ประกัน สุขภาพ กลุ่ม ที่ไหน ดี

          อย่างไรก็ตาม ต้องย้ำอีกครั้งว่า ประกันสุขภาพของแต่ละบริษัทมีเงื่อนไขการรับประกันไม่เหมือนกัน ดังนั้นอย่าลืมศึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจทำประกัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาเคลมประกันในภายหลัง

อ้างอิงข้อมูล : คปภ. ,  www.azay.co.th,www.krungthai-axa.co.th,www.muangthai.co.th,www.aia.co.th,www.cigna.co.th,www.prudential.co.th,digitaloffice.thailife.com,www.scblife.co.th/,www.bangkoklife.com, www.oceanlifeonline.com
เพราะเรารู้ว่าหัวใจสำคัญของธุรกิจคือพนักงาน แล้วเรายังรู้อีกว่าการออกแบบความคุ้มครองได้ตามความต้องการนั้นมีความสำคัญ เราจึงขอเสนอความคุ้มครองที่ครอบคลุมในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของเอฟดับบลิวดี ที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อการประกันชีวิต

เริ่มขั้นตอนแรกก็สำรวจสิทธิค่ารักษาพยาบาลที่เรามีอยู่ ว่ามีอะไรอยู่บ้าง ครอบคลุมให้ตัวเราเองหรือคนในครอบครัวเท่าไหร่ บางท่านมีสิทธิข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือประกันสังคม ต้องเช็คดูว่าในส่วนของค่ารักษาพยาบาลนั้นเบิกอะไรได้ เข้าที่โรงพยาบาลไหนได้บ้าง

บางท่านอาจจะเป็นพนักงานบริษัทที่มีสวัสดิการ ประกันกลุ่ม ให้ก็ต้องไปเช็คว่าเป็นของบริษัทใด ให้ความคุ้มครองเท่าไหร่ คุ้มครองคนในครอบครัวหรือไม่ หลัก ๆ ก็จะดูในเรื่องของวงเงิน ค่าห้อง กับค่ารักษาพยาบาล ว่ามีอยู่เท่าไหร่ หากมีอยู่แล้วบางส่วนและมั่นใจว่าเราจะใช้สวัสดิการนี้ต่อไปนานๆ อาจจะเลือกแค่ทำเพิ่มเติมในส่วนเฉพาะส่วนที่คิดว่าสวัสดิการของเราไม่ครอบคลุมก็ได้ค่ะ

2. สำรวจค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล

ส่วนใหญ่เวลาเราเจ็บป่วย โรงพยาบาลที่เราเลือกเข้ารับการรักษามักจะเป็นโรงพยาบาลใกล้บ้านที่เราสะดวกจะเดินทางเข้าไปรับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออาจจะเป็นโรงพยาบาลที่เรามั่นใจในเรื่องของคุณภาพการรักษาหรือมีคุณหมอประจำที่เรารักษาอยู่ สำหรับกรณีของลูกน้อยอาจจะเป็นโรงพยาบาลที่น้องคลอด หรือไปรับการฉีดวัคซีน หรือโรงพยาบาลที่เคยไปเข้ารับการรักษาพยาบาลมาแล้ว ด้วยเรื่องของประวัติที่มีอยู่แล้วในโรงพยาบาลทำให้การรักษาต่อเนื่อง หรือด้วยความคุ้นเคยกับคุณหมอเจ้าของไข้

 

ซึ่งค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลหลายๆ ท่านอาจประเมินไม่ถูกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจะเป็นเท่าไหร่หากเจ็บป่วยป่วย อาจจะโทรสอบถามไปกับทางโรงพยาบาลที่เราต้องการไปเข้ารับการรักษาพยาบาลเพื่อสอบถามข้อมูลเรื่องของค่าห้อง (รวมค่าใช้จ่ายในเรื่อง ค่าห้อง+ค่าบริการพยาบาล+ค่าอาหาร+ค่าบริการโรงพยาบาล) จากประสบการณ์ของเราที่เคยทำงานสายบุคลากรการแพทย์ในโรงพยาบาล และการทำงานในวงการประกันสุขภาพ ขอเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันดูค่าห้องกันได้ที่ >> ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน

นอกจากค่าห้อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ยังมีค่าแพทย์ ค่าวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจด้วยเครื่องมือต่างๆ ค่ารักษาพยาบาล ทั้งค่ายา น้ำเกลือ เวชภัณฑ์ ต่างๆอีกมากมายหลายหมวด ซึ่งตรงนี้จะประเมินค่อนข้างยากขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ความซับซ้อน เทคนิค และเครื่องมือต่างๆที่จะต้องใช้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลด้วย

     ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลก็จะมีในเรื่องของค่าห้อง ค่าตรวจวินิจฉัย และค่ายาและเวชภัณฑ์ในการรักษา ณ ปัจจุบันในส่วนของค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนระดับกลางจะอยู่ที่ 3,500-6,000 บาทต่อคืน หากรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าแล็บ ค่าแพทย์ จะมีค่าใช้จ่ายต่อวันอยู่ที่ประมาณวันละ 10,000-15,000 บาท

 

     หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับบนก็จะมีค่าใช้จ่าย ค่าห้องที่ประมาณวันละ 7,000-20,000 บาทต่อวัน รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จะมีค่าใช้จ่ายรวมประมาณวันละ 20,000 – 50,000 บาทต่อวัน เบื้องต้นสำหรับกรณีที่เป็นการรักษาด้วยอาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย แต่หากการรักษาครั้งนั้นต้องมีการผ่าตัด เป็นโรคร้ายแรง มีการรักษาที่ซับซ้อน หรือมีอาการแทรกซ้อนต้องนอนรักษาพยาบาลนาน ค่าใช้จ่ายอาจขึ้นไปถึงหลักหลายแสนบาท หรือหลักหลายล้านบาทได้เลยทีเดียว ตรงนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น การประเมินค่ารักษาต้องสอบถามจากทางโรงพยาบาลเป็นกรณีไป

ดูข้อมูล อัตราค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ได้ที่นี่

3. วางแผนความคุ้มครองประกันสุขภาพ

แผนความคุ้มครองที่เราต้องการได้รับจากบริษัทประกันนั้น สำหรับท่านใดที่เคยศึกษาเรื่องประกันชีวิตประกันสุขภาพมาบ้าง หรือมีตัวแทนเคยมาแนะนำ อาจคุ้นคำศัพท์เหล่านี้อยู่บ้าง สำหรับท่านใดที่ไม่คุ้นคำศัพท์ทางวงการประกัน เราขออธิบายความคุ้มครองแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้

3.1 ค่าห้อง + ค่าอาหาร + ค่าบริการโรงพยาบาล

ส่วนใหญ่หากเราสอบถามข้อมูลกับทางโรงพยาบาลว่าค่าห้องเท่าไหร่ จะมีค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล รวมอยู่ด้วยกัน วงเงินประกันที่จะจ่ายในหมวดนี้ก็จะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นต่อวัน ในอดีตการเลือกทำประกันสุขภาพสักเล่มเราอาจจะเน้นโฟกัสที่ค่าห้องเป็นหลักเนื่องจากค่ารักษาพยาบาลต่างๆยังไม่แพงเท่าปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันจำเป็นต้องพิจารณาวงเงิน ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าวินิจฉัย ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆร่วมด้วย ว่าเพียงพอกับโรงพยาบาลที่เราจะเลือกใช้บริการในวันที่เจ็บป่วยหรือไม่ ตัวอย่างวงเงินประกันแบบดั้งเดิม ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย

    3.2 ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัย ค่าผ่าตัด

ค่าใช้จ่ายเมื่อต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนอกจากเรื่องของค่าห้องแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายหลักอื่นๆที่มีราคาค่อนข้างสูงในปัจจุบันคือ ค่าตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่างๆ ค่ายา ค่าผ่าตัด  ซึ่งความคุ้มครองส่วนนี้จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับแผนวงเงินที่เราเลือก แต่เนื่องด้วยปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมากซึ่งก็ตามมาด้วย ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่สูงขึ้นเช่นกัน บริษัทประกันจึงได้มีการออกแบบประกันสุขภาพแบบใหม่ที่ให้วงเงินค่ารักษาพยาบาล ที่สูงกว่าเรียกว่า ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ซึ่งจะมีวงเงินในการรักษาพยาบาลที่สูงกว่า โดยให้วงเงินการรักษา การตรวจวินิจฉัย การผ่าตัด รวมเป็นวงเงินที่ 1, 5, 15, 25, 60 จนถึง 120 ล้านต่อปี เป็นต้น เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้คุณลูกค้าและคนในครอบครัวสามารถเลือกรับการรักษาที่ดีที่สุดในวันที่เจ็บป่วย

ปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ประกันควบการลงทุน หรือ Unit-Linked ที่กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในท้องตลาด ในกรณีของ AIA จะมีประกันสุขภาพแบบ UDR (Unit Deducting Rider) ซึ่งสามารถซื้อร่วมกับผลิตภัณฑ์ Unit-Linked ทำให้ลูกค้าสามารถจ่ายเบี้ยประกันคงที่และเงินค่าเบี้ยประกันหลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประกันสุขภาพแบบ UDR

3.3 แผนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD)

หากอาการเจ็บป่วยของเราเป็นอาการแบบไม่รุนแรง ไปพบคุณหมอแล้วคุณหมอให้ยากลับมาทานที่บ้านได้ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ก็จะถือเป็นการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) หากแผนประกันที่เราทำไว้มีความคุ้มครองส่วนผู้ป่วยนอก (OPD) ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้โดยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

อ่านเพิ่มเติม : ประกันสุขภาพคุ้มครองทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)

 

3.4 ค่าชดเชยรายได้

เป็นค่าชดเชยการเสียเวลาเสียรายได้ช่วงที่ป่วยแล้วต้องมานอนโรงพยาบาล โดยทางปฏิบัติจะทำไว้เป็นค่าเสียเวลาให้กับคุณลูกค้า เป็นการชดเชยการเสียรายได้ หรือเอาไว้จ่ายส่วนต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น หรือเอาไว้เป็นส่วนต่างค่าห้องกรณีแผนค่ารักษาพยาบาลที่ทำไว้มีค่าห้องไม่เพียงพอ ปกติของเด็กจะถูกจำกัดไว้ที่วันละ 1,000-2,000 บาท ส่วนผู้ใหญ่ที่อาจซื้อสูงสุดได้ถึง 10,000 บาทต่อวัน ซึ่งบริษัทจะจำกัดการซื้อสูงสุดสัมพันธ์กับรายได้ของลูกค้า

 

3.5 ประกันโรคร้ายแรง

สำหรับคุณลูกค้าที่มีความกังวลในเรื่องของโรคร้ายแรง หรือโรคมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นอาจจะน้อยกว่าการเจ็บป่วยทั่วไป แต่ถ้าหากเกิดขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลคนไข้ที่สูงมาก นอกจากนี้หากเราเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอาจจะไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ทำให้สูญเสียรายได้ และอาจเป็นภาาระในการดูแลของคนในครอบครัว ประกันโรคร้ายแรง โรคมะเร็งจึงเป็นที่ได้รับความนิยมที่จะซื้อเพิ่มกันในปัจจุบัน เนื่องจากค่าเบี้ยประกันถูกแต่ให้ความคุ้มครองสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก เบี้ยประกันหลักพันต้น ๆ สามารถให้ความคุ้มครองหลักล้านบาทได้เลยค่ะ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ประกันโรคร้ายแรง

 

3.6 ประกันอุบัติเหตุ (PA)

เป็นประกันสำหรับการดูแลคุ้มครองเรื่องอุบัติเหตุโดยเฉพาะ ทั้งในเรื่องของ ค่ารักษาพยาบาล สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แม้ว่าจะเป็นเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุ ไม่ครอบคลุมเรื่องของการเจ็บป่วย แต่ก็มีข้อดีในเรื่องของค่าเบี้ยที่ราคาถูกเพียงไม่กี่พันบาทต่อปี แต่ก็ช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุให้เราได้ เพื่ออุบัติเหตุเป็นเหตุการณืไม่คาดคิดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ประกันอุบัติเหตุ

 

3.7 ความคุ้มครองผู้ชำระเบี้ย

ในการทำประกันสุขภาพประกันชีวิตให้ลูกนั้นเพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกน้อยได้รับการรักษาดูแลอย่างดีที่สุดในวันที่เจ็บป่วย แต่หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นกับพ่อแม่ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยรายแรง พิการ หรือเสียชีวิต ใครจะมาชำระเบี้ยตรงนี้ต่อ นี่คือโจทย์ที่ทำให้บริษัทประกันทำสัญญาความคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยขึ้นมาเพื่อดูแลค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยตรงนี้ในวันที่เกิดเหตุร้ายขึ้นกับพ่อแม่ผู้ชำระเบี้ย หรืออาจจะมีคุณพ่อคุณแม่บางท่านตัดสินใจทำประกันชีวิตของตัวเองแยกมาอีกต่างหากเพื่อให้มีเงินทุนอีกก้อนไว้ดูแลเจ้าตัวน้อยให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปอย่างที่เราต้องการ ในวันที่เราไม่สามารถดูแลเค้าได้

 

3.8 เลือกแผนประกันชีวิต

สำหรับประกันสุขภาพจะถือว่าเป็นสัญญาเพิ่มเติมจึงจำเป็นจะต้องมีประกันชีวิตเป็นแผนประกันหลัก โดยประกันชีวิตที่นำมาทำคู่กับประกันสุขภาพนั้นก็มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย แต่หากจะเน้นความคุ้มครองในเรื่องของประกันสุขภาพ แผนประกันชีวิตที่นิยมนำมาจับคู่กับประกันสุขภาพมักจะเป็นแผนประกันชีวิตแบบตลอดชีพเนื่องจากสามารถให้ความคุ้มครองได้นานเพื่อที่เราจะสามารถถือความคุ้มครองประกันสุขภาพต่อไปได้เรื่อยๆ มีค่าเบี้ยที่ราคาไม่แพงเพียงหลักพันบาท และสามารถทำความคุ้มครองขั้นต่ำได้

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : ประกันชีวิต AIA

ตัวอย่างประกันสุขภาพ AIA แบบต่างๆ

4. เลือกบริษัทไหนดี เลือกตัวแทนแบบไหน

อีกคำถามที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ คือ แล้วทำ “ประกันสุขภาพที่ไหนดี“ กับบริษัทไหนดี สำหรับแต่ละบริษัทประกัน ก็จะมีแผนความคุ้มครองที่ต่างต่างกันออกไปเล็กน้อย ด้วยมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ ทำให้เปรียบเทียบวงเงินกันง่ายขึ้น ในอดีตเราอาจจะเลือกแค่จากวงเงินความคุ้มครองเทียบกับค่าเบี้ยว่าที่ไหนให้มากที่สุด โดยจ่ายน้อยที่สุด แต่ปัจจุบันการเลือกโดยเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวได้สร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับลูกค้าหลายๆท่าน ตั้งแต่สถานการณ์บริษัทประกันโควิดล้ม สถานการณ์ประกันสุขภาพที่บางบริษัทขายเบี้ยราคาถูกเกินวงเงินคุ้มครองที่ให้ไปมาก แต่เมื่อขาดทุนก็ค่อยมาขึ้นค่าเบี้ยกับลูกค้าในภายหลัง โดยไม่ประเมินความเสี่ยงให้เหมาะสมตั้งแต่แรก ในเชิงกฎหมายสามารถทำได้ แต่ในเชิงลูกค้าอาจจะมีมุมมองว่าเป็นการทำธุรกิจที่ไม่แฟร์

ในหลักการประกันสุขภาพจะไม่เหมือนประกันทรัพย์สิน ที่ทำกันเป็นปีต่อปี แต่ประกันสุขภาพเราไม่สามารถคาดเดาว่าเราจะเจ็บป่วยปีไหน และการเปลี่ยนประกันสุขภาพหลังจากที่เรามีประวัติเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวแล้วเป็นเรื่องทำได้ยากมาก โอกาสน้อยที่บริษัทใหม่จะรับ จึงแนะนำให้เลือกบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีความมั่นคง สามารถดูแลความคุ้มครองให้เราได้ในอนาคต มีความจริงใจในการทำธุรกิจกับลูกค้าในระยะยาว

ส่วนในเรื่องของตัวแทน ส่วนใหญ่อาจเลือกจากตัวแทนที่เรารู้จัก เคยดูแลกันอยู่แล้ว สามารถให้คำปรึกษาได้ หรือหากไม่มีก็แนะนำให้เลือกจากมืออาชีพที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดหรือกฎเกณฑ์เงื่อนไขข้อยกเว้นต่างๆ ของสัญญาประกันได้ เพราะในแต่ละบริษัทประกันจะมีฝ่ายพิจารณาสินไหมค่อยพิจารณาการจ่ายสินไหมหรือผลประโยชน์ต่างให้เป็นไปอย่างยุติธรรมทั้งกับบริษัทและกับลูกค้าทุกท่านที่ถือสัญญาเดียวกัน ส่วนตัวแทนประกันชีวิตก็เสมือนทนายด้านการประกันที่จะค่อยช่วยแนะนำผลประโยชน์และเงื่อนไขข้อยกเว้นต่างๆของสัญญาประกัน ให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์ต่างๆที่ลูกค้าพึงมี โดยอิงจากเงื่อนไขผลประโยชน์ในสัญญาเป็นสำคัญ

ที่มา : MARKETTHING

5. ปรับความคุ้มครองแผนประกันสุขภาพ

ปรับความคุ้มครองที่เราต้องการให้พอเหมาะกับงบประมาณที่เราวางไว้ แน่นอนค่ะว่าประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงย่อมมีค่าเบี้ยที่สูงตาม คุณลูกค้าแต่ละท่านก็มีงบประมาณและความต้องการในความคุ้มครองไม่เท่ากัน ค่าเบี้ยประกันก็ควรเลือกให้พอเหมาะพอดีไม่รบกวนค่าใช้จ่าย หรือเงินออมในส่วนอื่น ๆ จนเกินไป และเป็นงบประมาณที่เราสามารถจ่ายได้ในระยะยาว (อาจจะอยู่ในช่วงประมาณ 3-10 % ของรายได้ต่อปี) แต่หากคุณลูกค้าท่านใดมีงบประมาณและต้องการให้ตนเองและครอบครัวได้รับการรักษาที่ดีที่สุด จะซื้อแผนสูงเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ไม่มีแบบประกันที่ดีที่สุดและถูกที่สุด มีแต่แบบที่เหมาะสมกับเราที่สุดเท่านั้นเองค่ะ

6. เมื่อได้ข้อมูลและแผนที่ลงตัวแล้ว ก็เริ่มสมัครทำสัญญาประกัน

ในปัจจุบันอายุที่บริษัทจะเริ่มรับประกันได้จะอยู่ที่ 15 วันเป็นต้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทและแต่ละเคส หากลูกค้าเองยังไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วย การสมัครทำประกันขั้นตอนก็จะมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเอกสารการสมัคร และอาจจะใช้เพียงการตอบคำถามสุขภาพ

แต่ถ้าหากเรามีประวัติเจ็บป่วย โรคประจำตัว หรือประวัติการผ่าตัด ก็อาจจะต้องมีขั้นตอนในเรื่องของการขอประวัติสุขภาพจากโรงพยาบาลที่ทำการรักษาทั้งหมด และตรวจสุขภาพโดยแพทย์ เพื่อประกอบการพิจารณารับประกันจากบริษัทเป็นกรณีไป แล้วบริษัทจะแจ้งข้อเสนอใหม่มาให้ลูกค้าพิจารณาอีกครั้ง ว่ามีข้อยกเว้น การเพิ่มเบี้ย หรือเงื่อนไขพิเศษใดๆหรือไม่

โดยในปัจจุบันการสมัครทำประกันก็ง่ายขึ้นโดยใช้วิธี ซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ ด้วยระบบ AIA iSign ได้แล้วทำให้การสมัครทำประกัน สะดวก ง่าย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

7. รับมอบ ตรวจสอบข้อมูลและเงื่อนไขข้อยกเว้นในกรมธรรม์

หลังจากบริษัทอนุมัติเรียบร้อยและเราชำระค่าเบี้ยแล้ว บริษัทก็จะเริ่มนับระยะรอคอยสำหรับการทำประกันสุขภาพในปีแรก (ปีต่อไปชำระเบี้ยต่อเนื่องจะได้รับความคุ้มครองต่อเนื่องเลย) ปัจจุบันหลายที่มีกรมธรรม์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิค บางที่สามารถดูข้อมูลความคุ้มครองผ่านแอพพลิเคชั่นได้ หรือหลายท่านยังสะดวกรับกรมธรรม์เป็นแบบเล่มกระดาษ หลังจากได้รับกรมธรรม์แล้ว ผู้สมัครทำประกันจำนวนไม่น้อย อาจไม่เคยเปิดอ่านเล่มกรมธรรม์ จนกว่าจะถึงวันเคลม อาจจะเนื่องมาจากเนื้อหาในกรมธรรม์ค่อนข้างเยอะและเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจยากพอสมควร แต่สิ่งที่แนะนำหลังจากได้รับกรมธรรม์คือ ให้ลูกค้าดูข้อมูลส่วนตัวต่างๆของเราว่าถูกต้องหรือไม่ ความคุ้มครองและข้อยกเว้นต่างๆในกรมธรรม์ที่สำคัญๆมีอะไรบ้าง ตอนเคลมเราจะได้ทราบสิทธิและข้อยกเว้นในตัวแบบประกันของเราค่ะ

สรุป

มาถึงตรงนี้สำหรับคำถามที่ว่า “ทำประกันสุขภาพที่ไหนดี” คงถูกคลายข้อสงสัยไปไม่มากก็น้อย หวังว่าข้อมูลในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ให้ทุกท่าน สามารถเลือกแบบประกันสุขภาพที่เหมาะสม กับตัวเองและครอบครัว ให้ได้มีความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลที่ดี และเห็นภาพขั้นตอนกระบวนการที่จะตัดสินใจทำประกันสุขภาพกันแล้วนะคะ แต่หากต้องการคำแนะนำและวางแผนกับเราเพิ่มเติมคลิกเข้ามาพูดคุยกับทีมงานเราได้เลยค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง