เรา ใช้ property อะไร ใน การ ทำให้ image สี่เหลี่ยม กลาย เป็น รูป กลม

จีน เป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานต่อเนื่องกันมามากกว่า 4,000 ปี ซึ่งจัดว่าเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวจีนจะมีศิลปวัฒนธรรม องค์ความรู้และความเชื่อต่างๆ ที่สืบทอดในหมู่ชาวจีน และสะสมกันมามากมาย

 

 

httpwww.cim.chinesecio.comhbcmsfarticleinfoid=230c862e884c4ae8ac00069cc3ed0ff7&lang=3

 

 

ในบรรดาองค์ความรู้และความเชื่อที่สำคัญของคนจีน คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ฮวงจุ้ยกับสถาปัตยกรรม ที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมของจีนมี ความโดดเด่น และแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชวัง หรือวัด ตลอดจนอาคารบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งความแตกต่างนี้ สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่รูปแบบอาคาร รายละเอียด ไปจนถึงการวางผังบ้านของคนจีนเลยทีเดียว โดยในวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับอาคารพื้นฐานของงานสถาปัตยกรรมจีน อันได้แก่บ้านพักอาศัยของคนจีนแบบดั้งเดิมกันครับ

 

บ้านของคนจีนโดยทั่วไป มักจะมีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมหลายหลังประกอบกันภายในรั้ว ซึ่งอาคารแต่ละหลังก็จะมีจุดประสงค์และการใช้สอยที่แตกต่างอย่างชัดเจน เช่น เรือนนอน เรือนรับรอง หรือเรือนบริวาร เป็นต้น โดยลักษณะเด่นของบ้านจีนโบราณนี้ จะอยู่ที่รูปแบบการวางผังบ้าน ที่มักจะวางอาคารต่างๆ ให้ติดกับรั้วบ้านทั้งสี่ทิศ และปล่อยลานตรงกลางบ้านให้โล่ง ในลักษณะของ Courtyard ซึ่งลานกลางบ้านนี้ ก็จะใช้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย

 

//www.okls.net/image/image_chinese/im016/02.gif

 

สาเหตุที่บ้านของชาวจีน จะต้องสร้างอาคารชิดรั้วและมีลานกลางบ้าน จนทำให้เกิดลักษณะของบ้านล้อมสวนนั้น เนื่องมาจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างโหดร้าย เช่น พายุทะเลทราย พายุหิมะ หรือลมมรสุมต่างๆ ที่มีตลอดทั้งปี ดังนั้น วัฒนธรรมการสร้างบ้านล้อมสวน จึงเป็นทางเลือกหลักที่ช่วยป้องกันผู้อยู่อาศัยภายในบ้านจากภัยธรรมชาติต่างๆ และยังทำให้ลานกลางบ้าน สามารถใช้ทำกิจกรรมได้สะดวกเกือบตลอดทั้งปีอีกด้วย

 

ทั้งนี้ บ้านจีนโบราณที่พบเห็นได้ทั่วไป มักจะเป็นอาคารที่ล้อมลานทั้งสี่ทิศ หรือที่เรียกว่า “ซื่อเหอย่วน” ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบบ้านพื้นฐานของชาวจีนเลยก็ว่าได้ โดยในวันนี้ เราจะพาทุกท่านมารู้จักบ้านจีนแบบซื่อเหอย่วนกัน ว่ามีรูปแบบและเอกลักษณ์ของบ้านเป็นเช่นไรกันครับ

 

ซื่อเหอย่วน

//4.bp.blogspot.com/

 

ซื่อเหอย่วน หรือที่ชาวไทยรู้จักกันดีในชื่อ เรือนสี่ประสาน เป็นรูปแบบของบ้านที่มีอาคารล้อมลานกลางบ้านทั้งสี่ทิศ ซึ่งรูปแบบของบ้านแบบนี้ ได้พัฒนาเพิ่มเติมมาจากบ้านแบบ ซานเหอย่วน ที่เดิมสร้างอาคารล้อมบ้านไว้ 3 ทิศเป็นรูปทรงเกือกม้า และเว้นด้านหน้าเอาไว้ โดยในภายหลัง บ้านแบบซานเหอย่วนจึงได้เพิ่มเรือนด้านหน้ามาจนเกิดเป็นบ้านแบบ ซื่อเหอย่วน ในปัจจุบัน

 

การวางอาคารล้อมลานในลักษณะนี้ ช่วยให้อากาศในบ้านไม่ร้อนจนเกินไปในฤดูร้อน เนื่องจากมีพื้นที่กลางบ้านที่เปิดโล่ง ทำให้ลมพัดผ่านอาคารได้เต็มที่ทุกหลัง รวมทั้งยังช่วยลดความหนาวรุนแรงจากพายุหิมะในฤดูหนาวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

facebook.com/understandingchina/photos/a.1808358552738711/1808358912738675/?type=3&theater

 

โดยปกติ บ้านแบบซื่อเหอย่วน จะวางบ้านในแนวเหนือใต้ โดยกำหนดให้หน้าบ้านหรือประตูทางเข้าหลักก็จะอยู่ทางทิศใต้ ซึ่งจะเรียกประตูนี้ว่า ประตูต้าเหมิน สาเหตุที่ต้องหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้นั้น เพื่อให้รับลมที่พัดเข้าบ้านในฤดูร้อน และป้องกันลมหนาวจากทิศเหนือในฤดูหนาว

โดยปกติ บ้านแบบซื่อเหอย่วน จะวางบ้านในแนวเหนือใต้ โดยกำหนดให้หน้าบ้านหรือประตูทางเข้าหลักก็จะอยู่ทางทิศใต้ ซึ่งจะเรียกประตูนี้ว่า
ประตูต้าเหมิน สาเหตุที่ต้องหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้นั้น เพื่อให้รับลมที่พัดเข้าบ้านในฤดูร้อน และป้องกันลมหนาวจากทิศเหนือในฤดูหนาว

 

//zh.wikipedia.org/wiki/%E5%9B%9B%E5%90%88%E9%99%A2#/media/File:Siheyuan_pmt.JPG

 

 

ในการออกแบบบ้านของคนจีน จะนิยมวางอาคารหลัก หรือเรือนประธานไว้ด้านหลังบ้านหรือทางทิศเหนือของพื้นที่ โดยเรือนประธานนี้ จะใช้เป็นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน ในขณะที่เรือนด้านซ้าย (ทิศตะวันตก) และขวาของบ้าน (ทิศตะวันออก) จะทำหน้าที่เป็นเรือนกิจกรรมอื่นๆ เช่น เรือนพักอาศัยรอง หรือเรือนรับรองแขก หออ่านหนังสือ โดยเรือนทั้งสองนี้ จะหันหน้าเข้าหากัน ส่วนด้านหน้าของตัวบ้าน มักจะตั้งอาคารที่เป็นเรือนบริวาร คอยดูแลแขกเหรื่อที่จะผ่านเข้าออก ทำให้พื้นที่มีลักษณะเป็นวงแหวนสี่เหลี่ยม ที่มีบ้านล้อมสวน อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านจีน

 

ในบ้านของชาวจีนที่มีฐานะ อาจจะเพิ่มเรือนขวาง ซ้อนอยู่หลังเรือนบริวาร หรือเรือนหน้าบ้าน ทำให้เกิดลานเล็กช่วงหน้าบ้านเพิ่มขึ้นอีก 1 ลาน โดยเรือนขวางนี้ จะทำหน้าที่เป็นเรือนกิจกรรมต่างๆ และมีประโยชน์ในการกันสายตาของคนนอก ไม่ให้มองผ่านเข้าไปเห็นเรือนประธานได้โดยตรง

 

ในกรณีที่มีเรือนขวางหน้าบ้านแบบนี้ ชาวจีนจะนิยมวางประตูใหญ่หน้าบ้านให้เยื้องไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และจะวางประตูชั้นในให้เยื้องไปฝั่งตรงข้าม เช่น หากวางประตูใหญ่เยื้องไปทางทิศตะวันออก ก็จะวางประตูชั้นในไปฝั่งตะวันตก

 

บ้านตระกูลฉี
//www.chinadaily.com.cn/m/tianjin/e/2009-08/07/content_8539817.htm

 

นอกจากนี้ ในบ้านหลังใหญ่ๆ อาจจะวางเรือนพักอาศัยหลังเรือนประธานขึ้นมาอีกหนึ่งหลัง บ้างใช้เป็นเรือนพักของสตรี บ้างใช้เป็นเรือนเก็บของ ทำให้เกิดเป็นลานหลังบ้านอีก 1 ชั้น กลายเป็นบ้าน 3 ลาน ทั้งนี้ บ้านของขุนนางระดับสูงหรือบ้านของคหบดีที่มีฐานะร่ำรวย มักจะสร้างบ้านที่มีลานตั้งแต่ 5-10 ลาน ซึ่งลานแต่ละแห่ง ก็จะมีการตกแต่งหรือกำหนดให้มีการใช้สอยที่แตกต่างกันตามความประสงค์ของเจ้าของบ้าน เช่น ลานด้านหน้าสำหรับแขกทั่วไป ลานประธานสำหรับแขกผู้มีเกียรติ หรือลานที่ตกแต่งเป็นสวน เป็นต้น ตัวอย่างของบ้านที่มีลานจำนวนมาก ได้แก่ สวนอวี้หยวน (Yuyuan Garden) ในเซี่ยงไฮ้ หรือ คฤหาสน์ตระกูลฉี (Shi Family Residence) ในเทียนจิน

 

สวนอวี้หยวน
//www.emagtravel.com/wp-content/uploads/2016/07/yoyuan1.jpg

 

ตัวอาคารของเรือนพักแบบซื่อเหอย่วน มักจะออกแบบเป็นอาคารที่มีโถงสูง ไม่ตีปิดฝ้าเพดาน และเปิดโล่งให้เห็นโครงสร้างของหลังคา เพื่อให้อากาศภายในอาคารถ่ายเทและมีการไหลเวียนตลอด เรือนประธาน เรือนตะวันออกและเรือนตะวันตก จะเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทางเดินไปจนถึงประตูชั้นใน เรียกระเบียงนี้ว่า ระเบียงเชาโส่ว และลานแต่ละแห่งก็มักจะปูพื้นเป็นทางเดิน หรือจัดเป็นสวนแบบจีน ในขณะที่เรือนแต่ละหลัง จะนิยมจัดวางเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว สามารถโยกย้ายได้ และแต่ละห้องก็จะมีเฟอร์นิเจอร์ไม่มากชิ้นนัก

 

//slideplayer.com/slide/1373330/

 

เพื่อให้ตัวอาคารคงทนถาวร ชาวจีนนิยมเชื่อมต่อโครงสร้างของอาคารด้วยเดือยและสลักไม้มากกว่าใช้โลหะ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณ และโครงสร้างอาคารเองก็มีลักษณะซับซ้อนโดยเฉพาะโครงสร้างหลังคา ซึ่งจะวางอยู่บนเสากลมขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่รับคาน ซึ่งโดยมากจะเป็นคานสองชั้นขึ้นไป ตามขนาดและความลาดของตัวหลังคา ก่อนจะพาดด้วยขื่อหรือจันทันไม้โค้งตามลักษณะของหลังคาจีน เพื่อทำหน้าที่รองรับแป ก่อนที่จะวางกระเบื้องหลังคาแบบจีนทับซ้อนไว้ที่ด้านบนสุด จนมีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว มีหลังคาโค้งที่เรามักเรียกว่า เก๋งจีน นั่นเองครับ

 

 

ต้องนับว่า บ้านจีนโบราณแบบ ซื่อเหอย่วน เป็นอีกหนึ่งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก การวางแผนผังของตัวบ้านมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจน รวมทั้งมีเทคนิคการก่อสร้างที่คงทนแข็งแรง สามารถนำไปศึกษาค้นคว้าและพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับใช้งานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้จากบทความนี้ ไม่มากก็น้อย และสุดท้ายนี้ หากใครที่ต้องการตกแต่งบ้านที่มีกลิ่นอายแบบจีน ก็สามารถติดต่อกับฝ่ายขายของบาริโอได้ ทางทีมงานออกแบบและทีมขายพร้อมที่จะให้บริการกับทุกท่านด้วยความจริงใจ และผลงานคุณภาพสูง ที่มีรางวัลการออกแบบและการตกแต่งภายในยอดเยี่ยมระดับเอเชียจาก Asia-pacific Property Awards ในปี 2016-7 และปี 2018-9 เป็นประกันครับ

เรียบเรียงโดย เฉพาะกิจ

Reference:

chinesexpert.com
ouyanglaoshi.blogspot.com
www.cim.chinesecio.com
baike.baidu.com
vernaculaire.com
www.sohu.com
culture.kaiwind.com
www.cim.chinesecio.com
www.okls.net
www.krukaychinese.com

Architectureบ้านจีนบ้านจีนโบราณบ้านตระกูลฉีสวนอวี้หยวนสถาปัตยกรรมจีนฮวงจุ้ยซื่อเหอย่วนเก๋งจีนเรือนสี่ประสานBareo-Isyssissue157siheyuan

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง