พลังงาน ใด ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าของ ประเทศไทย น้อย ที่สุด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้เว็บไซต์ได้ เช่น การ log in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของเราได้

คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้

ประเภทของพลังงาน

09 ส.ค. 2564 ข้อมูลน่ารู้

พลังงานคืออะไร?

พลังงาน (Energy) คือ แรงงานที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหวหรือทำงานในทางใดทางหนึ่ง โดยพลังงานสามารถเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ ตัวอย่างพลังงานที่รู้จักกันดี คือ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานลม พลังงานความร้อน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว พลังงานจะมีหน่วยวัดเป็นจูล (Joules) โดยเราสามารถแบ่งประเภทพลังงานตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ

  • พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy) เป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด น้ำ ลม หรือเชื้อเพลิงธรรมชาติ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น
  • พลังงานแปรรูป (Secondary Energy) เป็นพลังงานต้นกำเนิดที่ผ่านการแปรรูปและปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ เช่น พลังงานไฟฟ้า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น

รูปแบบของพลังงาน

พลังงานมีหลายรูปแบบ โดยรูปแบบของพลังงานที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • พลังงานเคมี (Chemical Energy)

    เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในรูปแบบอะตอมและโมเลกุลของสารเคมี ที่จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปแบบอื่นเมื่อเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เช่น การเผาถ่านไม้ ฟืน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง เป็นต้น
  • พลังงานความร้อน (Heat Energy/Thermal Energy)

    เป็นพลังงานที่ได้จากทั้งแหล่งธรรมชาติและการกระตุ้นด้วยวิธีต่าง ๆ จนส่งผลให้เกิดการสั่นหรือเคลื่อนไหวของโมเลกุลภายในวัตถุ จนเกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในตัววัตถุนั้น ๆ เช่น พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลังงานในเปลวไฟ การใช้เตาแก๊สต้มน้ำจนเกิดเป็นพลังงานความร้อน เป็นต้น
  • พลังงานกล (Kinetic Energy)

    เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง เป็นต้น
  • พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy)

    เป็นการแผ่รังสีหรือถ่ายเทรังสีของพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  • พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)

    เป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์เมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอมหรือจากสลายของสารกัมมันตรังสี
  • พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy)

    เป็นพลังงานที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน โดยพลังงานไฟฟ้าจะเป็นพลังงานที่มีการเปลี่ยนรูปมาจากพลังงานอื่น และสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปพลังงานอื่นได้ง่ายเช่นกัน เช่น การหมุนของพัดลมที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เป็นต้น

ประเภทของพลังงาน

  • พลังงานใช้แล้วหมดไป

    พลังงานใช้แล้วหมดไป หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นเชื้อเพลิงประเภทหนึ่งที่มีมาตั้งแต่บรรพกาล เกิดจากการเน่าเปื่อยทับถมของซากพืช ซากสัตว์ในชั้นใต้ดินหรือใต้ท้องทะเลเป็นเวลานับล้านปี โดยเป็นพลังงานที่สามารถใช้แล้วหมดไปได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรงจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานใช้แล้วหมดไป ได้แก่

    • ถ่านหิน (Coal)

      ถ่านหิน คือ แหล่งพลังงานที่เกิดจากการทับถมของซากพืชในพื้นที่ชื้นแฉะเป็นเวลาราว 300 – 360 ล้านปี โดยมีความร้อนและแรงดันที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลกเป็นตัวเร่งให้เกิดกระบวนการย่อยสลายจนเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ถ่านหินแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ พีต ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บิทูมินัส และแอนทราไซต์ โดยถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้า
    • น้ำมันดิบ (Crude Oil)

      น้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ในรูปของของเหลว สีสันหลากหลาย มีส่วนประกอบคือคาร์บอนและไฮโดรเจน โดยมีอัตราความหนืดข้นแตกต่างกันตามองค์ประกอบทางเคมี น้ำมันดิบไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง จะต้องนำไปผ่านกระบวนการกลั่นและกระบวนการผลิตแยกส่วนก่อน
    • ปิโตรเลียม (Petroleum Product)

      ปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นและแยกส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลและน้ำมันดิบจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลากหลาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันเตา เป็นต้น
    • ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

      ก๊าซธรรมชาติเป็นเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตใต้พื้นดิน เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สำคัญเป็นลำดับต้น ๆ และถือเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและปลอดภัย
  • พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน

    พลังงานหมุนเวียน หรือ พลังงานสะอาด คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป เนื่องจากสามารถหาทดแทนหรือผลิตขึ้นได้ใหม่อย่างไม่จำกัด ทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต แปรรูป นำไปใช้ จนถึงการจัดการของเสียที่เหลือจากกระบวนการต่าง ๆ นั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนพลังงานใช้แล้วหมดไป พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่

    • พลังงานน้ำ (Water Energy)

      พลังงานน้ำ คือ พลังงานที่สร้างขึ้นจากพลังงานการเคลื่อนที่ของน้ำ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การผลิตพลังงานน้ำสามารถทำได้โดยการกักเก็บน้ำไว้ด้วยเขื่อนหรือฝายปิดลำน้ำเพื่อสะสมกำลังในการสร้างพลังงานศักย์ จากนั้นจึงผันน้ำเข้าท่อไปยังเครื่องกังหันน้ำเพื่อขับเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ
    • พลังงานลม (Wind Energy)

      พลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากความกดดันของบรรยากาศ ความแตกต่างของอุณหภูมิ และแรงที่เกิดจากการหมุนของโลก โดยมีกังหันลมเป็นตัวกลางที่จะช่วยเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานอื่น ๆ พลังงานลมถือเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
    • พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)

      พลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยพลังงาน 2 ส่วน คือ พลังงานความร้อนและพลังงานแสงที่ได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในการทำหน้าที่เก็บแสงจากดวงอาทิตย์และกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อรอแปรสภาพเป็นพลังงาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อน
    • พลังงานชีวภาพและพลังงานชีวมวล (Biogas Energy/Biomass Energy)

      พลังงานชีวภาพ คือ พลังงานที่ผลิตขึ้นจากการย่อยสลายวัตถุชีวภาพ (เช่น ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ) ในสภาพแวดล้อมไร้ออกซิเจนจนเกิดเป็นก๊าซชีวภาพ (biogas) ซึ่งสามารถนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ส่วนพลังงานชีวมวล คือพลังงานความร้อนที่ได้จากการแปรรูปวัตถุชีวภาพ ซึ่งวิธีที่พบได้แพร่หลายที่สุดคือ การเผาเชื้อเพลิงชีวมวล (biofuel) เพื่อแปรรูปเป็นพลังงานที่สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้
    • พลังงานขยะ (Waste Energy)

      พลังงานขยะเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงขยะชุมชนที่มีความสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงได้ (Refuse Derived Fuel หรือ RDF) นำมาแปรรูปให้เป็นพลังงานไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูงแห่งหนึ่ง โดยจะจัดการให้อยู่ภายในมาตรการควบคุมมลพิษอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • พลังงานใต้พิภพ (Geothermal Energy)

      พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานที่ได้จากพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ดินหรือบริเวณแกนกลางของโลกที่มีอยู่ตั้งแต่โลกกำเนิดขึ้น เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน ทั้งการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนและการผลิตกระแสไฟฟ้า

    ความสำคัญของพลังงานทดแทน

    • ด้านอุปโภคและสาธารณูปโภค

      ใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อการอุปโภคและสาธารณูปโภคแทนแหล่งพลังงานเดิม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ประโยชน์ภายในครัวเรือนหรือชุมชน
    • ด้านเศรษฐกิจ

      ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ เนื่องจากประชาชนหันมาใช้ผลผลิตจากแหล่งธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
    • ด้านการเกษตร

      ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้นด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่านอกจากการบริโภค อีกทั้งยังช่วยลดของเสียจากการผลิตพืชอาหารเพื่อนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทน อันจะช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน
    • ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

      การใช้พลังงานทดแทนจะช่วยลดผลกระทบ มลภาวะ และมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิงฟอสซิล การเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนจึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง