ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสสิ้นสุดลงในสมัยใด

ภาพประวัติศาสตร์เมื่อ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ที่สร้างจากนวนิยายเรื่องดังชื่อเดียวกันของ “รอมแพง” นับเป็นนิยายที่มีการดึงเอาประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3) ทรงปกครองบ้านเมืองอันเป็นช่วงที่อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดมาเป็นฉากหลังได้อย่างน่าสนใจ

ตัวละครในนิยายนั้นมีอยู่จริงตามประวัติศาสตร์อยู่หลายคน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในยุคแรกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคณะทูตที่ถูกส่งไปยังฝรั่งเศส เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อันเป็นกุศโลบายของ สมเด็จพระนารายณ์ ที่ทรงต้องการคานอำนาจของชาว ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ที่เริ่มจะมีท่าทีไม่น่าไว้ใจในแผ่นดินอยุธยา ด้วยการแสดงให้เห็นว่า อยุธยา เองก็ได้มีการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นมหาอำนาจในยุโรปอย่างฝรั่งเศสเช่นกัน

คณะทูตอยุธยา คณะแรก ไปไม่ถึงฝรั่งเศส

ถ้าใครได้ดูละครบุพเพสันนิวาส จะมีช่วงหนึ่งที่มีการกล่าวถึงคณะทูตชุดแรกที่ออกเดินทางจากอยุธยา ไปยังฝรั่งเศส แต่ไปไม่ถึง เพราะเรืออัปปางเสียก่อน ซึ่งเรื่องนี้ตามประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องจริง

โดยรายละเอียดตามที่ระบุไว้ในประวัติศาสตร์นั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส คณะทูตชุดแรกของอยุธยา ได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสในปี พุทธศักราช 2223 โดยมีจุดมุ่งหมายนอกจากพระราชไมตรีแล้วยังต้องการทราบพระราชอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และความเจริญ ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเมืองจีน แต่คณะทูตชุดนี้เรือไปอับปางที่ฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์

คณะทูตอยุธยาชุดที่สองได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

หลังจากคณะทูตอยุธยาคณะแรกไปไม่ถึงฝรั่งเศสเพราะเรืออัปปางเสียก่อน จากนั้นอีก 4 ปีได้มีการส่งคณะทูตไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2227 จุดประสงค์เพื่อสืบข่าวทูตชุดแรกและกระชับสัมพันธไมตรีกับ ฝรั่งเศส คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกลับมากรุงศรีอยุธยาพร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศส มีหัวหน้าคือ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ มาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จุดมุ่งหมายเพื่อให้พระองค์เปลี่ยนใจมานับถือศาสนาคริสต์เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และส่งเสริมการค้า

ซึ่งความพยายามที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นั้นไม่สำเร็จ พระองค์กลับทรงพยายามชี้แจงให้ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เห็นความสำคัญของปัญหาที่ฮอลันดากำลังขยายอำนาจและความร่วมมือกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส

ส่วนการเจรจาด้าน การค้ามีการลงนามในอนุสัญญาการค้า ที่มีใจความสำคัญคือการอนุญาตให้ฝรั่งเศสค้าดีบุกที่เกาะถลาง และดินแดนที่ขึ้นกับเกาะถลาง บริษัทอินเดีย ตะวันออกฝรั่งเศลมีสิทธิเปิดสถานีการค้าขึ้นในที่ใด ๆ ก็ได้ถ้าเสนาบดีไทย เห็นชอบ สำหรับประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการติดต่อกับฝรั่งเศสก็มี เช่น ได้วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ มาสร้างป้อมที่บางกอก มีบาทหลวงเยซูอิต 5 รูป เป็นนักดาราศาสตร์มาดูแลหอดูดาว ซึ่งสร้างจวนจะเสร็จที่เมืองลพบุรี

คณะทูต ออกพระวิสูตรสุนทร หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

หลังจากมีการส่งคณะราชทูตจากอยุธยาไปยังฝรั่งเศสมาแล้ว 2 ครั้งโดยไปถึง 1 ครั้งและไม่ถึง 1 ครั้ง ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้มีการส่งคณะราชทูตสยาม (ชุดที่ 3) เดินทางไปฝรั่งเศส กับคณะราชทูตของเชอร์วาเลียร์ เดอ โชมองต์ คณะราชทูตจากอยุธยา ถึงฝรั่งเศสโดยมาขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบร็สต์นี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2229 ถือเป็นจุดแรกที่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าว ต่อมา ชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนสยาม (Rue de Siam) เพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะราชทูตครั้งนี้ โดยเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2354

คณะราชทูตชุดนี้มีออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต หลวงกัลป์ยาณราชไมตรีและขุนศรีวิศาลวาจา เป็นทูต มีเจ้าอาวาสวัดเดอลีอองเป็นล่ามคณะราชทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ชายเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 แล้วเดินทางกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2230 พร้อมกับลาลูแบร์ ราชทูตของฝรั่งเศส
ซึ่งคณะราชทูตจากอยุธยาชุดนี้ เรียกได้ว่าเป็นคณะราชทูตที่ได้รับการจารึกลงในประวัติศาสตร์ของทั้งไทยและฝรั่งเศส

อยุธยาผลัดแผ่นดิน ความสัมพันธ์ ฝรั่งเศส หยุดชะงัก

ภายหลังจากการส่งคณะราชทูตชุด เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปยังฝรั่งเศสแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ก็แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ จนทั่งถึงช่วงปลายของแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เนื่องมาจากการเมืองภายในของอยุธยา

ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น พระองค์ทรงโปรดปราน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีก ที่มีความสามารถพูดได้หลายภาษาและได้รับใช้ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก และเป็นคอนสแตนติน ฟอลคอน ที่ทำหน้าที่ประสานให้อยุธยาเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ปลายรัชกาลขุนนางผู้ใหญ่พากันเกรงว่าฟอลคอนจะคิดร้ายต่อบ้าน เมือง เพราะสถานการณ์และรูปการณ์บ่งบอก

โดยฟอลคอนก็ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกรมพระคลังสินค้าเป็นสมุหนายก ซึ่งกุมอำนาจทั้ง ทางเศรษฐกิจและการเมือง การติดต่ออันใกล้ชิดกับฝรั่งเศสทำให้พระเพทราชาร่วมมือกับขุนนางไทยทั้งหลายยึดอานาจการปกครอง ขณะสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวร เมื่อพระเพทราชา ได้กุมอำนาจในแผ่นดินแล้ว ก็ได้มีการจัดการชาวต่างชาติในอยุธยาที่ไม่น่าไว้วางใจ รวมไปถึง เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) จากนั้นพระเพทราชาได้ปราดาภิเษกขึ้นครองอาณาจักรอยุธยา และนับเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง