การทำเกษตรกรรม เก่า แก่ และเป็น แห่งแรกของโลก เริ่ม ต้น เมื่อ ใด

การแสวงหาหนทางออกจากสภาพปัญหาการเกษตรที่เกิดขึ้นได้ทำให้เกิดการก่อตัวของแนวความคิดที่มุ่งแสวงหาทางออกให้แก่สังคมในด้านการเกษตร การแสวงหาทางเลือกใหม่ดังกล่าวได้เริ่มขึ้นก่อนในประเทศพัฒนาแล้ว และเผชิญปัญหาซึ่งเกิดจากการทำเกษตรตามแนวทางนั้น มาค่อนข้างยาวนาน

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบและตั้งข้อสงสัยต่อระบบการเกษตรแผนใหม่และต่อแนวคิดพื้นฐานเกษตรกรรมแผนใหม่เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคริเริ่มการทำเกษตรแผนใหม่นั่นเอง ที่ชัดเจนก็คือการปฏิเสธแนวคิดการทำเกษตรแผนใหม่ ที่มองระบบการเกษตรของมนุษย์แยกขาดจากองค์รวมทั้งหมดของสังคมและมีฐานความคิดทางปรัชญาที่ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล มนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติ

บุคคลที่มีบทบาทโดดเด่นในด้านนี้ก็คือ Emst Haeckel

(พ.ศ. 2377-2469) นักชีววิทยาชาวเยอรมันผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชานิเวศวิทยา ใน Generelle Morphologie (พ.ศ. 2409) แฮคเกิลปฏิเสธแนวคิดการแยกร่างกายออกจากจิตใจ ปฏิเสธการแยกธรรมชาติออกจากมนุษย์หรือสังคมมนุษย์ เขาเชื่อว่าโลกมีเพียงหนึ่งเดียวและความจริงก็มีเพียงหนึ่งเดียว สัตว์และมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน จริยธรรมของมนุษย์มีพื้นฐานมาจากจริยธรรมของสัตว์หรือธรรมชาติ มนุษย์มิได้เป็นนายและอยู่เหนือสัตว์อื่น แต่มนุษย์กับธรรมชาติมีความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน

ความเชื่อของแฮคเกิลที่ว่า มนุษย์และธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นการทำลายสิ่งหนึ่งจึงเท่ากับการทำลายอีกสิ่งหนึ่ง จึงมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อขบวนการเกษตรเชิงนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรเชิงนิเวศที่รู้จักกันในนาม ‘สมาคมดิน’ (Soil Association) หรือ ขบวนการกลับไปสู่ผืนแม่ธรณี(Back-to-the-Land) ที่มีบทบาทการเคลื่อนไหวในทศวรรษที่ 1920 สำหรับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับขบวนการเกษตรเชิงนิเวศมีอยู่อย่างน้อย 2 คนสำคัญ คือ เซอร์โรเบิร์ต แมคคาริสัน (Sir Robert McCarison) และ เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ด(Sir Albert Howard)

เซอร์ โรเบิร์ต แมคคาริสัน เป็นนายแพทย์ทหารบกชาวอังกฤษในปีพ.ศ. 2444 แมคคาริสันได้เดินทางมาทำมาการวิจัยที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในขณะนั้น โดยเขาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของชาว ‘ฮันซา’ (Hanza) ซึ่งเป็นซนเผ่าหนึ่งที่อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย(ปัจจุบันคือประเทศปาก็สถาน) จากผลการวิจัย แมคคาริสันได้ข้อสรุปว่าเบื้องหลังสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยและมีอายุยืนยาวกว่า 100 ปีของชาฮันซา ก็คืออาหารที่ประกอบด้วยเมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดสี ผัก ผลไม้ นมแพะจากอาหารธรรมชาตินั่นเอง แมคคาสันได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันเรื่องนี้หลายครั้งโดยในปี พ.ศ. 2469 เขาได้ทดลองเปรียบเทียบการหนูที่กินข้าวสาลีที่ใช้ปุยธรรมชาติกับหนูที่กินข้าวสาลีที่ใช้ปุ๋ยเคมี ผลก็คือหนูที่กินข้าวสาลีที่ใช้ปุ๋ยธรรมชาติมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าประมาณ 15 % งานของแมคคาริสันอาจถือได้ว่าเป็นงานบุกเบิกที่สำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่มีอิทธิพลต่อนักการแพทย์และนักโภชนาการเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อนักวิทยาศาสตร์การเกษตรอีกด้วย

เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ด (Sir AIbert Howard) นักปฐพีวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของเกษตรกรรมอินทรีย์ เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทการวางรากฐานให้กับเกษตรเชิงนิเวศ เขาได้วางหลักการสำคัญเกี่ยวกับเกษตรกรรมโดยให้ความสำคัญกับ ‘ดิน’ ว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดและเป็นรากฐานของอารยธรรมทั้งปวง โฮวาร์ดได้กล่าวไว้เมื่อทศวรรษที่ 1930 ในหนังสือชื่อ ‘คัมภีร์เกษตร’ หรือ An Agricultural Testament ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2486 ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระยะเวลาต่อมา

การค้นคว้าของโฮวาร์ดได้รับการสืบทอดโดย เลดี้ อีฟ บัลโฟร์ (Lady Eve Balfour) และสมาคมดินแห่งอังกฤษ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2482 บัลโฟร์ได้ทำการทดลองที่ฟาร์มปฏิบัติการแห่งฮักเล่ (Haughley Experimental Farm)เพื่อพิสูจน์ว่าการปรับปรุงการเกษตรโดยการใส่สารอินทรีย์ลงไปในดิน จะได้ผลตอบแทนดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานการค้นคว้าเกี่ยวกับเกษตรเชิงนิเวศ นักปรัชญาคนสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ก็คือ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) สไตเนอร์เป็นแกนนำการเคลื่อนไหวของขบวนการชาวนาที่รู้จักกันในนาม ‘Anthroposophical Farmer’ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเยอรมันในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการประชุมของกลุ่มเมื่อปี 2467 สไตเนอร์ได้เรียกร้องให้กลุ่มสนับสนุนการทำฟาร์มแบบยังชีพ (Self-sufficient farms) ซึ่งเป็นระบบการเกษตรที่คำนึงถึง ‘ความมีชีวิตของดิน’ และปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีในฟาร์ม เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อผืนดิน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อขูดรีดธรรมชาติและเป็นที่มาแห่งความตาย สไตเนอร์ถือว่าผืนธรณีนั้นมีชีวิต ดินเป็นเสมือนตาและหูของโลก ดังนั้นความอุดมสมบูรณ์ (humus) ของดินจำเป็นต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาจากกระบวนการทางธรรมชาติและต้องสร้างสรรค์มาจากสสารที่มีชีวิด (ดูรายละเอียดใน A. Bramwell pp. 195-208) สไตเนอร์เป็นผู้ก่อตั้งขบวนการที่เรียกว่า ‘Biodynamic Agriculture ‘ และแนวคิดของเขา เป็นพลังสำคัญในการผลักดันขบวนการชาวนาในเยอรมันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปัจจุบันฟาร์มที่ดำเนินการตามแนวคิดของเขาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในยุโรป และสแกนดิเนเวีย

แนวความคิดและวิธีปฏิบัติเพื่อแสวงหาระบบเกษตรกรรมใหม่ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในโลกตะวันตกเท่านั้น หากแต่ปรากฎขึ้นในประเทศตะวันออกซึ่งเกษตรกรถูกถือว่าเป็นมนุษย์นิเวศ (Eco-man) ด้วย โดยในบรรดานักคิดนักปฏิบัติของตะวันออกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ(Mazanobu Fukuoka) ผู้เป็นทั้งเกษตรกรและนักปรัชญาชาวญี่ปุ่น

ฟูกูโอกะ เรียกระบบเกษตรเชิงนิเวศของตนในชื่อ ‘เกษตรกรรมธรรมชาติ’

เกษตรกรรมตามความเข้าใจของฟูกูโอกะมิได้ “มีเป้าหมายแคบๆและตื้นเขินอย่างที่คนบางจำพวกเข้าใจ หากแต่เป้าหมายที่แท้จริงของการเกษตรกรรมคือการบ่มเพาะความอุดมสมบูรณ์ของมนุษย์’ ในทางปฏิบัตินั้นเกษตรกรรมธรรมชาติดำเนินไปภายใต้หลักปฏิบัติด้านการเกษตรที่สำคัญ 4 ข้อ คือ ‘ไม่ใถ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดแมลง และไม่กำจัดวัชพืช’

ขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระดับสากล

ในขณะที่เกษตรกรรมแผนใหม่มีพื้นฐานทางปรัชญาแบบลดส่วนและอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระบบเกษตรเชิงนิเวศกลับมีพื้นฐานทางปรัชญาแบบองค์รวม ยึดเอาธรรมชาติเป็นแบบจำลองของระบบการเกษตร

ขบวนการเกษตรเชิงนิเวศจึงประกอบไปด้วยผู้เข้าร่วมจากหลากหลายสาขาทั้งที่เป็นเกษตรกร นักวิชาการเกษตร นักการแพทย์ นักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวปัญหาชาวนา นักสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้บริโภค นักปรัชญา ฯลฯ

ปัจจุบันขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระดับสากลประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม อาทิเช่น

1) Biodynamic Agriculture

กลุ่ม Biodynamic Agriculture เกิดขึ้นเนื่องจากแนวคิดเกษตรกรรมองค์รวมของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ โดยผ่านการสานต่อแนวคิดโดยนักคิดนักเขียนที่สำคัญอย่างน้อย 2 ท่านคือ Hans Driesch และ Ehrenfried Pfeitferโดยคนหลังได้สะท้อนแนวคิดผ่านงานเขียน 3 ชิ้น คือ Biodynamic Farming and Gardening (2486), The Earth Face and Humanity Destiny (พ.ศ. 2490) และ Biodynamices : Three Introductory Articles (พ.ศ. 2499) อีกคนถัด มาคือ A. Baker ซึ่งมีงานเขียนเล่มสำคัญคือ The Laboring Earth (พ.ศ. 2483)

บทบาทของกลุ่ม เริ่มชัดเจนในทศวรรษที่ 1920 และขยายตัวมากขึ้นในทศวรรษ 1930 เป็นต้นมาโดยเฉพาะในเยอรมันนั้น ขบวนการ Biodynamic ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางสังคมขบวนการหนึ่งที่รัฐให้ความสนใจ

ขบวนการ Biodynamic ยึดหลักการการเกษตรที่สำคัญคือ เกษตรกรรมคือวิถีแห่งชีวิต เกษตรกรต้องมีภาระหน้าที่ต่อผืนแผ่นดินที่ตนครอบครองและมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพืชสัตว์และสิ่งมีชีวิตในฟาร์ม สิ่งเหล่านี้คือที่มาของผลผลิตและคุณภาพของฟาร์ม ระบบเกษตรกรรมต้องสามารถสร้างความสมดุลของระบบนิเวศโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้มิได้ปล่อยให้ธรรมชาติเป็นผู้จัดการทุกสิ่ง แต่มนุษย์ต้องทำงานร่วมกับธรรมชาติโดยไม่พยายามแทรกแซงในสิ่งที่ธรรมชาติทำเองได้

กลุ่ม Biodynamic เคลื่อนไหวภายใต้สัญญลักษณ์เทพเจ้า Demeter หรือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเผยแพร่แนวคิดและรายงานผลปฏิบัติด้านการเกษตรด้วยวารสารชื่อ Demeter ในทศวรรษที่ 1930 นั้น ระบบฟาร์มของกลุ่ม Biodynamic มีลักษณะหลายประการคล้ายกับฟาร์มเกษตรกรรมอินทรีย์ เช่น ไม่ใช้สารเคมี หมุนเวียนของเสียในฟาร์มกลับมาใช้ใหม่ ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์หลายชนิดหมุนเวียนเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ให้ความสำคัญสูงสุดต่อดิน เพราะถือว่าดินเป็นพื้นฐานความอุดมสมบูรณ์ของพืช สัตว์และรวมถึงมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนผืนดินนั้น

ลักษณะเฉพาะของกลุ่ม Biodynamic คือการเชื่อในพลังของจักรวาลพลังของพืชสัตว์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล วิธีปฏิบัติที่สะท้อนถึงความเชื่อดังกล่าว เช่น การเพาะปลูกโดยอาศัยความรู้พื้นบ้านยุโรป ในการเลือกเวลาและวันปลูกที่เหมาะสมตามการโคจรของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเติม ‘พลัง’ ให้กับดินโดยการนำพืชจำพวกสมุนพรหลายชนิดมาเตรียมเป็นสารละลายเจือจางแล้วนำไปฉีดพ่นให้กับดิน

ในปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากที่ทำฟาร์มตามแนวคิดของกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวีย แต่ในสหรัฐและแคนาดาค่อนข้างจะมีบทบาทจำกัด (R.R.Harwood. 1990.pp. 71)

2) Humus Farming

Humus Farming เป็นกลุ่มที่แตกแขนงมาจาก กลุ่ม Biodynamic โดยกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญต่อการใช้ฮิวมัสหรืออินทรีย์วัตถุในการบำรุงดินกลุ่มนี้เริ่มมีบทบาทเด่นชัดในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1960 ผู้มีบทบาทสำคัญที่เผยแพร่แนวความคิดและความสำคัญของฮิวมัสในการปรับปรุงดิน เช่น D. Brown , 1. Roberts, s. Fletcher และ S. Waksman ซึ่งทั้ง 4 ท่าน ได้เผยแพร่แนวความคิดและหลักการในทางปฏิบัติผ่านหนังสือ The Field Book of Manures or the American Mulch Book (พ.ศ.2398) The Fertility of theLand (พ.ศ. 2450), Soil :How to Handle and Improve Them (พ.ศ. 2450), และ Humus : Origin Chemical Composition and Importance in Nature(พ.ศ. 2479) ตามลำดับ งานของกลุ่มมิได้มีเพียงการพัฒนาเทคนิคต่างๆ ในการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสด และการเปิดแง่มุมต่างๆ ในการศึกษาผลกระทบของปุ๋ยเคมีเท่านั้น หากแต่งานเขียนในเชิงปรัชญาของนักคิดในกลุ่ม โดยเฉพาะงานเขียนของ Friend Sykes 3 เล่มชื่อ Humus and the Farmer (พ.ศ.2486);Food,Farming, and the Future (พ.ศ.2494) และ Modern Humus Farming (พ.ศ.2502) และงานเขียนของ A.Seifest ชื่อ Compost (2495) ได้เป็นแรงผลักดันและเสริมความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ (R.R.Harwood.1991)

3) เกษตรกรรมอินทรีย์ (Organic Farming)

กลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์เกิดไล่เลี่ยและสัมพันธ์กับกลุ่ม Biodynamicโดยเกิดขึ้นก่อนในยุโรป ความแตกต่างระหว่างกลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์กับกลุ่มBiodynamic อยู่ที่กลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์ให้ความสำคัญกับการวิจัยทางการเกษตรค่อนข้างมาก ในขณะที่กลุ่ม Biodynamic ให้ความสนใจทางปรัชญามากกว่า งานเขียนและวิจัยในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบเกษตรกรรมอินทรีย์เช่นในปี 2479 AIwin Seifest ได้นำเสนอผลการวิจัยเกษตรกรรมอินทรีย์ต่อกระทรวงเกษตรเยอรมัน โดยได้ย้ำเนันความสำคัญของการคลุมดิน(Mulching) วิธีการทำเกษตรโดยไม่ไถพรวนขณะเดียวกันก็ปฏิเสธการทำเกษตรกรรมแบบเชิงเดี่ยว (Monoculture) ซึ่งต้องมีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวในพื้นที่ใหญ่ๆ

ในปี 2486 เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ด ได้พิมพ์ผลงานชิ้นสำคัญชื่อ An Agricultural Testament ซึ่งเป็นงานที่ได้วางหลักการเกษตรกรรมอินทรีย์ที่สำคัญไว้เป็นครั้งแรก

ถัดมาอีก 1 ปี (2487) เลดี้ อีฟ บัลโฟร์ ได้ตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อ ‘ ดินที่มีชีวิต’ หรือ The Living Soil โดยได้อธิบายให้เห็นถึงสายใยอันชับซ้อนของการใช้พลังงาน และเส้นสายการสร้างความอุดมที่เชื่อมโยงระหว่างดวงอาทิตย์กับดิน จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับพืชสัตว์และกับมนุษย์ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ในยุโรป จำต้องหยุดชงักเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้น และล่วงเลยถึงทศวรรษที่ 1960 ขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์จึงเริ่มมีบทบาททางสังคมอีกครั้ง โดย Soil Association ได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการผลักดันให้ผู้คนในขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง

Soil Associationได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2488 โดยมีวารสารประจำสมาคมชื่อ Mother Earth และ Journal of the Soil Association สำหรับการเผยแพร่แนวคิดและผลงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมอินทรีย์งานหลักของสมาคมน้นการวิจัยผลกระทบสารเคมีต่อมนุษย์ เช่น การจัดพิมพ์งานของ Jorian Jenks ชื่อ We are What We Eat งานชิ้นนี้มีอิทธิพลสูงต่อการศึกษาผลกระทบของยาและสารเคมีต่อมนุษย์ในยุคถัดมา

นอกจากการเผยแพร่หนังสือ แผ่นพับ เอกสารแล้วสมาคมยังทำหน้าที่รวบรวมผู้สนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แตกกระจัดกระจายอันเป็นผลสืบเนื่องของสงคราม ขณะเดียวกันสมาคมก็เป็นแหล่งพบปะระหว่างเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมอินทรีย์ในอังกฤษ และถือได้ว่าเป็นกลุ่มผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มแรกในอังกฤษด้วย

ประมาณทศวรรษที่ 1960 สมาคมได้ขยายสาขาและแนวคิดการทำเกษตรกรรมอินทรีย์ไปยังฝรั่งเศส โดยในฝรั่งเศส สมาคมได้เผยแพร่แนวคิดโดยผ่านวารสารชื่อ Nature et Progrès ซึ่งเป็นวารสารในลักษณะเดียวกันกับ Demeter ของกลุ่ม Biodynamic Agriculture ของเยอรมัน (ดูรายละเอียดในBramwell.1989.pp.215-219)

ในแคนาดา เกษตรกรรมอินทรีย์เริ่มได้รับความสนใจในช่วงทศวรรษที่1950 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเยี่ยมเยือนของ Ehrenfried Pfeiffer ผู้สนับสนุนคนสำคัญคนหนึ่งของขบวนการ Biodynamic Agriculture และจากการเผยแพร่เอกสาร และสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับเกษตรกรรมอินทรีย์จากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา องค์กรที่สนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์ในแคนาดาองค์กรแรกที่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ก็คือ Canadian Organic Soil Associationในช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรรมอินทรีย์ประสบความสำเร็จจากการพิสูจน์ทางการปฏิบัติและเริ่มมีวารสาร และสิ่งดีพิมพ์ของตนเองออกเผยแพร่

ในทศวรรษที่ 1960 ขบวนการเกษตรอินทรีย์ในแคนาดามีความเข้มแข็งมากขึ้นและในทศวรรษที่ 1970 องค์กรเกษตรกรรมอินทรีย์ได้รับการก่อดั้งในเขต 7 จังหวัดของประเทศ และจากปี 2523-2533 ส่วนแบ่งการตลาดสินค้าเกษตรกรรมอินทรีย์เพิ่มขึ้นถึง 66 % (ดูรายละเอียดใน Rod MacRae.1990)

ในประทศญี่ปุ่น เกษตรกรรมอินทรีย์เข้าไปมีบทบาทประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยในปี 2514 นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์ที่ตระหนักถึงพิษภัยของยาและสารเคมีที่ดกค้างในอาหาร ได้รวมกันก่อตั้งสหกรณ์ Nippon Yukinogyo Kenkyukai เพื่อเป็นเวทีพบปะระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอาหารปลอดสารเคมี และได้มีโอกาสตกลงซื้อขายผลผลิตกัน สหกรณ์ดังกล่าวปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศจำนวนประมาณ 1 % ของจำนวนเกษตรกรญี่ปุ่นทั้งหมด

กลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์ในญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่มีการประสานแนวคิดเกษตรกรรมอินทรีย์จากตะวันตก เข้ากับระบบการทำเกษตรดั้งเดิมของญี่ปุ่น (ดูรายละเอียดใน Keishi Amano andTeruo Ichiraku.1988.pp.177-180)

สำหรับในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการผลักดันระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ของโลกนั้น เกษตรกรรมอินทรีย์เริ่มเข้ามามีบทบาทภายหลังการตีพิมพ์งานของ J.I. Rodale ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก โฮวาร์ดชื่อ Play Dirt ในปี 2488 และโรเดลได้มีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของการผลักดันเกษตรกรรมอินทรีย์ในอเมริกาอย่างจริงจัง ภายใต้กิจกรรมเกี่ยวกับการจัยและเผยแพร่ของสถาบันโรเดลและสำนักพิมพ์โรเดล

เกษตรกรรมอินทรีย์ในอเมริกาได้เคลื่อนไหวต่อเนื่องมาจนถึงทศวรรษที่ 1960 อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ 1980 โรเดลคนที่สอง Robert Rodale เข้ามามีบทบาท เกษตรกรรมอินทรีย์ของอเมริกาได้รับการเรียกขานอีกอย่างว่าเกษตรกรรมพื้นฟู

4) เกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture)

การเรียกร้องให้มีการทำเกษตรกรรมฟื้นฟู มีมาตั้งแต่ปี 2482 ซึ่งเป็นการเรียกร้องของ E. Kolisko และ L.Kolisko ในหนังสือ Agriculture of Tomorow แต่คำว่าเกษตรกรรมฟื้นฟูในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความสนใจจากสังคมวงกว้างจนกระทั่งถึงปี 1983 Robert Rodale ได้ให้ขอเสนอแนะว่าควรจะเปลี่ยนคำจากเกษตรกรรมอินทรีย์ ที่ J.I. Rodale ผู้เป็นบิดาใช้ในการเคลื่อนไหวเกษตรเชิงนิเวศในอเมริกาช่วงทศวรรษที่ 1960 มาเป็นเกษตรกรรมฟื้นฟู ทั้งนี้เป็นเพราะเขาเห็นว่าเกษตรกรรมอินทรีย์มีความหมายจำกัดไม่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดย Robert Rodale ได้ให้ความหมายเกษตรกรรมฟื้นฟูไว้ว่า หมายถึงระบบการเกษตรที่มีการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของดินและฐานทางชีวภาพของดิน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตและเป็นระบบเกษตรกรรมที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและทางชีวภาพสูงลดระดับการทำลายระบบนิเวศนอกฟาร์ม ปลอดจากการใช้สารที่ทำลายชีวิตทั้งปวงในการผลิตอาหาร รวมทั้งเป็นระบบที่ตอบสนองด้านเศรษฐกิจของประชาชน ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการเกษตรที่ลดการพึ่งพิงทรัพยากรที่ไม่อาจฟื้นกลับมาใช้ได้อีก (Terry Gips. 1987.pp.7)

จากนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่า Robert Rodale ได้ก้าวข้ามกรอบจำกัดของเกษตรกรรมอินทรีย์ และสามารถดึงเอาระบบการผลิตที่ลุดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกเข้ามาอยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวของขบวนการเกษตรเชิงนิเวศปัจจุบัน

Robert Rodale ยังคงเคลื่อนไหวผลักดันเกษตรกรรมแนวนี้ภายใต้ศูนย์วิจัยโรเดล และสถาบันโรเดล ควบคู่ไปกับขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา

5) เกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming)

เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากเกษตรกรซาวญี่ปุ่น ชื่อมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ โดยหลักเกณฑ์สำคัญของเกษตรกรรมธรรมชาติได้ถูกถ่ายทอดไว้ในงานเขียนชิ้นสำคัญของเขา 3 เล่มคือ One Straw Revolution : The Road Back to Nature และ The Nature Way of Farming หลักการที่ว่าคือการทำเกษตรกรรมแบบ ‘อกรรม’ (doing nothing farming) ซึ่งหมายถึงการยุติเกษตรกรรมที่แทรกแซงธรรมชาติและเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางอย่างสิ้นเชิง มาเป็นเกษตรกรรมตามแนวทางใหม่ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ

ฟูกูโอกะเสนอให้เราทบทวนวิถีและเป้าหมายของชีวิตซึ่งมองตัวเราเอง และความต้องการของเราเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทั้งปวง เขาเสนอว่าความคิดเช่นนั้นเป็นรากฐานสำคัญของปัญหาเกษตรกรรมที่เป็นอยู่ ดังเช่นการแบ่งแยกแมลงที่มีประโยชน์ออกจากแมลงที่เป็นโทษ แบ่งแยกระหว่างพืชปลูกกับวัชพืช ทั้งนี้เนื่องจากในโลกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างอยู่ร่วมกัน การแบ่งแยกเป็นเรื่องไร้สาระและนำไปสู่ ‘การทำลาย’ สิ่งซึ่งที่มนุษย์ ‘ไม่ต้องการ’ ซึ่งในที่สุดการทำลายดังกล่าวจะส่งผลต่อมนุษย์เองในที่สุด ดังตัวอย่างเช่น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งในที่สุดได้ทำอันตรายต่อทุกสิ่งรวมทั้งตัวของมนุษย์ด้วย

เกษตรกรรมธรรมชาติ จึงหาได้เป็นเพียงการเกษตรเท่านั้นแต่เป็นวิถีแห่งการบ่มเพาะความสมบูรณ์ของมนุษย์ และการเข้าถึงธรรมชาติ แม้ว่าเขาได้เริ่มทดลองเกษตรกรรมธรรมชาติมานานเกือบ 40 ปี และได้รับความสำเร็จที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แต่เขากล่าวย้ำว่าระบบเกษตรกรรมที่เขาทำอยู่นั้นยังห่างไกลกับการเกษตรธรรมชาติตามความหมายที่เขาหมายถึงจริงๆ

แนวคิด และวิธีปฏิบัติโดยการไม่กระทำ 4 ประการของฟูกูโอกะ คือการไม่ไถพรวน การไมใส่ปุ๋ย การไม่กำจัดแมลง และการไม่กำจัดวัชพืช เป็นต้นกำเนิดของขบวนการเกษตรกรรมธรรมชาติและได้แพร่ขยายไปหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียแนวคิดของเขาได้บรรลุผลในทางปฏิบัติ ในหลายประเทศ

6) เกษตรกรรมจุลินทรีย์ของคิวเซ

เกษตรเชิงนิเวศที่กำเนิดในญี่ปุ่น มิได้มีเฉพาะเกษตรกรรมธรรมชาติในรูปแบบของฟูกูโอกะ หรือกลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์เท่านั้น แต่ยังมีเกษตรเชิงนิเวศที่ให้ความสำคัญกับการใช้จุลินทรีย์ในการทำการเกษตรที่เรียกว่าเกษตรกรรมจุลินทรีย์แบบคิวเซ หรือที่พวกเขาเรียกระบบเกษตรกรรมดังกล่าวของตนเอง ‘เกษตรกรรมธรรมชาติแบบคิวเซ (Kyusei Natural Farming)

เกษตรกรรมตามแนวทางนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ Moishi Okada ผู้ก่อตั้งศาสนาใหม่ที่ซื่อ ‘ Sekai Kyusei Kyo (ศาสนาโลกแห่งโลก)” เมื่อ พ.ศ.2496 โดยมาจากความเชื่อของโอกาะที่ว่า ‘โลกสามารถเปลี่ยนให้เป็นแดนสวรรค์ ได้ด้วยการกำจัดโรคร้าย ความยากจน และความขัดแย้ง’ เกษตรกรรมแบบคิวเซมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเกษตรกรรมรูปแบบอื่น ๆ ตรงที่ให้ความสำคัญกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (effective microorga nism : EM) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ Higa เป็นตัวการเร่งการปรับปรุงดิน ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ของศาสนาเซไกคิวเซเกียว (รู้จักในนามโยเร ในประเทศไทย) ได้เผยแพร่การเกษตรกรรมตามแนวทางนี้ไปในหลายประเทศ เช่นในประเทศไทย ไต้หวัน บราซิล และในสหรัฐอเมริกา(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน T.Hussain.1992.pp. 113-117)

7) เกษตรกรรมถาวร (Permaculture)

เกษตรกรรมถาวรได้รับการพัฒนาขึ้นในออสเตรเลียเมื่อปี 2521 ผู้ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ Bil Molison และ David Holmgren แนวคิดเกษตรกรรมถาวรถูกถ่ายทอดผ่านงานเขียนหลายชิ้นคือ Permaculture One :Perennial Agriculture for Human Settlements (พ.ศ.2521), PermacultureTwo : Practical Design for Town and Country in Permanent Agriculture (พ.ศ. 2522) เป็นต้น

เกษตรกรรมถาวรที่ถ่ายทอดงานเขียนข้างต้นหมายถึงระบบเกษตรกรรมที่มุ่งรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นหรือคงอยู่เสมอเป็นระบบการเกษตรที่สนองตอบความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยให้ความสำคัญกับผลผลิตจากห่วงโซ่อาหารต้น ๆ และการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ว่าจะเป็นของเสียหรือพลังงาน ความแตกต่างระหว่างเกษตรกรรมถาวรกับเกษตรเชิงนิเวศอื่น ๆ คือการเน้นบทบาทของการออกแบบ การวางแผน การวางผัง การจัดการไร่นา ที่อยู่อาศัย และกิจกรรมอื่น ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสนองตอบต่อหลักการที่วางไว้ให้มากที่สุด

ปัจจุบันเกษดรกรรมถาวร ได้รับการนำไปทดลองปฏิบัติทั่วภูมิภาคภูมิอากาศของออสเตรเลีย และได้รับการสนับสนุนจากผู้คนจำนวนนับพันจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยมีเครือข่ายการปฏิบัติงานอยู่ในหลายประเทศและมีวารสารเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่มและผู้สนใจทั่วไป ชื่อ The International Permaculture Journal โดยมี Robyn Francis เป็นบรรณาธิการ

ประมาณปลายทศวรรษที่ 1950 การพัฒนาและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีสมียใหม่ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสมัยใหม่ถูกนำมาใช้กับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางรวมทั้งการเกษตร ความเชื่อที่ว่าเทคโนโลยีเป็นยาสารพัดนึกกลายเป็นความหลงผิดที่มีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ แต่เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ความคลั่งเทคโนโลยีกลับถูกบั่นทอนเพราะผลของการพัฒนาในรอบทศวรรษก่อนหน้าเริ่มปรากฏ การตระหนักถึงผลกระทบของเทคโนโลยีแผนใหม่ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไป สารพิษดกค้างในห่วงโซอาหารได้รับการเปิดเผย และวิกฤตการณ์น้ำมันในต้นทศวรรษที่ 1970 ทำให้มนุษย์ต้องตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด

วิกฤตการณ์จากการพัฒนาในทศวรรษดังกล่าว อาจสังเกตได้จากผลสะท้อนที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนังสือชื่อ ‘ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบเหงา (Silent Spring)’ ของ ราเชล คาร์สัน นักเขียนสารคดีวิทยาศาสตร์ซาวอเมริกัน ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบที่น่าสะพึงกลัวของสารเคมีปราบศัตรูพืชได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ปี 2505 ในครั้งนั้นปัญหาการใช้สารเคมีการเกษตรได้ถูกยกขึ้นถกเถียงกันอย่างหนักทั่วอเมริกาและยุโรป ประธานาธิบดีเคเนดี้ ถึงกับให้ที่ปรึกษาของเขาทำรายงานประเมินผลกระทบของหนังสือดังกล่าวที่มีต่อสาธรณชน(หนังสือนี้แปลเป็นภาษาไทยแล้วเมื่อปี 2517 ภายใต้ชื่อ ‘เงามฤตยู” ) และความตื่นตัวของสาธารณชนต่อปัญหาผลกระทบของการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งเริ่มต้นขณะนั้นได้ทำให้แนวทางเกษตรกรรมที่เป็นทางเลือกใหม่ได้รับความสนใจมากขึ้น

แม้เกษตรกรรมแบบเคมี จะยังคงเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรของโลกปัจจุบัน แต่แนวโน้มของเกษตรกรรมเช่นนี้กำลังเสื่อมโทรมลงทุกวัน กล่าวคือปัจจุบันเกษตรเชิงนิเวศได้กลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกทีจากชุมชนต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลก

หมายเหตุ

  • นิเวศเกษตร เปลี่ยนคำ “เกษตรกรรมทางเลือก” ในบทความเป็น “เกษตรกรรมเชิงนิเวศ” เพื่อให้เข้ากับบริบทยุคปัจจุบัน
  • บทความเรื่อง “ประวัติศาสตร์ของขบวนการเกษตรกรรมเชิงนิเวศ” เป็นส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “พัฒนาการเกษตรกรรมทางเลือก” เขียนโดยนักวิชาการหนุ่ม Thirawuth Senakham ระหว่างทำงานร่วมกับ RRAFA (ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบท) เมื่อปี 2535 (ปัจจุบัน ผศ.ดร.ฐิรวุฒิ เสนาคำ เป็นอาจารย์สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์) ซึ่งแม้ผ่านพ้นมานานกว่า 30 ปี แต่ก็ให้ภาพเกี่ยวกับขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระดับสากลได้อย่างชัดเจน จึงนำมาลงเผยแพร่อีกครั้งเพื่อประโยชน์ต่อผู้สนใจเกี่ยวกับแนวความคิดและขบวนการเกษตรกรรม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง