สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ. ศ. 2310 คืออะไร

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมืองอโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และ เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกันแล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างเมืองใหม่ แต่กรุงศรีอยุธยาไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังคงมีคนรักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และราษฎรที่หลบหนีไปได้กลับเข้ามาอยู่รวมกัน ต่อมาได้รับการยกย่อง เป็นเมืองจัตวาเรียก "เมืองกรุงเก่า"

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมืองที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้นการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจำนวน200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์

1. ราชวงศ์อู่ทอง              2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
3. ราชวงศ์สุโขทัย           4. ราชวงศ์ปราสาททอง
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ.) ราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912  (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 -1913 (1 ปี ) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931  (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 - 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
5 พระราเมศวร  1931 -1938 ( 7 ปี) อู่ทอง
สมเด็จพระราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1938 -1952 (14 ปี )
6 สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์ 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 -2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 พระรัษฎาธิราช (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 -2077 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 พระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) (โอรสไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
16 สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหาธรรมราชา 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย
18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย
19 สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 -2153 (5 ปี) สุโขทัย
20 พระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2153 (1 ปี) สุโขทัย
21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2171 (17 ปี) สุโขทัย
22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2172 (8 เดือน) สุโขทัย
23 พระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2199 (28วัน) สุโขทัย
24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2199 (27 ปี) ปราสาททอง
25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2199 (3 - 4 วัน) ปราสาททอง
26 พระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปรารสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2275 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

สาเหตุหนึ่งของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 คืออะไร

การที่รัฐบาลกลางของอยุธยามีการควบคุมอำนาจท้องถิ่นอย่างหละหลวม ทำให้กรุงศรีอยุธยามีอำนาจและความสามารถในการป้องกันตนเองที่จำกัด เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพหัวเมือง ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลกลาง ซึ่งแนวคิดดังกล่าว นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เน้นเป็นพิเศษ และกล่าวว่าการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง "เป็นความล้มเหลว ...

สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าคืออะไร

- ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เพราะไพร่พลถูกเกณฑ์ไปรบ ไม่มีเวลาทำมาหากิน พ่อค้าต่างชาติไม่กล้าเข้ามาค้าขาย ทำให้บ้านเมืองขาดเสบียง เมื่อพม่าล้อมจึงเสียกรุงในที่สุด 2. สาเหตุระยะสั้น 1.1 การไร้ความสามารถของพระเจ้าเอกทัต - ทรงไร้สติปัญญา ไม่เป็นที่พอใจของประชาชนและขุนนางกลุ่มต่าง ๆ

สาเหตุหลักที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงคืออะไร

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรตองอูและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช และอาจถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2106 ที่ทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ

การเสียกรุงครั้งที่ 1 และ 2 เกิดขึ้นในปีใดและกษัตริย์พระองค์ใดเป็นผู้กอบกู้

2 เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 โดยพระเจ้าบุเรงนอง และครั้งที่ 2 ในวันอังคาร ขึ้น 9 คํ่า เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 โดยพระเจ้ามังระ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง