เอกลักษณ์ใดที่มองเห็นชัดเจนเกี่ยวกับหน้าจอของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ windows 8

ผมเขียนบทวิเคราะห์เรื่อง Google I/O และ Apple iOS 7 มาแล้ว คงต้องเขียนเรื่อง Windows 8.1 บ้างเดี๋ยวไมโครซอฟท์จะน้อยใจนะครับ :P

ข่าวใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ในรอบปีนี้คงหนีไม่พ้น Windows 8.1 ซึ่งถือเป็นภาคต่อของ Windows 8 ที่สร้างความฮือฮาอย่างมาก (ทั้งแง่บวกและแง่ลบ) ในปีที่แล้ว

ผมมองว่า Windows 8.1 ไม่ได้เป็นเพียง "ผลิตภัณฑ์" เดี่ยวๆ เพียงหนึ่งตัว แต่มันสะท้อน (และตอกย้ำซ้ำอีกครั้ง) ให้เห็นถึงทิศทางใหม่ที่ไมโครซอฟท์กำลังมุ่งไปให้ชัดเจนมากขึ้น

ย้อนดู Windows 8

พูดถึง Windows 8 ย่อมมีทั้งคนรักและเกลียด (ฝ่ายหลังอาจมีมากกว่า แต่นั่นก็แล้วแต่จะนับ) ถ้าให้มองย้อนกลับไปจากตอนนี้ ผมถือว่า Windows 8 เป็น "ระบบปฏิบัติการตัวใหม่" อีกตัวหนึ่ง ไม่ใช่ "วินโดวส์เวอร์ชันใหม่" ที่นับเลขต่อจาก Windows 7

ที่ต้องบอกว่า Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ก็เพราะแนวทาง (paradigm) ของมันเปลี่ยนจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง จากระบบปฏิบัติการสำหรับคีย์บอร์ดและเมาส์ ก็กลายมาเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับจอสัมผัสและแท็บเล็ตแทน แถมในแง่ของเทคโนโลยีข้างใต้ก็ยังเปลี่ยนจาก Win32 API มาเป็น WinRT API ด้วยเช่นกัน

ถ้าจะเทียบให้คล้ายที่สุด ผมว่ามันเหมือนกับตอนแอปเปิลเปลี่ยนจาก Mac OS 9 มาเป็น Mac OS X (หวังว่าสาวกรุ่นใหม่คงตามไปหาข้อมูลอ่านกัน) นั่นคือใช้ชื่อแบรนด์เดิม แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่หมด (Cocoa เทียบได้กับ WinRT) และมีโหมดการทำงานแบบเดิมรองรับในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้วย (Carbon/Classic เหมือนกับ Windows Desktop)

Windows 8 คือไมโครซอฟท์ยุคใหม่ที่ก้าวข้าม "โลกยุคพีซี" ที่ครอบงำด้วยซีพียู x86 (อาณาจักร Wintel) การสั่งงานด้วยเมาส์และคีย์บอร์ด และ form factor ค่อนข้างตายตัว (พีซีตั้งโต๊ะ/แท็บเล็ต) มายัง "โลกยุคหลังพีซี" ถ้ายึดตามคำเรียกของสตีฟ จ็อบส์ มีสถาปัตยกรรมซีพียูแบบใหม่ๆ (x86/ARM) ใช้นิ้วสัมผัสและการสั่งงานด้วยเสียง รวมถึง form factor แบบพิสดารที่เราเห็นในแท็บเล็ตลูกผสมสารพัดชนิดที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้

ในแง่ยุทธศาสตร์โดยรวมแล้ว ผมว่าไมโครซอฟท์ทำถูกต้องเลยนะครับ เพียงแต่ในแง่ปฏิบัติแล้วไมโครซอฟท์ทำพลาดหลายอย่าง เช่น

  • ทำ Windows 8 โหมด Metro ยังไม่สมบูรณ์ดี (ที่ชัดๆ เลยคือ PC Settings มีความสามารถไม่เท่า Control Panel) อันนี้ยกประโยชน์ให้ส่วนหนึ่งว่าทำไม่ทัน
  • มาเร็วไปหน่อย พีซีปี 2012 ยังไม่มีจอสัมผัสเยอะเท่ากับพีซีปี 2013 (แต่ก็มองในมุมกลับได้ว่า พีซีจอสัมผัสเริ่มเยอะขึ้นเพราะมี Windows 8 รองรับแล้ว)
  • "หักดิบ" การทำงานแบบเดิมๆ ของผู้ใช้มากเกินไป โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง Start Menu, Charm และ hot corner เลยเกิดการต่อต้านเยอะ พอคนไม่พอใจเสียแล้ว อธิบายเหตุผลอะไรเขาก็ไม่ฟังหรอก

ผลก็คือ Windows 8 กลายเป็นวินโดวส์รุ่นที่โดนเสียงบ่นเยอะ และ "ใครๆ" ก็บอกว่ามันห่วยนั่นเอง

Windows 8.1

พอมาถึง Windows 8.1 ไมโครซอฟท์ไม่ได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์เลยสักนิด ยังยึดตามยุทธศาสตร์เดิมของ Windows 8 ทุกประการ แต่ว่า

  • ปรับปรุงโหมด Metro ให้สมบูรณ์ขึ้นมาก ทั้งเรื่อง Search, Settings, split screen, default apps
  • ตลาดพีซีปี 2013 เริ่มมีพีซีที่ดึงพลังของระบบปฏิบัติการจอสัมผัสออกมาได้เยอะขึ้นแล้ว เราเห็นอุปกรณ์มากมายทั้ง Surface ของไมโครซอฟท์เอง, โน้ตบุ๊กไฮบริด, แท็บเล็ตจอใหญ่-เล็ก ออกสู่ตลาดกันมากขึ้น ราคาก็เริ่มดิ่งลงมาจากปีที่แล้ว ในแง่การประหยัดไฟก็ได้บารมีของ Haswell ช่วยแก้ปัญหาไปบางส่วน
  • ไมโครซอฟท์ยอมถอยในเรื่อง UI บางจุด (เช่น เอาปุ่ม Start กลับมา) และผู้ใช้เองก็เริ่มคุ้นเคยหลังโดนหักดิบและก่นด่ามาเกือบปี (ฮา)

โดยรวมแล้ว Windows 8.1 ยังคงทิศทางเดิม แต่มีสมบูรณ์มากขึ้น ตลาดพีซีโดยรวมเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อบวกกับว่ามันเป็นการอัพเกรดฟรีก็คงไม่มีใครที่ใช้ Windows 8 อยู่แล้วปฏิเสธ

คำถามหลักจึงต้องย้อนกลับไปว่ายุทธศาสตร์ใหญ่ของไมโครซอฟท์สำหรับ "โลกยุคหลังพีซี" นั้นถูกต้องแค่ไหน

time will tell เวลาจะเป็นคำตอบ

ในเบื้องต้นแล้วความสำเร็จของ Android/iOS คงเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าจอสัมผัสเป็นสิ่งจำเป็น แต่บริบทของไมโครซอฟท์ที่มาจากระบบปฏิบัติการแบบ point & click ก็ต้องนำเสนอคำตอบให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบเก่าด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมมองว่า Windows 8 ก็ทำออกมาได้ดีพอสมควรนะครับ การสร้างแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ไม่มีใครสมบูรณ์แต่แรก อย่างเก่งก็แค่ทำแพลตฟอร์มที่ดีในระดับหนึ่ง แล้วค่อยๆ พัฒนาต่อไป

ดังนั้นเราต้องมอง Windows 8.x เป็น "กระบวนการ" ระยะยาวที่กินเวลาหลายปี (อาจจะ 3-4 ปีกว่าจะเริ่มสมบูรณ์) ซึ่งกรณีของแอปเปิลเองกว่าจะทำ Mac OS X เข้าที่ก็ประมาณรุ่นที่ห้า (10.4 Tiger) ถ้านับระยะเวลาจาก 10.0 ก็ใช้เวลาถึง x ปี เทียบกันแล้วไมโครซอฟท์ใช้เวลาน้อยกว่ากันมาก (แต่สภาพการแข่งขันก็ต่างกันมากเช่นกัน)

จังหวะใหม่ของไมโครซอฟท์

ประเด็นหนึ่งของ Windows 8.1 ที่ผมคิดว่าสำคัญไม่แพ้ตัวผลิตภัณฑ์เองคือ "รอบการออกรุ่น" ของไมโครซอฟท์ครับ

ถ้าเราย้อนดูวินโดวส์เวอร์ชันเก่าๆ หน่อย จะเห็นว่า

  • Windows XP มาเป็น Windows Vista ใช้เวลา 5 ปี (อันนี้มีปัญหาภายในจนเลื่อนเอง)
  • Windows Vista มาเป็น Windows 7 ใช้เวลา 3 ปี
  • Windows 7 มาเป็น Windows 8 ใช้เวลา 3 ปี

ถ้าไม่นับกรณีของ XP มา Vista จะเห็นว่ารอบการออกรุ่นเฉลี่ยของไมโครซอฟท์อยู่ที่ 3 ปี แต่ว่าในรอบของ 8 มาเป็น 8.1 ใช้เวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น

ผมคาดว่าไมโครซอฟท์จะออก Windows 8.2 ในปีหน้า ซึ่งจะทำให้รอบการออกรุ่นของไมโครซอฟท์ลดลงมาเหลือ 1 ปี (ซึ่งทำมาก่อนแล้วกับ Windows Phone)

นี่คือการปรับตัวของไมโครซอฟท์ให้เข้ากับ "จังหวะใหม่" ในโลกยุคอินเทอร์เน็ต ยุคที่ซอฟต์แวร์อัพเดตได้ในทันที ต่างไปจากยุคของซอฟต์แวร์กล่องที่ไมโครซอฟท์สร้างขึ้นมาในอดีต

รอบการออกรุ่นผลิตภัณฑ์ใหญ่ระดับระบบปฏิบัติการที่เหมาะสมจึงน่าจะอยู่ที่ 1 ปี ซึ่งจริงๆ แล้วไมโครซอฟท์ไม่ใช่รายแรกที่ทำแบบนี้ แอปเปิลเริ่มก่อนใน iOS แล้วปรับ OS X ให้ใช้ระบบเดียวกัน ส่วนกูเกิลนั้นเอาเข้าจริงแล้วอัพเดตระบบปฏิบัติการมากกว่าปีละครั้งด้วยซ้ำ (Android ในช่วงแรกๆ บางปีออกสามรุ่นรวด) หรือกรณีของ Chrome OS คืออัพเดตทุก 6 สัปดาห์

"จังหวะใหม่" ของไมโครซอฟท์ที่ว่านี้ไม่ได้มีเฉพาะวินโดวส์เท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์ใหญ่ๆ ของไมโครซอฟท์แทบทุกตัวก็มีจังหวะการอัพเดตใหญ่ที่ลดลงจากเดิมมาก

  • Windows Phone ออกรุ่นใหม่ปีละครั้ง (ส่วนจะเป็น major/minor release อีกเรื่องหนึ่ง)
  • Office 2013 ออกต้นปีนี้ และจะมี Office "Gemini" ในปี 2014
  • Visual Studio 2012 ตามด้วย Visual Studio 2013
  • Windows Server 2012 ออกปีที่แล้ว ปีนี้มี Windows Server 2012 R2

เอาเข้าจริงแล้วไมโครซอฟท์ก็อยากปรับรอบการออกรุ่นให้เยอะกว่าปีละครั้งด้วยซ้ำ แต่ก็ยังติดขัดข้อจำกัดเรื่องธรรมเนียมหรือความคาดหวังของการใช้ซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ ถ้ายังจำกันได้ บริษัทก็เคยประกาศไว้ว่าในฝั่งของซอฟต์แวร์องค์กร (ที่มีทั้งเวอร์ชันติดตั้งบนเครื่องจริง on premise และเวอร์ชันกลุ่มเมฆ on cloud) ไมโครซอฟท์จะทยอยออกฟีเจอร์ใหม่ให้กับเวอร์ชันบน Azure ก่อน แล้วค่อยรวบมาอัพเดตให้เวอร์ชัน on premise เป็นระยะๆ ทีหลัง

การทำแบบนี้กับผลิตภัณฑ์ทั้งบริษัทไม่ง่ายเลยนะครับ มันต้องผ่านกระบวนการ "คิดใหม่ทำใหม่" เป็นการภายในครั้งใหญ่ ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทใหญ่มีพนักงานหลายหมื่น มีธรรมเนียมปฏิบัติ ค่านิยม และการยึดติดกับความสำเร็จเก่า การเปลี่ยนผ่านแบบนี้ไม่ง่ายเลย แต่ตอนนี้ผลลัพธ์ที่ออกมาเริ่มแสดงให้เห็นว่าไมโครซอฟท์เริ่มปรับตัวให้เข้ากับจังหวะใหม่ของอินเทอร์เน็ตได้แล้ว

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็น "ไมโครซอฟท์ 2.0" ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

  • รอบการออกซอฟต์แวร์เร็วขึ้น เปลี่ยนวิธีคิดจากซอฟต์แวร์กล่อง (สินค้า) มาเป็นบริการผ่านอินเทอร์เน็ต
  • เปลี่ยนเทคโนโลยีฐานจาก Win32 มาเป็น WinRT (หรือของแนวๆ เดียวกัน) เน้นการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแทนการทำงานแบบ standalone ไม่ยุ่งกับใคร
  • เปลี่ยนหน้าตาภายนอกจาก "หน้าต่าง" มาเป็น "กระเบื้อง" (tile) ทิศทางการออกแบบแนว Metro กับทุกผลิตภัณฑ์ไม่เว้นแม้แต่ Xbox

คำถามที่น่าสนใจค้นหาคำตอบต่อไปก็คือ เมื่อไมโครซอฟท์ปรับตัวแล้ว ลูกค้าของไมโครซอฟท์ล่ะปรับตัวตามทันอย่างที่ไมโครซอฟท์คาดหวังหรือเปล่า?

Get latest news from Blognone Follow @twitterapi

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง