เพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้นมีเพลงอะไรบ้าง

               4. เ พลงเถาที่เกิดขึ้นใหม่โดยไม่มีแบบอย่างของเก่า ผู้แต่ง แต่งขึ้นเองโดยยึดรูปแบบของเพลงเถาที่เป็นแบบแผนมาแต่เดิม แต่งเป็นเพลงที่มีทำนองสามชั้น สองชั้น และชั้นเดียว เพลงเถาลักษณะนี้ได้แก่เพลง สุดาสวรรค์ เถา ของพระสุจริตสุดา เพลงสมโภชพระนคร เถา ของ อาจารย์มนตรี ตราโมท และเพลงเถาที่เกิดขึ้นในชั้นหลังนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงเถาของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์อีกหลายเพลง ด้วยกัน

ซึ่งความสั้นยาวของเพลงดังกล่าว เมื่อบรรเลงต่อเนื่อง จึงมีผลให้การบรรเลงเกิดความช้าเร็วไปตามสัดส่วนนี้ด้วย นั่นคือเพลงที่มีจังหวะ 3 ชั้นจะบรรเลงช้า เพลงที่มีจังหวะ 2 ชั้นจะบรรเลง ปานกลาง และจังหวะชั้นเดียวจะบรรเลงเร็ว  

               แต่จริงๆ แล้ว การที่จะรู้ว่าเพลงใดเป็นเพลงบรรเลงในจังหวะใด สามารถสังเกตได้จากเสียง “ฉิ่ง” และ “กลอง” ซึ่งเรียกว่า จังหวะ “หน้าทับ” ที่ปรากฏในแต่ละห้องเพลงเป็นสำคัญ 

               เพลงไทยจะมีการแบ่งห้องเพลงออกเป็นเลขคู่ (ตามคติทางพุทธศาสนา) ใน 1 ชุดหรือ1แถว จะมี 8 ห้อง,หรือ 4 ห้อง   โดยแต่ละห้องจะมี 4 จังหวะ แต่ละจังหวะคือ 1 ตัวโน็ต   ดังนั้น เสียงฉิ่งที่จะปรากฏในเพลงแต่ละอัตราจังหวะ ก็จะแสดงได้ดังนี้

จังหวะ 3 ชั้น      |  –  –   –  –  |  –  –  –  ฉิ่ง|  –   –   –  –   |  –  –  – ฉับ|
จังหวะ 2 ชั้น      |  –  –  –   ฉิ่ง|  –  –  – ฉับ|  –  –  –   ฉิ่ง|  –  –  – ฉับ|
จังหวะชั้นเดียว    |  – ฉิ่ง  – ฉับ| – ฉิ่ง – ฉับ|  – ฉิ่ง – ฉับ|  – ฉิ่ง – ฉับ|

               ทำนอง   เพลงไทยทุกเพลงจะใช้ทำนองหนึ่งเป็นทำนองหลักในการบรรเลง ( ทางฝรั่งเรียกว่า Theme หรือ Basic melody) ซึ่งจะบรรเลงโดยเครื่องดนตรีบางชิ้นสำหรับให้เป็นหัวใจหลักของวงเท่านั้น ไม่ได้บรรเลงโดย เครื่องดนตรีทุกชิ้น เช่นถ้าเป็นวงปี่พาทย์ ผู้ที่บรรเลงทำนองหลักนี้ก็คือ “ฆ้องวงใหญ่”   ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงทำนองหลักดังกล่าว โดยการแปรให้เป็นแนวเสียงและวิธีบรรเลงที่เหมาะกับบุคคลิกของตนเองประสานกันไป ซึ่งเรียกแนวการแปรนี้ว่า “ทาง” เช่น “ทางใน” – จะหมายถึงทำนองเพลงที่บรรเลงโดยแปรให้เป็นไปตามลักษณะเสียงของปี่ใน เป็นต้น

               สิ่งที่กำกับให้การแปรทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเหล่านี้เป็นไปในรอยเดียวกันก็คือ เครื่องประกอบจังหวะ อันได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง นั่นเอง

               มาตราเสียง    หมายถึงระดับความสูงต่ำของเสียง   ดนตรีไทยมีอยู่ 7 ขั้นหรือ 7 เสียง เทียบได้กับเสียงดนตรีสากล (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)   แต่มีข้อแตกต่างคือ แต่ละขั้นเสียงในดนตรีไทยมีความห่างของเสียงเท่ากันตลอดทั้ง 7 ขั้น ซึ่งต่างจากดนตรีสากลที่มีความห่างบางขั้นแค่ครึ่งเสียง (เช่น จากเสียง -มี ไป ซอล-) ทำให้เสียงจากเครื่องดนตรีไทยเดิม ไม่สามารถเล่นควบคู่กับเครื่องดนตรีสากลได้   ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาปรับแต่งเครื่องดนตรีบางชิ้น ให้มีระยะห่างของเสียงเท่ากับเครื่องดนตรีสากลเพื่อให้สามารถเล่นพร้อมกันได้ เช่น ขลุ่ยเสียง C, ขลุ่ยเสียง Bb เป็นต้น

               การประสานเสียง  ในดนตรีไทยจะมีการประสานเสียง 2 อย่าง คือ การประสานเสียงภายใน – ซึ่งเกิดจากการสร้างเสียงไม่น้อยกว่า 2 เสียงพร้อมกันภายในของเครื่องดนตรีบางชนิด   เช่น ระนาด , ฆ้องวง,   ซอสามสาย,  ขิม.. ซึ่งมักใช้เสียงประสานที่เรียกว่า “ขั้นคู่เสียง” (interval) เป็นคู่แปด (เช่น โด ต่ำกับ โด สูง) หรือคู่ห้า (เช่น โด กับ ซอล)    แต่จะไม่ใช้คู่เจ็ด หรือคู่เก้า และการประสานเสียงภายนอก – อันเกิดจากเสียงเครื่องดนตรีต่างชนิด ซึ่งมีทางเสียงต่างกัน แต่บรรเลง (แปร)ในทำนองเดียวกัน ประสานกันไป   นอกจากนี้ยังมีเสียงจากเครื่องให้จังหวะต่างๆ (ฉิ่ง , กลอง..) อีกด้วย

หนึ่งในเพลงไทยเดิมที่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปนอกจากเพลงที่ได้ยินกันบ่อยๆ เช่น เพลงลาวดวงเดือน 2 ชั้น เพลงเขมรไทรโยค 3 ชั้น ก็มักจะได้ยินคนเอ่ยถามหรือขอให้นักดนตรีไทยบรรเลงให้ฟังเป็นประจำ โดยเฉพาะ”ขิมสาย”มักถูกขอให้บรรเลงเพลงนี้เป็นพิเศษ (แม้ว่าบางครั้งผู้ขออาจไม่รู้จักทำนองเพลงเลยก็ตาม) เพลงที่เรากำลังพูดถึงนี้คือเพลงนางครวญ 2 ชั้น ซึ่งเพลงนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจากวรรณกรรมชื่อดังเรื่อง”คู่กรรม” ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครและภาพยนต์ซึ่งได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเพลงนี้เกี่ยวข้องอยู่ในฉากสำคัญฉากหนึ่งของเรื่อง คือตอนที่นางเอก (อังศุมาลิน)นั่งบรรเลงขิมเพลงนี้อยู่บนเรือน จนโกโบริได้ยินและตามขึ้นไปดูนั่นเอง..

ประวัติเพลงนางครวญ ของเก่าเดิมมีอัตราจังหวะ 3 ชั้น สันนิษฐานว่ามีที่มาจากทำนองเพลงมอญรำดาบ 2 ชั้น หรือไม่ก็เพลงนางร่ำ 2 ชั้น(ในตับนเรศวร์ชนช้างตามตำรามโหรี) ซึ่งผู้แต่งน่าจะเป็นคนเดียวกับผู้แต่งเพลง สุดสงวน เพื่อให้มีสำนวนทำนองคู่กันและแต่งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน สำเนียงเพลงแสดงความหมายตามชื่อเพลง คือการคร่ำครวญรำพึงรำพันความเศร้าโศกของผู้หญิงส่วนทำนองเพลงนางครวญ 2 ชั้น ในปี 2476 นายมนตรี ตราโมทได้ประพันธ์ขึ้นโดยตัดแต่งจากทำนองเพลงนางครวญ 3 ชั้น(เดิม)โดยประพันธ์อัตราจังหวะชั้นเดียวจนครบเป็นเพลงเถา โดยเลียนทำนอง 2 ชั้นและชั้นเดียวจากเพลงสุดสงวน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง