มนุษย์ยุคหินเก่าอาศัยอยู่ที่ไหน

แหล่งโบราณคดี

แสดง 1 ถึง 7 จาก 7 ผลลัพธ์

ออบหลวง

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตติดต่อระหว่าง อ.ฮอด และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือแห่งแรกที่พบหลักฐานเกี่ยวกับสำริดและโลหวิทยา และยังพบหลักฐานที่เก่าไปถึงสมัยหินกลางและหินใหม่

อ่านเพิ่มเติม

สบคำ

แหล่งโบราณคดีสบคำ บริเวณที่ลาดตีนดอยคำ ลำน้ำคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ และหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เมื่อราว 15,000 – 3,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำพระไทรโยค

แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ใน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบแหล่งแรก ๆ ของไทย โดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ระหว่างปี 2503-2505

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำผี

ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินกลางหรือราว 11,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา พบหลักฐานทางโบรษณคดีทั้งเครือมือหินแบบ Hoabinhian เครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผา ซากพืช ซากสัตว์ โลงไม้ ซึ่ง Chester Gorman เคยระบุว่าเป็นแหล่งที่พบภาชนะดินเผาและร่องรอยการเพาะปลูกที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาถ้ำลอด

ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกลากลอย

ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง พบเครื่องมือหินกะเทาะยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปลักษณะต่าง ๆ หลายชิ้น ที่บริเวณน้ำตกที่เป็นลานหินกรวด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดรูปหลายเหลี่ยมเป็นเครื่องมือตัด-สับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินปูนรูปคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว-แบนด้านประกอบมุมยอดโค้งออกทั้งสองด้าน รูปไข่-แบน รูปหลายเหลี่ยม ยาว-แบน

อ่านเพิ่มเติม

เครื่องมือทางประวัติศาสตร์

 นักวิชาการทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์นิยมกำหนดพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติออกเป็น 2 ยุค หรือสมัยด้วยกัน คือ 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัยประวัติศาสตร์ 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัว
     อักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลัก โดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูกสิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลางและยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก

 

  สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์
อักษรบอกเล่าเรื่องราวของสังคมนั้นๆ อักษรนั้นอาจเป็นตัวอักษรของชนชาติอื่นก็ได้แต่นำมาใช้บันทึกคำพูดเป็นเรื่องราวของสังคมตน โดยสมัยประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นสมัยย่อย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน

 

  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
     1. ยุคหิน (Stone Age)
         1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age) อยู่ระหว่าง 2,500,000 -10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผา ยังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาปลา และเก็บหาผลไม้ในป่า เมื่ออาหารตามธรรมชาติหมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไป มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆ เครื่องมือที่ใช้ทั่วไป คือ เครื่องมือหินกะเทาะ ที่มีลักษณะหยาบ ใหญ่ หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน ไม่มีการฝนให้เรียบ มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำ
เป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแกร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย และหุงหาอาหาร มีการฝังศพ ทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆ ของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วย นอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสีต่างๆ ได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อน และเหลือง ภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส

ขวานหินยุคหินเก่า อายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว 
พบที่โอลดูเว่ (Olduvai) ประเทศแทนซาเนีย
ภาพจาก : History of the World : The Human

 หลักฐานเครื่องมือหินที่นักโบราณคดีพบตามที่ต่างๆ เช่น ทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา ทำให้มีการตั้งชื่อมนุษย์ยุคนี้ตามสถานที่ที่พบหลักฐาน เช่น มนุษย์ชวา พบที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย มนุษย์ปักกิ่ง พบที่ถ้ำใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล พบที่หุบเขาแอนเดอร์ ประเทศเยอรมนี มนุษย์โครมันยองพบที่ถ้ำโครมันยอง ประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองเป็นมนุษย์ยุคหินเก่ารุ่นสุดท้าย (อายุระหว่าง 30,000-17,000 ปีมาแล้ว) ที่ค้นพบและมีลักษณะเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน

1.2 ยุคหินกลาง (Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) อยู่ระหว่าง10,000-6,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักทำเครื่องมือหินที่มีความประณีตมากขึ้นด้วยการกระเทาะผิวด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านออกให้เกิดความคม ทำให้เครืองมือหินในยุคนี้มีรูปทรงที่เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องมือยุคหินกลางที่พบมีทั้งเครื่องมือสับ ตัด ขุด และทุบหลักฐานเครื่องมือหินของมนุษย์ในยุคหินกลางพบในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยพบครั้งแรกในเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมฮัวบิเนียน จัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินกลางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

กระโหลกศีรษะมนุษย์โครมันยอง เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสภาพจาก : The Complete Illustrared
World Encyclopedia of Archaeology,

เครื่องมือยุคหินใหม่พบในตะวันออกกลาง 
//anthropology.net/2007/0/5/27/
what-does-neolithic-mean

1.3 ยุคหินใหม่ (Neolithic Period หรือ New Stone Age) อยู่ระหว่าง 6,000 -4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลาง รู้จักควบคุมธรรมชาติมากขึ้น รู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะ มีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดิน หรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหิน สามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผา สามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่วฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะและ วัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
     วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก

สโตนเฮนจ์ กลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ บริเวณที่ราบซัลลิสเบอร์รี ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ 
สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว
ภาพจาก : The Complete Illustrated world Encyclopedia of Archeology, P. 179.
วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้าง
อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษ
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์
และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก

 

   2. ยุคโลหะ (Metal Age) เริ่มเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิด ด้วยการมีความสามารถนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นั่นเอง ในระยะแรกของยุคโลหะจะพบว่าพวกเขารู้จักหลอมทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงนักในการหลอม ต่อมาจึงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาจนสามารถหลอมเหล็กได้ ซึ่งการหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูง นักโบราณคดีจึงแบ่ยุคโลหะออกเป็น 2 ยุคตามความแตกต่างของระดับเทคโนโลยีและวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนี้
        2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
        2.2 ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว เป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องจากยุคสำริด หลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้ว มนุษย์ก็คิดค้นหาวิธีนำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ ด้วยการใช้อุณหภูมิในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริด แล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ เนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มีความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริดและมีความทนทานกว่าด้วย จึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้เหล็กยังใช้ทำอาวุธที่มีความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริด จึงทำให้สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่า สามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่า ทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัย และในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆ ได้ในเวลาต่อมา

เครื่องมือทางการเกษตรและอาวุธยุคเหล็กในสมัยสามอาณาจักร บริเวณคาบสมุทรเกาหลี 
ภาพจาก Kaladarshan.arts.ohio-state.edu/studypayes/in

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
ร่องรอยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

    ร่อยรอยหลักฐานของมนุษย์ซึ่งพบในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันที่เก่าสุดพบในอำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง  กำหนดอายุได้ราว 600,000 - 400,000 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้ดำรงชีพเร่ร่อน เก็บของป่าและล่าสัตว์อาจรู้จักการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินเพื่อการดักจับสัตว์  จนกระทั่งเมื่อราว 7,000 - 4,000 ปีมาแล้ว จึงปรากฎหลักฐานการดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ การทำเครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา บางแห่งอาจมีการเพาะปลูกพืชและยังมีแบบแผนความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการฝังศพ การบำบัดรักษาโรค ฯลฯ  อาทิ แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ

     ความซับซ้อนในแบบแผนการดำรงชีพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีมากขึ้นนับแต่ประมาณ 4,000 - 3,500 ปีเป็นต้นมา มนุษย์เริ่มอยู่เป็นกลุ่มตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศซึ่งแตกต่างจากเดิม รวมทั้งรับวัฒนธรรมจากดินแดนที่อยู่ตอนในของผืนแผ่นดินใหญ่และดินแดนโพ้นทะเล จึงปรากฎว่าแหล่งโบราณคดีในช่วงเวลาดังกล่าวมีประดิษฐกรรมที่่ใช้วัสดุหลากหลายชนิด เช่น เครื่องมือเครื่องใช้จากสำริด เหล็ก เครื่องประดับแก้วและหินกึ่งมีค่า (semi precious stone ) ฯลฯ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง