มารดาที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ทั้งตนและทารกในครรภ์

การเตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อร่างกายพร้อมอย่างเต็มที่แถมมีสุขภาพจิตที่ดี ก็ย่อมส่งผลให้การให้กำเนิดและการเติบโตของชีวิตน้อยๆ ในครรภ์มารดาสมบูรณ์ไปด้วย หลังเริ่มต้นชีวิตคู่มาได้สักพัก ก็เริ่มอยากจะมีเจ้าตัวน้อยมาเป็นโซ่ทองคล้องใจ แต่ก็เกิดคำถามในใจว่า “อยากท้องต้องเตรียมตัวอย่างไร?” แน่นอนว่าการเตรียมสุขภาพให้พร้อมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อร่างกายพร้อมอย่างเต็มที่แถมมีสุขภาพจิตที่ดี ก็ย่อมส่งผลให้การให้กำเนิดและการเติบโตของชีวิตน้อยๆ ในครรภ์มารดาสมบูรณ์ไปด้วย เพื่อช่วยให้ว่าที่คุณแม่... ตั้งครรภ์ได้ง่ายและมีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง เรามีวิธีเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มาฝาก

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์

เริ่มด้วยการมาพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพของว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ให้พร้อม เพราะถึงแม้ว่าร่างกายภายนอกจะดูแข็งแรงดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภายในจะสมบูรณ์ด้วย การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เป็นการตรวจหาโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น เบาหวาน ธาลัสซีเมีย หากว่าที่คุณแม่หรอคุณพ่อมีโรคเหล่านี้แฝงอยู่ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ ถ้าตรวจสุขภาพแล้วพบปัญหาก่อน จะได้ทำการรักษาให้อาการอยู่ในระดับที่ปกติหรือพร้อมที่จะมีบุตร และเมื่อตั้งครรภ์แล้วจะได้ตรวจความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ในแต่ระยะ การรู้ก่อนและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ย่อมทำให้การตั้งครรภ์ปลอดภัยกว่า

เสริมกรดโฟลิกเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

เพราะกรดโฟลิกมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย ว่าที่คุณแม่สามารถเสริมกรดโฟลิกได้ตั้งแต่เริ่มวางแผนการมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อสุขภาพที่ดี ควรเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่ตอนนี้หรือตั้งแต่คิดจะมีบุตร จะเลือกออกกำลังกายแบบ เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค หรือเล่นโยคะก็ได้ ซึ่งการเล่นโยคะถือเป็นวิธีที่ดีเพราะจะได้ฝึกท่าทาง การหายใจ และสมาธิได้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเมื่อได้เรียนรู้และสามารถนำไปปรับใช้ขณะคลอด

ควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสม

การมีน้ำหนักที่มากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ จะสังเกตได้ว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากจะตั้งท้องได้ยากกว่าผู้หญิงที่น้ำหนักปกติถึง 2 เท่า นั่นก็เพราะไขมันในร่างกายมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป ทำให้ส่งผลต่อการตกไข่นั่นเอง

กินอาหารให้หลากหลาย เพิ่มสารพัดประโยชน์

เรื่องอาหารการกินก็สำคัญ การกินอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมเต็มที่สำหรับการตั้งครรภ์ลูกน้อย ควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลมากเกินไป ควรเลือกกินผักและผลไม้มากๆ หรืออย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน และควรเลือกทานผักและผลไม้หลากหลายสี กินอาการประเภทแป้งให้เพียงพอ เช่น ขนมปัง พาสต้า ข้าว (ถ้าเป็นข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลเกรนจะยิ่งดีเพราะมีโฟเลตสูง) ข้าวโอ๊ต และมันฝรั่ง ไม่ลืมที่จะกินอาหารที่มีโปรตีนทุกมื้อ เช่น หมู ไก่ ปลา นม หรือไข่ เป็นต้น

งดการใช้ยาบางประเภท

ยาบางชนิดอาจมีส่วนลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้ หากวางแผนที่จะมีลูกก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่าตัวยาชนิดไหนส่งผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้... หากเคยคุมกำเนิดมาก่อนที่จะพยายามมีบุตร อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงจะเริ่มมีการตกไข่เป็นปกติอีกครั้ง ทั้งนี้การตั้งครรภ์ทันทีหลังหยุดยาคุมจะไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่การหยุดรับประทานยาคุมกำเนิดล่วงหน้าก็มีส่วนช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นและทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ง่ายขึ้น

เลิกพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลูกน้อย

งดดื่มแอลกอฮฮล์ ไม่ว่าจะปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็ตาม เพราะแอลกอฮอล์ คือสารก่อความพิการ และเป็นสาเหตุของเด็กที่มีพัฒนาการช้าที่พบได้บ่อย ดังนั้นควรเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ สมาคมโรคปอดแห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่าการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกแรกเกิดร้อยละ 20-30 มีน้ำหนักตัวน้อย มีโอกาสเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดถึงร้อยละ 14 และประมาณร้อยละ 10 ของทารกเสียชีวิตเนื่องจากแม่ที่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่ ไม่เพียงแต่อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการของทารกในครรภ์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกอีก ทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการดูแลตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ใช่แค่เฉพาะว่าที่คุณแม่เท่านั้นที่ต้องทำ บางอย่างว่าที่คุณพ่อก็สามารถทำไปพร้อมๆ กับคุณแม่ได้ อย่าลืมว่า!! ถ้าอยากตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์ก็ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายให้แข็งแรง  

 

    สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การใส่ใจดูแลครรภ์อย่างถูกวิธีคือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและร่วมมือกันเพื่อให้เจ้าตัวน้อยคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง  การฝากครรภ์สำคัญที่สุด เพื่อช่วยดูแลรักษาสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ให้ดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด  คลอดบุตรที่มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์  

ด้านโภชนาการ

แคลอรี่ที่ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

เพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน

เน้นเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผัก และผลไม้

งดอาหารรสจัด สุรา ยาเสพติด  ไม่สูบบุหรี่


ด้านสุขอนามัย

รักษาความสะอาด

ใส่เสื้อผ้าให้หลวมสบาย

ดูแลรักษาฟัน ขูดหินปูน

ดูแลหน้าท้อง ทรวงอก ระบบขับถ่าย

พักผ่อนนอนหลับวันละ 8 – 14 ชั่วโมง 

การออกกำลังกายและการทำงาน 

ปฏิบัติงานประจำวันตามปกติ

ไม่ควรทำงานหนัก

ไม่ควรออกกำลังกายจนเหนื่อย

การออกกำลังกายควรเริ่มหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน

อาการที่คุณแม่ควรระวัง

หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

  • น้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติ 
  • เปลือกตาบวม 
  • ปวดศีรษะตรงหน้าผากและขมับข้างขวา 
  • ตาพร่า 
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • เลือดออกผิดปกติ

     ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ คุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยกันดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพ รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ ทำงานและออกกำลังกายแบบพอดี สิ่งสำคัญคือต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมในการคลอดบุตร ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ปกป้องสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

มารดาที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตนอย่างไร

การปฏิบัติตนที่ดีของแม่ ท้องไตรมาสแรก หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว / วัน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน งดสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ไม่ควรใช้ยารับประทานเอง

การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ควรปฏิบัติอย่างไร

เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกใน....
1. ฝากครรภ์ทันที ... .
2. สุขภาพดีด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ... .
3. คุมน้ำหนักให้พอดี ... .
4. ใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ ... .
5. ออกกำลังกายอย่างพอดี ... .
6. ดูแลจิตใจให้ผ่องใส ไม่วิตกกังวล.

การดูแลสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ ... .
เสริมกรดโฟลิกเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ... .
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ... .
ควบคุมน้ำหนักอย่างเหมาะสม ... .
กินอาหารให้หลากหลาย เพิ่มสารพัดประโยชน์ ... .
งดการใช้ยาบางประเภท ... .
เลิกพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลูกน้อย.

การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร สุขศึกษา

การตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิแล้วได้ตัวอ่อนเกิดขึ้น ในการตั้งครรภ์ที่ปกติ ตัวอ่อนจะไปฝังที่เยื่อบุโพรงมดลูก จากนั้นตัวอ่อนซึ่งมีเซลล์เดียว ก็จะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ และ เจริญเป็นทารกต่อไป ซึ่งโดยทั่วไป ในผู้หญิงปกติที่มีประจำเดือนทุกๆประมาณ 4 สัปดาห์จะมีอายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง