ทวีปใดที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของโลก

อังกฤษ : มหาอำนาจทางเศรษฐกิจในคริสต์ศตวรรษที่ 19

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลกและผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีผลให้อังกฤษครองความเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจเหนือประเทศอื่นๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเพิ่มพลังการผลิตหรือประสิทธิภาพการผลิตของระบบเศรษฐกิจโดยเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งกำลังแรงงานของสิ่งมีชีวิต เช่น แรงงานสัตว์ แรงงานมนุษย์ มาพึ่งพลังเครื่องจักรกลหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ลักษณะของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรเป็นปัจจัยการผลิตในโรงงาน ทำให้สามารถผลิตให้มากขึ้น โดยใช้เครื่องจักรกลทำการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น

ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษเป็นประเทศที่มั่งคั่งและร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในปี ค.ศ. 1700 อังกฤษจัดได้ว่าร่ำรวยที่สุดในโลก ฐานะและความมั่งคั่งอาจพิจารณาได้จากหลายลักษณะ เช่น ลอนดอนเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ความมั่งคั่งที่เกิดจากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ ความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปทั่วโลก มีเมืองขนาดเล็ก (และหมู่บ้าน) ทำหน้าที่เป็นสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า พ่อค้าชาวต่างประเทศที่เข้าไปค้าขายในอังกฤษ พบว่า พ่อค้าชาวอังกฤษมีฐานะความเป็นอยู่โดยเปรียบเทียบดีกว่าชาวยุโรปอื่นๆ ในแง่ของการค้าระหว่างประเทศก็เช่นเดียวกัน อังกฤษมีความสามารถในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้า วัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ในปลายศตวรรษที่ 17 มากกว่าร้อยละ 80 ของสินค้าที่ผลิตในอังกฤษเพื่อการส่งออกเป็นสินค้าอุตสาหกรรม (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากขนสัตว์)

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 เศรษฐกิจการค้าของอังกฤษได้ขยายตัวเป็นอันมาก ลอนดอนเป็นเมืองท่าสำคัญที่สุดของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศ ประมาณว่า ร้อยละ 70-75 ของการค้าระหว่างประเทศกระทำโดยผ่านลอนดอน ในศตวรรษที่ 18 ข้อได้เปรียบของลอนดอนคือ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเทมส์ (Thames) ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของประเทศ กิจกรรมที่สำคัญทางเศรษฐกิจได้กระจุกตัวอยู่ตามแม่น้ำด้วย ในปี ค.ศ. 1700 ประมาณว่า 1 ใน 4 ของอาชีพของชาวลอนดอนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเดินเรือ (shipping activity) ทั้งโดยตรงและทางอ้อม กิจกรรมเหล่านี้ได้แก่ กิจกรรมโกดัง การเดินเรือ การแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นต้น เมืองท่าลอนดอนเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ แม้จะล่วงเลยเข้ามาในศตวรรษที่ 19 (แม้ว่าจะมีเมืองท่าที่สำคัญของอังกฤษอื่นๆ เช่น ลิเวอร์พูล และกลาสโกว์ ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม) เพราะการค้าของอังกฤษกับประเทศอื่น ๆ ในภาคพื้นยุโรป และอินเดียกระทำโดยผ่านเมืองท่าลอนดอน

ลอนดอนเป็นศูนย์กลางของการอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมธนาคารและการประกันภัยด้วย การอุตสาหกรรมในลอนดอนมีความหลากหลายตั้งแต่อุตสาหกรรมที่ไม่มีฝีมือจนถึงช่างฝีมือ รวมทั้งอุตสาหกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในร้านค้าต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1747 อาชีพของคนในลอนดอน ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีถึง 215 อาชีพ และเพิ่มขึ้นเป็น 492 อาชีพในปี ค.ศ. 1792 ในปี ค.ศ. 1700 ร้อยละ 20 ของประชากรในอังกฤษที่อาศัยอยู่ในเมือง 2 ใน 3 ของประชากรเมืองเหล่านี้อาศัยอยู่ในลอนดอน การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศได้ส่งผลให้กิจการธนาคารในลอนดอนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กิจการการค้าต่างประเทศของอังกฤษได้เจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และพอถึงปี ค.ศ. 1700 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว ประมาณกันว่ากิจการการค้าระหว่างประเทศของอังกฤษ นับแต่ปี ค.ศ. 1715 เป็นต้นมา คิดเป็นเงินแล้วไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านปอนด์ หลังจากการจัดตั้งธนาคารแห่งชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1694 หรือ Bank of England กิจการธนาคารในอังกฤษก็มีแต่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นหลายแห่ง จนกล่าวได้ว่าในศตวรรษที่ 18 อังกฤษเป็นประเทศนายทุนชั้นนำที่มีระบบการธนาคารที่ดีที่สุดในยุโรป และลอนดอนก็เป็นเสมือนหนึ่งนครหลวงทางการเงินของโลก ในปี ค.ศ. 1800 ในลอนดอนมีธนาคารประมาณ 70 แห่ง และตามเมืองต่างๆ อีกประมาณ 400 แห่ง ธนาคารเหล่านี้โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในลอนดอน จึงเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะเวลาต่อมา ในปี ค.ศ. 1801 ประชากรอาศัยอยู่ในอังกฤษ และเวลส์ ประมาณ 9 ล้านคน และอีกประมาณ 1.5 ล้านคน อาศัยอยู่ในสก็อตแลนด์

เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น โดยมีการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ โดยเจมส์ วัตต์ (James Watt) ในปี 1769 มีผลต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เครื่องจักรไอน้ำสามารถนำมาใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ขับเคลื่อนหัวจักรและเครื่องเรือเดินสมุทร ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้ามาโดยตลอดและขยายตัวสูงมาก รวมทั้งอุตสาหกรรมทอผ้า ถลุงเหล็ก เครื่องปั่นฝ้าย เหล็กกล้า (โดยเฉพาะก่อนปี 1840)

หลังปี 1840 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษได้รับการสนับสนุนจากการคิดค้นการใช้ถ่านหินและเหล็กในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลให้อุตสาหกรรมหลักของอังกฤษเปลี่ยนจากสิ่งทอเป็นถ่านหินและเหล็ก จากอุตสาหกรรมเบาผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นอุตสาหกรรมหนักผลิตเครื่องจักร พาหนะ รถไฟ และเรือเดินสมุทร

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษมีเพียงแต่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตจากภาคเกษตรกรรมาสู่ภาคอุตสาหกรรม แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการค้าระหว่างประเทศด้วย นับแต่กลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา อังกฤษได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำการส่งออกสินค้าประเภททุนและเทคโนโลยีไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก (รวมทั้งเงินลงทุนไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วย) มูลค่าการส่งเงินทุนออกไปลงทุนไปต่างประเทศเท่ากับ 160 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ. 1840 และเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านปอนด์ และ 4000 ล้านปอนด์ ในปี ค.ศ. 1873 และปี ค.ศ. 1913 อังกฤษครอบครองการค้าของโลกเท่ากับร้อยละ 32 ของการค้าโลกทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1840

การเจริญเติบโตของการค้าระหว่างประเทศได้ส่งผลต่อฐานะและความมั่งคั่งของอังกฤษ และส่งผลให้อังกฤษไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางการค้าของโลกเท่านั้นหากแต่ยังเป็นศูนย์กลางการเงินของโลกอีกด้วย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลอนดอน ลอนดอนเป็นที่ตั้งของธนาคารทั้งในและต่างประเทศ ตลาดหุ้น กิจการการประกันภัย ฯลฯ การเจริญเติบโตดังกล่าวมีผลต่อพัฒนาการของการใช้นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ในศตวรรษที่ 19 อังกฤษได้หันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (liberalism) แทนที่นโยบายพาณิชย์นิยม (mercantilism) ที่ปล่อยให้การส่งออกและการนำเข้าสินค้าเป็นไปโดยเสรี ขจัดอุปสรรคทางการค้า ในปี ค.ศ. 1846 อังกฤษประกาศยกเลิกกฎหมายการควบคุมการผลิตธัญพืชภายในประเทศ (repeal of the Corn Laws) ความพยายามที่จะยกเลิกข้อกีดกันทางการค้าต่าง ๆ ได้เริ่มมาประมาณศตวรรษที่ 18 (ในทศวรรษ 1780) และอีกช่วงในทศวรรษ 1820 และประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1860 อังกฤษถือว่าเป็นชาติแรกที่มีการใช้นโยบายการค้าแบบเสรี ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกายังคงใช้นโยบายกีดกันทางการค้า การหันมาใช้นโยบายการค้าเสรีส่วนหนึ่งเป็นการสะท้อนภาพของความพยายามของชนชั้นกระฎุมพีที่ต้องการผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรม (แม้ว่ารัฐสภาของอังกฤษในสมัยนั้น เจ้าของที่ดิน กลุ่มอนุรักษ์นิยม จะมีเสียงข้างมาก แต่ก็มีความโน้มเอียงที่จะใช้นโยบายเสรีนิยม) อีกทั้งยังแสดงถึงอิทธิพลของแนวคิดลัทธิเสรีนิยมของสมิธ ได้มีส่วนผลักดันให้เกิดการค้าเสรีโดยปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ผลักดันในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือลดการแทรกแซงของรัฐบาลทางเศรษฐกิจนั่นเอง เพราะสมิธเชื่อว่าหากปล่อยให้มีการค้าและแลกเปลี่ยนโดยเสรี หรือเป็นไปตามกลไกราคาประเทศย่อมจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของปัจเจกชนและสังคมในที่สุด นอกจากนี้บรรยากาศทางเมืองและผลประโยชน์ระหว่างประเทศในสมัยนั้นก็เอื้ออำนวยให้อังกฤษใช้นโยบายการค้าแบบเสรีนิยม อังกฤษมีประเทศอารานิคมอยู่ทั่วโลกซึ่งเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบให้และเป็นตลาดรองรับส่งสินค้าของอังกฤษ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง