ทรัพยากรทางการบริหารข้อใดสำคัญที่สุด

การบริหารทรัพยากร คือกระบวนการวางแผนการใช้ทรัพยากรและวางแผนการจัดสรรงานให้เป็นไปตามความคาดหมาย โดยมีเป้าหมายให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ ตัวอย่างของทรัพยากรก็คือ พนักงาน อุปกรณ์ หรือสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นแบรนด์ของสินค้าหรือบริษัท ซึ่งทรัพยากรอาจเป็นอะไรก็ได้ที่จำเป็นต่อการดำเนินการของบริษัท ส่วนการจัดสรรงาน คือกระบวนการเพื่อมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้งานลุล่วงได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

แล้วทำไมมันถึงมีความสำคัญ? (Why is it important?)

การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดี จะช่วยให้การทำงานโปร่งใส การประสานงานราบรื่น บุคคลากรที่เกี่ยวข้องจะรู้ถึงขอบเขตงานของแต่ละคน ทำให้ผู้บริหารเห็นภาพรวมและสามารถจัดการโครงการของตนได้ง่ายขึ้น และยังช่วยในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนงานในอนาคตได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่ง monday.com ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยคุณให้วางแผนทรัพยากรได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

การวางแผนทรัพยากร (Planning your Resources)

ก่อนอื่น การวางแผนทรัพยากรที่ถูกต้องจะทำให้คุณมองเห็นสิ่งที่จำเป็นในการทำโครงการให้สำเร็จ ซึ่งเราจะดูตัวอย่างการบริหารทรัพยากรด้วย monday.com ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นตอนแรก – เรียงความสำคัญ (Define priority)

ก้าวแรกของการวางแผนทรัพยากรคือการแจกแจงงานจากตัวโครงการ ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่งานที่เล็กที่สุดไปจนถึงงานที่ใหญ่ที่สุดที่จำเป็นจะต้องทำ เมื่อคุณได้บันทึกงานของคุณลงไปแล้ว คุณจึงจะสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ ใน monday.com เรามักจะใช้คอลัมน์สถานะงาน (status column) เพื่อบ่งบอกว่างานใดเร่งด่วนมาก และงานใดด่วนน้อยกว่า

2. ขั้นตอนที่สอง – กำหนดเดดไลน์ (Add due dates)

อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญคือการกำหนดเส้นตายของงาน เมื่อใช้ร่วมกับสถานะของความสำคัญ จะทำให้ทีมของคุณบริหารเวลาได้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถใช้คอลัมน์วันที่ (date column) เพื่อกำหนดวันส่งงาน ซึ่งคุณสามารถให้ monday.com แจ้งเตือนไปยังทีมเพื่อไม่ให้พลาดเส้นตายของงานได้อีกด้วย

3. ขั้นตอนที่สาม – ประเมินเวลา (Estimate time)

งานบางงานอาจจะต้องใช้เวลามากกว่างานอื่น การประมาณเวลาของแต่ละงานจะช่วยให้คุณสามารถจัดแจงทรัพยากรได้ดีขึ้น ในตัวอย่างนี้เราใช้คอลัมน์จำนวน (Number Column) เพื่อระบุเวลาที่จะใช้ และกำหนดหน่วยในของคอลัมน์เป็นชั่วโมง

การจัดแจงทรัพยากร หรือ การมอบหมายงาน (Allocate your resources)

เมื่อคุณวางแผนเสร็จสิ้น ขั้นตอนต่อมาคือการมอบหมายงาน ที่มักมีคำถามว่าอย่างไรถึงจะกระจายงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง monday.com ก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้ โดยใช้ฟีเจอร์ Workload View เพื่อสรุปและแสดงปริมาณงานที่แต่ละคนในทีมต้องรับผิดชอบ ทำให้คุณรู้ทันทีว่าใครในทีมที่กำลังทำงานมากเกินรับไหว และควรกระจายงานให้เหมาะสมอย่างไร

  • การกำหนดเจ้าของงาน (Assign ownership)

monday.com มีคอลัมน์บุคคล (people column) เพื่อระบุผู้รับผิดชอบงานและมอบหมายงานนั้นๆ ให้กับสมาชิกในทีม ซึ่งการทำเช่นนี้ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการทำงานอีกด้วย

  • เพิ่มหน้าการแสดงผลปริมาณงาน (Add the view)

เมื่อคุณได้มอบหมายงานทุกงานแล้ว คุณก็สามารถที่จะเปิดหน้าการแสดงผลปริมาณงาน (Workload View) โดยคลิกที่ลูกศรข้างๆปุ่ม “main table” ด้านซ้ายบนของบอร์ดของคุณ คลิก more Views และเลือก “Workload” ดังรูปด้านล่าง

  • การปรับแต่ง (Customize)

คุณจะพบกับตัวเลือกต่างๆ สำหรับปรับแต่งแผนภาพการแสดงผลปริมาณงาน ในตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการวัดจำนวนงานที่แต่ละคนรับผิดชอบ โดยกำหนดให้งานที่รับได้ของแต่ละคนอยู่ที่ 5 งานต่อสัปดาห์ ก็สามารถให้ monday.com แสดงแผนภาพ Workload ของงานที่แต่ละคนในทีมรับผิดชอบแต่ละสัปดาห์ได้ดังนี้

วงกลมสีฟ้าที่ซ้อนอยู่บนกลมสีน้ำเงินเข้มแสดงถึงงานที่ต้องรับผิดชอบเทียบกับความสามารถในการรับงานของแต่ละคนแยกตามสัปดาห์ มุมมอง Workload นี้ช่วยให้คุณทราบว่าใครในทีมที่รับงานเกินกำลัง หรือใครยังรับงานเพิ่มได้ โดยคุณสามารถคลิกบนวงกลมเพื่อแสดงรายละเอียดของงานที่สมาชิกคนนั้นได้รับมอบหมายได้ด้วย

ในตัวอย่าง เราจะสามารถเห็นได้ว่าในสัปดาห์นี้ Shelly ได้รับปริมาณงานเกินกำลัง ซึ่งแสดงด้วยวงกลมสีแดง ในขณะที่ Lea ยังสามารถรับงานเพิ่มได้ ดังนั้นเราสามารถมอบหมายงานใหม่โดยการแบ่งงานจาก Shelly ไปให้ Lea ดังคลิปภาพด้านล่าง

นอกจากการสรุป Workload ตามจำนวนงานแล้ว คุณยังสามารถให้ monday.com สรุปจากปริมาณงานเป็นรายชั่วโมง หรือตาม manday ได้อีกด้วย และถ้าทีมของคุณมีหลายโครงงานที่รับผิดชอบซึ่งสั่งงานผ่านหลายๆ บอร์ด ก็สามารถใช้ Workload Widget ในส่วนของ Dashboard เพื่อรวมข้อมูลของหลายๆ บอร์ดมาสรุปเป็นรายงานในหน้าเดียวได้ทันที

ติดตามความคืบหน้า ( Track Progress )

  • เพิ่มคอลัมน์สถานะงาน ( Add a status column )

เมื่อขั้นตอนของการจัดแจงงานสมบูรณ์แบบแล้ว คุณสามารถเพิ่มคอลัมน์สถานะงานเพื่อที่จะติดตามความคืบหน้าของงานได้ ซึ่งในคอลัมน์นี้จะแสดงให้เห็นว่างานๆ นั้นทำเสร็จแล้ว กำลังทำอยู่ หรือ สถานะใดๆ ที่คุณและทีมใช้และเข้าใจความหมายร่วมกัน

  • เมื่อสถานะงานถูกเปลี่ยนจะได้รับการแจ้งเตือน (Receive notifications when the status changes )

เพิ่มศักยภาพให้แก่บอร์ดของคุณโดยการใช้ระบบออโตเมชั่น ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการให้มีการแจ้งเตือนเมื่อสถานะงานถูกเปลี่ยนเป็น "งานมีปัญหา"

และเรายังสามารถตั้งระบบออโตเมชั่นให้มีการแจ้งเตือน 1 วันก่อนถึงวันกำหนดส่งงาน หากสถานะงานยังไม่ถูกเปลี่ยนเป็น "ทำเสร็จแล้ว"

ซึ่งระบบออโตเมชั่นเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมที่จะมาช่วยลดงานที่ต้องทำซ้ำๆ บน monday.com เช่นการแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น

  • เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้วยการแสดงผลในรูปแบบกราฟ (Get more insights with the chart view)

การแสดงผลในรูปแบบกราฟจะให้รายละเอียด รวมถึงการวิเคราห์ที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการหาคำตอบว่างานใด หรืองานประเภทใด ที่ต้องใช้เวลามากกว่างานอื่นๆในโครงการนี้ก็สามารถกระทำได้ด้วยฟีเจอร์ Chart View

เมื่อแสดงผลด้วย Chart ทำให้เห็นว่าควรที่จะแจกแจงทรัพยากรในแต่ละโครงการอย่างไร ในกรณีตัวอย่างของเรา เราอาจจะต้องให้ความสำคัญกับงานในกลุ่มดีไซน์เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นงานประเภทที่ต้องใช้เวลามากอื่นๆ

การติดตามเวลาที่ใช้ในการทำงาน ( Keep Track of the Time Spent )

คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลเชิงลึกได้โดยการติดตามเวลาของทีมที่ใช้จริงในการทำงาน นอกเหนือจากการประเมินเวลาของงานนั้นๆ โดยการเลือกคอลัมน์ที่ชื่อว่า Time Tracking ในการเก็บข้อมูล

คอลัมน์การติดตามเวลา (Time Tracking Column) จะทำให้ทีมของคุณสามารถเริ่มจับเวลาและบันทึกเวลาในขณะที่กำลังทำงานอยู่ หรือจะตั้งระบบออโตเมชั่นเพื่อจับเวลาก็สามารถทำได้เช่นกัน ตามชุดคำสั่งด้านล่าง จะทำให้การจับเวลาทั้งตอนเริ่มและการหยุดจับเวลาเมื่อจบงานจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

หรือถ้าคุณอยากที่จะเข้าใจภาพของกรอบเวลาที่ประเมินกับเวลาที่ใช้จริงในการทำงาน คุณสามารถเพิ่มคอลัมน์สูตร (Formula Column) เพื่อที่คุณจะสามารถประเมินกรอบเวลาที่ตรงกับความเป็นจริงในงานที่เหมือนกันในภายภาคหน้าได้

สูตรที่ใช้ในการคำนวนครั้งนี้คือ :

Formula: CONCATENATE(INT( MINUS({Time Est.},DIVIDE({Actual Time},3600))),".",ROUND((MINUS( MINUS({Time Est.},DIVIDE({Actual Time},3600)),INT( MINUS({Time Est.},DIVIDE({Actual Time},3600)))))*60,0))

เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ในหน้าเดียว (Get all insights in one place)

เพื่อให้เห็นภาพรวมว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตลอดทั้งโครงการหรือตลอดทั้งบัญชีการใช้งาน คุณสามารถดูภาพรวมทั้งหมดได้จากฟีเจอร์แดชบอร์ด (dashboards) โดยแดชบอร์ดสามารถรวมข้อมูลจากบอร์ดต่างๆ ในไซต์ของคุณมาแสดงผลรวมกันในหน้าเดียว ซึ่งจะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมขององค์กร ประสิทธิภาพของทีมและเป็นข้อมูลให้คุณบริหารจัดการทรัพยากรได้ดียิ่งขึ้น

แดชบอร์ดใช้แสดงผลแผนภาพที่หลากหลายได้พร้อมกัน ในตัวอย่างนี้ เราใช้วิทเจท (Widget) ประเภท Workload, Chart, Battery และ Time tracking เพื่อดูภาพรวมของทีม

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ monday.com คุณสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ ทีมงานเรายินดีให้ความช่วยเหลือค่ะ :)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง