ข้อใดให้ความหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ครบถ้วน ชัดเจน ถูกต้องมากที่สุด

DMAIC คืออะไร

DMAIC เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มเติมให้กับผลิตภัณฑ์ การออกแบบ และกระบวนการทางธุรกิจ DMAIC เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบวิธีซิกซ์ซิกมาโดย Bill Smith ซึ่งเป็นวิศวกรของ Motorola แนวทางแบบซิกซ์ซิกมาได้รับการออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลิตโดยใช้ข้อมูลและสถิติ

ขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการ DMAIC มีอะไรบ้าง

DMAIC มี 5 ขั้นตอนที่เชื่อมโยงถึงกัน ได้แก่ การกำหนด การวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง และการควบคุม ซึ่งแต่ละขั้นตอนได้รับการออกแบบให้ส่งผลแบบสะสมขึ้นไปเรื่อยๆ กล่าวคือ เป็นการต่อยอดข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนก่อนหน้าและนำไปทำซ้ำหลายๆ ครั้ง

  • การกำหนด: ขั้นตอนการกำหนดจะเป็นการระบุปัญหาและสิ่งที่จำเป็นในการแก้ปัญหาให้สำเร็จ ขั้นตอนนี้จะเป็นระยะที่คุณระบุอย่างชัดเจนถึงปัญหา เป้าหมายสุดท้าย และขอบเขตที่ต้องใช้เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ขั้นตอนนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการอย่างครบถ้วนและองค์ประกอบใดบ้างที่เป็นจุดวิกฤตต่อคุณภาพ หรือที่เรียกว่า “CTQ” ปัจจัยนำเข้าและผลลัพธ์มักจะได้รับการอธิบายโดยใช้แผนภาพ SIPOC ซึ่ง SIPOC เป็นอักษรย่อสำหรับซัพพลายเออร์ (Supplier) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลลัพธ์ (Output) และลูกค้า (Customer) โดยทั่วไปแล้ว จะมีการบันทึกข้อมูลนี้ลงในเอกสารกฎบัตรโครงการ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของกระบวนการ DMAIC
  • การวัด: เมื่อคุณเข้าใจปัญหาของกระบวนการแล้ว คุณต้องอธิบายได้ว่าคุณจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างไร และเมื่อแนวทางนี้มีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การมีข้อมูลที่ดีก็ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการ DMAIC ดังนั้น วัตถุประสงค์ของขั้นตอนการวัดจึงเป็นการกำหนดประสิทธิภาพของกระบวนการในปัจจุบันและข้อมูลที่คุณจะวิเคราะห์ หลังจากนั้น คุณจะสามารถใช้แผนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในขณะที่คุณทำการเปลี่ยนแปลง และเพื่อเปรียบเทียบเมื่อสิ้นสุดโครงการได้
  • การวิเคราะห์: เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ คุณควรมีข้อมูลพื้นฐานที่คุณสามารถใช้เพื่อเริ่มตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการได้ และเหมือนอย่างที่คุณคิดไว้ ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจสอบข้อมูลนั้น ซึ่งคุณและสมาชิกในทีมของคุณจะใช้ข้อมูลในการสร้างแผนผังของกระบวนการปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจว่าปัญหาของกระบวนการเริ่มต้นจากที่ใด และในขณะที่โครงการ Six Sigma บางโครงการใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนมากขึ้นสำหรับการสร้างแผนผัง แต่แผนผังก้างปลาและแผนภูมิพาเรโตก็เป็นวิธีการที่เพียงพอแล้วและมักใช้กันทั่วไปในการวิเคราะห์ต้นเหตุที่แท้จริง เมื่อคุณได้ระบุต้นเหตุที่แท้จริงหลายประการแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องให้ทีมของคุณมีส่วนร่วม ให้ทีมของคุณโหวตเพื่อตัดสินใจว่าควรจะผลักดันจุดโฟกัสในกระบวนการ DMAIC ไปข้างหน้าอย่างไร
  • การปรับปรุง: ในที่สุดก็ถึงเวลาที่จะเริ่มทำการปรับปรุงที่แท้จริงในกระบวนการ ในขั้นตอนการปรับปรุง ให้คุณทำงานร่วมกับทีมของคุณเพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ ซึ่งสามารถนำไปใช้และวัดได้ในกระบวนการ DMAIC ซึ่งการระดมความคิดและการประชุมที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทีมของคุณ เมื่อคุณมีวิธีการแก้ปัญหาในใจแล้ว คุณจะต้องทดสอบ ป้องกันความล้มเหลว และนำวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวไปใช้ วงจรการบริหารงานคุณภาพหรือ “PDCA” เป็นวิธีการที่ใช้งานกันทั่วไปเพื่อการนี้ โดยใช้ร่วมกับการวิเคราะห์เหตุขัดข้องและผลกระทบหรือ “FMEA” เพื่อคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คุณควรเขียนข้อมูลนี้ไว้ในแผนดำเนินการแบบละเอียด ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้วิธีการแก้ปัญหากับกระบวนการได้
  • การควบคุม: ขั้นตอนสุดท้ายในระเบียบวิธี DMAIC ช่วยให้คุณยืนยันและรักษาความสำเร็จของวิธีการแก้ปัญหาในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ในขั้นตอนการควบคุม ทีมของคุณควรสร้างแผนการติดตามตรวจสอบและการควบคุม เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่นำไปใช้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน คุณควรสร้างแผนรับมือเพื่อดำเนินการในกรณีที่ประสิทธิภาพเริ่มลดลงอีกครั้งและเมื่อปัญหาใหม่ปรากฏขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือการมองย้อนกลับไปได้ว่ามีการปรับปรุงอย่างไรบ้างและมีวิธีการแก้ปัญหาอะไรบ้าง ในช่วงเวลาเหล่านี้ การจัดทำเอกสารและการควบคุมเวอร์ชันที่เหมาะสมในกระบวนการปรับปรุงเป็นสิ่งที่จำเป็น

หากคุณพอมีความรู้เกี่ยวกับ DMAIC มาบ้างเล็กน้อยแล้ว คุณอาจเคยได้ยินขั้นตอนเริ่มต้นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเรียกว่าขั้นตอนการจดจำ ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกโครงการหรือปัญหาที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้น เนื่องจากบางโครงการอาจไม่จำเป็นต้องใช้แนวทางที่เข้มงวดแบบ DMAIC

ข้อดีของ DMAIC คืออะไร

ในอุตสาหกรรม ความน่าสนใจของซิกซ์ซิกมาและ DMAIC อยู่ที่ความสามารถในการขับเคลื่อนแนวทางการผลิตแบบลีน ซึ่งเป้าหมายคือการกำจัดของเสีย ข้อบกพร่อง และการผลิตที่มากเกินไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยชื่อซิกซ์ซิกมานั้นจริงๆ แล้วได้มาจากแบบจำลองทางสถิติที่ใช้ ซึ่งในด้านสถิติจะเรียกค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานว่า “ซิกมา” หรือ σ ผู้ผลิตพบว่ายิ่งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานซึ่งอยู่ระหว่างขีดจำกัดคุณภาพโดยเฉลี่ยและที่ยอมรับได้เพิ่มขึ้นมากเท่าไร โอกาสที่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะเกินขีดจำกัดเหล่านั้นก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น ดังนั้น ซิกซ์ซิกมาหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับ 6 จึงกลายเป็นมาตรฐานสูงสุดในการกำหนดขีดจำกัดการผลิต การลดจำนวนข้อบกพร่อง และการปรับปรุงกระบวนการ

ในแง่ของสถิติจริง การมีคุณภาพในระดับซิกซ์ซิกมาจะหมายถึงการมีโอกาสเกิดข้อบกพร่องในกระบวนการอยู่ที่อัตรา 3.4 ต่อ 1 ล้าน บางอุตสาหกรรม เช่น ผู้ผลิตยาหรือเครื่องบิน อาจใช้ระดับซิกมาที่สูงขึ้นในการผลิต เนื่องจากข้อบกพร่องอาจส่งผลเสียตามมาได้

แนวทางเชิงสถิติในการปรับปรุงกระบวนการและระเบียบวิธีอื่นๆ เช่น ไคเซ็นนั้นมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการปรับปรุงในการผลิตในช่วงทศวรรษ 1990 และ 2000 แต่ DMAIC จะใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง

ประโยชน์หลักของ DMAIC คือเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่เข้มงวดอย่างน่าทึ่ง การทดลองกับกระบวนการใหม่ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานมักจบลงโดยไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่หากใช้ DMAIC ซึ่งเป็นแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ชัดเจน และออกแบบมาเพื่อประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเป็นไปในทางบวกหรือไม่โดยดูตามความเป็นจริง แนวทางนี้จะทำให้คุณอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการประเมินความคืบหน้าที่วัดได้ ไม่ว่าจะเป็นการระบุถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาหรือผลกระทบที่แท้จริงจากการทดลอง DMAIC จะช่วยให้คุณมีข้อมูลเพื่อดำเนินการดังกล่าวนี้

DMAIC จะมอบกรอบการทำงานที่ได้มาตรฐานและมีโครงสร้างเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลง และแนวทาง 5 ขั้นตอนที่ชัดเจนจะช่วยให้ทุกคนไม่พลาดข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ซึ่งกรอบการทำงานนี้จะช่วยให้คุณจัดทำเอกสารประกอบเพื่อสรุปการตัดสินใจและความคืบหน้าทั้งหมดได้ ดังนั้นคุณจึงดำเนินการจากขั้นตอนหนึ่งไปยังอีกขั้นตอนหนึ่งได้อย่างราบรื่น และด้วยกระบวนการที่ชัดเจน คุณจะสามารถช่วยแนะนำทีมของคุณในแง่ของวัตถุประสงค์ปัจจุบันของทีมและเป้าหมายของทีมได้

สิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของ DMAIC ก็คือกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ในระดับสูง ซึ่งออกแบบมาเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนการควบคุมของกระบวนการ DMAIC จำเป็นต้องให้เจ้าของกระบวนการดำเนินการตรวจสอบผลกระทบของการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีแผนตรวจสอบข้อมูลแล้ว ข้อมูลของกระบวนการใหม่จะกลายเป็นพื้นฐานสำหรับขั้นตอนการวัดใหม่ไปเอง คุณสามารถปรับแผนรับมือให้เข้ากับกระบวนการ DMAIC ใหม่ได้ในกรณีที่การปรับปรุงครั้งแรกๆ ไม่สามารถรักษาประสิทธิภาพไว้ได้ ดังนั้นระเบียบวิธี DMAIC จึงสามารถระบุปัญหาหรือผลกระทบต่อประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการเพื่อกำหนดเป้าหมายเป็นปัญหาเหล่านั้นทันที

และด้วยวิธีนี้ กรอบการทำงาน DMAIC จะมอบแนวทางที่มีโครงสร้าง ซึ่งสามารถให้คำแนะนำแก่องค์กรของคุณในการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มเติมแบบซ้ำๆ ได้ตลอดทั้งกระบวนการทางธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในส่วนงานใด หรือทีมหรือองค์กรของคุณมีขนาดเท่าใด แนวทางนี้ก็เป็นวิธีการที่ผ่านการทดสอบแล้วเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

คุณควรใช้ DMAIC เมื่อไร

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ การปรับเปลี่ยน DMAIC ที่พบได้บ่อยก็คือการเพิ่มขั้นตอนการจดจำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาในการระบุว่าปัญหาเหมาะสำหรับ DMAIC หรือไม่ เหตุผลที่ต้องมีขั้นตอนนี้ก็คือ DMAIC เป็นกระบวนการที่ต้องการความสอดคล้องและความพยายามในระดับสูง รวมถึงเวลาในการทำความเข้าใจ องค์กรต้องปรับใช้และดำเนินการตาม DMAIC เพื่อดูว่า DMAIC จะได้ผลดีที่สุดสำหรับทีม อุตสาหกรรม และวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร ในขณะเดียวกัน องค์กรก็ต้องพิจารณาว่าจะจัดสรรทรัพยากรได้ดีที่สุดที่ส่วนใด กล่าวคือ ต้องดูว่ากระบวนการหรือทีมใดจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก DMAIC

ด้วยเหตุนี้ คุณจึงไม่จำเป็นต้องเลือกใช้ DMAIC กับทุกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยหากคุณระบุปัญหาของกระบวนการได้และมีวิธีการแก้ไขปัญหาแบบเรียบง่ายที่มีข้อมูลที่น่าสนใจสนับสนุนอยู่ คุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการ DMAIC อย่างเต็มรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม DMAIC จะเป็นแนวทางที่ดีกว่า เมื่อปัญหาของกระบวนการมีความซับซ้อนหรือมีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจเป็นเวลาที่ไม่อาจยอมให้ประสิทธิภาพลดลงได้ แม้ว่าค่าใช้จ่ายทรัพยากรจะสูงขึ้น แต่ DMAIC จะรับรองว่ามีการปฏิบัติตามขั้นตอนและไม่มีการข้ามขั้นตอนสำคัญ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการนำมาใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ

การปรับปรุงกระบวนการด้วย DMAIC

การดำเนินโครงการ DMAIC เป็นครั้งแรกอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่องค์กรพบปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ DMAIC ก็คือแนวทางนี้ไม่ใช่วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดซึ่งพร้อมใช้งานทันทีสำหรับองค์กรหรือธุรกิจของคุณ หากแต่เป็นกระบวนการค้นหาที่ช่วยให้คุณพบวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับทีมและองค์กรของคุณโดยผ่านการทำซ้ำและการปรับปรุงเพิ่มเติม แม้ว่าองค์กรจะไม่จำเป็นต้องใช้ DMAIC กับทุกปัญหาที่เผชิญ แต่การเริ่มนำแนวทางนี้เข้ามาใช้ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงกระบวนการขึ้นอย่างแท้จริงได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่วัดได้สำหรับบริษัทของคุณในท้ายที่สุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง