ข้อใดคือกระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีใดที่สามารถทำให้เกิดสัณฐานแบบเทือกเขาหิมาลัยได้ การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในข้อใดทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคแบบใดมีผลทำให้เกิดเทือกเขาสูง เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรสองแผ่นชนกัน จะมีแผ่นหนึ่งมุดตัวลงสู่ชั้นเนื้อโลก บริเวณแนวมุดตัวจะเกิดสิ่งใด ปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกา และทวีปแอฟริกา มีการเคลื่อนที่อย่างไร แนวที่แผ่นธรณีภาคชนหรือมุดซ้อนกันเป็นไปได้ 3 แบบคือ การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคตามแนวระดับ ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบใด ข้อใดไม่ใช่หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าทวีปต่าง ๆ มีการเคลื่อนตัวแยกออกจากกัน ข้อสรุปใด ถูกต้องเกี่ยวกับการค้นพบหินบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีข้อใดที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาแอลป์

ภาพถ่ายเทือกเขาแอลป์ระบบดิจิทัล

เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย

เทือกเขาแอลป์ (เยอรมัน: Alpen; ฝรั่งเศส: Alpes; อิตาลี: Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; อังกฤษ: Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลีชเทินชไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก

เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ มงบล็อง ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี[1]

นิรุกติศาสตร์[แก้]

คำว่า "แอลป์" (Alps) ซึ่งเป็นคำในภาษาอังกฤษ นำมาจากคำว่าแอลป์ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาละตินจากคำว่า "Albus" ที่แปลว่า "สีขาว" อันหมายถึง "เทือกเขาสีขาวที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ"[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 * สุริศา ซอมาดี คอลัมน์ Aqua Surve นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 28. 'Salamandra atra... จิ้งจกน้ำสีนิลแห่งเทือกเขาแอลป์. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], ตุลาคม พ.ศ. 2555. หน้า 77.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เทือกเขาแอลป์
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 45°50′01″N 6°51′54″E / 45.833611°N 6.865°E

คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
เทือกเขาแอลป์
บทความเกี่ยวกับเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การก่อเทือกเขา (อังกฤษ: Orogeny/Orogenesis) เป็นกระบวนการกำเนิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากแรงดัน ในขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก เช่น การเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเค้น ขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเปลือกโลกทั้งสอง ส่งผลให้เกิดมวลหินบริเวณนั้นถูกแปรสภาพและยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า แดนเทือกเขา (orogenic belt)

คำว่า “Orogeny” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า oros แปลว่าภูเขา และ genesis ที่แปลว่าการเกิด หรือกำเนิด

ธรณีแปรสัณฐานที่ก่อให้เกิดแนวเทือกเขา[แก้]

กระบวนการแปรสัณฐานที่นำไปสู่การก่อแนวเทือกเขา ก็คือการที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน (convergent boundary) ซึ่งสามารถแบ่งตามชนิดของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนที่เข้าหากันได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป[แก้]

การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกชนิดนี้ทำให้เกิดการชนกันอย่างรุนแรง เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนา และมีความหนาแน่นเท่า ๆ กัน อีกทั้งยังคงมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้นเนื้อโลก แผ่นโลกทั้งสองจึงไม่เกิดการมุดตัว แต่บางครั้งอาจมีการมุดตัวเล็กน้อยหรือธรณีภาคส่วนที่หนักอาจแตกแยกตัวออกจากเปลือกโลกและมุดลงข้างใต้ก็ได้ เศษชิ้นส่วนของเปลือกโลกหรือตะกอนตามขอบทวีปอาจถูกครูดให้มาอยู่ในเขตการชนกัน (collision zone) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนสภาพอย่างรุนแรงแบบเมลานจ์ของหิน (highly deformed Mélange of rock) การบีบอัดอย่างรุนแรงยังสามารถทำให้เกิดการคดโค้งและการเลื่อนของหินในแผ่นเปลือกโลกทั้งสองได้ ขอบเขตการเปลี่ยนสภาพนี้อาจมากถึงหลายร้อยกิโลเมตรภายในแผ่นเปลือกโลก ซึ่งแสดงลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวเทือกเขาสูงบนผิวโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาทางด้านตะวันตกของประเทศไทย

แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร[แก้]

ทำให้เกิดการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรลงใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (subduction) เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรหนาน้อยกว่า แต่มีความหนาแน่นสูงกว่าแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป ขณะที่แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรมุดตัวลงเรื่อย ๆ แผ่นเปลือกโลกส่วนที่มุดลึกลงไปถึงชั้นฐานธรณีภาคจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จนกระทั่งส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและสารระเหยต่าง ๆ เช่น น้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ถูกความร้อนทำให้ระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่ด้านบน ซึ่งสารไอร้อนเหล่านี้จะไปรบกวนสมดุลของชั้นฐานธรณีภาคบริเวณนั้นด้วย ทำให้เกิดภาวะไม่เสถียรจนเกิดการหลอมเป็นบางส่วน (partial melting) กลายเป็นหินหลอมซึ่งจะก่อตัวในรูปกระเปาะหินหนืด (magma chamber) ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าวัสดุแวดล้อมจึงค่อย ๆ ลอยตัวสู่ด้านบนช้า ๆ หากกระเปาะหินหนืดลอยขึ้นมาถึงพื้นผิวโลกโดยไม่มีการแข็งตัวก็จะเกิดการปะทุออกมาในลักษณะของการระเบิดของภูเขาไฟ (volcanic eruption) ซึ่งผลจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกชนิดนี้ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศสูงเป็นแนวเทือกเขาตามขอบแผ่นทวีป เช่น เทือกเขาแอนดีส ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้

แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร[แก้]

เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรสองแผ่นเคลื่อนที่เข้าชนกัน โดยปกติแล้วจะเป็นแผ่นเปลือกโลกที่มีอายุมากกว่าจะมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรที่มีอายุน้อยเนื่องจากความหนาแน่นที่สูงกว่า จากนั้นกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดจะคล้ายคลึงกับกรณีของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร ผลของการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรสองแผ่นทำให้เกิดแนวหมู่เกาะภูเขาไฟกลางสมุทร ตัวอย่างเช่น หมู่เกาะแคริเบียนตะวันออก (Eastern Caribbean Islands)

กระบวนการทางธรณีวิทยาของการก่อเทือกเขา[แก้]

โดยทั่วไปแล้วภูเขาหนึ่งๆ ที่เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานดังที่กล่าวไว้ข้างต้น จะประกอบด้วยกระบวนทางธรณีวิทยาที่เกิดร่วมกับกระบวนการก่อเทือกเขาด้วย ซึ่งประกอบด้วย (หมายเลขระบุตำแหน่งดังรูป)

  1. การเปลี่ยนลักษณะ (deformation) เช่น การเกิดชั้นหินคดโค้ง (folding) และรอยเลื่อนย้อน (thrust faulting)
  2. การเกิดหินแปร (metamorphism) เช่น การเกิดหิน greenschist และ amphibolite ที่ศูนย์กลางของแนวภูเขา และหิน blueschist ที่ขอบด้านนอก
  3. การเกิดหินหลอม (magmatization) ในกรณีการชนกันของแผ่นทวีป หินหลอมอาจเกิดจากการที่หินตะกอนหรือส่วนของเปลือกโลกที่ถูกฝังตัวลึกลงเรื่อยๆ จากการเพิ่มความหนาของแผ่นเปลือกโลกจนเมื่อถึงจุดที่ความร้อนและความกดดันสูงเกินกว่าที่หินนั้นจะคงสภาพของแข็งได้อีกต่อไปแล้วเกิดการหลอมบางส่วนกลายเป็นหินหลอม ส่วนในกรณีของการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรใต้แผ่นทวีปนั้น ขณะที่แผ่นมหาสมุทรมุดตัวลงส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและสารระเหยต่างๆ เช่น น้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์ถูกความร้อนทำให้ระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นสู่ชั้นฐานธรณีภาค (asthenosphere) ของแผ่นเปลือกโลกด้านบนแล้วรบกวนสมดุลของชั้นฐานธรณีภาคนั้นให้เกิดภาวะไม่เสถียรจนเกิดการหลอมเป็นบางส่วนกลายเป็นหินหลอมที่จะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ระดับที่ตื้นกว่าต่อไป
  4. การแทรกซอนของหินอัคนี (intrusion) เช่น หินแกรนิตมวลไพศาล (granitic batholiths) มักมีกำเนิดสอดคล้องกับกระบวนการก่อเทือกเขา
  5. การยกตัวของแผ่นเปลือกโลก (uplift)
  6. การระเบิดของภูเขาไฟ (volcanic activity) ขนานไปกับแนวยอดเขา ส่วนมากเรามักพบแนวของภูเขาไฟที่ประกอบด้วยหิน andesite
  7. ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องแคบลึก พบอยู่ตามขอบด้านนอกของแนวภูเขาที่เพิ่งเกิดใหม่ แต่โดยทั่วไปแล้วร่องเหล่านี้มักเติมเต็มด้วยตะกอนจากพื้นทะเลที่ถูกครูดมารวมกัน
  8. การเกิดแผ่นดินไหว (seismic activity) ในกรณีของการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมหาสุมทรใต้แผ่นทวีป (subduction) เรามักพบจุดศูนย์กลางของ[แผ่นดินไหว]ที่มีพลังมากแต่อยู่ในระดับตื้นใกล้กับร่องลืกมหาสมุทร (trench]) และจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านี้ค่อยๆลึกลงเรื่อยๆตามแนวของเปลือกโลกที่มุดตัวลงจนถึงระดับลึกสุดที่ 700 กิโลเมตร แนวจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ค่อยๆลึกลงตามระยะห่างจากร่องลึกมหาสมุทรนี้เรียกว่า Wadati-Benioff Zone
  9. ลักษณะเฉพาะของการตกทับถมตะกอน (deposition) พร้อมๆ กับการกำเนิดภูเขา โดยทั่วไปจะพบหินตะกอนน้ำตื้นบริเวณด้านในของแนวภูเขา ในขณะที่พบหินตะกอนน้ำลึกที่ศูนย์กลางของแนวการมุดตัว และจากนั้นในช่วงปลายของกระบวนการหินกรวดมนและหินทรายจะตกสะสมตัวอันเนื่องมาจากการกร่อน (erosion) ของแนวภูเขา

เทือกเขาและการแบ่งเขตทางธรณีวิทยา[แก้]

เราสามารถแบ่งแดนเทือกเขาออกเป็นเขตต่างๆ ตามลักษณะ โครงสร้าง วิทยาหิน และระดับการแปรสภาพของหิน โดยเขตตามประเภทเหล่านี้อาจเป็นบริเวณเดียวกันหรือซ้อนทับกันเป็นบางส่วน ดังนั้นการเรียกชื่ออย่างถูกต้องจะช่วยให้นักธรณีวิทยาเกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้ ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแดนเทือกเขาที่เกิดจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปกับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร

  1. เขตตามโครงสร้าง (Structural zones)
  2. เขตตามวิทยาหิน (Lithologic zones)
  3. เขตตามการแปรสภาพของหิน (Metamorphic zones)

บทสรุป[แก้]

กล่าวโดยสรุปแล้วภูเขาหรือเทือกเขาเป็นผลจากกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับธรณีแปรสัณฐาน (plate tectonic) แบบการเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก (plate convergence) ได้แก่ การชนกันของแผ่นทวีป (continental collision) และการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction) ซี่งโดยทั่วไปแล้วมักเป็นการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรลงใต้แผ่นเปลือกโลกเนื่องจากแผ่นมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าจึงจมลงด้านล่างได้ง่ายกว่า การสร้างภูเขาประกอบด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยาย่อยๆ อีกเช่น การเปลี่ยนลักษณะ (deformation) การเกิดหินแปร (metamorphism) การยกตัวของแผ่นเปลือกโลก (uplift) และการเกิดแผ่นดินไหว (seismic activity) เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. //www.uwgb.edu/dutchs/platetec/orogeny.htm เก็บถาวร 2011-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. //serc.carleton.edu/NAGTWorkshops/structure/visualizations/orogeny.html
  3. //walrus.wr.usgs.gov/infobank/programs/html/school/keypage/orogeny.html
  4. //www.geo.ua.edu/intro03/deform.html เก็บถาวร 2010-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ข้อใดคือกระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย

#เทือกเขาหิมาลัย | ในทางธรณีแปรสัณฐาน (geotectonic) การชนกันของ 1) #แผ่นเปลือกโลกแผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) หรือ ประเทศอินเดีย กับ 2) #แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) หรือทวีปเอเชีย ทำให้แผ่นเปลือกโลกในแนวการชนกันนั้นมีความหนามากขึ้น เกิดเป็นเทือกเขาสูงตามแนวการชนกัน เรียกในทางธรณีวิทยาว่า # ...

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีใดที่สามารถทำให้เกิดสัณฐานแบบเทือกเขาหิมาลัยได้

6. เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากการเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นทวีปยูเรเซีย และ แผ่นทวีปอินเดีย – ออสเตรเลีย

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในข้อใดทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย

การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก เช่น ภูเขาหิมาลัยในประเทศอินเดียเกิดจากการชนกันของแผ่นออสเตรเลียกับแผ่นยูเรเชีย การยกตัวของพื้นทวีปเนื่องจากแรงดันของหินหนืดใต้ผิวโลก กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานานมาก ภูเขาที่เกิดด้วยวิธีนี้จะเป็นเทือกเขาแนวยาว เช่น การเกิดเทือกเขาทางภาคเหนือและภาคใต้ของไทย

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคแบบใดมีผลทำให้เกิดเทือกเขาสูง

แผ่นธรณีทวีปมีความหนามากกว่าแผ่นธรณีมหาสมุทร ดังนั้นเมื่อแผ่นธรณีทวีปปะทะกัน แผ่นหนึ่งจะมุดตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค อีกแผ่นหนึ่งจะถูกยกเกยสูงขึ้น กลายเป็นเทือกเขาที่สูงมาก เป็นแนวยาวขนานกับแนวปะทะ ดังภาพที่ 3 ตัวอย่างเทือกเขาสูงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง