึง การเขียนจำนวนนับนั้นในรูปการคูณของ ตัวประกอบเฉพาะ  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอวิธีการ รวมถึง โจทย์การแยกตัวประกอบ ไว้มากมาย น้องๆสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ดวยตนเองโดยที่มีวิธีการแยกตัวประกอบ 2 วิธี ดังนี้ การแยกตัวประกอบ  โดยการคูณ  การแยกตัวประกอบ  โดยการหาร (หารสั้น)         ก่อนอื่นน้องๆมาทบทวน ความหมายของตัวประกอบและจำนวนเฉพาะ

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง