การประมวลผลข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

 การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์    

        คือ การกระทำหรือการจัดการต่อข้อมูล อาจเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ได้จากเอกสาร ต้นฉบับ เรียกว่าข้อมูลพื้นฐาน หรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้วเรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อดำเนินขั้นตอนในการประมวลผลในลักษณะต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การตรวจสอบเงื่อนไข ทำให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ตามต้องการ

     ประเภทของการประมวลผลข้อมูล 
   การประมวลผลข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ  

   1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) หมายถึงการใช้แรงงานคนเป็นหลักในการประมวลผล โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประมวลผล เช่น ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ ลูกคิด เครื่องคิดเลข วิธีการประมวลผลด้วยมือเหมาะกับงาน ที่มีปริมาณไม่มากนักและอยู่ในภาวะที่แรงงานยังมีการจ้างงานที่ไม่สูงนัก 
   2.
 การประมวลผลด้วยมือกับเครื่องจักรกล (Manual With Machine Assistance Data Processing) หรือการประมวลผลด้วยเครื่อง จักรกล การประมวลผลแบบนี้จะเหมาะกับงานระดับกลางที่มีปริมาณไม่มากนัก และต้องการความเร็วในการทำงานในระดับพอสมควร การทำงานจะอาศัยแรงงานคน ร่วมกับเครื่องจักรกล เช่น เครื่องทำบัญชี หรือเครื่องประมวลผลกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ 
     3.
การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) หรือการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกย่อๆ ว่า EDP คือ การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 

หน้าถัดไป

การประมวลผลข้อมูล Data Processing (ดาต้า โปรเซสชิง) คือการประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเรียกว่า ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ Information (อิมฟอเมชัน)

วิธีการประมวลผลข้อมูล จำแนกได้ 3 วิธี โดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่

1. การประมวลผลด้วยมือ Manual Data Processing (แมนนวลดาต้าโปรเซส) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ สามารถจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ
     – อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บเอกสาร
     – อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคำนวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิดเลข ก้อนหิน เป็นต้น
     – อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น

การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

การประมวลผลด้วยมือ Manual Data Processing (แมนนวลดาต้าโปรเซส)

2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล Mechanical Data Processing (แมทชานิคอล ดาต้า โปรเซสชิง) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทำบัญชี Accounting Machine (แอคเคาติง แมทชีน) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record (ยูนิค เร็คคอร์ด)

เครื่องทำบัญชี Accounting Machine (แอคเคาติง แมทชีน)

3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ EDP : Electronic Data Processing (อิเล็กทรอนิกส์ ดาต้า โปรเซสชิง) หมายถึง การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ
     – งานที่มีปริมาณมาก ๆ
     – ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว
     – มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำ ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น
     – มีการคำนวณที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เช่น งานวิจัยและวางแผน งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ EDP : Electronic Data Processing (อิเล็กทรอนิกส์ ดาต้า โปรเซสชิง)

การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

1. ขั้นเตรียมข้อมูล lnput (อินพุต) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
     1.1 การลงรหัส Coding (โค้ดดิ้ง) คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การประมวลผล ทำให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่ รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น
     1.2 การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล Editing (อิดิทติง) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จะทำได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คำตอบบางคำตอบขัดแย้งกัน แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม
     1.3 การแยกประเภทข้อมูล Classifying (คลาสฟิบติง) คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงาน เพื่อสะดวกในการประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุ เป็นต้น
     1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ Media (มิเดีย)ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป

2. ขั้นตอนการประมวลผล Processing (โปรเซสชิง) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์ Programmer (โปรแกรมเมอ) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
     2.1 การคำนวณ Calculation (คอลคลูเลชัน) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
     2.2 การเรียงลำดับข้อมูล Sorting (ซอสติง) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
     2.3 การดึงข้อมูลมาใช้ Retrieving (รีทีฟวิง) เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ต้องการทราบยอดหนี้ของลูกค้าคนหนึ่ง หรือต้องการทราบยอดขายของพนักงานคนหนึ่ง เป็นต้น
     2.4 การรวมข้อมูล Merging (เมอกิง) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน เช่น การนำเอาเงินเดือนพนักงาน รวมกับเงินค่าล่วงเวลา จะได้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
     2.5 การสรุป Summarizing (ชัมมาริชิง) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
     2.6 การสร้างข้อมูลชุดใหม่ Reproducing (รีโปรดูชิง) เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลเดิม
     2.7 การปรับปรุงข้อมูล Updating (อัพเดทติง) คือ การเพิ่มข้อมูล Add (แอด) การลบข้อมูล Delete (ดีลีด) และการเปลี่ยนค่า Change (เชง) ข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ Output (เอาพุต) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

อ้างอิง
worldsit.wordpress.com

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง