จุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่เหมาะสมควรมีลักษณะอย่างไร

หลักการจัดประสบการณ์ของเด็กช่วงอายุ 3-6 ปี ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กล่าวไว้ว่า การจัดประสบการณ์จะต้องจัดในรูปแบบบูรณาการผ่านการเล่น (การเล่นอย่างมีความหมาย) เช่น การที่เด็กเล่นบทบาทสมมติในการเล่นขายของ เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาจากการพูดสื่อสารกับเพื่อนในการสลับผลัดเปลี่ยนการเป็นแม่ค้าและลูกค้า ซึ่งเด็กอาจจินตนาการในการพูดขึ้นมาเองหรืออาจจดจำจากผู้ปกครองเมื่อไปตลาด นอกจากจะได้ทักษะทางภาษาแล้ว เด็กยังได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การบวก – การลบเลขง่าย ๆ จากการเล่นอีกด้วย ถือเป็นการบูรณาการที่ได้ทั้งทักษะทางภาษาและคณิตศาตร์ (ซึ่งจะจัดเป็นการเล่นแบบมีจุดมุ่งหมายและจะไม่จัดเป็นรายวิชาค่ะ)

การเล่นขายของ ช่วยส่งเสริมทักษะคณิตศาตร์ให้กับเด็ก

การจัดประสบการณ์จึงเปรียบเสมือนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้กับเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก โดยมีหลักการและแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • จัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย
  • เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย
  • จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
  • จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

แนวทางการจัดประสบการณ์ (ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560)

  • จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมอง ที่เหมาะกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
  • จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการเรียนรู้
  • จัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิดโดยผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวกและเรียนรู้ร่วมกับเด็ก
  • จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุข และเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน
  • จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก สอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก
  • จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และการมีวินัย ให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้
  • จัดทำสารนิทัศน์ (การจัดทำข้อมูลที่แสดงให้เห็นร่องรอยพัฒนาการการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรม) ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน
  • จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งการวางแผน การสนับสนุน สื่อ แหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรมและการประเมินพัฒนาการ

การจัดกิจกรรมประจำวัน

การจัดกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี จะช่วยให้คุณครูหรือผู้จัดประสบการณ์รู้ว่าแต่ละวันจะต้องทำกิจกรรมอะไร เมื่อไร และอย่างไร ในการจัดกิจกรรมประจำวันสามารถจัดได้หลายรูปแบบ โดยจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละหน่วยงานและสภาพชุมชน คุณครูผู้สอนต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมพัฒนาทุกด้าน

หลักการจัดกิจกรรมและขอบข่ายของกิจกรรมประจำวัน สามารถกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน สามารถยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก ดังนี้ เด็กในช่วงอายุ 3-4 ปี มีความสนใจ 8-12 นาที, เด็กในช่วงอายุ 4-5 ปี มีความสนใจ 12-15 นาที และเด็กในช่วงอายุ 5-6 ปี มีความสนใจ 15-20 นาทีค่ะ

กำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย

ดังนั้น แนวทางการจัดกิจกรรมควรจะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ที่สำคัญไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า 20 นาที ซึ่งในการจัดกิจกรรมคุณครูควรจัดให้มีความสมดุลระหว่างกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก กิจกรรมที่เป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่มและผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้ริเริ่ม และกิจกรรมที่ใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง โดยให้จัดกิจกรรมให้ครบทุกประเภทค่ะ

ทั้งนี้ กิจกรรมที่ต้องออกกำลังกายควรจัดสลับกับกิจกรรมที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก เพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไปและที่สำคัญเด็กควรมีอิสระในการเลือกเล่นเสรี (เวลาในการทำกิจกรรมประมาณ 40-60 นาที) เพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเลือกตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ

การกำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์

เป็นขั้นตอนที่คุณครูต้องกำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงนวัตกรรมที่ต้องใช้สอดแทรกลงในการจัดประสบการณ์ สำหรับรูปแบบที่นิยมใช้จะเป็นการจัดประสบการณ์เป็นรายสัปดาห์ และในบางสัปดาห์อาจใช้หน่วยตามความสนใจของเด็ก โดยพิจารณาข้อมูลจากหลักสูตรสถานศึกษา ตัวเด็ก สภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ประกอบกัน ทั้งนี้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมค่ะ

เมื่อได้หน่วยการจัดประสบการณ์แล้ว คุณครูสามารถกำหนดรายละเอียดของสาระการเรียนรู้ให้เข้ากับหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ก็จะประกอบด้วยประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรรู้ ซึ่งในสาระที่ควรรู้ในหลักสูตรไม่ได้กำหนดเนื้อหาหรือรายละเอียดก็เพื่อให้สามารถยืดหยุ่นได้ง่าย สะดวกต่อการปรับให้เหมาะสมกับความสนใจและสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ตัวกำหนดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กปฐมวัยจะแบ่งตามสาระ โดยแบ่งออกเป็น 4 สาระดังนี้ คือ

สาระที่ 1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

สาระที่ 2 บุคคลและสถานที่แวดล้อม

สาระที่ 3 ธรรมชาติรอบตัวเด็ก

สาระที่ 4 สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

การประเมินพัฒนาการ

การประเมินพัฒนาการ คือ การประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ -จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการเด็ก และจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยของพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก จากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ซึ่งหลักฐานและข้อมูลที่บันทึกเป็นระยะ ๆ จะสามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด และนำข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณาปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดมุ่งหมายในการประเมินพัฒนาการควรยึดหลักดังนี้

1. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ

2. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน

3. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ตลอดปี

4. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือที่หลายหลาย เช่น

Portfolio สำหรับเป็นรายบุคคล เช่น การเก็บชิ้นงานหรือภาพถ่ายเด็กขณะทำกิจกรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในงานที่เด็กทำ

การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น การสอนแบบโครงการ(Project Approach) ที่สามารถแสดงให้เห็นร่องรอยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กทุกด้าน ทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กและการสะท้อนตนเองของครู อาจบันทึกการสนทนาระหว่างเด็กกับครู เด็กกับเด็ก การบันทึกของครู การบรรยายของพ่อ-แม่ในรูปแบบจดหมาย (และไม่ควรใช้แบบทดสอบ)

5. สรุปผลประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็กสำหรับวิธีการประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กช่วงอายุ 3-6 ปี ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนากับเด็ก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ

สิ่งสำคัญในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ในการจัดประสบการณ์ จะต้องจัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับเด็กและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เพื่อที่เด็กจะได้ฝึกฝนตนเองให้เหมาะกับชุมชนหรือท้องถิ่นรอบ ๆ ตัวเด็ก นอกจากนี้จะต้องจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาตนเองได้อย่างมีศักยภาพและความสามารถ

ทั้งนี้คุณครูสามารถนำสาระการเรียนรู้มาบูรณาการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กได้ อย่างเช่น ตัวอย่างกิจกรรมใบงานที่เรานำมาแนะนำกัน คุณครูหรือผู้ปกครองสามารถนำไปต่อยอดในการจัดประสบการณ์หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บุคคลและสถานที่สิ่งแวดล้อม และหน่วยการเรียนรู้เรื่อง วันสำคัญได้

เรียนรู้เรื่องสิ่งของที่ใช้ในการถวายพระแบบสังฆทานผ่านกิจกรรมใบงาน

สิ่งที่เด็กควรรู้

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุก ๆ ปี มีเหตุการณ์สำคัญ คือ พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ในปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย กิจกรรมที่ทำกันในวันมาฆบูชาคือ ประชาชนจะประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัย

วันวิสาขบูชา วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธ เป็นวันหยุดราชการในหลายๆ ประเทศ อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาพระธรรมที่มีชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชาจึงถือเป็นวันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย

เอกสารอ้างอิง : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560,โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2560

“มีประสบการณ์ทำงานเป็นครูอนุบาลกว่า 10 ปี มีความรู้ความชำนาญในบทบาทหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย เชี่ยวชาญทั้งการสอนและพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพและความพร้อมทั้ง 4 ด้าน”

การศึกษาระดับปฐมวัยมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับ การพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์

การบริหารสถานศึกษาปฐมวัยหมายถึงการบริหารลักษณะอย่างไร

ความหมายของการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กรบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย หมายถึง องคกรทางการศึกษา ที่ทําหนาที่ทําหนาที่จัดการศึกษาใหกับเด็กปฐมวัยก็เชนเดียวกันการบริหาร จัดการองคกรจึงเปนปจจัยที่สําคัญของการดําเนินการของสถานศึกษา แนวคิดและวิวัฒนาการการบริหารองคการ ยุคที่1 ทฤษฏีการบริหารสมัยดั้งเดิม

การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีความสําคัญอย่างไร

วราภรณ์ รักวิจัย (2545 : 53) กล่าวว่า ความสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย คือ ขั้นการพัฒนาการของเด็กที่พัฒนามาถึงระดับหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีความสามารถที่จะเรียนรู้ พฤติกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายโดยที่วุฒิภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการพัฒนาถึงจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นรากฐานให้เขาก้าวไปสู่การเรียนรู้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ...

การจัดการศึกษาปฐมวัยมีรูปแบบอย่างไร

แนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย.
จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง.
เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่.
จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง