สารสนเทศ MIS ได้มาจากสารสนเทศใด

ในการทำธุรกิจและการบริหารงาน ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญ “ไร้ข้อมูลก็ไร้ซึ่งพลัง” แต่ถ้ามีข้อมูลมากแต่ไร้การจัดระบบและระเบียบ ก็ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งข้อมูลเยอะก็ยิ่งส่งผลต่อระยะเวลาในการประมวลผล โดยเฉพาะผู้บริหารที่ต้องมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง เครื่องมือที่ชื่อว่า MIS หรือ Management Information System คือ สิ่งที่จะเข้ามาแก้ปัญหาการจัดการข้อมูลที่คุณกำลังเผชิญให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ Good Material จะพูดถึงองค์ประกอบของ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หลักการเบื้องต้น ประโยชน์ ขั้นตอนการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร และข้อควรระวัง

Table of Contents

Management Information System คือ

MIS : Management Information System คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มีหน้าที่ในการรวบรวมและสร้างข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีความเกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบได้อย่างเหมาะสม และสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในองค์กร หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ”

  • Management : การจัดการเป็นศิลปะในการทำสิ่งต่าง ๆให้สำเร็จ
  • Information : ข้อมูลที่ประมวลผลและนำเสนอในรูปแบบที่ช่วยเรื่องการตัดสินใจ อาจจะมีองค์ประกอบที่น่าสนใจเพื่อลดความไม่แน่นอน หรือกระตุ้นให้ผู้จัดการดำเนินการอะไรบางอย่าง
  • System : ระบบ คือ การจัดกลุ่มของส่วนประกอบที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งเชื่อมโยงเข้าด้วยกันตามแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง

องค์ประกอบของ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

องค์ประกอบหลักของ MIS ได้แก่ :

  • คน : ผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
  • ข้อมูล : ข้อมูลที่ระบบสารสนเทศบันทึก
  • ขั้นตอนทางธุรกิจ : ขั้นตอนที่กำหนดไว้เกี่ยวกับวิธีการบันทึก จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล
  • ฮาร์ดแวร์ : เซิร์ฟเวอร์ เวิร์กสเตชั่น อุปกรณ์เครื่อข่าย เครื่องพิมพ์ และอื่นๆ
  • ซอฟต์แวร์ : โปรแกรมที่ใช้จัดการข้อมูล ซึ่งรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ เช่น สเปรดชีต Excel และ Database Software

ความหมายของข้อมูล และลักษณะของข้อมูลที่ดี

DATA (ข้อมูล) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยที่ยังไม่ผ่านการดำเนินการใด ๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า ข้อมูลดิบ เช่น ราคาของผลิตภัณฑ์ จำนวน ปริมาณ และอื่นๆ

  • ตัวอย่าง  ราคา 9 บาท และ ปริมาณ 10 ลิตร ทั้งสองคำไม่ได้สื่อความหมายใด ๆต่อลูกค้าหรือใครก็ตาม แต่ถ้าข้อมูลผ่านการประมวลผลและส่งถึงผู้รับที่เป็นลูกค้า เช่น น้ำมันลิตรละ 9 บาท ลูกค้าซื้อ 10 ลิตร จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคือ 90 บาท
    การจะประมวลผลการจัดการข้อมูลได้นั้น เริ่มแรกควรมาจากลักษณะของข้อมูลที่ดี ซึ่งประกอบด้วย :
  • ข้อมูลถูกต้อง : ข้อมูลต้องปราศจากข้อผิดพลาดและความผิดพลาด ผู้เก็บข้อมูลต้องปฎิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด
  • ข้อมูลต้องสมบูรณ์ : การตัดสินใจที่ดีในแต่ละเรื่องต้องอาศัยความสมบูรณ์ของข้อมูลด้วย
  • เกี่ยวข้อง : ข้อมูลต้องเกี่ยวข้องกับผู้รับ ในกระบวนการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาข้อมูล ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
  • คุ้มค่า : ต้นทุนในการได้มาซึ่งข้อมูลต้องคุ้มค่า ข้อมูลไม่ควรแพงเกินมูลค่าหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ
  • น่าเชื่อถือ : ข้อมูลที่ได้รับมาต้องมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น คุณต้องการโอนเงินไปต่างประเทศ ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนของบริษัทรับแลกเงิน มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า อัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคาร
  • ทันเวลา : ข้อมูลควรมีพร้อมเมื่อถึงเวลาต้องใช้ ข้อมูลที่ถูกต้องแต่มาช้ากว่าเวลาที่ต้องตัดสินใจก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นคุณต้องมีการเตรียมข้อมูลไว้ล่วงหน้า

ประเภทของ Information Systems

ประเภทของระบบสารสนเทศมีหลายระดับ โดยแต่ละระดับจะแยกการใช้งานตามระดับของพวกเขาในองค์กร แผนภาพต่อไปนี้แสดงผู้ใช้ 3 ระดับหลักในองค์กรและประเภทของระบบสารสนเทศที่พวกเขาใช้

Transaction Processing Systems (TPS)

ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงาน ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการออกมาได้

รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ด และการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง ซึ่งจัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร

Management Information System (MIS)

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ มีส่วนครอบคลุมถึงบุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธ์ต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือ ระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้งาน

 

Decision Support Systems (DSS)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์อีกด้วย

ประโยชน์ของการใช้ MIS ในองค์กร

การใช้ MIS ในองค์กร นอกจากจะช่วยเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันแล้ว ยังมีข้อดีที่สำคัญอีกหลายประการ ได้แก่ :

  • ฝ่ายบริหารสามารถดูภาพรวมของการดำเนินการทั้งหมดได้
  • องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยสามารถดูได้ว่าอะไรได้ผล และอะไรไม่ได้ผล
  • การตัดสินใจทางธุรกิจสามารถส่งไปยังผู้มีความใกล้ชิดกับโครงการหรือผู้มีความรู้และประสบการณ์มากกว่า แทนที่จะถูกส่งไปให้ผู้บริหารระดับสูงเพียงอย่างเดียว
  • บริษัทสามารถขับเคลื่อนบริษัทผ่านการปรับปรุง Workflow ซึ่งส่งผลให้กระบวนการทางธุรกิจสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • ผู้จัดการสามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์และประสิทธิภาพ โดยระบุจุดแข็งและจุดอ่อนทั้งหมดตามแผนงานที่เกิดขึ้น และนำไปปรับปรุงได้ในอนาคต

 

6 ขั้นตอนการนำ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ไปใช้ 

การนำ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ไปใช้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก บางครั้งการนำไปใช้งานสามารถทำลายงานและระบบที่คงที่ในช่วงก่อนหน้าได้ การนำไปใช้จึงต้องอาศัยทักษะทางเทคนิกและการบริหารจัดการ

การนำไปใช้ต้องมีการวางแผนและดำเนินงานอย่างรอบครอบเป็นขั้นตอน ต้องปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกขั้นตอนของการพัฒนาระบบและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากลูกค้า และในหัวข้อนี้เราขอแนะนำการนำ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ไปใช้มี 6 ขั้นตอนดังนี้ :

1.การจัดตั้งแผนกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ในกระบวนการแรกของการปรับใช้ Management Information System คือ การจัดตั้งแผนกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อรองรับการใช้งานระบบใหม่ โดยแผนก MIS จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่องค์กรจะเริ่มใช้งานเต็มรูปแบบ พนักงานในแผนกจะต้องถูกวางตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน จะต้องได้รับการอบรมอย่างเพียงพอไม่ใช่แค่อบรมเพียงเรื่องการใช้งาน แต่ยังต้องอบรมเพื่อที่จะสามารถไปอบรมการใช้งานให้แผนกอื่นที่เกี่ยวข้องมีความรู้เพียงพอที่จะนำ MIS ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

กระบวนการจัดระเบียบแผนกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ควรเริ่มก่อนที่จะมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากขั้นตอนการจ้างงานและการฝึกอบรมบางอย่างต้องใช้เวลาในการดำเนินการ สิ่งนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่แผนก MIS สามารถให้การสนับสนุนแผนกอื่นๆที่ใช้งานระบบ MIS ได้เมื่อกระบวนการดำเนินการเริ่มต้นขึ้นแล้ว รวมถึงเข้าใจระบบ ข้อดี – ข้อควรระวัง เพื่อเตรียมวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้มีโอกาสใช้งานจริงก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งานทั่วทั้งองค์กรอีกด้วย

 

2.คัดเลือกและจัดหาฮาร์ดแวร์

ในขั้นตอนของการดำเนินการคัดเลือกและจัดซื้อ เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ขั้นตอนนี้ต้องมีการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรได้รับข้อตกลงที่ดีที่สุด กระบวนการในการจัดเลือกและจัดหาฮาร์ดแวร์ยังแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรและภาคส่วนที่ดำเนินการตามประเภทของการจัดการ มีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้

  • จัดทำรายชื่อผู้ขาย
  • เตรียมสำหรับการทำ RFP (Request for Proposal)
  • ให้ทางผู้ขายนำเสนอราคา
  • ประเมินมูลค่า
  • เลือก

 

3.คัดเลือกจัดหาซอฟต์แวร์

การจัดหาซอฟต์แวร์ ระบบการจัดหาจะดำเนินการในลักษณะเดียวกับการจัดหาฮาร์ดแวร์ ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวในกรณีการจัดหาซอฟต์แวร์คือการเลือกซื้อซอฟต์แวร์นั้น ผู้ให้บริการได้ผ่านการออกแบบและพัฒนาระบบมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขั้นตอนการเตรียม RFP จึงตรงไปตรงมา ทีมงานไม่จำเป็นต้องเตรียมข้อกำหนดพิเศษสำหรับซอฟต์แวร์

 

4.สร้างฐานข้อมูล

การสร้างฐานข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญของ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ถ้าปราศจากข้อมูลระบบทั้งหมดก็ไม่มีความหมาย สำหรับระบบใหม่ทีมควรวางแผนการจัดเก็บข้อมูล อาจจะซื้อชุดซอฟต์แวร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะหรือวิธีอื่นๆ วางแผนจัดโครงสร้างข้อมูล วางแผนเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ตั้งกฎการเข้าถึงข้อมูล และสุดท้ายคือการเชื่อมฐานข้อมูลเข้ากับระบบเพื่อเริ่มทำงาน

 

5.การฝึกอบรมผู้ใช้

การนำ MIS ไปใช้งานมักเป็นปัญหาที่ใหญ่และซับซ้อนกว่าการติดตั้ง ระบบใหม่ที่ได้รับการติดตั้งแต่ไม่มีการฝึกอบรมจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง ก่อนจะมีการฝึกอบรมควรมีการประเมินความต้องการเพื่อทำความเข้าใจระหว่างผู้ฝึกอบรมและผู้ใช้งาน มีการวางแผนการฝึกอบรมที่เหมาะสมเป็นขั้นตอนเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ ที่สำคัญคือผู้บริหารควรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อลดความต้านทานของพนักงานบางคนต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

6.เปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่

นี่เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงถ้าผิดพลาดอาจจะสร้างความเจ็บปวด ดังนั้นคุณอาจจะเริ่มจากแผนกเล็กๆ หรือทำเป็นโครงการทดสอบสำหรับบางแผนก ค่อยๆปรับเปลี่ยนอย่างช้าๆแต่มีความมั่นคงภายในองค์กร โดยปกติระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ จะยังคงใช้งานทั้งระบบใหม่และระบบเก่าคู่กันไปสักระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทจะไม่ประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลง หลังจากใช้งานไปสักระยะถ้าตรวจสอบแน่ใจแล้วว่าระบบใหม่ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา ก็ค่อยๆดำเนินการถอนระบบเก่าออก

ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบ มันคือกระบวนการเรียนรู้และทดสอบ คุณสามารถนำกระบวนการ PDCA มาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพควบคู่กันไปได้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : PDCA คือ ทุกเรื่องควรรู้ในการใช้งาน Deming Cycle เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิต

 

ความท้าทายของ MIS

ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบแม้ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อที่ต้องพิจารณาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นเสมอ ความท้าทายของ MIS มี 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ :

  • 1.มีค่าใช้จ่ายสูง : การพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาเอง หรือ ซื้อระบบที่ถูกพัฒนามาแล้วล้วนมีต้นทุนทั้งสิ้น โดยเฉพาะบริษัทที่พึ่งติดตั้งระบบ MIS เข้ามาใหม่มักเป็นปัญหา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ก็เป็นอีกปัจจัยที่องค์กรต้องพิจารณาว่าจะต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีให้ทันสมัยตามหรือไม่
  • 2.การฝึกอบรมพนักงาน : พนักงานควรมีความสามารถในการเรียนรู้ระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป หากพนักงานเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงช้าจะทำให้องค์กรเสียเปรียบในการแข่งขัน
  • 3.ค่าบำรุงรักษา : อย่างที่เราได้อธิบายมาตั้งแต่ต้น Management Information System คือ ระบบที่ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ (ผู้ให้บริการบางรายคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น) และฮาร์ดแวร์ ที่มาจากส่วนของเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลรวมถึงการดูแลให้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาข้างต้น

 

สรุป

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ Management Information Systems : MIS คือ ระบบที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการทำธุรกิจได้อย่างรอบครอบ แต่ทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเห็นถึงทุกแง่มุมของ MIS เพื่อที่จะสามารถพิจารณานำไปใช้ในองค์กรได้อย่างมีความสุขครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง