มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นตอนใดบ้าง อย่างไร

Khan Academy. (Unknown).  The scientific method.  Retrieved Sep 30, 2019, from //www.khanacademy.org/science/high-school-biology/hs-biology-foundations/hs-biology-and-the-scientific-method/a/the-science-of-biology

วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ( Scientific Method )

วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ( Scientific  Method )                                                                      

           วิธีการทางวิทยาศาสตร์  จากการศึกษาการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า การทำงาน

ของนักวิทยาศาสตร์ มีวิธีการทำงานอย่างมีระบบมีขั้นตอนได้วิวัฒนาการสืบทอดต่อกันมาตามลำดับจนได้ชื่อว่าเป็นวิธีการ

ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งวิธีการทำงานดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

ประสบผลสำเร็จ และเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันนี้บุคคลต่าง ๆ ในสาขาอื่น ๆ ก็ได้มองเห็นความสำคัญและ

ประโยชน์จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่า สามารถนำไปใช้กับกระบวนการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมความรู้ทุกสาขาวิชา

ดังนั้นวิธีการดังกล่าวจึงไม่ควรเป็นวิธีการเฉพาะของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ควรเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ทั่ว ๆ ไป

ที่เรียกว่า “วิธีการทางวิทยาศาสตร์”

           วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ( Scientific  Method )  หมายถึง การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมี

กระบวนการที่เป็นแบบแผนมีขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญ

ของนักวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่

1. ขั้นกำหนดปัญหา                                                                                                                

           สำคัญที่ว่าการแก้ปัญหา จะต้องคำนึงว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัญหาเกิดจากการสังเกต การสังเกตเป็น

คุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ การสังเกตอาจจะเริ่มจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา อาจจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ

หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต แม้แต่ อเลกซานเดอร์เฟลมมิง (Alexander  Fleming) ได้สังเกตเกี่ยวกับ

การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในจานเพาะเชื้อ พบว่าถ้ามีราเพนนิซิลเลียม (Penicillium  notatum)  อยู่ใน

จานเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียจะไม่เจริญดี ผลของการสังเกตของ อเลกซานเดอร์  เฟลมมิง  นำไปสู่ประโยชน์มหาศาล

ในวงการแพทย์  การสังเกตจึงเป็นขั้นแรกที่สำคัญนำไปสู่ข้อเท็จจริงบางประการ และมีส่วนให้เกิดปัญหา  การสังเกต

จึงควรสังเกตอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้น ในการตั้งปัญหาที่ดี ควรจะอยู่ในลักษณะที่น่าจะเป็นไปได้ สามารถ

ตรวจสอบหาคำตอบได้ง่าย และยึดข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่รวบรวมมาได้

2.  ขั้นตั้งสมมติฐาน                                                                                                             

           สมมติฐานมีคำตอบที่อาจเป็นไปได้ และคำตอบที่ยอมรับว่าถูกต้องเชื่อถือได้  เมื่อมีการพิสูจน์ หรือตรวจสอบ

หลาย ๆ ครั้ง  ลักษณะสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

                   -  เป็นสมมติฐานที่เข้าใจได้ง่าย

                   -  เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้

                   -  เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง

                   -  เป็นสมมติฐานที่สอดคล้อง และอยู่ในขอบเขตของข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหา

                      ที่ตั้งไว้

           การตั้งสมมติฐานต้องยึดปัญหาเป็นหลักเสมอ ควรตั้งหลาย ๆ สมมติฐานเพื่อมีแนวทางของคำตอบหลาย ๆ อย่าง

แต่ไม่ยึดสมมติฐานใด สมมติฐานหนึ่ง เป็นคำตอบ ก่อนที่จะพิสูจน์ตรวจสอบสมมติฐานหลาย ๆ วิธี และหลายครั้ง ๆ

3.  ขั้นตรวจสอบสมติฐาน                                                                                                        

           เมื่อตั้งสมมติฐานแล้ว หรือคาดเดาคำตอบหลาย ๆ คำตอบไว้แล้ว กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นต่อไป คือ

ตรวจสอบสมมติฐาน ในการตรวจสอบสมมติฐานจะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นหลักเสมอ เนื่องจากสมมติฐานที่ดี

ได้แนะลู่ทางการตรวจสอบและการออกแบบการตรวจสอบไว้แล้ว

           วิธีการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ การสังเกต และรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

อีกวิธีหนึ่ง  โดยการทดลอง ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด เพื่อทำการค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบดูว่า

สมมติฐานข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

           ในการตรวจสอบโดยการทดลองนั้น ควรจะระบุกระบวนการทดลองที่จะปฏิบัติจริง ควรจะมีการวางแผนลำดับ

ขั้นตอน การทดลองก่อนหลัง ออกแบบการทดลองให้ได้ผลอย่างดี การใช้วัสดุอุปกรณ์  สารเคมี  และเครื่องมือ มีการ

ควบคุมดูแล ระมัดระวัง ในการวิเคราะห์ข้อมูลควรจะวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปได้อย่างไร

           กระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทดลองทางวิทยาศาสตร์  ผู้ทดลองจะต้องควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อ

การทดลอง เรียกว่า ตัวแปร (Variable) คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการทดลอง ซึ่งควรจะมีตัวแปรน้อยที่สุด ตัวแปรแบ่งออก

เป็น  3  ชนิด  คือ

                 1)  ตัวแปรต้น ( ตัวแปรอิสระ) (Independent  variable)  คือ ตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบ

                       และดูผลของมัน เป็นตัวแปรที่เรากำหนดขึ้นมา เป็นตัวแปรที่ไม่อยู่ในความควบคุมของตัวแปรใด ๆ

                 2)  ตัวแปรตาม (Dependent  variable) คือ ตัวแปรที่ไม่มีความเป็นอิสระในตัวมันเอง เปลี่ยนแปลงไป

                       ตามตัวแปรอิสระ เพราะเป็นผลของตัวแปรอิสระ

                 3)  ตัวแปรควบคุม (Controlled  variable)  หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจากตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลอง

                       คลาดเคลื่อนแต่เราควบคุมให้คงที่ตลอดการทดลอง เนื่องจากยังไม่ต้องการศึกษา

           ในการตรวจสอบสมมติฐาน นอกจากจะควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการทดลอง จะต้องแบ่งชุดของการทดลองเป็น

กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

                  -  กลุ่มทดลอง  หมายถึง  กลุ่มที่เราใช้ศึกษาผลของตัวแปรอิสระ

                  -  กลุ่มควบคุม หมายถึง  ชุดของการทดลองที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จาก

                     การทดลอง กลุ่มควบคุมจะแตกต่างจากกลุ่มทดลองเพียง 1 ตัวแปรเท่านั้น คือ ตัวแปรที่เราจะตรวจสอบ

                     หรือตัวแปรอิสระ  ในขั้นตอนนี้ จะต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง  แล้วนำ

                     ข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมาย  ซึ่งจะต้องมีการออกแบบการบันทึกข้อมูลให้อ่านเข้าใจง่าย

                     อาจจะบันทึกในรูปตาราง  กราฟ  แผนภูมิ หรือ แผนภาพ

4.  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล                                                                                                             

           เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มาทำ

การวิเคราะห์ผล อธิบายความหมายของข้อเท็จจริง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ว่าสอดคล้องกับสมมติฐาน

ข้อใด

5.  ขั้นสรุปผล                                                                                                                        

           เป็นขั้นสรุปผลที่ได้จากการทดลอง การค้นคว้ารวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองว่า

สมมติฐานข้อใดถูก พร้อมทั้งสร้างทฤษฎีที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับอธิบายปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน และนำไปใช้

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นตอนใดสำคัญที่สุด

การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาหรือข้อสงสัย ซึ่งจะนำไปสู่การหาคำตอบหรือความรู้ต่าง ๆ การฝึกการสังเกตบ่อย ๆ จะทำให้สังเกตได้เร็ว สังเกตได้ถูกต้อง มีความชำนาญในการสังเกตทำให้ได้ข้อมูลที่ใช้หาคำตอบได้

วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่า สามารถนำไปใช้กับกระบวนการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมความรู้ทุกสาขาวิชา ดังนั้นวิธีการดังกล่าวจึงไม่ควรเป็นวิธีการเฉพาะของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ควรเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ทั่ว ๆ ไป ที่เรียกว่า “วิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิธีวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของอะไร

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน นำไปใช้ในการค้นหาความรู้ใหม่ หรือใช้ในการทดสอบความรู้เดิมที่ได้มาแล้ว ตลอดจนนำไปใช้ในการแก้ปัญหาให้สำเร็จ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

วิทยาศาสตร์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะ ที่สำคัญในการค้นคว้าความรู้ มีความสามารถในการแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลท่ี่ หลากหลายและมี ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง