ข้อ ใด เป็น อาหาร ที่ บริสุทธิ์ เหมาะ แก่ การ บริโภค ตาม พระราชบัญญัติ อาหาร พ ศ 2522

กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน

ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และรายละเอียดที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนด

1. กำหนดให้มีการประกาศให้มีการกำหนดอาหารวบคุมเฉพาะ

2. กำหนดให้มีคณะกรรมการอาหารและยา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในกรณีต่างๆ เพื่อควบคุมคุมคุณภาพของอาหาร

3. กำหนดให้มีการขออนุญาติเพื่อผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหาร

4. กำหนดลักษณะของอาหารลักษระต่างๆที่ผิดกฏหมาย หรือห้ามผลิต จำหน่ายหรือนำเข้าเพื่อจำหน่าย ได้แก่

        1. อาหารไม่บริสุทธิ์ ในมาตรา 26 อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์

                (1) อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย

                (2) อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง

                (3) อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บกักมาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ

                (4) อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อกับคนได้

                (5) อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

        2. อาหารปลอม ในมาตรา 27 อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นอาหารปลอม

                (1) อาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน

                (2) วัตถุหรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมอาหารอย่างหนึ่งอย่างใดและจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น

                (3) อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยวิธีใดๆ โดยประสงค์จะปกปิดซ่อนเร้น ความชำรุดบกพร่องหรือความด้อยคุณภาพของอาหารนั้น

                (4) อาหารที่มีฉลากเเพื่อหลอกหลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะะพิเศษอย่างอื่น

                (5) อาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ

  กฎหมายการควบคุมอาหาร
 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาหารฉบับปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีทั้ง 8 หมวด ได้แก่
     หมวดที่ 1 คณะกรรมการอาหาร
     หมวดที่ 2 การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตอาหาร
     หมวดที่ 3 หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับอาหาร
     หมวดที่ 4 การควบคุมอาหาร
     หมวดที่ 5 การขึ้นทะเบียนและการโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร
     หมวดที่ 6 พนักงานเจ้าหน้าที่
     หมวดที่ 7 การพักใช้ในอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต
     หมวดที่ 8 บทกำหนดโทษ  
        กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาหารยังมีประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข และกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ความหมายของอาหาร
        อาหารตามความหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 มีใจความปรากฏดังนี้
อาหาร หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
        1. วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี
        2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปน อาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส จะเห็นได้ว่าอาหารตามความหมายในพระราชบัญญัติอาหารได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนและมีใจความกว้างขวาง นอกจากนี้ มาตรา 4 ยังได้ให้ความหมายของคำว่าที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่ควรทราบ ดังนี้
   "อาหารควบคุมเฉพาะ" หมายถึงอาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหารที่อยู่ในความควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐาน
   "ตำรับอาหาร" หมายถึงรายการของวัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบอาหาร ซึ่งระบุน้ำหนักหรือปริมาณของแต่ละรายการ
    "ภาชนะบรรจุ" หมายถึงวัตถุที่บรรจุอาหารไม่ว่าด้วยการใส่หรือห่อด้วยวิธีใด ๆ
    "ฉลาก" หมายความรวมถึงรูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุ ที่หีบห่อของภาชนะที่บรรจุ
    "ผลิต" หมายถึงการทำ ผสม ปรุงแต่ง และหมายความรวมถึงแงบรรจุด้วย
    "จำหน่าย" หมายความรวมถึงการขาย จ่าย แจก หรืแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย
       ดังที่ทราบแล้วว่าอาหารจะต้องไม่เป็นพิษต่อร่างกายผู้บริโภค และเพื่อนที่จะให้ผู้ริโภคได้รับประโยชน์จากอาหารให้ได้มากที่สุด ดังนั้นมาตราที่ 25 หมวดการควบคุมอาหารจึงกำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดผลิตนำเข้า เพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารดังต่อไปนี้
     1. อาหารไม่บริสุทธิ์
     2. อาหารปลอม
     3. อาหารผิดมาตรฐาน
     4. อาหารอื่นที่รัฐมาตรีกำหนด
ลักษณะของอาหารทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้
   1. อาหารไม่บริสุทธิ์ มีลักษณะดังต่อไปนี้ (มาตราที่ 26)
       1.1 อาหารมีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย
       1.2 อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง เว้นแต่การเจือปนเป็นการจำเป็นต่อกรรมวิธีผลิต การผลิตและรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
       1.3 อาหารที่ได้ผลิต บรรจุ หรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ
       1.4 อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรค อาจติดต่อถึงคนได้
       1.5 อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ
  2. อาหารปลอม มีลักษณะดังต่อไปนี้ (มาตราที่ 27)
       2.1 อาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออกเสียทั้งหมดหรือบางส่วน และจำหน่ายเป็นอาหารแท้ชนิดนั้น หรือใช้ชื่อเป็นอาหารแท้นั้น
       2.2 วัตถุหรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมและนำหน่ายแทนเป็นอาหารแท้อย่างนั้น
       2.3 อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยวิธีใด ๆ โดยประสงค์จะปกปิดซ่อนเร้น ความชำรุดบกพร่องหรือความด้อยคุณภาพของอาหารนั้น
       2.4 อาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้อื่นให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่ และประเทศที่ผลิต
       2.5 อาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ถึงขนาดจากผลการวิเคราะห์ปรากฏว่าส่วนประกอบที่เป็นคุณค่าทางอาหารขาด หรือเกินร้อยละสามสิบจากเกณฑ์ต่ำสุด หรือสูงสุด หรือแตกต่างจากคุณภาพหรือมาตรฐานที่ระบุไว้จนทำให้เกิดโทษ หรืออันตราย

  3. อาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตราที่ 28 ได้แก่อาหารที่ที่ถูกต้องตามคุณภาพ หรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่ไม่ถึงขนาดดังกล่าวในข้อ 2.5

  4. อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด ตามมาตราที่ 29 ได้แก่อาหารต่อไปนี้
      4.1ไม่ปลอดภัยในการบริโภค หรือ
      4.2 มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือ
      4.3 มีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม

มาตรา 30 เพื่อประโยชน์แก่การควบคุมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หรือให้ปราศจากอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจ
   (1) ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งอาหาร ดัดแปลง แก้ไข สถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอาหาร
   (2) สั่งให้งดผลิตหรืองดนำเข้าซึ่งอาหารที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต หรืออาหารที่ปรากฏจากผลการ ตรวจพิสูจน์ว่าเป็นอาหารที่ไม่ควรแก่การบริโภค
   (3) ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหารให้ประชาชนทราบในกรณีที่ปรากฏผลจากการตรวจพิสูจน์ว่า อาหารรายใดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา 26 หรือเป็นอาหารปลอมตามมาตรา 27 หรือเป็นอาหารผิด มาตรฐานตามมาตรา 28 หรือเป็นอาหารที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออนามัยของประชาชน หรือ

ภาชนะบรรจุรายใดประกอบด้วยวัตถุที่อาจเป็นอันตรายเมื่อใช้บรรจุอาหาร โดยให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
   (ก) ในกรณีที่ปรากฏตัวผู้ผลิตโดยแน่ชัด ให้ระบุชื่อผู้ผลิตพร้อมทั้งชนิดและลักษณะของอาหารหรือ ภาชนะบรรจุนั้น และถ้าอาหารหรือภาชนะบรรจุดังกล่าวมีชื่อทางการค้าหรือลำดับครั้งที่ผลิตหรือนำเข้า ก็ให้ระบุชื่อทางการค้าและลำดับครั้งที่ผลิตหรือนำเข้านั้นด้วย แล้วแต่กรณี
   (ข) ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวผู้ผลิตโดยแน่ชัดแต่ปรากฏตัวผู้จำหน่าย ให้ระบุชื่อผู้จำหน่ายและสถานที่ จำหน่าย พร้อมทั้งชนิดและลักษณะของอาหารหรือภาชนะบรรจุนั้น


 //sites.google.com/site/thrayprakay/khwam-kawhna-4/3kdhmay-thiy-thi-keiyw-kab-kar-phlit-hrux-kar-khay-xahar/kdhmay-kar-khwbkhum-xahar-chbab-paccuban

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง