สนามแม่เหล็กโลกอยู่ ที่ไหน

แก่นโลกมีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก  แก่นโลกชั้นใน (Inner core) มีความกดดันสูงจึงมีสถานะเป็นของแข็ง ส่วนแก่นชั้นนอก (Outer core) มีความกดดันน้อยกว่าจึงมีสถานะเป็นของเหลวหนืด  แก่นชั้นในมีอุณหภูมิสูงกว่าแก่นชั้นนอก พลังงานความร้อนจากแก่นชั้นใน จึงถ่ายเทขึ้นสู่แก่นชั้นนอกด้วยการพาความร้อน (Convection) เหล็กหลอมละลายเคลื่อนที่หมุนวนอย่างช้าๆ  ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า และเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก (The Earth’s magnetic field)

สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการกระบวนการไดนาโมของโลก กล่าวคือโลหะหนักที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อยู่ในแกนโลกมีการหมุนวน ทำให้เกิดสนามแม่เล็กที่เอียงทำมุมประมาณ 10 องศาจากแกนหมุนของโลก ที่ผิวโลกมีความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 30,000 - 60,000 นาโนเทสลา และความเข้มจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น

ขั้วแม่เหล็กแบ่งออกได้ 2 แบบคือ

1. ขั้วแม่เหล็ก (magnetic poles)หมายถึง บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุดโดยปกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้งสองของแท่งแม่เหล็กแม่เหล็กแต่ละแท่งมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือใช้สัญลักษณ์ (N) และขั้วใต้ใช้สัญลักษณ์ (S)

2. ขั้วสนามแม่เหล็กโลก (geomagnetic poles) หมายถึง โลกมีสมบัติแม่เหล็ก บริเวณขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์และลึกลงไปจากผิวโลกเปรียบเสมือนมีขั้วแม่เหล็กขนาดใหญ่และเป็น ขั้วแม่เหล็กชนิดขั้วใต้ หรือบางครั้งเรียกว่า ขั้วแม่เหล็กโลกทางทิศเหนือ และบริเวณขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์เปรียบเสมือนมีขั้วแม่เหล็กชนิดขั้วเหนือ สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากหินหนืดในแก่นโลกชั้นนอก และในส่วนล่างของแมนเทิลไหลวนทำให้มีประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ คือเกิดกระแสไฟฟ้าไหลวนประมาณ 10,000 ล้านแอมแปร์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่เกิดสนามแม่เหล็กหุ้มห่อโลก

การกลับขั้วแม่เหล็กโลก

จากผลการศึกษาการไหลเวียนของหินบะซอลต์เหลวผ่านใต้พิภพมีทฤษฎีว่าขั้วแม่เหล็กของโลกสามารถมีการกลับขั้วโดยมีช่วงระยะห่างตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนถึงหลายล้านปีโดยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 250,000 ปีเชื่อว่าได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 780,000 ปีมาแล้วยังไม่มีทฤษฎีใดสามารถอธิบายได้แน่ชัดว่าการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นเนื่องจากอะไรนักวิทยาศาสตร์บางส่วนได้สร้างแบบจำลองแกนโลกขึ้นโดยที่ภายในสนามแม่เหล็กและขั้วแม่เหล็กสามารถเปลี่ยนข้างเองได้จากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยหรือหลายพันปีนักวิทยาศาสตร์อีกส่วนหนึ่งเสนอว่าการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองแต่น่าจะมีการกระตุ้นจากภายนอกเช่นจากการถูกดาวหางพุ่งชนโดยขั้วแม่เหล็กด้าน"เหนือ" อาจจะชี้ไปทางเหนือหรือใต้ก็ได้ปรากฏการณ์ภายนอกนี้ไม่น่าจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กแบบเป็นวงรอบได้เมื่อพิจารณาจากอายุของแอ่งปะทะเทียบกับช่วงเวลาการกลับขั้วที่ศึกษาได้การศึกษาการไหลเวียนของลาวาที่ภูเขาสตีนส์รัฐโอรีกอนบ่งชี้ว่าสนามแม่เหล็กเคยมีการเปลี่ยนแปลงไปในอัตรา6องศาต่อวันในประวัติศาสตร์ของโลกซึ่งเป็นการท้าทายที่สำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กของโลกและทำให้สนามแม่เหล็กกลับมาทำงานได้อีกและก็จะไม่มีการกลับขั้วจริงๆแล้วสิ่งที่จะตามมาเข้าใจว่าเมื่อสนามแม่เหล็กโลกปิดตัวลงก็จะยังคงเหลือแรงดึงดูดอยู่เป็นส่วนหนึ่งแต่โลกจะขาดการปกป้อง จนเป็นเหตุให้พลังจากนอกโลกเข้ามาเป็นจำนวนมากเช่นทำให้ไฟฟ้าดับไปทีละประเทศและดับจนหมดโลกในที่สุดเมื่อพลังงานเหล่านั้นสะสมตัวมากพอก็จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมาใหม่ซึ่งเข้าใจว่าจะเกิดขึ้นทางขั้วโลกใต้ และท่าเป็นเช่นนั้นจริงก็จะเกิดการสูญพันธ์ครั้งใหญ เพราะแผ่นดินจะเดินทางกลับไปต่อจิกซอกันในขั้วโลกใต้ ซี่งมันจะร้ายกาดรุนแรงกว่าแผ่นดินไหวมาก

เป็นที่ทราบกันมาเป็นเวลานานว่า ขั้วเหนือของแกนหมุนของโลกกับขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กโลกไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน ขั้วเหนือของแกนหมุนอยู่ที่ละติจูด 90 องศา บนแผ่นน้ำแข็งของมหาสมุทรอาร์กติก ส่วนขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่ในเขตของประเทศแคนาดา เจมส์ รอสส์ สำรวจตำแหน่งของขั้วเหนือแม่เหล็กโลกเป็นครั้งแรกในปี 1831 ในการสำรวจครั้งต่อมาในปี 1904 โดย โรอาลด์ อามุนด์เซน พบว่าตำแหน่งของขั้วเหนือเปลี่ยนไปจากเดิมราว 50 กิโลเมตร จึงได้ทราบว่าขั้วแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนตำแหน่งด้วย

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมาตำแหน่งขั้วเหนือก็ยังคงเคลื่อนที่เรื่อย ๆ ด้วยอัตรา 10 กิโลเมตรต่อปี แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เคลื่อนที่เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อปี หากอัตราเคลื่อนที่ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ขั้วเหนือจะหลุดพ้นออกจากทวีปอเมริกาเหนือและไปอยู่ที่ไซบีเรียภายในอีกไม่กี่สิบปีเท่านั้น

แลร์รี นูวิตต์จากคณะสำรวจทางธรณีวิทยาของแคนาดา กล่าวว่า เดิมตนมีหน้าที่ไปสำรวจวัดตำแหน่งของขั้วเหนือหลายๆ ปีต่อครั้ง แต่ในช่วงหลังจะต้องไปบ่อยขึ้นเนื่องจากขั้วแม่เหล็กโลกเคลื่อนที่เร็วมาก

ไม่เพียงแต่ตำแหน่งของขั้วเปลี่ยนไปเท่านั้น ความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกยังลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาอีกด้วย

หลังจากที่ข้อมูลนี้เผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในที่ประชุมสหภาพธรณีฟิสิกส์อเมริกันเมื่อเร็ว ๆ นี้ เรื่องถึงกับเป็นข่าวพาดหัวใหญ่ทันทีว่า "สนามแม่เหล็กโลกกำลังหมดหรือ?"

แกรี แกลตซ์มายเยอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ออกมายับยั้งกระแสว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับในอดีต

ในอดีตสนามแม่เหล็กโลกเคยมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กว่านี้มาก ถึงขนาดสนามแม่เหล็กสลับขั้วก็เคยเกิดมาแล้ว ขั้วเหนือกลายเป็นขั้วใต้ ขั้วใต้กลายเป็นขั้วเหนือ หลักฐานของการเปลี่ยนแปลงนี้ปรากฏชัดในหินโบราณ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เพียงครั้งเดียว แต่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าและคาดการณ์ไม่ได้ ปรกติการสลับขั้วแม่เหล็กเกิดขึ้นทุก 300,000 ปีโดยเฉลี่ย ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นคือเมื่อ 780,000 ปีที่แล้ว

หรือว่าการเร่งความเร็วของขั้วแม่เหล็กโลกในช่วงหลังนี้จะเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาที่สนามแม่เหล็กโลกจะสลับขั้วอีกครั้งแล้ว?

จากการศึกษาบันทึกแม่แหล็กในแผ่นหินพบว่า ความเข้มสนามแม่เหล็กโลกมีการเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ตลอดเวลา และความจริงแล้วสนามแม่เหล็กโลกในขณะนี้มีความเข้มมากกว่าความหนาแน่นเฉลี่ยในช่วงหนึ่งล้านปีที่ผ่านมาถึงสองเท่า

ใจกลางโลกมีแกนชั้นในเป็นเหล็กแข็งที่มีอุณหภูมิสูงใกล้เคียงกับพื้นผิวดวงอาทิตย์ ห่อหุ้มด้วยแกนชั้นนอกที่เป็นเหล็กหลอมเหลว แกนชั้นในหมุนรอบตัวเองเช่นเดียวกับผิวโลกแต่เร็วกว่าภายใต้แกนชั้นนอกที่ปั่นป่วน การเคลื่อนที่ของเหล็กหลอมเหลวที่แกนโลกชั้นนอกทำให้เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้น สนามแม่เหล็กจึงเกิดขึ้น ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าปรากฏการณ์ไดนาโม

แกลตซ์มายเยอร์ และ พอล รอเบิตส์ ได้สร้างแบบจำลองของโครงสร้างภายในโลกด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยให้ความร้อนกับแกนชั้นในและแกนชั้นนอกปั่นป่วนเช่นเดียวกับของจริง หลังจากให้โปรแกรมวิ่งผ่านไปโดยจำลองให้เวลาผ่านไปเป็นเวลานับแสนปี พบว่าสนามแม่เหล็กของโลกจำลองนี้มีการเพิ่มและลดลง ขั้วแม่เหล็กมีการเคลื่อนที่ และบางครั้งก็มีการสลับขั้ว ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดกับโลกจริง

นอกจากนี้ยังพบว่าช่วงที่สนามแม่เหล็กสลับขั้วใช้เวลานานหลายพันปีจึงจะเสร็จสิ้น และสิ่งที่เหนือความคาดการณ์ของคนทั่วไปก็คือ ช่วงนี้สนามแม่เหล็กไม่ได้หายไป แต่มีความปั่นป่วนซับซ้อนมากขึ้น เส้นแรงแม่เหล็กบริเวณพื้นผิวโลกมีการบิดเบี้ยวและขมวดปม ขั้วแม่เหล็กเกิดขึ้นใหม่ได้ทุกที่ ขั้วใต้อาจเกิดขึ้นที่แอฟริกา หรือขั้วเหนืออาจผุดขึ้นที่ตาฮีตี แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใด สนามแม่เหล็กก็ยังคงมีเหมือนเดิม และยังคงปกป้องโลกจากรังสีอันตรายจากดวงอาทิตย์

สนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นที่ไหน

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นจากกระแสวนของเหล็กและนิกเกิลหลอมเหลวที่อยู่ในแก่นโลกชั้นนอกลึกลงไปใต้ผิวโลกราว 3,000 กิโลเมตร เมื่อเหล็กหลอมเหลวไหลวนตามการหมุนรอบตัวเองของโลกจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เป็นปรากฏการณ์คล้ายกับที่เกิดขึ้นในไดนาโม เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าสนามแม่เหล็กก็เกิดขึ้นตามมา และเมื่อใดที่ ...

สนามแม่เหล็กโลกมีทิศใด

ลักษณะของสนามแม่เหล็กโลก นอกจากนั้น เรายังจะพบว่า เมื่อเราเข้าใกล้ขั้วเหนือแม่เหล็กมากขึ้น เข็มทิศของเราจะชี้เอียงลงสู่พื้นดินมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อเรายืนอยู่เหนือขั้วเหนือแม่เหล็ก เข็มทิศของเราจะวางตัวในแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้น ทั้งนี้เพราะสนามแม่เหล็กจะชี้เข้าสู่ขั้วแม่เหล็กที่อยู่ใต้พื้นโลกลงไป

ขั้วแม่เหล็กอยู่บริเวณใด

น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง