การประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะกระทำได้เมื่อใด

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​คือการชดเชยรายได้ที่ต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือชราภาพ โดยบริษัทประกันชีวิต (บริษัทฯ) จะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต


การทำประกันชีวิตมีประโยชน์หลายประการ เช่น

 

 

1. ให้ความคุ้มครอง ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องการเงินหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของครอบครัว (เช่น หนี้สิน) อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย


2. ประกันภัยบางประเภทเป็นการออมทรัพย์ การทำประกันภัยจะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ ให้จ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ และหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ก็จะได้เงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญา ใช้เป็นเครื่องมือออมเงินเพื่อเกษียณ ออมเพื่อทุนการศึกษาของบุตรหลาน


3. ใช้เบี้ยประกันชีวิตมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท  และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท

1.  ความรู้เบื้องต้น

ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันชีวิต ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ได้แก่​

1.  ผู้รับประกันภัย 

คือบริษัทประกันชีวิต​ ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพื่อรับประกันต่อความสูญเสียหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์เมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ การประกันกรณีทุพพลภาพ หรือการประกันสุขภาพ (ดูรายชื่อบริษัท)​

2​.  ผู้เอาประกันภัย   

คือบุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทฯ โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต​

3.  ผู้รับประโยชน์   

คือบุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้รับเงินประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต​​​​

​ ​

ประเภทของการประกันชีวิต

การประกันชีวิต แยกออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.  ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance)

คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูงตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ

​​

​​​

2.  ​ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance)

คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ ตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ  ดังนั้น จึงมีระยะเวลารอคอยคือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลารอคอย บริษัทฯ จะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด​​

3.  ​ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)

คือการประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันภัยอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ  การประกันชีวิตประเภทนี้ ค่าเบี้ยประกันภัยจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรม

​ ​

เมื่อพิจารณาจากลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์ แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบคือ

01

แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)


คือการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ โดยบริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ หรือใช้สำหรับชำระหนี้ก้อนสุดท้าย

02

แบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)


คือการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาเอาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ และไม่มีเงินคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น ๆ​​

03

แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)


คือการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาเอาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ซึ่งส่วนของการออมทรัพย์คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด​

ความแตกต่างระหว่างประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์กับการฝากเงินกับสถาบันการเงิน

​​ข้อเปรียบเทียบ

เงินฝาก

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

วัตถุประสงค์

​การออมทรัพย์คุ้มครองชีวิต (และอื่น ๆ) และออมทรัพย์

ผลตอบแทนเมื่อสัญญาสิ้นสุด

 

เงินฝากและดอกเบี้ย

- กรณีมีชีวิต (เงินจ่ายคืน/เงินปันผล)

- กรณีเสียชีวิต (เงินผลประโยชน์มรณกรรมหรือจำนวนเงินเอาประกันภัย) 

ลดหย่อนภาษี

ลดหย่อนภาษีไม่ได้

- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท

ภาษีจากผลตอบแทน

15% (กรณีเงินฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 20,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี)ไม่ต้องเสียภาษี

การฝาก/การจ่ายเบี้ยประกันภัย

ไม่ต้องฝากสม่ำเสมอจ่ายเบี้ยประกันภัยแบบชำระครั้งเดียวหรือแบบรายงวด

การถอน

ถอนได้ถอนไม่ได้ แต่ต้องยกเลิกกรมธรรม์ (การเวนคืนกรมธรรม์) แต่จะได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนตามเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายชำระไปแล้ว

สภาพคล่อง

สูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายต่ำ สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เมื่อกรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืน แต่จะได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนตามเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายชำระไปแล้ว

ความคุ้มครอง

ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามที่กฎหมายกำหนดไม่ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันประกันคุ้มครองเงินฝาก 

04

แบบบำนาญ (Annuities Insurance)


คือการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือนหรือทุกปี นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป สำหรับกำหนดเวลาการเริ่มจ่ายเงินบำนาญและระยะเวลาการจ่ายเงินบำนาญขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ ซึ่​งผู้เอาประกันภัยควรพิจารณาเลือกแบบบำนาญให้ตรงกับแผนการใช้เงินในอนาคตของตน​ 

 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์แตกต่างกับการฝากเงินกับสถาบันเงินในเรื่องการถอนเงิน เนื่องจากการออมด้วยการซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ไม่สามารถถอนเงินได้เหมือนการฝากเงินได้ แต่ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้ ซึ่งมูลค่าเวนคืนตามกรมธรรม์ที่ได้จะถูกหักค่าธรรมเนียมในการเวนคืน


2.  การพิจารณารูปแบบประกันชีวิต​

ก่อนจะทำประกันชีวิต ผู้บริโภคต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิต ระยะเวลาคุ้มครอง จำนวนเงินเอาประกันภัย และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยก่อน เช่น

​​ ความต้องการ

​​ แบบประกันภัยที่เหมาะสม

  • คุ้มครองการเสียชีวิต
  • ความคุ้มครองระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5 10 15 หรือ 20 ปี 
  • ไม่มีเงินคืน
  • เบี้ยประกันภัยต่ำที่สุด
แบบชั่วระยะเวลา
  • คุ้มครองการเสียชีวิตพร้อมกับการสะสมทรัพย์ 
  • ความคุ้มครองระยะยาว เช่น 10 หรือ 20 ปี 
  • มีเงินคืนหรือเงินปันผล
  • เบี้ยประกันภัยสูง
แบบสะสมทรัพย์
  • คุ้มครองการเสียชีวิต 
  • ความคุ้มครองแบบตลอดชีพ เช่น คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี 99 ปี
  • เบี้ยประกันภัยค่อนข้างต่ำ
  • มีเงินคืน
แบบตลอดชีพ
  • คุ้มครองการมีชีวิตยืนยาว
  • มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ
  • มีเงินคืนเมื่อเกษียณอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี
  • เบี้ยประกันภัยสูง
แบบบำนาญ

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว ช่วงชีวิตก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้เอาประกันภัยควรนำมาพิจารณาด้วย เช่น 

ช่วงเริ่มต้นทำงาน : ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ  ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ช่วงสร้างครอบครัว เริ่มมีบุตร มีการผ่อนรถ/บ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร : ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 

ก่อนเกษียณ : ประกันชีวิตแบบบำนาญ

​ 

3.  คำแนะนำในการเลือกและทำสัญญาประกันชีวิต มีดังนี้

1. ติดต่อบริษัทฯ โดยตรงหรือผ่านตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต2. ศึกษาแบบประกันชีวิตต่าง ๆ เพื่อเลือกแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของตนเอง​​3. เลือกวงเงินเอาประกันภัยที่ต้องการและเหมาะสม โดยควรคำนึงถึงรายได้ประจำที่ได้รับ และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย  

​​4. กรอกรายละเอียดในแบบคำขอเอาประกันชีวิต โดยแถลงความจริงทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติการรักษาพยาบาลและคำแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะการปิดบังในสาระสำคัญเหล่านี้จะเป็นเหตุให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์

5. ตรวจสอบความถูกต้องก่อนลงชื่อในแบบคำขอ และเมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ควรตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หากพบข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น ชื่อผู้รับประโยชน์หรือชื่อผู้เอาประกันภัยผิดพลาด ให้ทักท้วงบริษัทฯ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง

6. จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตตามกำหนด และเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และถ้าจ่ายเบี้ยประกันชีวิตผ่านตัวแทน ต้องเรียกใบเสร็จรับเงินชั่วคราวเสมอ​

7. แจ้งให้ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ หรือบุคคลในครอบครัวทราบถึงการทำประกันชีวิต และสถานที่เก็บกรมธรรม์​

8. เก็บรักษากรมธรรม์ให้ดี ถ้าหายต้องไปแจ้งความและขอทำใหม่ ซึ่งจะถูกเก็บค่าธรรมเนียมด้วย

 

4.  การชำระเบี้ยประกันชีวิต 

ประเภทการชำระเบี้ยประกันชีวิต ได้แก่

1. ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว (single premium)2. ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด (level premium)  ซึ่งระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัยอาจสั้นกว่าระยะเวลาความคุ้มครอง เช่น ระยะเวลาความคุ้มครอง 10 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี และสามารถกำหนดงวดการจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือนหรือรายเดือนก็ได้
  • ปัจจัยในการคำนวณเบี้ยประกันชีวิต จะพิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการคือ

  • 1. อัตรามรณะ คืออัตราเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย แยกตามเพศ อายุ

    2. อัตราดอกเบี้ย ที่บริษัทฯ กำหนดใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันชีวิต

    3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

    เมื่อถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันได้ โดยการยืดระยะเวลาได้ประมาณ 30 หรือ 60 วัน แล้วแต่เงื่อนไขของกรมธรรม์นั้น 

    • 5.  เงื่อนไขการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนกำหนด
    • ผู้เอาประกันภัยสามารถบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ ดังนี้

      1. 1. กรณีบอกเลิกสัญญาภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ (free look period)  ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามที่จ่ายจริง หักด้วยค่าธรรมเนียม 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) ถ้าเป็นการขายผ่านทางโทรศัพท์ สามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วัน ผู้เอาประกันจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนเต็มจำนวน2. กรณีบอกเลิกสัญญาหลังจากเกินระยะเวลา free look period และกรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์​แล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ (มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์) ซึ่งมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์คำนวณมาจากเบี้ยประกันภัยหักด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทฯ  โดยในช่วงปีแรก ๆ มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์จะมีค่าน้อยเพราะค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ที่นำมาหักจากเบี้ยประกันภัยมีจำนวนสูง อนึ่ง กรมธรรม์บางแบบอาจจะยังไม่มีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ในช่วงสิ้นปีที่ 1ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันภัยถูกชักจูงให้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตด้วยความเข้าใจผิด ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอยกเลิกสัญญาและได้รับเบี้ยประกันภัยคืนตามเงื่อนไขที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ กรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบปัญหาทางด้านการเงินแต่ยังประสงค์จะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิต สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
      2. 1. เลือกชำระเบี้ยประกันภัยลดลง : ทำได้ 2 วิธีคือ

                (1) ลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลง โดยกรมธรรม์ยังคงให้ความคุ้มครองตามการประกันชีวิตแบบเดิม หรือ 
                (2) ยกเลิกสัญญาเพิ่มเติม

        2. เลือกหยุดชำระเบี้ยประกันภัย : ทำได้ 2 วิธีคือ          (1) เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ โดยการลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลงแต่กรมธรรม์ยังคงมีผลคุ้มครองต่อไปจนกว่าสัญญาจะครบกำหนด หรือ
                  (2) แปลงกรมธรรม์เป็นการประกันภัยแบบขยายเวลา โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยจะยังคงมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยเดิม แต่ระยะเวลาคุ้มครองลดลง


      3. 6.  วิธีรับเงินครบกำหนด หรือค่าสินไหมทดแทน หรือการเคลมประกัน

        ในการขอรับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน  ให้ดำเนินการดังนี้

      4. 1. ติดต่อกับบริษัทฯ ให้เร็วที่สุด​​

      5. 2. กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ต้องแจ้งบริษัทฯ ภายใน 14 วัน และเตรียมหลักฐานคือกรมธรรม์ประกันชีวิต (ถ้าหายให้แจ้งความ แล้วใช้สำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายไปแสดงแทน)  ใบเสร็จรับเงินงวดสุดท้าย ใบมรณบัตรของผู้เอาประกันภัย ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์ ทั้งนี้ การเสียชีวิตโดยฆ่าตัวตายใช้หลักฐานเพิ่มเติมคือสำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และใบชันสูตรพลิกศพ ส่วนการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุใช้หลักฐานเพิ่มเติมคือสำเนาบันทึกประจำวันรับแจ้งเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใบชันสูตรพลิกศพ และสำเนาบันทึ​กประจำวันหลังกลับจากสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ​​ ​

      6. 3. กรณีเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะ ต้องแจ้งบริษัทฯ ภายใน 10 วันและเตรียมหลักฐานคือแบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทน ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลที่ระบุวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล หลักฐานอื่น ๆ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์ 

      7. 4. กรณีกรมธรรม์ครบกำหนด ต้องติดต่อบริษัทฯ และเตรียมหลักฐานคือกรมธรรม์ประกันชีวิต และบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย  โดยบริษัทฯ อาจจ่ายเงินเป็นเช็ค หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายเป็นเงินสด​​


      8. 7.  การยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันภัย

        บริษัทฯ ยกเว้นการจ่ายเงินเอาประกันภัยจากสาเหตุการตายดังนี้ 

    1. ผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยตายโดยเจตนา บริษัทฯ จะไม่จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่เป็นคนฆ่า แต่จะจ่ายค่าเวนคืนกรมธรรม์ (หักด้วยหนี้สินกรมธรรม์ ถ้ามี) หรือคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมดให้แก่ผู้รับประโยชน์คนอื่น ๆ ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์2. ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีนับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย บริษัท ฯ จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง