นาย น ริน ทร ธิ เบ ศ ร์ ได้แต่ง นิราศ นรินทร์ คํา โคลง ไว้ เมื่อ ใด

นิราศนรินทร์เรื่องนิราศนรินทร์นี้ นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวร ราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เสด็จยกกองทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพร เมื่อต้นรัชกาลที่ 2 ในพ.ศ. 2352 เป็นบทประพันธ์โคลงสี่สุภาพ 144 บท บทแรกเป็นร่ายสุภาพ
ถึงแม้นายนรินทรธิเบศร์จะเป็นกวีที่มีชื่อเสียงแต่เราทราบประวัติของท่านผู้นี้น้อยที่สุดและยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ได้ประพันธ์งานกวีนิพนธ์อื่นๆอีก แต่โคลงนิราศนรินทร์นี้ ถือว่าเป็นนิราศที่แต่งได้ดีอย่างยอดเยี่ยมของไทย ที่คัดมาให้เรียนเพียง 5 บทนี้ ก็คงจะพอเป็นประจักษ์พยานที่ชี้ให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของกวีท่านนี้ เฉพาะโคลงบทที่ 4 อาจใช้เป็นแบบอย่างในการแต่งโคลงสี่สุภาพที่ถูกต้องตรงตามข้อบังคับในฉันทลักษณ์ทุกประการ

         อยุธยายศล่มแล้ว                          ลอยสวรรค์ ลงฤา
สิงหาสน์ปรางรัตน์บรร-                            เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์                            ศาสน์รุ่ง-เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า                                       ฝึกฟื้นใจเมือง

บาทแรกตีความได้เป็น 2 ทาง ทางหนึ่ง ตีความว่า คำอยุธยา นั้นหมายถึง           กรุงศรีอยุธยา อดีตราชธานีของไทย ก็อาจถอดความได้ว่า กรุงศรีอยุธยาอันมียศล่มจมไปแล้วคือเสียแก่พม่าแต่แล้วก็ลอยจากสวรรค์เป็นกรุงเทพฯอีกทางหนึ่ง   ตีความว่า คำอยุธยา หมายถึงกรุงเทพฯ ราชธานีปัจจุบัน ก็อาจตีความได้ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา อันประกอบด้วยยศ หล่นลอยจากสวรรค์ลงมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน  ส่วนบาทอื่นๆ เนื้อความชัดเจน บาทที่ 2 พรรณนาความงามของปราสาทราชมณเฑียร   บาทที่ 3 กล่าวถึง อำนาจบุญบารมีแต่ปางก่อนของพระมหากษัตริย์ไทย  ที่ยังผลให้พระศาสนารุ่งเรือง  บาทที่ 4 ความรุ่งเรืองของพระศาสนานั้นจึงปิดทางอบาย(ทุคติ)  และเปิดทางสวรรค์ด้วยการฟื้นฟูจิตใจของประชาชนให้เจริญ

          เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น                    พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง                               ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง                                       เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                                    แก่นหล้าหลากสวรรค์
โคลงบทนี้

พรรณนาถึงอำนาจของคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะในพระพุทธศาสนา  โดยกล่าวว่ารุ่งเรืองยิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์  (ในภาษาบาลีมีศัพท์ว่า "สหัสรังสี"  ซึ่งหมายถึงแสงอาทิตย์ ถอดเป็นคำไทยแท้ว่า "พันแสง") มีการแสดงธรรมทุกค่ำเช้า ภาพเจดีย์ที่เรียงรายยอดสูงเสียดกัน มองดูงามยิ่งกว่าแสงจากแก้วเก้าประการ เป็นหลักของแผ่นดินเป็นที่พิศวงแก่สวรรค์

           โฉมควรจักฝากฟ้า                       ฤาดิน ดีฤา
เกรงเทพไท้ธรณินทร์                                ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน                                บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ                                      ชอกเนื้อเรียมสงวน

โคลงบทนี้ เป็นกวีโวหารหรือการใช้ภาพพจน์ที่เรียกว่า การกล่าวเกินจริง แสดงความห่วงและหวงหญิงผู้เป็นที่รัก ด้วยการพรรณนาว่า ในการจากไปครั้งนี้ควรจะฝากหญิงผู้เป็นที่รักไว้กับฟ้าหรือดินจึงจะดี ถ้าฝากฟ้าก็ไม่ไว้ใจเทวดา ฝากดินก็ไม่ไว้ใจผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน จะฝากลมก็เกรงว่าลมพัดนางเลื่อนลอยไป  ทำให้เกิดความชอกช้ำแก่ผิวเนื้อของนางซึ่งตนเคยถนอม

           จากมามาลิ่วล้ำ                          ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง                                    พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง                                  เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง                                    คล่าวน้ำตาคลอ

โคลงบทนี้เป็นตัวแทนของขนบการแต่งนิราศที่ชัดเจน คือกวีนำชื่อของตำบลที่ผ่านพบมาเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่มีต่อหญิงผู้เป็นที่รัก ซึ่งได้แก่ ตำบลบางยี่เรือ เมื่อถึงตำบลบางยี่เรือ ก็ราพายชะลอให้เรือช้าลง พลางพูดกับเรือแผง (เรือที่ใช้แผงกั้นเป็นเครื่องกำบัง) ขอให้ช่วยพานางมา (ปกติหญิงผู้สูงศักดิ์เมื่อเดินทางย่อมมีม่านกั้น)แต่แล้วบางยี่เรือก็ไม่รับคำ จึงได้แต่น้ำตาไหลคลอ

           เอียงอกเทออกอ้าง                       อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง                                  เลขแต้ม
อากาศจักจานผจง                                  จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                               อยู่ร้อนฤาเห็น

โคลงบทนี้ กวีเอียงอกเทความรู้สึกในอกออกหมดสิ้น และพรรณนาต่อไปว่า      แม้จะใช้เขาพระสุเมรุชุบน้ำในมหาสมุทรซึ่งละลายกับดิน (เป็นหมึก) เขียนลงแผ่นฟ้า ก็ยังจารึกไว้ไม่พอและรำพึงว่านางผู้งามดุจลงมาจากฟากฟ้า คงไม่อาจเห็นว่ากวีรุ่มร้อนเพียงใด 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

          1.พระบารมีของพระมหากษัตริย์นั้นเกิดแต่การบำเพ็ญกุศลทั้งในกาลก่อนและกาลปัจจุบัน
            2.ศิลปะการก่อสร้างที่ประณีตงดงาม  ย่อมเป็นสิ่งดลใจให้กวีสร้างสรรค์บทประพันธ์ที่ประณีตไปด้วย
            3.ความห่วงใยหวงแหนอันเนื่องมาจากความรักของมนุษย์ เมื่อเกิดขึ้นกับคนที่มีอารมณ์กวี ย่อมจรรโลงใจให้แสดงออกซึ่งงานสร้างสรรค์บทประพันธ์ที่ประณีตไปด้วย
            4.วรรณคดีนิราศ แม้จะแสดงอารมณ์นึกคิดจินตนาการเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงบางประการของสังคมไว้ด้วย
            5.คติความเชื่อของอินเดียโบราณ มีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยเป็นอันมาก ความเชื่อ ในเรื่องสวรรค์ คนไทยมีความเชื่อว่าคนที่ทำความดีจะได้ขึ้นสวรรค์ คนทำชั่วจะตกนรก ดังนั้นจึงพยายามสร้างสมแต่สิ่งที่ดีงาม และมักจะเปรียบเทียบว่าถ้าเป็นของดี ของวิเศษ มักจะเปรียบกับของบนสวรรค์ ซึ่งตามความเชื่อของคนไทย สวรรค์แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ดังนี้
               5.1 จตุมหาราชิก เป็นที่อยู่ของท้าวโลกบาลทั้ง 4
               5.2 ดาวดึงส์ เป็นที่สถิตของพระอินทร์
               5.3 ยามะ อยู่สูงกว่าดวงอาทิตย์ เป็นที่อยู่ของสยามเทวาธิราช
               5.4 ดุสิต เป็นที่อยู่ของสัมดุสิตเทวราช เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์
               5.5 นิมมานนรดี เป็นที่อยู่ของเทวดาที่สามารถเนรมิตสิ่งใดก็ได้ตามความต้องการ
               5.6 ปรนิมมิตวสวัตตี เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด เป็นที่อยู่ของปรนิมมิตวสวัตตีเทพเจ้าและพระยามาราธิราช ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่มาร
 

นิราศนรินทร์คำโคลงแต่งขึ้นเมื่อคราวใด

นายนรินทร์ธิเบศร์แต่งโคลงนิราศนรินทร์ในคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปปราบพม่าที่ยกมาตีเมืองถลางและชุมพร ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2352 คราวเดียวกับที่พระยาตรัง กวีในสมัยรัชกาลที่ 2 อีกคนหนึ่งเดินทางไปทัพและแต่งนิราศถลางไว้

นิราศนรินทร์คำโคลงแต่งขึ้นในสมัยใด *

นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย ... .

นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศนรินทร์คำโคลงไว้เมื่อใด

นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็ง (พ.. 2352) นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่วไปตามชื่อผู้แต่ง ว่า “นิราศนรินทร์” ลักษณะคำประพันธ์

ผู้แต่ง แต่งเรื่องนิราศนรินทร์ขณะที่เดินทางด้วยเหตุผลอะไร

ผู้แต่ง นายนรินทร์ธิเบศร์ เป็นมหาดเล็กหุ้มแพร รับราชการวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 2. สาเหตุที่แต่ง นายนรินทรธิเบศร์ ต้องการรำพึงรำพันถึงนางอันเป็นที่รัก ที่ต้องจากนางไปรบ เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ซึ่งทรงยกทัพไปปราบพม่าที่ยกมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2352 ต้นสมัยรัชกาลที่ 2.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง