ข้อใดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP)

ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเกือบครึ่งศตวรรษ
ไทยออยล์ก้าวจากโรงกลั่นเล็กๆขนาด 35,000 บาร์เรลต่อวัน
มาเป็นโรงกลั่นนํ้ามันแบบเดี่ยวขนาด 275,000 บาร์เรลต่อวัน
ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศและมีความสามารถในการผลิตหลากหลายผลิตภัณฑ์ครบวงจร
ทั้งนํ้ามันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน

         โรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ได้รับการออกแบบให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุดจากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียแปซิฟิก โดยมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้วัตถุดิบหรือนํ้ามันดิบจากแหล่งต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ

หลักพื้นฐานของการกลั่นน้ำมันและภาพรวมของกระบวนการกลั่นน้ำมัน

     กระบวนการกลั่นน้ำมัน คือ กระบวนการการแยกโมเลกุลสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันดิบและแปรสภาพสสารดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงกว่า ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งจะมีการออกแบบให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบ รวมถึงวัตถุดิบอื่นๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้ คุณภาพของน้ำมันดิบและประเภทของหน่วยกลั่นต่างๆ ในโรงกลั่นน้ำมันจะเป็นปัจจัยในการพิจารณาวิธีการกลั่นน้ำมันและระดับความสามารถในการกลั่นน้ำมันดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไป การแบ่งประเภทของน้ำมันดิบจะแบ่งตามความหนาแน่น (Density) จากต่ำไปสูง (Light to Heavy) และปริมาณกำมะถันจากต่ำไปสูง (Sweet to Sour)

     สำหรับโรงกลั่นของบริษัทฯ ถือเป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ซึ่งมีกระบวนการที่สามารถแปลงสภาพวัตถุดิบที่มีราคาต่ำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามากขึ้น โดยมีรายละเอียดกระบวนการกลั่นโดยสังเขป ดังนี้

  • กระบวนการกลั่นแยกส่วน (Fractionation)

     กระบวนการนี้เกิดขึ้นในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Unit : CDU) โดยการป้อนน้ำมันดิบจากถังพักเข้าสู่หน่วยกลั่นและผ่านกระบวนการให้ความร้อนจนถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 350 องศาเซลเซียสด้วยกระบวนการถ่ายเทความร้อน โดยใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchangers) และเตาเผา (Fired Heaters) เมื่อนำเข้าสู่หอกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ตามจุดเดือด (Fractionation Tower) น้ำมันดิบจะมีการแยกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ตามจุดเดือดแต่ละจุด โดยน้ำมันดิบบางส่วนจะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยังส่วนบนของหอและกลั่นตัวเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันใส (Distillate) ชนิดต่างๆ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว แนฟทา (Naphtha) น้ำมันก๊าด และน้ำมันดีเซล สำหรับน้ำมันดิบที่
ไม่ระเหยจะกลายเป็นน้ำมันเตา (Residue) ซึ่งจะออกทางส่วนล่างของหอ เพื่อกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ตามจุดเดือด ทั้งนี้ หากต้องการปรับปรุงคุณภาพและมูลค่าของน้ำมันใส ก็จะมีการนำน้ำมันใสเข้ากระบวนการอื่นต่อไป

  • กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ (Treating)

     กระบวนการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันใส (Distillate) เป็นกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมันใส เช่น สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบกำมะถัน เป็นต้น และปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกายภาพ เช่น เสถียรภาพจากความร้อน (Thermal Stability) และเสถียรภาพของสี (Color Stability) เป็นต้น เพื่อให้น้ำมันใสกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระดับความบริสุทธิ์และคุณภาพตามความต้องการของตลาด ในหลายกรณี กระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยปฏิกิริยาของสารเร่งปฏิกิริยาเคมี (Catalytic Reaction) ซึ่งลักษณะและคุณสมบัติของสารเร่งปฏิกิริยามีความแตกต่างกันออกไป เช่น การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันก๊าดจำเป็นต้องใช้สารเร่งปฏิกิริยาชนิดเหลว (Liquid Catalyst) ใน
หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันก๊าดเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะที่การกำจัดสารปนเปื้อนออกจากแนฟทาในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเบนซิน (Hydrotreating Unit) และน้ำมันดีเซลในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซล (Hydrodesulfurization Unit) นั้น จะดำเนินการโดยใช้
สารเร่งปฏิกิริยาชนิดแข็งและก๊าซไฮโดรเจนที่มีอุณหภูมิและความดันสูง

  • กระบวนการปรับเพิ่มค่าออกเทน (Octane Number Enhancement)

     เนื่องจากแนฟทาที่ได้จากหน่วยกลั่นน้ำมันดิบจะมีค่าออกเทนต่ำและมีคุณภาพไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ผสมในน้ำมันเบนซิน จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการกลั่นแยกให้เป็นแนฟทาชนิดเบา (Light Naphtha) และแนฟทาชนิดหนัก (Heavy Naphtha) ด้วยการนำเข้าสู่หน่วยปรับปรุงคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยแนฟทาชนิดเบาจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพที่หน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วม (Isomerization Unit) เพื่อเพิ่ม ค่าออกเทนจากประมาณ 65 - 70 เป็นประมาณ 88 - 89 ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารอะโรเมติกส์ (Aromatics) เจือปน จึงเหมาะสมที่จะใช้ผสมเป็นน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ซึ่งมีปริมาณสารอะโรเมติกส์ต่ำ สำหรับแนฟทาชนิดหนักจะนำไปปรับปรุงคุณภาพที่หน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Continuous Catalyst Regeneration Platformer Unit : CCR) เพื่อเพิ่ม
ค่าออกเทนจากระดับปกติที่ประมาณ 40 - 50 เป็น 102 - 103

  • กระบวนการเปลี่ยนแปลง Long Residue (Conversion of Long Residue)

     น้ำมันเตา (Residue) ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากกระบวนการกลั่นแยกส่วนจากหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (CDU) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Long Residue จะมีการส่งต่อไปยังหน่วยกลั่นสุญญากาศ (High Vacuum Unit : HVU) เพื่อแยกน้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) ออกจากน้ำมันเตาชนิดหนัก (Short Residue) ภายในหอกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ตามจุดเดือด (Fractionation Tower) ภายใต้อุณหภูมิสูงและภาวะสุญญากาศ

     น้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยแตกโมเลกุลด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Fluidized Catalytic Cracking Unit : FCCU) เพื่อผ่านสารเร่งปฏิกิริยา (Fluidized Catalyst) ภายใต้อุณหภูมิสูง เพื่อให้แตกโมเลกุลเป็นน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนสูงและน้ำมันดีเซล ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดถ่านโค้ก (Coke) บนสารเร่งปฏิกิริยา ดังนั้น จึงต้องมีการเผาถ่านโค้กเพื่อนำสารเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้งานใหม่ในหน่วย Regenerator หรืออีกทางเลือกหนึ่ง จะมีการส่งน้ำมันเตาชนิดเบาไปยังหน่วยแตกโมเลกุลด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วม (Hydrocracking Unit : HCU) เพื่อผ่านสารเร่งปฏิกิริยาภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง รวมถึงสภาวะที่มีก๊าซไฮโดรเจน เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันใส (White Oil) ที่มีราคาสูง ได้แก่ แนฟทา น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล

     ส่วนน้ำมันเตาชนิดหนัก (Short Residue) จากหน่วยกลั่นสุญญากาศ (HVU) จะมีการส่งไปยังหน่วยเพิ่มคุณค่าน้ำมันเตาด้วยความร้อน (Thermal Cracking Unit : TCU) เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าตลาดที่สูงขึ้น  โดยการผ่านกระบวนการภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความดันสูง เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างให้เป็นน้ำมันเตาที่มีความหนืดต่ำลง อีกทั้ง ยังทำให้ได้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลอีกส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้วางแผนให้หน่วยเพิ่มคุณค่าน้ำมันเตาด้วยความร้อน (Thermal Cracking Unit : TCU) หยุดเดินการผลิต ภายหลังที่บริษัทฯ เริ่มทำการผลิตน้ำมันเตาที่มีกำมะถัน ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนักตามมาตรฐานขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Marine Organization : IMO) เนื่องจากคุณภาพของกากน้ำมันเตาจากหน่วยเพิ่มคุณค่าน้ำมันเตาด้วยความร้อน (Thermal Crack Residue) มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำมันเตาที่มีกำมะถัน ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักในกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างน้ำมันเตา คือ เพื่อลดปริมาณน้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ และเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันใส (White Oil) เช่น น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง ทั้งยังช่วยให้โรงกลั่นน้ำมันมีความยืดหยุ่นในการเลือกชนิดน้ำมันดิบ นอกจากนี้ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างน้ำมันเตานี้ ยังช่วยเพิ่มกำไรขั้นต้นจากการกลั่นให้สูงกว่าโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Hydro - Skimming) อีกด้วย

  • กระบวนการผสมผลิตภัณฑ์ (Product Blending)

     โรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นกลาง (Middle Distillation) หรือองค์ประกอบสำหรับใช้ผสมน้ำมันหลายชนิด ทำให้สามารถเลือกผสมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงชนิดต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะต้องผ่าน
ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มีความแม่นยำในการผสม มีการเติมสารเติมแต่ง (Additive) และสี (Dye) เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดและข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทฯ ใช้ระบบการผสมแบบ In - line Blending สำหรับการผสมน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยมีระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมสัดส่วนการผสม ซึ่งทำงานควบคู่กับระบบตรวจสอบวิเคราะห์ ซึ่งทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันขณะผสมได้ตลอดเวลา เพื่อปรับแต่งสัดส่วนการผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ส่วนน้ำมันเตายังคงใช้ระบบการผสมแบบ Batch Blending

กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปจากนํ้ามันดิบและวัตถุอื่นๆ

เศรษฐศาสตร์การกลั่นน้ำมัน (Economics of Refining)

     การกลั่นน้ำมันถือเป็นธุรกิจจากฐานกำไร (Margin) โดยมีเป้าหมายของผู้กลั่นน้ำมัน คือ การทำให้กระบวนการกลั่นน้ำมันมีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดจากวัตถุดิบที่ใช้ ทั้งนี้ โรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refinery) จะมีสัดส่วนของน้ำมันชนิดหนัก (Heavy Products) และมีมูลค่าต่ำเป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันเตาและยางมะตอย เป็นต้น สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ สารมิกซ์ไซลีน น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันดีเซลนั้น ปริมาณผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับชนิด
น้ำมันดิบและวัตถุดิบที่ใช้ โดยกำไรจากการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refining Margin) จะคำนวณโดยการนำมูลค่าทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้หักด้วยต้นทุนราคาน้ำมันดิบ ค่าวัตถุดิบอื่นๆ และค่าสาธารณูปโภคที่ซื้อจากภายนอก ขณะที่กำไรการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refining Margin) จะแตกต่างกัน เนื่องจากมีหน่วยกลั่นที่สามารถแปรสภาพน้ำมันชนิดหนักที่มีมูลค่าต่ำให้เป็นน้ำมันชนิดเบา (Light Products) ที่มีมูลค่าสูงกว่าได้ จึงสามารถผลิตน้ำมันชนิดหนัก (Heavy Products) ได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่า ดังนั้น โรงกลั่นน้ำมันที่มีระบบที่ซับซ้อนกว่าจึงมีผลตอบแทนจากการผลิตที่สูงกว่า เนื่องจากสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงโดยใช้น้ำมันดิบหรือวัตถุดิบอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ดังนั้น กำไรจากการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refining Margin) จึงสูงกว่ากำไรจากการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refining Margin)

     ทั้งนี้ ค่าอ้างอิง (Benchmark) ในอุตสาหกรรมการกลั่น เพื่อใช้วัดผลตอบแทน ความซับซ้อน และประสิทธิภาพของโรงกลั่นนั้นมีค่อนข้างหลากหลาย ประกอบด้วย Nelson’s Complexity Index กำไรจากการกลั่นขั้นต้น อัตราการใช้กำลังการผลิต (Plant Utilization Rate) ความพร้อมในการผลิต (Operational Availability) สัดส่วนการเพิ่มมูลค่าเทียบกับอัตราการกลั่น (Upgrading - to - Refining Ratio) สัดส่วนการปรับปรุงคุณภาพเทียบกับอัตราการกลั่น (Hydrotreating - to - Refining Ratio) ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Intensity Index (EII)) Non - Energy Cash Cost (NECC) และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา   

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปหลักที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน  น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา

ข้อใดในผลิตภัณฑ์ที่ได้ในการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ มีอะไรบ้าง คำตอบ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัด น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย ข้อมูลจาก เวปไซด์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ผลิตภัณฑ์กลั่นตรง คืออะไร

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกากลั่นลำดับส่วนในโรงกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งเรียกว่า ผลิตภัณฑ์กลั่นตรงเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบตั้งแต่ 1 อะตอมขึ้นไปจนถึงมากกว่า 35 อะตอมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนคาร์บอนมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนคาร์บอน 1-4 อะตอม จะมีสถานะเป็นก๊าซและมีจุดเดือดต่ำ ...

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหอกลั่นน้ำมันดิบ เรียกว่าอะไร

1.ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแอลพีจี (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซหุงต้มนั่นเอง ใช้ในครัวเรือนหรือเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงงานอุตสาหกรรมหรือรถยนต์ 2.แนฟทา นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรือทำเม็ดพลาสติก 3.น้ำมันเบนซิน ใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบประเภทไหนมากที่สุด

1. ยางมะตอย (Asphalt) ยางมะตอย คือสารผสมซึ่งประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดและสารอินทรีย์อื่น ๆ เรียกรวมว่าสารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหรือเป็นกึ่งของแข็ง สีน้ำตาลเข้มถึงสีดำยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง