สถานีขนส่งเชียงใหม่มีที่ไหนบ้าง

“บริเวณนี้และย่านนี้เมื่อก่อนเป็นโครงการศูนย์การค้าอาเขตที่พลุกพล่านไปด้วยสถานบันเทิงสำหรับชาวเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ลานสเก็ต ดิสโก้เธค ผับ บาร์ โรงแรม ศูนย์การค้า เพื่อที่จะต้องการรองรับการขยายตัวของเมืองและสถานีขนส่ง และด้วยเหตุนี้เองสถานที่แห่งนี้จึงมีที่มาชื่อว่าอาเขตนั่นเอง”

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่ – ลำปาง ประกอบไปด้วยสองสถานีใหญ่ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 หรือเรียกกันติดปากว่า “อาเขต” ส่วนสถานที่ใหม่ตึกใหม่เรียกว่า สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอาเขตนั่นเอง ส่วนสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 นั้น ตั้งอยู่ที่ถนนโชตนา ต.ช้างเผือก เป็นจุดคิวรถสำหรับการโดยสารภายในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น หลายคนอาจจะเคยเดินทางด้วยรถโดยสารจากบริษัททัวร์ต่างๆ ทางสถานีขนส่งอาเขตหรือแห่งที่ 2 กันแล้ว เราลองมาดูสถานีใหม่กันว่ามีอะไรแปลกใหม่และน่าสนใจหรือไม่ เอาไว้เป็นแนวทางให้กับคนที่อยากจะเดินทาง ทั้งคนที่ทราบแล้วและยังไม่ทราบ

หากพูดถึงตัวของอาคารแล้วก็แน่นอนว่าสด ใหม่และสะอาดกว่าตึกเดิมอีกฝั่งอยู่แล้วครับ อาคารเป็นตึกสองชั้นโดยหากเดินเข้าทางบริเวณด้านหน้าของตัวอาคารก็จะพบกับจุดบริการขายตั๋วจากบริษัทต่างๆ มากมาย มองไปทางด้านซ้ายจะพบกับบริเวณขายตั๋วโดยสารของทางรถเมล์เขียวจุดใหญ่ ช่วงเวลาบ่ายๆ เย็นๆ คนจะเยอะครับ สำหรับรถเมล์เขียวจะเป็นการเดินทางภายในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ รถใหญ่นั่งสบายบริการเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นทั้ง เชียงใหม่ – เชียงราย เชียงใหม่ – น่าน เชียงใหม่ – สามเหลี่ยมทองคำ และอีกสายหนึ่งที่เป็นที่นิยมได้แก่ เชียงใหม่ – ภูเก็ต ซึ่งมีรถทุกวันเวลา 15.00 น. และเดินทางไปถึงสถานีขนส่งจังหวัดภูเก็ตก็เวลาประมาณ 17.00 น. ของอีกหนึ่งวันครับ รถใหญ่ 24 ที่นั่ง นั่งสบายมีทีวีส่วนตัวให้ดูด้วยนะ ราคาก็อยู่ที่ 1,990 บาทครับ (ผมเคยขึ้นมาแล้วครับ เมื่อยนิดนึงแต่ถ้าไม่รีบก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจครับ)

ชาวต่างชาติเพิ่งลงจากรถทัวร์เดินวนอยู่ในสถานีหลายรอบมาก เพราะยังไม่รู้จะทำยังไงดี

จุดบริการซื้อตั๋วรถของ Green Bus คนแน่นต่อคิวยาวแน่นเอี๊ยด

รถโดยสารสายเชียงใหม่ – ภูเก็ต ระดับ VIP หรูหรา

ส่วนทางด้านขวามือก็จะเป็นในส่วนของบริษัทรถจากทางบริษัทเอกชนต่างๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็นสมบัติทัวร์ ลิกไนท์ทัวร์ เพชรประเสริฐทัวร์ เป็นต้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสาย เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ ครับ รถมีให้เลือกหลายระดับ ทั้ง ป.2 ป.1 และ VIP สำหรับความแตกต่างของแต่ละระดับนั้นจำแนกได้ดังนี้ ป.2 ไม่มีห้องน้ำบนรถ ใครปวดก็อั้นอย่างเดียวล่ะครับ ป.1 มีห้องน้ำบนรถและยังจอดแวะพักให้รับประทานอาหารตามจุดต่างๆ ด้วยครับ ส่วน VIP นี่ก็ตามชื่อเลยครับ หรูหรากว้างสบาย มีห้องน้ำ แจกอาหารว่างและแวะพักทานอาหาร ณ ห้อง VIP ครับ

จุดขายสินค้า ของฝาก ฯลฯ

จุดรับฝากสัมภาระ

เดินตรงมายังทางเดินเรื่อยๆ ทางซ้ายมือก็จะเป็นจุดบริการด้านข้อมูลของสถานีขนส่งฯ และร้านค้าต่างๆ ราคาที่นี่ก็แพงกว่าข้างนอกนิดหน่อยครับ ถ้าขี้เกียจเดินไปเซเว่นฯ หรือร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ก็ซื้อที่นี่ได้ ทางด้านจุดรอรถก็มีอยู่ประมาณ 3 – 4 จุดครับที่นั่งก็จะว่างอยู่เรื่อยๆ เลือกนั่งได้ตามสบายครับ ชานชาลาของสถานีขนส่งฯ แห่งนี้มีอยู่ 21 จุด ซึ่งแต่ละจุดจะติดป้ายบอกว่าจุดนี้ไปที่นี่ จุดนี้ไปที่นั่นแต่ก็ไม่แน่เสมอไปครับ ยังไงตอนซื้อตั๋วก็สอบถามทางพนักงานขายให้เรียบร้อยก่อนเป็นการดีที่สุดครับ สำหรับคนที่มาก่อนเวลาและสัมภาระรุงรังก็ไปฝากได้ที่จุดฝากกระเป๋า ชิ้นละ 20 บาท เปิดบริการตั้งแต่เวลา ตี 3 – 21.00 น. อยู่บริเวณหลังสุดของสถานีครับ ส่วนห้องน้ำที่นี่ก็สะอาดพอสมควร ค่าใช้บริการครั้งละ 3 บาท มีบริการอยู่ 2 จุด

ห้องพักผู้โดยสารบริเวณชั้น 2 โล่งพอสมควร

สิ่งหนึ่งที่แปลกและพิเศษกว่าที่เดิมสำหรับสถานีขนส่งแห่งนี้คือ จุดพักรอรถบริเวณชั้น 2 พร้อมแอร์เย็นๆ และร้านค้าบริการรวมไปถึง Internet Cafe น่าแปลกใจที่ไม่ค่อยมีคนขึ้นมานั่ง ทั้งๆ ที่ที่นั่งเยอะมาก แอร์เย็นฉ่ำ

จุดบริการตุ๊ก-ตุ๊ก

จุดบริการรถสี่ล้อแดง

สำหรับบริเวณรอบตัวสถานีจะประกอบไปด้วยจุดบริการต่างๆ สำหรับคนที่เดินทางมาถึงจังหวัดเชียงใหม่แต่ไม่มีคนมารับหรือไม่มียานพาหนะ ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาเช้ารถโดยสารจะเข้าจอดที่ฝั่งอาเขตมากกว่าแต่ฝั่งใหม่ก็ไม่น้อยเช่นกัน หากเดินออกมายังทางฝั่งซ้ายของชานชาลา จะพบกับคิวรถตุ๊กๆ ครับ ราคาเริ่มต้นก็อยู่ที่ 120 บาทและมากน้อยขึ้นอยู่กับระยะทาง วัดพระสิงห์ 150 บาท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 200 เป็นต้นครับ เดินขึ้นมาทางถนนหลักอีกสักนิดก็จะเป็นคิวรถสองแถวหรือรถแดงนั่นเอง การโดยสารรถแดงที่นี่มีหลายรูปแบบครับ ถ้าไม่รีบไม่ร้อนก็นั่งตามเส้นทางก็ได้ครับ เริ่มจากสถานีขนส่งฯ กาดหลวง ประตูท่าแพ ประตูเชียงใหม่ สวนดอก และไปสิ้นสุดที่คิวรถช้างเผือก ราคา 20 บาทตลอดสาย อาจจะนั่งนานหน่อยแต่ก็ประหยัดไปได้หลายตัง ส่วนหากใครรีบร้อนก็เหมารถเลยครับ ไปสนามบินต่อก็คนละ 50 บาท ไปมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50 บาทเช่นกัน เวลาทำการก็ตั้งแต่ตี 3 – 19.00 น. ครับ หากใครที่มาเชียงใหม่ครั้งแรกจะให้ทางรถแดงเป็นไกด์นำเที่ยวเขาก็คิดไม่แพงครับ ขั้นต่ำวันละ 300 บาทเท่านั้น ส่วนคนที่อยู่ใกล้ๆ ก็นี่เลยครับ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 30 บาทเท่านั้น เฉพาะระยะใกล้ๆ เท่านั้นนะ ส่วนถ้าต้องการความสะดวกสบายสูงสุดต้อง Taxi Meter ครับ จะจัดเป็นราคาเหมาหรือราคาตามมิเตอร์ก็แล้วแต่สะดวกครับ ไปในเมืองก็ 150 บาท ส่วนถ้าไปส่งที่บ้านห่างจากตัวเมืองก็แพงหน่อยครับประมาณ 300 บาท

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับสถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 3

  • หากใครที่ถามว่าแห่งที่ 2 กับแห่งที่ 3 แตกต่างกันอย่างไร ได้คำตอบจากนายสถานีมาว่าแห่งที่ 3 จะเป็นรถที่เดินทางภายในภาคเหนือตอนบนซะส่วนใหญ่ สายกรุงเทพฯ บ้างนิดหน่อยและเป็นการให้บริการโดยบริษัทเอกชน ส่วนแห่งที่ 2 จะเป็นการเดินทางจากกรุงเทพฯ และสายอีสานเป็นหลักและให้บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด
  • ใครที่นำรถส่วนมาสามารถนำไปจอดได้ที่ลานจอดรถของสถานีขนส่งผู้โดยสารฯ บริเวณวัดกู่คำ ค่าบริการ มอเตอร์ไซค์ 10 บาทต่อวัน และรถยนต์ 40 บาทต่อวัน
  • ที่นี่มีบริการ Wi-Fi ฟรี ถ้าใครต้องการใช้ติดต่อได้ที่ร้านวนัสนันท์ได้เลย

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วเราลองเดินไปชมฝั่งเก่าหรือสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 กันด้วยเลยครับ สถานีนี้เรียกสั้นๆ แบบติดปากว่า “สถานีขนส่งอาเขต” นั่นเอง

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวโดยตำรวจท่องเที่ยวเชียงใหม่

จุดขายตั๋วอันเงียบสงบเมื่อเทียบกับอีกฝั่ง

Welcome to Chiang Mai

สำหรับสถานีเก่าแต่คลาสสิคนี้หลายคนคงมาใช้บริการบ่อยซึ่งคงจะทราบกันดีว่า “ขาใหญ่” ของที่นี่คือ บริษัท ขนส่ง จำกัดหรือเรียกติดปากกันสั้นๆ ว่า บขส. นั่นเอง และตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้นเส้นทางนี้จะเน้นการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่างเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริษัทที่ให้บริการการเดินรถ ได้แก่ อินทราทัวร์ เอื้องหลวงทัวร์ จักรพงษ์ทัวร์ อ.ศึกษาทัวร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจุดให้บริการการเดินทางไปยัง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอนโดย บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด ซึ่งมีทั้งรถตู้และรถบัส (พัดลม) ซึ่งให้บริการตั้งแต่เช้ามืดจนถึงพลบค่ำ ราคารถตู้อยู่ที่ 150 บาทต่อท่านและรถบัสอยู่ที่ 78 บาท ต่อท่าน

สภาพของรถเมล์เชียงใหม่ในปัจจุบัน

บริเวณด้านหลังจุดจอดรถ เชียงใหม่ – ปาย

สถานีขนส่งอาเขตยังเป็นสถานที่ต้นทางและปลายทางของ “รถเมล์เชียงใหม่” หลายท่านอาจจะลืมไปแล้วว่าเชียงใหม่ก็มีรถเมล์นะ ใช่แล้วครับคันสีขาวๆ ผุๆ เก่าๆ นิดนึง แบ่งช่วงเวลาของการเดินทางเป็นสองช่วง ได้แก่ 6.00 – 10.00 น. และ 15.00 – 19.00 น. ราคา 15 บาทตลอดสาย พร้อมแอร์เย็นฉ่ำ บรรยากาศเหงาๆ เพลินอารมณ์ไปอีกแบบ

จุดบริการนครชัยแอร์ พร้อมที่นั่งส่วนตัวและจุดขายตั๋วที่โดนเด่นและทันสมัย โทร 1624

โซนอาหารและร้านค้าต่างๆ บริเวณด้านนอกของสถานีขนส่งอาเขต ราคาตามมาตรฐานโลก 25 – 30 บาท

จุดให้บริการรถสี่ล้อแดงเป็นจุดเดียวกับทางสถานีขนส่งแห่งที่ 3

แน่นอนว่าสถานีขนส่งอาเขตตั้งอยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่เป็นอย่างมากและเป็นที่นิยมทั้งสำหรับชาวต่างชาติและชาวไทย ดังนั้นบริเวณรอบๆ สถานีขนส่งจึงมีร้านค้าและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจเปิดตัวขึ้นมาอยู่เต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็น Star Avenue Lifestyle Mall ที่อยู่ติดกับตัวสถานีขนส่งเลยและรวมไปถึงห้างสรรพสินค้าอย่าง Central Festival เชียงใหม่ ที่คอยรองรับผู้ที่เดินทางและสัญจรไปมาให้เข้ามาพักผ่อน รอรถรอเวลาของการเดินทางครั้งต่อไปของนักเดินทางทั้งขาจรและขาประจำ

ยังไงหากมีข้อสงสัยหรือต้องการซักถามเรื่องตารางเดินรถและราคาค่าโดยสารสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ โทร. 1594 จ้าาา

อยากคุยกับ ReviewChiangMai

 

บรรยายเรื่องตะลุยแดนพิศวงอาเขต โดย Mr Bushido

 

bus station bus station chiang mai ท่องเที่ยว เชียงใหม่ นักเดินทาง สถานีขนส่ง เชียงใหม่ สถานีขนส่งผู่โดยสารเชียงใหม่ สถานีขนส่งอาเขต สถานีขนส่งอาเขต เชียงใหม่ สถานีรถโดยสาร เชียงใหม่ อาเขต เชียงใหม่ เดินทาง เชียงใหม่

สถานีขนส่งเชียงใหม่มีกี่แห่ง

ข้อมูลทั่วไป ในเชียงใหม่มีสถานีขนส่งผู้โดยสารถึง 3 ที่ด้วยกัน: สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 – จะเป็นรถโดยสารที่ให้บริการเฉพาะเส้นทางภายในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 – จะเป็นรถโดยสารที่ให้บริการเส้นทางจากเชียงใหม่ไปยังจังหวัดอื่นๆ

สถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 คือที่ไหน

หมวดหมู่ : ที่อยู่ 260/4 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000.

ขนส่ง เชียงใหม่ แห่งที่ 3 คือ ที่ไหน

260/4 ถ.แก้วนวรัฐ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ประเทศไทย

อาเขต คือที่ไหน

ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ ๕๐ ปีก่อน ตอนนั้นกรุงเทพฯ มีศูนย์การค้าชื่อ เพลินจิตอาเขต กับ ราชดำริอาเขต เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว แต่ก็คงจะพอเดาได้ว่าอยู่ที่ไหน ในปัจจุบัน อาเขต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่นั่นคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงใหม่ ซึ่งเรียกกันด้วยภาษาปากว่า อาเขต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง