หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมคือหุ่นยนต์ประเภทใด

หากย้อนหลังไปกว่านี้สัก 7-10 ปี การพูดถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ดูจะเป็นเรื่องที่ถูกจำแนกไว้เพียงแค่โรงงานขนาดใหญ่เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยมายด์เซตก็ดี หรือด้วยข้อเท็จจริงก็ดี การที่โรงงานนึงจะใช้เทคโนโลยีนี้ได้ ถูกมองว่าต้องมีทุนที่หนาไม่น้อย นอกจากจะเป็นเรื่องที่ใหม่แล้ว เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะยังไม่มีความพร้อมรอบด้านเหมือนกับอย่างทุกวันนี้ ทำให้ผู้คนมากมายต่างมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวอยู่พอสมควร

ณ ปัจจุบัน มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก หากเราจะบอกว่า โควิด-19 นั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เข้ามาบูสเตอร์กับหลายโรงงานให้ได้รู้จักกับเทคโนโลยี และเลือกใช้กับประเภทที่เหมาะกับอุตสาหกรรมของพวกเขามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก็วนกลับไปที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาอย่างรุดหน้าในช่วงที่หลายองค์กร นักพัฒนา ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมใจกันฝ่าวิกฤตการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ผลพลอยได้ต่าง ๆ นั้นก็ส่งต่อมาถึง “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ในจังหวะที่พอเหมาะพอเจาะ

ประเภทของ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้งานทั่วไปมีอะไรบ้าง ?

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) ถ้าให้พูดกันแบบเร็ว ๆ สิ่งนี้ก็คือหนึ่งในชนิดของเครื่องจักรกลที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานสำหรับกระบวนการต่าง ๆ โดยมีทั้งแบบควบคุมโดยมนุษย์ หรือควบคุมโดยระบบอัตโนมัติ ผ่านการป้อนโปรแกรม มีทุกขนาดตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด ซึ่งในส่วนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้น จะแบ่งออกเป็นไทป์คร่าว ๆ ก่อนถูกประยุกต์ตามรูปแบบอีกที เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ประเภทของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Cartesian Robot

มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ Linear Robot ซึ่งลักษณะการทำงานนั้นก็แปลตรงตัวกับความหมายเลย หุ่นยนต์ชนิดนี้จะเน้นการคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหมดทั้ง 3 แกน เป็นหนึ่งในประเภทที่มีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการับน้ำหนักสูง แต่ก็ต้องแลกด้วยกับการที่ไม่สามารถใช้งานแบบละเอียดอ่อนได้ รวมถึงใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากตามขนาดของหุ่นยนต์

ในอุตสาหกรรม การใช้งาน Cartesian Robot ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำไปประยุกต์ใช้ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรอีกทีนั่นเอง

Cylindrical Robot

ลักษณะการทำงานนั้นจะคล้ายคลึงกับประเภทก่อนหน้าเลยทีเดียว เพียงแต่ Cylindrical Robot จะเป็นการทำงานแบบหมุนรอบแกน ไม่ได้เป็นแบบเลื่อนเข้าออกเส้นตรงอย่าง Linear Robot

สำหรับหุ่นยนต์ประเภทนี้มักถูกนำไปใช้งานขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ จับยก งานเชื่อม ตลอดจนถึงงานประกอบแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นหุ่นยนต์ที่เน้นการทำงานแบบรวดเร็วเป็นหลัก (ตัวอย่างงานเชื่อมในโรงกลึงพี-วัฒน์ ก็สามารถนำ Cylindrical Robot มาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน)

SCARA Robot

หุ่นยนต์ประเภทนี้มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Selective Compliance Assembly Robot Arm และน่าจะเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย ลักษณะการทำงานจะเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด ในส่วนของบริเวณมือจับนั้นเป็นส่วนที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวตั้งได้เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน

SCARA Robot ถูกใช้งานส่วนใหญ่กับอุตสาหกรรมงานประกอบชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ขนาดเล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีความแม่นยำสูง อาจประยุกต์ใช้กับงานบรรจุภัณฑ์เล็ก ๆ ได้เช่นกัน

Polar Robot

ลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์ประเภทนี้ที่มีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า Spherical Robot เป็นการทำงานแบบหมุน 2 จุด ในส่วนของตัวฐานและไหล่ของตัวหุ่นยนต์ สำหรับส่วนของมือจับของประเภทนี้สามารถยืดหดได้ จะต่างกับ SCARA ที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบแนวดิ่ง

Polar จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับงานประเภทหยิบจับ รวมถึงงานเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วการยืดหดของแขนจับอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่านี้ แต่ด้วยความซับซ้อนดังกล่าวเช่นกันที่ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก

Articulated Robot (Jointed Arm)

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมประเภทนี้ถูกเรียกแบบเข้าใจตรงกันง่าย ๆ ว่า “Jointed Arm” ลักษณะการใช้งานก็จะเหมือนกับการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ แม้จะไม่มีความอิสระเท่า แต่ด้วยข้อทั้งหมดที่เคลื่อนไหวแบบจุดหมุน (Revolute) 3 จุดขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่การออกแบบอาจมีได้มากสูงสุดเป็น 10 จุด หรือตามต้องการความอิสระของลักษณะการใช้งานนั้น ๆ

ด้วยความอิสระดังกล่าวนี้เอง ทำให้ Articulated Robot ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานโรงงานอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบ หลายประเภท ทำได้แทบจะทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นยกของทั่วไป งานตัด งานเชื่อม แม้กระทั่งงานพ่นสี สิ่งนี้ก็ให้คุณได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการด้านการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้ เพื่อให้เข้าถึงประสิทธิภาพได้สูงสุด

นอกเหนือจากที่เราได้แนะนำไปแต่ละประเภท ยังมีหุ่นยนต์แบบ Custom ที่สามารถออกแบบได้ตามต้องการเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ตอบโจทย์ที่สุด ซึ่งก็ต้องแลกมากับต้นทุนที่สูงสุดขึ้น นั่นก็เป็นเรื่องที่แต่ละโรงงานต้องมาคำนวณให้ดีว่าการเข้ามาของสิ่งดังกล่าวจะสามารถพัฒนาสิ่ง ๆ ได้คุ้มกับที่เสียไปหรือไม่

แนวโน้มหุ่นยนต์อุสาหกรรมในประเทศไทยและทั่วโลก

แม้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดูเหมือนว่าแนวโน้มของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะได้รับการยอมรับและเริ่มถูกใช้งานมากขึ้นนับแต่เกิดวิกฤต โควิด-19 แต่ก็ยังมีจุดสังเกตหลายประการที่ทำให้สิ่งนี้น่าจะยังเป็นที่แพร่หลายในเร็ววัน ทั้งเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างสูง รวมถึงการใช้งานจำเป็นต้องมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเป็นผู้ควบคุมดูแล ทำใหั “Cobot” กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่เข้าถึงได้ง่ายหากเทียบกับหุ่นยนต์ การตั้งค่าต่าง ๆ ในปัจจุบันก็พร้อมตอบโจทย์ความต้องการได้ไม่แพ้กัน

ส่วนในเรื่องของ Robot กับ Cobot นั้นมีความเหมือน หรือ แตกต่างกันในด้านไหนบ้าง ไว้เราจะพาไปเจาะลึกกันในโอกาสต่อไป 

แต่สำหรับท่านไหนที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอยู่แล้ว มีความต้องการในเรื่องของอะไหล่ต่าง ๆ การผลิตชิ้นส่วนเฉพาะ เราโรงกลึงพี-วัฒน์พร้อมดูแลเดินร่วมทางไปด้วยกันกับคุณเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Robot หรือ Cobot มั่นใจในงานบริการของเราได้แบบ 100 เปอร์เซนต์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง