เกียร์ ออ โต้ 2 สาย กับ 3สาย ต่าง กัน อย่างไร

���ͺ�����Ẻ俿���ҡ���Ҥ�Ѻ

������ҢѺö���֧�ش��ش�������ö����¹�� P ��ѹ�շ���ͧ��� ����ͧ�ҡ��ҹ R
����蹡ѹ������������� P �������ö����¹�� D ��ѹ������ͧ�ҡ��ҹ R>N>D

����ö����������� �ͺ�Թ���٧���ͤ��Ѻ����º�ä����֡�� ���ö�Ҩ���駴�꺴����������¹����� P>D ��������¹�����

����ҵ�ǡ�䡹���͡��������¹�Ҩй��¡��ҹФ�Ѻ����������������ع��Ѻ��ҹẺ�ѹ�շѹ�

รถเราเกียร์อะไร รู้ความต่างของระบบเกียร์ CVT และ ATF ก่อนเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ มาทำความเข้าใจเรื่องระบบเกียร์ออโต้กันก่อน...

Posted by Alpha's Thailand on Thursday, October 25, 2018

ส่วนใหญ่มักเห็นในรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ตกแต่งแนวสปอร์ต การใช้งานต้องเลื่อนคันเกียร์ไปตามขั้นเหมือนขั้นบันได ยุ่งยากกว่าเกียร์แบบเลื่อนตรง

ข้อดี คือสวยงาม เกียร์ไม่มีการเลื่อนไปตำแหน่งอื่น เนื่องจากขั้นบันไดเปรียบเสมือนตัวล็อกตำแหน่งเกียร์ไว้แล้ว

ข้อเสีย คือ หากใช้งานไม่คล่องจะต้องก้มลงไปมองบ่อยๆ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการละสายตาจากการมองหน้ารถได้

 

เกียร์ออกโต้ แบบลากตรง

 

เกียร์ออกโต้ รูปแบบการใช้งานไม่ซับซ้อน ใช้ง่าย แค่กดปุ่มที่คันเกียร์แล้วเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงในแนวตรงล็อกตำแหน่งเกียร์ตามต้องการได้เลย เป็นชุดเกียร์ที่เข้าง่าย ให้ความสะดวกสบาย แต่จะสร้างความลำบากให้กับการขับขี่ได้ คือ บางครั้งอาจมีการเข้าเกียร์ผิดตำแหน่ง เช่น อยากเข้าเกียร์ P ไป N แต่ดันถอยเลยไปลงที่ D อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

**การใช้งานเกียร์ทั้ง 2 ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ถ้าไม่เคยใช้เกียร์แบบขั้นบันไดมาก่อน ก็สามารถเรียนรู้การใช้งานได้ไม่ยาก

 

วิธีการดูแลเกียร์ออโต้ให้ใช้งานได้นาน…

1. ไม่ออกตัวกระชาก การออกตัวรถกระชากเกินไปจะทำให้เฟืองที่อยู่ภายในเกียร์เกิดความเสียหาย ทำให้เกียร์สึกหรอได้ไว

2. ไม่ใส่เกียร์ P ขณะจอดรถติดไฟแดง ป้องกันไว้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพราะหากรถโดนชนท้ายในขณะเข้าเกียร์ P ตัวล็อกเฟืองเกียร์หรือเฟืองเกียร์อาจเสียหาย ส่งผลทำให้เกียร์พัง ดังนั้นหากจอดรถเวลารถติดแนะนำให้ใส่เกียร์ N ทิ้งไว้ครับ

3. ไม่ขับลากรอบ เพราะจะทำให้เกียร์ทำงานหนัก ส่งผลทำให้มีอายุการใช้งานที่น้อยลง

4. จอดรถให้สนิท ก่อนใส่เกียร์ถอย เพราะถ้าจอดรถไม่สนิทแล้วใส่เกียร์ถอย จะทำให้เฟืองเกียร์เกิดความเสียหาย

โดยทั่วไปรถยนต์เกียร์ออโต้จะมีเกียร์อยู่ทั้งหมด 4 ตำแหน่ง ได้แก่ P, R, N และ D ซึ่งแต่ละเกียร์มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

 


เกียร์ P – Park   ใช้สำหรับการจอดรถอยู่กับที่หรือจอดรถในบริเวณที่มีพื้นที่ลาดเอียง ไม่สามารถเข็นหรือขยับรถได้
เกียร์ R – Reverse  ใช้สำหรับการถอยหลัง
เกียร์ N – Neutral  ใช้สำหรับการจอดหรือหยุดรถชั่วคราวในพื้นที่ราบปกติ ซึ่งในตำแหน่งเกียร์ N รถจะสามารถถูกเข็นหรือขยับได้
เกียร์ D – Drive  ใช้สำหรับให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หากต้องการเพิ่มความเร็วใช้เท้าขวากดคันเร่งเพิ่ม

 

วิธีการใช้เกียร์ 1 เกียร์ 2 และเกียร์ L ให้ถูกต้อง

 

เกียร์ 1 จะใช้ในการขับขึ้น-ลงเขาที่สูงชันมากๆ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกเพื่อลดการเหยียบเบรก

เกียร์ 2 ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้นเขาที่ค่อนข้างชัน หรือขับขึ้น-ลง ตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2 และเปลี่ยนไปตามความเร็วรถตามลำดับ

เกียร์ออโต้หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เกียร์อัตโนมัติ” ที่ตอนนี้แทบจะเข้ามาทดแทนไปจน “เกือบ” จะสิ้นเชิงแล้วของเกียร์ธรรมดา เห็นได้จากที่รถหลายๆ รุ่นในไทย ไม่มีการผลิตรุ่นย่อยที่เป็นเกียร์ธรรมดาออกมา ซึ่งน่าจะเป็นการบอกถึงอนาคตของระบบส่งกำลังในรถที่ขายในบ้านเราได้เป็นอย่างดี ว่าถึงเวลาแล้วที่จะเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน เมื่อรถส่วนมากบนถนนใช้เป็นเกียร์ออโต้ แล้วเกียร์ออโต้ที่ถูกใช้กับรถที่วิ่งบนถนนเมืองไทยเป็นส่วนใหญ่นั้นมีกี่แบบ กี่ประเภท Chobrod จะพาคุณไปรู้จักพร้อมๆ กัน


3 ประเภทเกียร์ออโต้ที่คุณควรรู้จักก่อนซื้อรถ

ว่าด้วยอนุกรมในเรื่องระบบขับเคลื่อนของความเป็นเกียร์ธรรมดา ถ้าเป็นรถส่วนบุคคล ซื้อขับใช้งานเอง ไม่เน้นบรรทุกจุของหรือเน้นที่ราคาประหยัดเป็นหลัก แน่นอนว่าความสะดวกสบายย่อมสู้รถที่ใช้ “เกียร์ออโต้” ไม่ได้เลยด้วยปประการใด ยิ่งถ้าการตัดสินใจซื้อรถของแต่ละคน (หรือแต่ละครอบครัว) ไม่จำกัดจำเขียดเสียจริงจนเกินไปนัก ก็มักที่จะยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวกสบายจากประเภทเกียร์ออโต้แทบทั้งสิ้น กับรถหลายรุ่นหลายค่ายที่ขายอยู่ในปัจจุบัน เกียร์ออโต้ที่ถูกนำมาใช้กับตัวรถก็ยังแตกต่างประเภทยิบย่อยลงไปอีก และนี่คือ 4 ประเภทเกียร์ออโต้ที่คุณควรรู้จักก่อนตัดสินใจซื้อรถสักคัน มาดูกันว่าเกียร์ออโต้ มีอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีข้อดี ข้อด้อยในการใช้งานอะไร อย่างไรบ้าง  

1.เกียร์ออโต้แบบ CVT

กับประเภทเกียร์ออโต้ที่ถูกนำมาใช้หลังจากยุคความนิยมของเกียร์อัตโนมัติเริ่มมีมากขึ้น และถือเป็นประเภทเกียร์ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในรถยนต์นั่งยุคนี้ ยุคที่ผู้ใช้รถต่างถวิลหาความนุ่มนวลในการขับขี่ หมดไปซึ่งจังหวะกระชากตอนเร่งให้รู้สึก และนี่คือเกียร์ CVT ที่ย่อมาจากคำว่า “Continuously Variable Transmission” แค่ชื่อก็บอกแล้วถึงความต่อเนื่องในจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราทดตามกำลังที่ถูกส่งมาจากเครื่องยนต์ โดยผ่านการทำงานร่วมของชุดพลูเลย์ 2 ตัวช่วยกัน ตัวหนึ่งต่อกับเครื่องยนต์ (Drive Pulley) อีกตัวพ่วงกับเพลาขับ (Driven Pulley) และพลูเลย์ทั้งสองนี้จะทำงานสอดคล้องไปด้วยกัน ผ่านตัวสายพาน ไปตามอัตราเร่งและรอบเครื่องที่ถูกส่งมาจากเครื่องยนต์


เกียร์ CVT ผ่านการทำงานร่วมของชุดพลูเลย์ 2 ตัวเชื่อมกันด้วยสายพานหรือโซ่

ข้อดี

เกียร์ CVT ขึ้นชื่อเป็นอย่างมากในเรื่อง “ความนุ่มนวล” ในการขับขี่ ผสานการทำงานกันได้อย่างต่อเนื่องระหว่างพลูเลย์ได้เป็นอย่างดี เมื่ออัตราทดเปลี่ยนจะไม่รู้สึกถึงแรงกระชาก และความเร็วของตัวรถจะค่อยๆ ขึ้นไป “อย่างนุ่มนวล” เหมาะสำหรับรถยนต์นั่งที่เน้นในเรื่องของความสบาย และความต่อเนื่องที่ได้นี้ยังส่งผลดีในเรื่องของอัตราการบริโภคเชื้อเพลิงที่น้อยกว่าเกียร์ออโต้ประเภทอื่นๆ อีกด้วย ยิ่งขับทางไกลจะยิ่งเห็นผลได้อย่างชัดเจน  

ข้อเสีย

ผลจากความนุ่มนวลต่อเนื่องในการเปลี่ยนอัตราทด อาจจะไม่ค่อยถูกจริตนักกับขาซิ่ง ที่ต้องการอารมณ์การขับขี่เร้าใจ “กดคันเร่งปุ๊บก็มาปุ๊บ” เกียร์ CVT จะมีการตอบสนองช้ากว่าในเรื่องอัตราเร่งที่ต้องรอจังหวะรอบเพื่อเข้าที่ เร่งแล้วใช่ว่าจะมาในทันที เกียร์ CVT จะหน่วงกว่าหนึ่งจังหวะ ซึ่งการที่กดคันเร่งแบบจมมิดกับเกียร์ประเภทนี้ ก็ไม่ช่วยให้รถวิ่งได้เร็วกว่าแค่การค่อยๆ เหยียบ และยังจะยิ่งเป็นการทำให้ตัวเกียร์ “พัง” ก่อนเวลาอันควรอีกด้วย 

2. เกียร์ออโต้แบบ Torque Converter

กับระบบของเกียร์ออโต้ที่ถือเป็นรุ่นพี่ใหญ่ของเกียร์แต่ละประเภท ถูกแนะนำมาตั้งแต่ยุคที่มีเกียร์ออโต้ใหม่ๆ นานแค่ไหนก็ลองนึกภาพ ว่าคุณเริ่มรู้จักกับคำว่า “รถเกียร์ออโต้” เมื่อไรก็เมื่อนั้นแหละ เพราะว่าประเภทของเกียร์ออโต้ชนิดนี้ถูกเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองเลยทีเดียว นานแค่ไหน ถามใจดู!


“ทอร์คคอนเวอร์เตอร์” จะมีอุปกรณ์ที่เหมือนกังหันช่วยในการส่งแรงดันให้ของเหลว 

เกียร์ออโต้แบบ “ทอร์คคอนเวอร์เตอร์” นี้คือ เกียร์ออโต้ที่ระบบทำหน้าที่ “ตัดต่อกำลัง” จากเครื่องยนต์ไปสู่ระบบเกียร์ โดยการทำงานของระบบนี้จะใช้ของเหลว(น้ำมันเกียร์) เข้ามาช่วยในการทำงานเป็นหลัก เพื่อถ่ายทอดกำลังจากตัวเครื่องยนต์ไปสู่ระบบส่งกำลัง และยังช่วยทำหน้าที่ทดแทนการทำงานของคลัทช์อย่างที่มีอยู่ในเกียร์ธรรมดา ซึ่งจะมีอุปกรณ์ที่ลักษณะเหมือนกังหันเพื่อใช้ในการส่งแรงดันให้ของเหลว ผ่านตัวครีบจำนวนมาก โดยที่กังหันฝั่งหนึ่งจะติดอยู่กับเครื่องยนต์ เชื่อมเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง(Pump Impeller) อีกฝั่งจะติดอยู่กับเกียร์(Turbine) และกังหันทั้งสองจะถูกคั่นด้วยกังหันตัวเล็กตรงกลาง(Stator) ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้จะทำงานเฉพาะแค่ตอนที่รถออกตัวเท่านั้น

ข้อดี 

และถึงแม้จะเป็นระบบเก่ายุคโบราณของเกียร์อัตโนมัติ แต่ด้วยลักษณะการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมากนักของระบบ ตัวอุปกรณ์เกียร์สามารถทนรับแรงบิดได้ดี จึงเหมาะมากกับรถที่ใช้เครื่องยนต์ประเภทแรงบิดสูงๆ อย่างเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนเรื่องความนุ่มนวลในการขับขี่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ 

ข้อเสีย 

ส่วนข้อเสียคือ เกียร์ออโต้ประเภทนี้จะมีน้ำหนักมาก แถมตัวระบบเกียร์ยังทำให้ตัวรถต้องสูญเสียกำลังที่ผลิตมาได้จากเครื่องยนต์อีกด้วย แรงที่จะได้จริงๆ เมื่อลงสู่ล้อแล้วนั้น สมรรถนะที่ได้จะถือว่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แม้จะมีแรงดันจากตัวเกียร์ช่วยอีกแรงแล้วก็ตาม อีกทั้งในเรื่องความประหยัดก็ยังสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเกียร์ออโต้ประเภทอื่นอีกด้วย 

3. เกียร์ออโต้แบบคลัทช์คู่ DCT

Dual Clutch Transmission หรือที่เรียกย่อๆ ว่าเกียร์ออโต้แบบ DCT กับจุดเด่นในเรื่องของการตอบสนอง ที่การทำงานของระบบสามารถมอบอารมณ์ให้แบบเดียวกับธรรมดา และมีการใช้ไฟฟ้าเข้ามาช่วยในส่วนการทำงานของตัวคลัทช์เหมือนเกียร์กึ่งอัตโนมัติ การที่ระบบเกียร์แบบคลัทช์คู่นี้ ตอบสนองได้รวดเร็วจนถูกนำไปใช้ในรถสปอร์ตฝั่งยุโรปหลายเจ้า เป็นเพราะระบบการทำงานของตัวเกียร์ออโต้ระบบนี้คล้ายกับเกียร์ธรรมดามากๆ ผ่านคลัทช์ชุดแรกที่จะทำหน้าที่เพื่อแค่เป็นตัวส่งกำลังทั่วไป และคลัทช์อีกชุดมาไว้เพื่อช่วยในการเปลี่ยนอัตราทดให้รวดเร็ว แม่นยำ ตามจังหวะรอบเครื่องมากที่สุด 


เกียร์ออโต้แบบ DCT มีความแม่นยำในการจับอัตราทด คล้ายกับเกียร์ธรรมดามากๆ

ข้อดี

อย่างที่กล่าวไปเบื้องต้นในแง่ของข้อดีเกียร์ประเภทนี้ ถึงในเรื่องความเร็วในจังหวะการตอบสนองต่อรอบเครื่อง ซึ่งจะช่วยให้การขับขี่เปลี่ยนเกียร์ทุกจังหวะนอกจากจะเที่ยงตรงแม่นยำตอบสนองได้เร็วดั่งใจคิดแล้ว ในเรื่องของความนุ่มนวลก็ไม่เป็นสองรองเกียร์ประเภทอื่นๆ อีกด้วยเช่นกัน

ข้อเสีย

แต่ข้อเสียของเกียร์ประเภทนี้ก็มีอยู่ที่ตัวระบบทำให้การเข้าเกียร์ D แต่ละครั้ง ตัวรอบเครื่องจะหน่วงไปจังหวะหนึ่งเล็กน้อย รวมถึงปัญหาที่ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถที่ต้องวิ่งในเมือง การจราจรเคลื่อนได้ที่นิด อาการกระตุกจะออกชัดเจนให้เห็นเมื่อรถวิ่งที่ความเร็วต่ำ รวมไปถึงเรื่องความทนทานและความจุกจิกในการซ่อมก็มีมากกว่าด้วยเมื่อเทียบกับเกียร์ประเภทอื่นๆ

4. เกียร์กึ่งอัตโนมัติ AMT

เกียร์แบบ AMT หรือ Magneti Marelli Auto-Manual Transmission คือ ระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดาที่มีการทำงานคล้ายเกียร์อัตโนมัติ และมีจุดเด่นด้านการถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ไปสู่ล้อขับเคลื่อนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า แต่อาจต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนเกียร์นานกว่าเกียร์อัตโนมัติเล็กน้อย จึงทำให้รอบเครื่องยนต์ลดลงในช่วงจังหวะของการเปลี่ยนเกียร์ ส่วนใหญ่จะมีในรถเก๋ง รถ SUV ที่มีความต่ำกว่า 4 เมตร เป็นรูปแบบที่มีน้อยสุดสำหรับรถจำหน่ายในประเทศไทย มีเพียงรถไม่กี่คันเท่านั้นที่ติดตั้งเกียร์ชนิดนี้วิธีการทำงานนั้นคล้ายคลึงกับเกียร์ธรรมดา


เกียร์กึ่งอัตโนมัติ AMT

เกียร์ AMT เริ่มต้นขึ้นในปี 1986 โดยเฟอร์รารี ได้นำเทคโนโลยีของระบบเกียร์ธรรมดาที่ใช้คลัตช์อัตโนมัติ หรือ AMT นี้มาจาก มาร์เรลลี (Marelli) ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ในเครือรถยนต์เฟียต (Fiat) มาใช้กับรถแข่ง ฟอร์มูลา วัน ของตน เพื่อต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบส่งกำลัง ประหยัดเชื้อเพลิงให้มากขึ้น และเพิ่มความทนทาน ซึ่งทางเฟอร์รารีได้พัฒนาระบบเกียร์ AMT นี้อย่างต่อเนื่องจนกระทั้งในปี 1996 เฟอร์รารี ก็สามารถคว้าชัยชนะในการแข่ง ฟอร์มูลา วัน ได้ถึง 3 สนาม จากผลงานการขับของ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ ทำให้ระบบเกียร์แบบ AMT ได้รับการยอมรับมากขึ้น

ปัจจุบัน MG ผู้ผลิตรถยนต์สายพันธุ์อังกฤษได้ติดตั้งระบบเกียร์ดังกล่าวไว้ใน MG3 ทั้งรุ่นแฮทช์แบ็ก (Hatchback) และรุ่นครอส (Xross) ซึ่งเป็นรถซิตี้คาร์ที่ราคาทุกคนสามารถจับต้องได้ โดยทาง MG เรียกระบบเกียร์แบบ AMT นี้ว่า SeleMatic อัตโนมัติ 5 สปีด โดยมีระบบคลัตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติผสานกับระบบไฮดรอลิกเพื่อการควบคุมระบบคลัตช์ พร้อมการสั่งงานผ่านระบบสมองกลอัจฉริยะที่ทำหน้าควบคุมตำแหน่งเกียร์ให้เหมาะสมกับการขับขี่ โดยคำนวณจากการอัตราการเหยียบคันเร่งและรอบเครื่องยนต์ เพื่อเลือกตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสมและดีที่ที่สุด ส่งผลให้ MG3 มีอัตราเร่งที่ดี และประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด

ข้อดี

ระบบเกียร์แบบ SeleMatic นี้ให้ทั้งประสิทธิภาพในการส่งกำลังที่ดี และมีความสะดวกสบายในการขับขี่ รองรับการขับทั้งแบบเกียร์อัตโนมัติ และแบบเกียร์ธรรมดาที่ผู้ขับขี่สามารถควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ได้ด้วยตัวเอง ให้อัตราเร่งที่ดี ประหยัดเชื้อเพลิง และลดมลพิษ โครงสร้างแบบเดียวกับเกียร์ธรรมดา จึงทนทานและดูแลรักษาง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมระบบความปลอดภัยที่รัดกุม

ข้อเสีย

ข้อด้วยที่เห็นได้อย่างชัดเจนของเกียร์แบบ AMT คือ มีความกระตุก และตอบสนองช้าเมื่ออยู่ในระดับเกียร์ความเร็วต่ำ โดยจะมีความฉับไวและต่อเนื่องเมื่อขับที่ความเร็วสูงขึ้นมา หรือเมื่อเปลี่ยนเกียร์ได้สัมพันธ์กับ รอบเครื่องนั่นเองซึ่งหลักการคล้ายกันกับการขับเกียร์ธรรมดาเลย

ทีนี้คงจะทราบแล้วว่า เกียร์ออโต้ มีกี่แบบ และทั้งหมดนี้คือ 4 ประเภทเกียร์ออโต้ที่เราอยากให้คุณรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ ว่ารถที่คุณกำลังสนใจอยู่นั้นเป็นเกียร์ออโต้ประเภทไหน เหมาะกับลักษณะการใช้รถของคุณหรือเปล่า เพื่อที่คุณจะได้รถที่ถูกใจในการใช้งานของคุณจริงๆ ไม่ต้องมานั่งทำใจภายหลังกับประเภทเกียร์ที่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน 

เกียร์ 2 ไว้ทำอะไร

เกียร์ 2 ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้นเขาที่ค่อนข้างชัน หรือขับขึ้น-ลง ตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2 และเปลี่ยนไปตามความเร็วรถตามลำดับ ข้อควรระวังสำหรับการใช้เกียร์ออโต้ 1.ก่อนเปลี่ยนเกียร์ควรเหยียบเบรกก่อนทุกครั้ง

เกียร์ออโต้ 3 คืออะไร

ตำแหน่ง 3 หรือ D3 เป็นเกียร์ที่ใช้สำหรับการเดินหน้าเช่นกัน แต่จากต่างจากD4 ตรงที่ D3 จะให้พละกำลังเครื่อง มักใช้ในการขับขึ้นทางชันเล็กน้อย เช่น ขับขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์ให้เองอัตโนมัติ โดยเริ่มตั้งแต่เกียร์ 1 ไป จนถึงเกียร์ 3 นอกจากนี้ยังใช้ในกรณีที่เราต้องการขับแซงรถคันที่อยู่ข้างหน้าอีกด้วย

เกียร์ D กับ D3 ต่างกันอย่างไร

D3 ส่วนใหญ่เอาไว้เปลี่ยนเวลาต้องการเร่งแซงแบบรวดเร็ว ต้องการพละกำลัง หรือล็อคไม่ให้เครื่องเปลี่ยนเกียร์บ่อยๆ เพราะรำคาญหรืออะไรก็ตามแต่ เกียร์นี้เอาไว้ใช้ทางราบครับ เมื่อไม่ต้องการพละกำลังแล้วก็ควรเปลี่ยนกลับเป็น D เพื่อไม่ให้รอบเครื่องสูงจนกินน้ำมันมาก

เกียร์ D3 ใช้ทำอะไร

D3เกียร์นี้จะจำกัดรอบวิ่งของเราให้อยู่แค่เกียร์ 1-3 (เมื่อเทียบกับเกียร์ธรรมดา) เพื่อป้องกันไม่ให้เกียร์เปลี่ยนกลับไปกลับมาบ่อยๆระหว่างเกียร์ 3และเกียร์ 4 ทำให้รถมีรอบวิ่งต่ำลง แต่แรงม้าเท่าเดิม หากเราใช้เกียร์สูง รอบวิ่งจะสูงขึ้น แต่แรงม้าจะต่ำลง ดังนั้นการใช้เกียร์ D3 จึงเหมาะกับการวิ่งขึ้นลงเนินเขา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง