มีอะไร หลังเป็นประจําเดือน จะท้องไหม

หน้า 7 หลัง 7 คือ การนับระยะปลอดภัย (แบบโบราณ) ที่ใช้กันมานานแล้ว แต่ก็ยังใช้กันแบบผิด ๆ ถูก ๆ โดยเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ใช้ได้เฉพาะกับสตรีที่มีรอบเดือนปกติ มาตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน (รอบเดือน หมายถึง จำนวนวันในแต่ละรอบประจำเดือน ไม่ใช่รอบเดือนตามปฏิทิน) คือ ประมาณ 26-32 วัน ซึ่งโดยปกติแล้วสตรีทั่วไปจะมีรอบเดือนประมาณ 28 วัน แต่บางคนก็มีรอบเดือนที่สั้นกว่าหรือยาวกว่าปกติ คือ ไม่ต่ำกว่า 26 วัน และไม่ยาวกว่า 32 วัน โดยระยะปลอดภัยที่ว่านี้ก็คือ ช่วง 7 วันก่อนที่ประจำเดือนจะมารอบหน้า และ 7 วันหลังจากที่ประจำเดือนมาวันแรก (เริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาวันแรก)

  • กรณีของหน้า 7 หรือ 7 วันก่อนมีประจำเดือน ก็แปลว่าคุณจะต้องรู้ว่าประจำเดือนคราวต่อไปจะมาวันที่เท่าไร จึงจะสามารถกะได้ว่า 7 วันนั้นคือวันไหนบ้าง สมมติกะได้ว่าประจำเดือนรอบหน้าจะมาวันที่ 15 คุณก็จะรู้ได้ว่าวันปลอดภัยคือวันที่ 14, 13, 12, 11, 10, 9, 8 ดังนั้นพอถึงวันที่ 8 ก็จะรู้ว่าถึงวันปลอดภัยที่พร้อมจะมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะตั้งครรภ์
  • กรณีของหลัง 7 หรือ 7 วันหลังจากประจำเดือนมาวันแรก ก็แปลว่าจะมีวันที่มีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัยแค่ไม่กี่วัน (ถ้าคุณไม่ฝ่าไฟแดง) สมมติว่า ถ้ารอบเดือนนั้นมีประจำเดือนมา 4 วัน ก็จะมีวันปลอดภัยเหลือ 3 วัน ถ้าประจำเดือนมา 5 วัน ก็จะมีวันปลอดภัยเหลือ 2 วัน แต่ถ้ากลัวไม่คุ้มและอยากจะฝ่าไฟแดงก็สามารถทำได้ครับ เพราะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด แต่ก็ต้องสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งครับ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีประจำเดือนอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือติดโรคได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นหนองใน ซิฟิลิส ฯลฯ รวมถึงอาจเกิดการถลอกเป็นแผลได้ง่ายขึ้นด้วย

หน้า 7 หลัง 7 นับยังไง

การนับหน้า 7 หลัง 7 จะใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยในเฉพาะสตรีที่มีรอบเดือนปกติและมาอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน เพราะหากคลาดเคลื่อนเพียงวันเดียวนั้นอาจหมายถึงการตั้งครรภ์ !! โดยเฉพาะในกรณีของ “หน้า 7” หรือก่อนมีประจำเดือน 7 วัน ถ้าสมมติประจำเดือนในรอบเดือนนั้นมาคลาดเคลื่อนหรือมาช้าไป 1-3 วัน แล้วมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าว โอกาสเกิดการตั้งครรภ์ก็สูงมาก

ก่อนอื่นผมมีความจำเป็นจะต้องอธิบายให้ความเข้าใจถึงคำว่า “ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ” เสียก่อน เพราะมีหลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจแบบแจ่มแจ้ง เมื่อนำไปปฏิบัติตามก็ซวย เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาดื้อ ๆ โดยข้อมูลที่มักเข้าใจกันผิด ๆ ก็คือ

  • บางคนเข้าใจว่า “หลัง 7” คือหลังจากประจำเดือนหมดแล้วก็เริ่มนับเป็นวันที่ 1 ผิดนะครับ แบบนี้เตรียมเลี้ยงลูกได้ ความจริงคือต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาวันแรกเลยครับ
  • บางคนเริ่มนับวันแรกเป็นหลังวันที่ประจำเดือนมา แบบนี้ผิดครับ ความจริงจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาเลยครับ เช่น มาวันที่ 7 ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 เป็นวันแรกเลยครับ
  • บางคนเข้าใจว่าประจำเดือนตัวเองมาทุกเดือน ก็เลยคิดไปเองว่า “รอบเดือนมาสม่ำเสมอ” แต่ความจริงแล้วแม้ประจำเดือนจะมาทุกเดือน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีรอบเดือนมาสม่ำเสมอนะครับ เพราะบางคนมาแบบสวิง เดือนแรกมีรอบเดือน 26 วัน เดือนถัดมามี 30 วัน มาอีกเดือนมี 32 วัน และเดือนล่าสุดมี 28 วัน ถ้าไปใช้วิธีนี้ในการนับก็เรียกว่าพลาดแล้วล่ะครับ

รอบเดือนมาสม่ำเสมอ หรือ รอบเดือนมาตรงกำหนด หมายถึง ผู้ที่มีจำนวนวันในแต่ละรอบประจำเดือนเท่ากันทุกเดือน เช่น

  • นางสาว A มีรอบเดือนจำนวน 28 วัน ก็แปลว่าเมื่อครบ 28 วัน ประจำเดือนก็จะเริ่มมาแล้ว ถ้านางสาว A ประจำเดือนมาวันแรกวันที่ 15 กันยายน เมื่อนับไปอีก 28 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 12 ตุลาคม พอวันที่ 13 ตุลาคมประจำเดือนของนางสาว A ก็จะมา เดือนหน้าก็นับไปอีก 28 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 9 พฤศจิกายน และประจำเดือนจะเริ่มมาวันที่ 10 พฤศจิกายน
  • นางสาว B มีรอบเดือนจำนวน 26 วัน ก็แปลว่าเมื่อครบ 26 วัน ประจำเดือนก็จะเริ่มมาแล้ว ถ้านางสาว B ประจำเดือนมาวันแรกวันที่ 15 กันยายน เมื่อนับไปอีก 28 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พอวันที่ 11 ตุลาคม ประจำเดือนของนางสาว B ก็จะมา เดือนหน้าก็นับไปอีก 26 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน และประจำเดือนจะเริ่มมาวันที่ 6 พฤศจิกายน แบบนี้แหละครับที่เรียกว่ารอบเดือน “มาสม่ำเสมอ” หรือ “มาตรงกำหนดแม้จะไม่ตรงกับวันที่ในปฏิทินก็ตาม

มาถึงการคำนวณหน้า 7 หลัง 7 แบบคร่าว ๆ กันบ้าง ถ้าเข้าใจหลักการแล้วก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้ (แต่ยังไม่แนะนำครับ)

  • สมมติว่า นางสาว ก. ประจำเดือนมาตรงกันทุกเดือนและมาสม่ำเสมอ โดยประจำเดือนเริ่มมาวันแรกคือวันที่ 15 ดังนั้น
    • ช่วงระยะปลอดภัยหน้า 7 ก็คือช่วงก่อนวันที่ 15 นับไปอีก 7 วัน คือ วันที่ 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14
    • ช่วงระยะปลอดภัยหลัง 7 ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาวันแรก ถ้าประจำเดือนมาตรงกับวันเดิมคือวันที่ 15 ก็ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 15 ไปอีก 7 วัน คือ วันที่ 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 (แต่ถ้ารอบเดือนนั้นประจำเดือนเกิดมาคลาดเคลื่อน สมมติว่ามาวันที่ 16 ก็ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 ไปอีก 7 วันครับ คือ วันที่ 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22)
    • เพราะฉะนั้น ระยะที่ปลอดภัยที่นางสาว ก. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัยก็คือตั้งแต่วันที่ 8-21

จากตัวอย่างนี้หากนำไปปฏิบัติตามอย่างจริง ๆ ผมเชื่อว่าไม่พลาดครับ หมายถึง ไม่พลาดที่จะมีลูกนะครับ !! เพราะเป็นการคำนวณแบบหยาบ ๆ ซึ่งข้อมูลหลาย ๆ แห่งก็ยังแนะนำการนับหน้า 7 หลัง 7 ด้วยวิธีแบบนี้อยู่ น่าใจหายเสียเหลือเกินว่าประชากรในบ้านเราจะเพิ่มขึ้นจากการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมมากน้อยเพียงใด เพราะอย่าลืมครับว่าจำนวนวันของแต่ละรอบเดือนในแต่ละคนไม่เท่ากัน แม้รอบเดือนของคน ๆ นั้นจะมาตรงเวลาสม่ำเสมอก็ตาม เพราะอย่างบางคนมีรอบเดือนสั้น ส่วนบางคนก็มีรอบเดือนยาว หากนำไปปฏิบัติตามก็คงไม่พ้นได้เลี้ยงลูกเป็นแน่แท้ บางคนนึกภาพไม่ออก ผมจึงขอสมมติเหตุการณ์ดังนี้ครับ

  • นางสาว ข. มีรอบเดือนสม่ำเสมอ คือ 32 วัน มีประจำเดือนมาวันแรก คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ (เดือนนี้มี 28 วัน) ถ้าใช้หลักการนับวันข้างต้นโดยเอารอบเดือนหน้า คือ วันที่ 1 มีนาคมเป็นตัวตั้ง ก็จะได้ระยะปลอดภัยคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 7 มีนาคม แต่อย่าลืมว่านางสาว ข. มีรอบเดือนเฉลี่ยคือ 32 วัน นั่นหมายความว่าวันปลอดภัยจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ไล่ไปจนครบ 32 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 4 มีนาคม ดังนั้นระยะปลอดภัยที่แท้จริงของนาวสาว ข. ก็คือ ก่อนวันที่ 4 มีนาคม นับเพิ่มไปอีก 7 วัน และนับย้อนจากวันที่ 4 ไปอีกจนครบ 7 วัน ดังนั้น ระยะปลอดภัยจริง ๆ ของนางสาว ข. คือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 10 มีนาคม !! คุณเห็นอะไรไหมครับ ?? ถ้านางสาว ข. ใช้หลักการนับวันข้างต้นคำนวณ แล้วเริ่มมีเพศสัมพันธ์กันตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ มันจะเกิดอะไรขึ้น ?? ทั้ง ๆ ที่วันก่อนปลอดภัยจริง ๆ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ คลาดเคลื่อนไปถึง 4 วันเต็ม ๆ !! มันก็เสี่ยงท้องสิครับแบบนี้

คราวนี้เรามาดูวิธีการคำนวณหน้า 7 หลัง 7 แบบถูกต้องกันดีกว่าครับ ว่าถ้ามีรอบเดือนมาตรงกันทุกเดือนจะมีวิธีการคำนวณแบบถูกต้องกันอย่างไร ผมจะสมมติว่า

  • นางสาว ค. มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอ โดยมีจำนวนวันในแต่ละรอบเดือน คือ 28 วัน สมมติว่าประจำเดือนของนางสาว ค. ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันที่ 1 มกราคม 2558 ดังนั้น
    • ช่วงระยะปลอดภัย “หลัง 7” จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันที่ 1 มกราคมไล่ไปจนครบ 7 วัน คือ วันที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 มกราคม 2558 (1-7 ม.ค. นี่จะคือช่วงปลอดภัยของ “หลัง 7” ครับ)
    • ช่วงระยะปลอดภัย “หน้า 7” จากตัวอย่างข้างต้น นางสาว ค. มีจำนวนวันในแต่ละรอบเดือน คือ 28 วัน ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนครบ 28 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 27 มกราคม ก็ให้เอาวันที่ 27 มกราคมนี่แหละครับเป็นวัน “กำหนดหน้า 7” ฉะนั้นหน้า 7 จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคมย้อนกลับมาจนครบ 7 วัน คือ วันที่ 27, 26, 25, 24, 23, 22, 21 มกราคม 2558 นี้จะเป็นช่วงปลอดภัยครับ นางสาว ค. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ
    • จากนี้นางสาว ค. ก็ต้องรอให้ประจำเดือนมาก่อนครับ เพื่อความชัวร์ (ซึ่งคาดว่าวันที่ 28 มกราคม ประจำเดือนก็จะต้องมาแล้ว) แล้วจึงค่อยเริ่มการนับ “หลัง 7” ใหม่อีกรอบ และก็วนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับคือการนับหน้า 7 หลัง 7 ที่ถูกต้อง 🙂

แต่อย่างที่บอกไปครับหลักการนี้มันใช้ได้เฉพาะกับสตรีที่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอแบบเป๊ะ ๆ อย่างนางสาว ค. เท่านั้น ซึ่งคนส่วนมากรอบเดือนจะไม่เป๊ะขนาดนั้นไงครับ ซึ่งในหัวข้อถัดไปผมจะอธิบายให้ฟังครับว่า ถ้าจะคำนวณวันปลอดภัยอย่างถูกต้องสำหรับคนทั่วไปที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ แต่ไม่ตรงเป๊ะแบบนางสาว ค. เราจะคำนวณกันอย่างไร ในหัวข้อ “การนับวันปลอดภัย” ครับ

ข้อสงสัยเรื่องหน้า 7 หลัง 7

หน้า 7 หลัง 7 หลั่งนอก จะท้องไหม ?

ตอบ หากรอบเดือนมาสม่ำเสมอและใช้วิธีการนับอย่างถูกต้อง โอกาสการตั้งครรภ์ก็น้อยมากครับ

หน้า 7 หลัง 7 หลั่งใน จะท้องไหม ?

ตอบ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใดที่ให้ผล 100% (นอกจากการงดมีเพศสัมพันธ์) ในกรณีของหน้า 7 หลัง 7 ก็เช่นกัน ทั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยอื่น ๆ หลายอย่าง เช่น วันตกไข่ของสตรีที่แต่ละคนมักมีไม่เท่ากัน ถ้าไปใช้วิธีการนับแบบหน้า 7 หลัง 7 แล้วเกิดประจำเดือนในรอบนั้นมาคลาดเคลื่อนและเป็นช่วงตกไข่พอดี ก็เสี่ยงต่อการปฏิสนธิทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นที่เป็นวัยเจริญพันธุ์ การตกไข่ก็จะยิ่งมีบ่อยกว่าวัยอื่น ๆ จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูงมากขึ้นตามไปด้วย

นับหน้า 7 หลัง 7 แบบถูกต้องจะท้องไหม ?

ตอบ อย่างที่บอกไม่มีอะไรแน่นอน 100% ครับ ขนาดฝ่าไฟแดงแล้วท้องก็ยังมีกรณีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ที่ตอบได้ก็คือ “ยังมีโอกาสท้อง” อยู่ครับ แต่ถ้านับอย่างถูกต้องโอกาสท้องก็จะลดน้อยลง

ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในวันที่มีประจำเดือนจะปลอดภัยหรือไม่ ?

ตอบ ตามปกติแล้วปลอดภัยครับ ถ้ารอบเดือนของคุณไม่มามากกว่าคราวละ 7 วัน

รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ สามารถใช้วิธีนับหน้า 7 หลัง 7 ได้หรือไม่ ?

ตอบ ไม่ได้ครับ เพราะบางคนรอบเดือนมาแบบสะเปะสะปะมาก เดือนก่อนโน้นมาวันที่ 10 ของปฏิทิน เดือนต่อมาประจำเดือนมาวันที่ 7 แล้วเดือนล่าสุดมาวันที่ 14 เรียกได้ว่าเอาแน่เอานอนไม่ได้เลย มาบ้างไม่มาบ้าง แบบนี้ใช้วิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 ไม่ได้ครับ

หากมีเพศสัมพันธ์ก่อน 7 วัน หรือหลัง 7 วัน ประมาณ 1-2 วัน จะปลอดภัยหรือไม่ ?

ตอบ ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่า “เมื่อไหร่ก็ตามที่ไข่ตก แล้วไม่มีการปฏิสนธิอีก 14 วัน ประจำเดือนก็จะมา” สมมติว่าไข่ตกวันที่ 1 มกราคม แล้วไม่มีเพศสัมพันธ์เลย ในวันที่ 14 มกราคม ประจำเดือนก็จะมา ในกรณีของคนที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เอาแน่เอานอนไม่ได้ จะไม่มีทางคำนวณหาวันที่ไข่จะตกได้ แต่สำหรับคนที่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอ ก็จะสามารถกะวันที่ประจำเดือนจะมาในคราวหน้าได้ครับ เช่น

  • นางสาว C มีรอบเดือนมาทุก ๆ 30 วันแน่นอน เมื่อครบ 30 วัน ประจำเดือนของนางสาว C ก็จะมา สมมติว่า ประจำเดือนของนางสาว C มาวันที่ 1 มกราคม เมื่อนับไปอีก 30 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 30 มกราคม เมื่อถึงวันที่ 31 มกราคม ประจำเดือนของนางสาว C ก็จะมา
    • เมื่อคำนวณหาวันตกไข่ ก็ให้นับย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 30 มกราคมไปจนครบ 14 วัน ก็จะตรงกับวันที่ 17 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ไข่ตกหรือวันที่ไม่ปลอดภัยมาก ๆ (เสี่ยงตั้งครรภ์สุด ๆ)
    • แต่วันที่ไข่ตกมันอาจจะมาตรงบ้างไม่ตรงบ้าง แต่บวกลบแล้วไม่เกิน 2 วัน จึงต้องเผื่อวันไข่ตกเพิ่มเข้าไปอีก 4 วัน นั่นคือวันที่ 15, 16, 18, 19 มกราคม สรุปแล้วช่วงไม่ปลอดภัยจะรวมเป็น 5 วัน คือวันที่ 15, 16, 17, 18, 19 มกราคม
    • เมื่อไข่ตกแล้วก็จะมีชีวิตอยู่ได้อีก 24 ชั่วโมง (ถ้าสมมติว่ามีเพศสัมพันธ์วันที่ 20 มกราคม แต่ไข่ตกวันที่ 19 ก็ยังมีสิทธิตั้งครรภ์ได้ครับ) ดังนั้น การนับวันไม่ปลอดภัยจึงต้องบวกเพิ่มไปอีก 1 วัน คือวันที่ 20 มกราคม รวมแล้วเป็น 6 วัน คือวันที่ 15, 16, 17, 18, 19, 20 มกราคม
    • แต่ยังไม่หมดแค่นั้นครับ เพราะเชื้ออสุจิเมื่อเข้ามาอยู่ในช่องคลอด มันจะมีชีวิตอยู่รอผสมกับไข่ได้นานถึง 48 ชั่วโมง (ถ้าสมมติว่ามีเพศสัมพันธ์วันที่ 13 หรือ 14 มกราคม แต่ไข่ตกวันที่ 15 มกราคมก็ยังมีสิทธิ์ตั้งครรภ์ได้นั่นเอง) ดังนั้น วันที่ไม่ปลอดภัยจึงมีเพิ่มขึ้นมาอีก 2 วัน !! คือวันที่ 13 และ 14 มกราคม รวมแล้ววันไม่ปลอดภัยจึงมีเพิ่มขึ้นรวมเป็น 8 วัน !! คือวันที่ 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 มกราคม

สรุป โอกาสเสี่ยงขึ้นอยู่กับรอบเดือนของแต่ละคนว่าสั้นหรือยาว ถ้ารอบเดือนยาว (32-33 วัน) ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์เลย 7 วันหลังมา 1-2 วันได้อย่างปลอดภัย แต่ถ้ารอบเดือนสั้น (26 วัน) ก็ไม่ควรครับ เพราะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ และควรลดวันปลอดภัยจาก 7 วันหลัง ลงมาเหลือ 6 วัน

ข้อสรุปเกี่ยวกับหน้า 7 หลัง 7
  • ในกรณีที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ในช่วงที่มีประจำเดือน (ไม่เกิน 7 วัน นับจากวันที่ประจำเดือนมา) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ารอบเดือนของคุณสั้นหรือยาวแค่ไหนด้วย
  • การจะใช้วิธีนับวันปลอดภัยหน้า 7 หลัง 7 จะต้องมีรอบเดือนมาสม่ำเสมอ และมาแบบเป๊ะ ๆ เท่านั้น เช่น 28, 28, 28 หรือ 30, 30, 30 ฯลฯ
  • ในกรณีที่มีรอบเดือนสั้น การมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันหลังมีประจำเดือน โดยเฉพาะวันท้าย ๆ ก็จะเริ่มหมิ่นเหม่แล้วครับ และเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะวันที่ 6 หรือ 7 แต่ถ้ารอบเดือนยาวก็ไม่มีปัญหาอะไร วันที่ 7 ก็ยังคงปลอดภัยสบายใจหายห่วงครับ
  • ในกรณีของ “หลัง 7 หรือ 7 วันหลัง” (นับจากวันแรกที่ประจำเดือนมา) ความปลอดภัยในการคุมกำเนิดจะลดลงเรื่อย ๆ ครับ และก็จะมาถึง 8 วันอันตรายที่ไม่ปลอดภัย พอพ้นจาก 8 วันอันตรายนี้ไปแล้ว ความปลอดภัยจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 7 วันก่อนที่ประจำเดือนจะมา ซึ่งจะเป็นช่วงปลอดภัยที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้นั่นเองครับ
  • สำหรับคนที่ใช้วิธีนี้แล้วท้อง หลัก ๆ แล้วจะมีแค่ 2 กรณีครับ คือ นับไม่ถูกหลัก (นับแบบหยาบ ๆ) และรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอแต่ดันไปใช้การนับหน้าเจ็ดหลังเจ็ด ถ้าท้องก็ไม่ต้องแปลกใจเลยครับ !! ส่วนอีกกรณีที่พบได้น้อยมากก็คือ นับอย่างถูกวิธีก็แล้ว รอบเดือนมาสม่ำเสมอก็แล้ว หรือแม้กระทั่งฝ่าไฟแดง แต่ก็ยังท้อง !! ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนี้ก็ไม่ต้องแปลกใจครับ คุณยังมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีกหลายคน

การนับวันปลอดภัย

การนับระยะปลอดภัย เป็นวิธีการคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ใช้กันมานานแล้ว โดยเป็นการกำหนดวันที่ปลอดภัยแบบง่าย ๆ คือ “หน้า 7 หลัง 7” หรือ “ก่อน 7 หลัง 7” (เจ็ดวันก่อนมีประจำเดือน และเจ็ดวันหลังจากมีประจำเดือนคือช่วงที่ปลอดภัย สามารถร่วมเพศได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะตั้งครรภ์) แต่สูตรนี้อย่างที่กล่าวมาครับว่าโอกาสผิดพลาดมีสูง ถ้าประจำเดือนของสตรีมาไม่สม่ำเสมอหรือนับไม่ถูกหลัก ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิธีการหาระยะปลอดภัยอยู่หลายวิธีครับ เช่น การนับวัน (Calendar method), การวัดอุณหภูมิหลังตื่นนอน (Basal body temperature method), การสังเกตมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucous method) และวิธีอื่น ๆ หรือจะใช้ร่วมกันทั้ง 2 วิธีเลยก็ได้ แต่ในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะหลักการนับวันครับ ว่าการนับวันที่ปลอดภัยมากที่สุด ณ ขณะนี้เขานับกันอย่างไร ไปดูเลยครับ

การหาระยะปลอดภัยด้วยวิธีการนับวัน (Calendar method) จะอาศัยหลักทางชีววิทยาที่ว่า “ในสตรีที่มีรอบเดือนปกติทุก 28 วัน จะมีการตกไข่ประมาณวันที่ 14 (อาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 2 วัน) ก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งต่อไป หรือประมาณ 12-16 วันก่อนจะมีประจำเดือนครั้งต่อไป เมื่อไข่ตกแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมง โอกาสการตั้งครรภ์จึงมีถึงวันที่ 17 ของรอบเดือน ส่วนเชื้ออสุจิจะมีชีวิตรอผสมไข่อยู่ได้ประมาณ 48 ชั่วโมง หรือ 2 วันก่อนการตกไข่” จากทฤษฎีนี้จะได้ว่า ในสตรีที่มีประจำเดือนมาทุก 28 วัน ช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ คือช่วงวันที่ 10-17 ของรอบเดือน (เริ่มนับวันแรกตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมา) ในคนที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอก็คงคำนวณได้ไม่ยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วมีน้อยคนครับที่ประจำเดือนจะมาอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 28 วัน ผู้ที่ประจำเดือนคลาดเคลื่อนในแต่ละรอบเดือนจึงไม่เหมาะที่จะคำนวณด้วยสูตรโดยตรง แต่ให้คำนวณด้วยสูตรดังต่อไปนี้แทน

  • วิธีการคำนวณ : การนับวันเพื่อหาระยะปลอดภัยจะต้องทำการจดบันทึก “ความยาวของรอบเดือน” ไว้ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 8-12 เดือน (ถ้าให้ดีคือ 12 เดือนจะแม่นสุด) โดยในแต่ละรอบเดือนให้เริ่มนับวันแรกตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ไปจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายก่อนมีประจำเดือนในรอบต่อไป แล้วดูว่ารอบเดือนครั้งไหนมีจำนวนวันที่สั้นที่สุดและยาวที่สุด แล้วจึงนำมาคำนวณตามสูตร ดังนี้
    • วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย (First fertile day) = จำนวนวันที่สั้นที่สุดของรอบเดือน – 18
    • วันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย (Last fertile day) = จำนวนวันที่ยาวที่สุดของรอบเดือน – 11
  • ยกตัวอย่าง : นางสาว ง. ได้จดจำนวนวันในแต่ละรอบประจำเดือนไว้ 10 เดือน คือ 26, 24, 25, 28, 26, 27, 29, 30, 28, 26 จะเห็นได้ว่ารอบประจำเดือนที่สั้นที่สุดคือ 24 วัน และยาวสุดคือ 30 วัน เมื่อนำมาคำนวณจะได้
    • วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย = 24-18 = 6 ส่วนวันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย = 30-11 = 19 ดังนั้น ระยะไม่ปลอดภัยที่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ (หรือต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่น) ในรอบเดือนหน้า จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 จนถึงวันที่ 19 ของรอบเดือน (ไม่ใช่วันตามปฏิทินนะครับ) ซึ่งสูตรนี้จะแม่นยำมากกว่าสูตรหน้า 7 หลัง 7 ครับ ส่วนผู้ที่อายุยังน้อยหรือวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ (ซึ่งเป็นวัยที่มีการตกไข่บ่อยกว่าวัยอื่น) สตรีหลังแท้งบุตร หรือคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ ๆ ประจำเดือนจะยังมาไม่ค่อยสม่ำเสมอ รังไข่จะยังทำงานไม่ปกติ หากใช้วิธีนี้คำนวณจะมีโอกาสผิดพลาดได้มากครับ จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้

ประสิทธิภาพของการนับวันปลอดภัย

ตามหลักแล้วการนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method) อย่างถูกต้อง (Perfect use) จะมีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ 9% ซึ่งหมายความว่าจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยวิธีการนับวันปลอดภัยจำนวน 100 คน จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ประมาณ 9 คน แต่โดยทั่วไปแล้วจากการใช้งานจริง (Typical use) พบว่าจะมีอัตราการล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้สูงมากขึ้นกว่าเดิม (ไม่มีข้อมูลเป็นตัวเลขที่แน่นอน)

การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์

การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (The standard days method – SDM) เป็นการกำหนดช่วงเวลาไปเลยว่าในวันที่ 8-19 (แถบสีฟ้า) ของรอบเดือนจะเป็นชวงที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ โดยเป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยของรอบประจำเดือนของสตรีทั่วไปที่มีรอบประจำเดือน 26-32 วัน หากต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าว

ประสิทธิภาพของการกำหนดระยะเวลาสืบพันธุ์

ตามหลักแล้วการกำหนดระยะเวลาสืบพันธุ์อย่างถูกต้อง (Perfect use) จะมีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เพียง 5% ซึ่งหมายความว่าจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยการกำหนดระยะเวลาสืบพันธุ์จำนวน 100 คน จะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 5 คน แต่โดยทั่วไปแล้วจากการใช้งานจริง (Typical use) กลับพบว่าอัตราการล้มเหลวทำเกิดการตั้งครรภ์จะเพิ่มสูงมากขึ้นเป็น 24% หรือคิดเป็น 1 ใน 5 คน จากผู้ที่คุมกำเนิดด้วยวิธีนี้

ส่วนด้านล่างนี้เป็นตารางเปรียบเทียบระหว่างการคุมกำเนิดด้วยวิธีการนับวันปลอดภัยและวิธีการกำหนดระยะเวลาสืบพันธุ์ กับวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจครับ

วิธีคุมกำเนิด|การใช้แบบทั่วไป|การใช้อย่างถูกต้อง|ระดับความเสี่ยง
ยาฝังคุมกำเนิด|0.05 (1 ใน 2,000 คน)|0.05|ต่ำมาก
ทำหมันชาย|0.15 (1 ใน 666 คน)|0.1|ต่ำมาก
ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมน|0.2 (1 ใน 500 คน)|0.2|ต่ำมาก
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม)|0.2 (1 ใน 500 คน)|0.2|ต่ำมาก
ทำหมันหญิงแบบทั่วไป|0.5 (1 ใน 200 คน)|0.5|ต่ำมาก
ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง|0.8 (1 ใน 125 คน)|0.6|ต่ำมาก
การสังเกตระยะปลอดภัย (FA)|0.45|24|ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้
การให้นมบุตรหลังในระยะ 6 เดือนแรก|2 (1 ใน 50 คน)|0.3|ต่ำ
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนเดี่ยว)|6 (1 ใน 17 คน)|0.2|ปานกลาง
แผ่นแปะคุมกำเนิด|9 (1 ใน 11 คน)|0.3|ปานกลาง
วงแหวนคุมกำเนิด (NuvaRing)|9 (1 ใน 11 คน)|0.3|ปานกลาง
ยาเม็ดคุมกำเนิด|9 (1 ใน 11 คน)|0.3|ปานกลาง
การนับวันปลอดภัย (Calendar rhythm method)|ไม่มีข้อมูล|9|ไม่มีข้อมูล
ถุงยางอนามัยชาย|18 (1 ใน 5 คน)|2|สูง
การหลั่งนอก|22 (1 ใน 4 คน)|4|สูงมาก
การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (Standard days method)|24 (1 ใน 4 คน)|5|สูงมาก
การหลั่งใน (ไม่มีการป้องกัน)|85 (6 ใน 7 คน)|85|สูงมาก

หมายเหตุ : ตัวเลขที่แสดงเป็นจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวจำนวน 100 คน โดยกำหนดให้ สีฟ้า = ความเสี่ยงต่ำมาก / สีเขียว = ความเสี่ยงต่ำ / สีเหลือง = ความเสี่ยงปานกลาง / สีส้ม = ความเสี่ยงสูง / สีแดง = ความเสี่ยงสูงมาก (ข้อมูลจาก : www.contraceptivetechnology.org, Comparison of birth control methods – Wikipedia)

ภาพประกอบ : en.wikipedia.com, www.wikihow.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย

เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือนหลั่งในจะท้องไหม

สรุปคำตอบ คือ ไม่ท้องแน่ โดยมีข้อแม้ว่าต้องกินยาถูกต้องสม่ำเสมอตลอดนะครับ ทำให้ป้องกันไม่ให้ท้องได้ตลอดไป รวมทั้งการมีเซ็กส์ในช่วงมีประจำเดือน ตราบเท่าที่คุณกินยาถูกต้องและเริ่มกินยาในแผงใหม่ก็จะไม่มีช่องว่างในการป้องกันท้อง ถ้ากังวลไม่แน่ใจเพราะบางครั้งอาจพลาดพลั้งเดือนไหนมีเลือดออกน้อยมากไม่เหมือนเมนส์ปกติ ก็ให้ตรวจ ...

มีอะไรกับแฟนหลังประจําเดือนหมด9วันจะท้องไหม

แพทย์ สวัสดีค่ะ คุณ Neungruthai Jaifong, หากประจำเดือนมาวันที่ 19-25 พ.ย. แล้วได้มีเพศสัมพันธ์วันที่ 27 พ.ย.เท่ากับมีเพศสัมพันธ์ในวันที่ 9 นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมา ถือว่าเลยระยะปลอดภัยไปแล้ว โอกาสที่จะตั้งครรภ์นั้นมีได้ โดยหากใช้วิธีการหลั่งนอก ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4%-22% ค่ะ

มีเพศสัมพันหลังประจำเดือน3วันท้องไหม

หากประจำเดือนมา 3 วัน แล้วได้มีเพศสัมพันธ์หลังจากประจำเดือนหมดไป 1 วัน เท่ากับมีเพศสัมพันธ์ในวันที่ 4 นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมา ถือว่ายังอยู่ในระยะปลอดภัย โอกาสที่จะตั้งครรภ์นั้นมีน้อยมากค่ะ นอกจากนี้ หากฝ่ายชายยังไม่ถึงจุดสุดยอด ยังไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิเกิดขึ้น โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็ไม่มีค่ะ

มีเพศสัมพันหลังเป็นประจําเดือนกี่วัน

ระยะปลอดภัยนี้อยู่ในช่วง หน้า 7 คือ 7 วัน “ก่อน” วันที่ประจำเดือนมา หลัง 7 คือ 7 วันหลังจากวันแรก” ที่มีประจำเดือน ซึ่งหน้า 7 หลัง 7 นี้จะเป็นระยะที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันหรืออุปกรณ์คุมกำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง