ข้อใด คือ ระบอบ การเมือง การปกครองที่เกิดในยุโรป ยุคกลาง

    หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ.476 สภาพทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของยุโรปตะวันตกเต็มไปด้วยความวุ่นวายจากการอพยพเข้ามาของอนารยชนเผ่าต่างๆ แต่ช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาของการสร้างอารยธรรมใหม่ขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความแตกต่างจากอารยธรรมสมัยโบราณ นักประวัติศาสตร์เรียกประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ว่า สมัยกลาง โดยแบ่งออกเป็น 3ระยะ ได้แก่

2.1 ระยะต้น

     เริ่มตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ.476 จนถึงประมาณ ค.ศ.1000 เป็นสมัยของการก่อรูปของอารยธรรมและสังคมของยุโรปใหม่ ซึ่งเป็นสมัยที่มีความตกต่ำทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า ยุคมืด (Dark Ages)

 2.1.1 การเมือง

     ก่อนจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ชนเผ่าเยอรมันบางกลุ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนจักรวรรดิโรมันมาเป็นเวลานานแล้ว ชนเผ่าเยอรมันบางคนรับราชการเป็นทหารของจักรวรรดิโรมัน แต่หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ชนเผ่าเยอรมันเหล่านี้ได้ตั้งอาณาจักรปกครองดินแดนส่วนต่างๆขึ้น ได้แก่
  
    1.ชนเผ่าแฟรงก์ (Frank) เข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม ต่อมาเป็นพวกแรกที่สามารถรวมดินแดนยุโรปตะวันตกเข้าเป็นจักรวรรดิเดียวกันได้เป็นผลสำเร็จ
     
     2.ชนเผ่าออสโตรกอท (Ostrogoth) อพยพเข้าไปตั้งอาณาจักรในประเทศอิตาลี แต่ถูกจักรวรรดิไบแซนไทน์ปราบปรามใน ค.ศ.554

     3.ชนเผ่าลอมบ์ด (Lombard) เข้าไปตั้งอาณาจักรในประเทศอิตาลีใน ค.ศ.568

     4.ชนเผ่าแองโกลแซกซัน (Anglo Saxon) เข้าไปตั้งอาณาจักรในเกาะอังกฤษ

     5.ชนเผ่าเบอร์กันเดียน (Burgundian) ตั้งอาณาจักรในภาคใต้ของฝรั่งเศสแถบลุ่มน้ำโรน

     6.ชนเผ่าวิซิกอท (Visigoth) เข้าไปตั้งอาณาจักรในประเทศสเปน ต่อมาถูกพวกอาหรับเข้ารุกรานใน ค.ศ.711

     7.ชนเผ่าแวนดัล (Vandal) เข้าไปตั้งอาณาจักรในภาคเหนือของทวีปแอฟริกา

     หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา อาณาจักรของชนเผ่าต่างๆเหล่านี้ก็ได้ล่มสลายลง เหลือเพียงชนเผ่าแองโกลแซกซันในประเทศอังกฤษและชนเผ่าแฟรงก์ในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น ที่ยังคงสามารถรักษาอาณาจักรไว้ได้

     ในช่วงเวลานี้การเมืองในยุโรปตะวันตกมีความปั่นป่วนและเกิดสงครามระหว่างชนเผ่าขึ้นตลอดเวลา เพราะแต่ละชนเผ่าต่างพยายามขยายอาณาเขตของตนเองออกไป จนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่7 พวกแฟรงก์ในดินแดนฝรั่งเศสพยายามผนวกดินแดนต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรของตน

     และมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดในสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ สามารถรวบรวมยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และดินแดนของอิตาลีเข้าเป็นจักรวรรดิเดียวกันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาแห่งกรุงโรมให้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตกเมื่อ ค.ศ.800

     ในยุคสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจโดยรับแนวความคิดจากคริสต์ศาสนา การปกครองส่วนกลางรวมศูนย์อำนาจที่องค์จักรพรรดิและราชสำนัก ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นมณฑล โดยพระองค์ได้ส่งขุนนางไปปกครอง มีอำนาจสิทธิ์ขาดในแต่ละมณฑล

     แต่หลังจากจักรพรรดิชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ.814 จักรวรรดิก็เริ่มแตกแยก ในที่สุดหลัง ค.ศ.843 จักรวรรดิถูกแบ่งแยกเป็น 3ส่วน ซึ่งพัฒนามาเป็นอาณาจักรฝรั่งเศส จักรวรรดิเยอรมัน และอิตาลี และพวกขุนนางท้องถิ่นต่างก็มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถแบ่งแยกดินแดนของจักรวรรดิออกเป็นแคว้นต่างๆ นำไปสู่การปกครองแบบฟิวดัลอย่างแท้จริงในช่วงเวลาต่อมา

 2.1.2 เศรษฐกิจ

     เมื่อชนเผ่าเยอรมันเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในดินแดนต่างๆแล้ว ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรรมใช้ระบบนาโล่ง พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ คือข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ ส่วนระบบชลประทานขนาดใหญ่ถูกละเลยตั้งแต่ช่วงเวลาสิ้นสุดสมัยโรมัน ในสมัยจักรพรรดิชาร์เลอมาญได้พยายามทำนุบำรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สร้างสะพาน ขุดคลอง จัดระบบการพาณิชย์ กำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด ผลิตเงินตรา
    
    ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่9 นี้ได้เกิดระบบฟิวดัล (feudalism) ขึ้น ระบบนี้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และระบบการเมืองการปกครองของยุโรปสมัยกลางในเวลาต่อมา

           feudalism มาจากคำว่า fiefs หมายถึง ที่ดินที่เป็นพันธสัญญาระหว่างเจ้านาย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เรียกว่า ข้า พวกเจ้าของที่ดินจะเป็นพวกขุนนาง เรียกว่า ลอร์ด (lord) ส่วนผู้ที่อยู่ใต้อำนาจของขุนนางเรียกว่า วัสซัล (vassal)

               ความสำคัญของระบบฟิวดัล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับข้าตามระดับชั้นจากบนลงล่าง กษัตริย์จึงเป็นเจ้านายชั้นสูงสุดของระบบ ที่ดินทั่วราชอาณาจักรเป็นของกษัตริย์

 2.1.3 สังคม

             สังคมในช่วงเวลาสมัยกลางตอนต้นมีความวุ่นวายมาก ขาดระเบียบวินัยและความมั่นคง สังคมเมืองแทบล่มสลาย ภาวะตกต่ำ ผู้คนทั่วไปอ่าน และเขียนหนังสือไม่ได้ ยกเว้นพระและนักบวช
              ในช่วงเวลานี้คริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในยุคกลางตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นชีวิต โดยคริสตจักรเป็นสถาบันเดียวที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ การที่คริสต์ศาสนาเข้ามามีบทบาทต่อสังคม เนื่องจากสภาพความวุ่นวายในช่วงปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน ทำให้ประชาชนเข้าหาที่พึ่ง คือ ศาสนา ซึ่งมีฐานะเป็นสถาบันหลักของจักรวรรดิโรมันเพียงสถาบันเดียวที่มีประสิทธิภาพและมีความเข้มแข็งแม้จักรวรรดิจะล่มสลายไปแล้ว

     สถาบันคริสต์ศาสนามีประมุขทางศาสนา คือ สันตะปาปา มีหน้าที่กำหนดนโยบายทุกอย่าง ดังนั้นเมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุดลง ศาสนจักรได้ร่วมมือกับกษัตริย์ของพวกอนารยชน ทำให้รักษาความปลอดภัยไว้ได้ ศาสนจักรจึงทำหน้าที่แทนจักรวรรดิโรมันในการยึดเหนี่ยวประชาชนยุโรปไว้ และรักษาวัฒนธรรมความเจริญต่างๆสืบต่อมา

 2.2 ระยะกลาง

     ระยะกลางเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1000-1350 ช่วงเวลานี้เป็นระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสังคมตะวันตกมีประชากรเพิ่มขึ้น คริสต์ศาสนาและระบบฟิวดัลมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด และเริ่มมีพัฒนาการในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งภูมิปัญญา

 2.2.1 การเมือง

     1.ความขัดแย้งระหว่างคริสตจักรกับจักรวรรดิ

              จักรวรรดิแฟรงก์ล่มสลายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่9 ดินแดนของจักรวรรดิได้แบ่งแยกออกเป็นฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี

              ดินแดนเยอรมันมีจักรพรรดิปกครองแต่ทว่าไม่มีอำนาจมากนัก จนในสมัยของพระเจ้าออทโทที่1 ได้ทรงปกครองเยอรมันและอิตาลี สันตะปาปาจอห์นที่12 จึงทรงสถาปนาพระเจ้าออทโทที่1 ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)    
                            
               ในค.ศ.962 ทั้งจักรพรรดิและสันตะปาปาต่างอ้างอำนาจในการปกครองร่วมกันในจักรวรรดิ ในช่วงเวลานี้ศาสนจักรยังไม่มีอำนาจเต็มที่ จนกระทั่งศาสนจักรได้มีการปฏิรูปอำนาจของศาสนจักรให้มีอำนาจสูงสุด

               ในที่สุดสันตะปาปาก็ทรงประกาศว่าศาสนจักรมีอำนาจเหนือจักรพรรดิ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปากับจักรพรรดิขึ้น ประกอบกับจักรพรรดิเยอรมันทรงพยายามขยายอำนาจในดินแดนอิตาลีซึ่งสันตะปาปามีอิทธิพลอยู่ จักรพรรดิเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อำนาจของศริสตจักรที่กรุงโรม การต่อสู้ดังกล่าวส่งผลให้ขุนนางแต่ละแคว้นมีอำนาจมากขึ้น ทำให้ระบบฟิวดัลมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น

                สำหรับอังกฤษและฝรั่งเศส ศาสนจักรไม่ค่อยแทรกแซงการเมืองภายในมากนัก สถาบันกษัตริย์พยายามเพิ่มอำนาจของตนเองในการปกครอง ทำให้อำนาจของขุนนางลดลงไป

               ในอังกฤษเกิดความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนาง ในที่สุดพระมหากษัตริย์ต้องยอมจำนนต่อคณะขุนนาง และคณะขุนนาง ได้กลายมาเป็นสมาชิกรัฐสภาของอังกฤษ

                ส่วนฝรั่งเศส กษัตริย์กลับมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีอำนาจในการปกครองเบ็ดเสร็จ และกลายมาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในที่สุด

    2.ระบบฟิวดัลเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

                 ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่9-10 พวกอนารยชนจากสแกนดิเนเวีย(ปัจจุบัน คือ นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก)ที่เรียกว่าพวกไวกิ้ง ได้เข้ารุกรานจักรวรรดิของพวกแฟรงก์ ปรากฏว่าจักรวรรดิของพวกแฟรงก์ไม่มีกำลังเข้มแข็งพอ การป้องกันภัยจากพวกไวกิ้งตกเป็นหน้าที่ของพวกขุนนางท้องถิ่นหรือเจ้าของที่ดิน จัดตั้งเป็นกองทหารป้องกันการรุกราน
ทำให้ขุนนางท้องถิ่นสามารถสร้างอิทธิพลของตนเอง เกิดลักษณะการเมืองแบบหลายศูนย์อำนาจขึ้น ขุนนางเริ่มมีอำนาจจนสามารถต่อรองอำนาจกับกษัตริย์ ระบบฟิวดัลได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่สำคัญของยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่11-13 แล้วเริ่มเสื่อมลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่14 และสลายตัวลงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่16

2.2.2 เศรษฐกิจ

     ในระยะแรกการค้าซบเซา เนื่องจากในระบบฟิวดัลแต่ละแมเนอร์มีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ แต่เมื่อเกิดสงครามครูเสดซึ่งเป็นสงครามระหว่างคริสต์ศาสนากับศาสนาอิสลามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่11-12ผู้คนออกไปสู่โลกภายนอกทำให้เกิดความต้องการสินค้า ระบบเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะการค้าและอุตสาหกรรมในหัวเมืองสำคัญในอิตาลี เช่น เวนิส เจนัว และเขตเมืองในเนเธอร์แลนด์
     
     พ่อค้าเริ่มมีการติดต่อการค้าระหว่างประเทศ การค้าทางบกมีความเจริญไม่น้อยไปกว่าการค้าทางทะเล มีการตั้งศูนย์การค้าในหัวเมืองท้องถิ่น โดยการร่วมลงทุนระหว่างพ่อค้ากับคนในท้องถิ่น การค้าทางทะเลเริ่มมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในเขตทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สินค้าจากต่างแดนได้แพร่สะพัดเข้ามาในยุโรป

     ผลจากการขยายตัวของการค้าทำให้เกิดชุมชนการค้าและอุตสาหกรรม ส่งผลให้ชาวชนบทละทิ้งที่นาเข้ามาประกอบอาชีพค้าขายหรือประกอบอาชีพผลิตสินค้าหัตถกรรมในเขตเมือง ทำให้สังคมเมืองมีการขยายตัว เริ่มเกิดระบบเงินตราขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อใช้ในการซื้อขายสินค้า และเกิดสมาคมอาชีพ ซึ่งแบ่งเป็นสมาคมพ่อค้าและสมาคมการช่าง ซึ่งเมื่อพวกนี้มีฐานะทางการเงินมั่นคงขึ้นก็ได้มีส่วนสนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อให้คุ้มครองกิจการทางเศรษฐกิจของตน
เอง

2.2.3 สังคม

     การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ยุติลงอีกครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่13-14 เนื่องจากเกิดสงครามร้อยปี ซึ่งเป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส และเกิดการระบาดของกาฬโรคทำให้ประชากรในยุโรปเสียชีวิตเป็นจำนวนมากถึง1ใน3ของประชากรทั้งทวีปทำให้เขตเมืองได้เริ่มเสื่อมลงอีกครั้ง

     หลังจากคริสต์ศตวรรษที่11เป็นต้นมา การขยายตัวทางการค้าและอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะในประเทศแถบเมดิเตอร์เร-เนียน ทำให้เริ่มเกิดชุมชนเมืองขึ้น อันประกอบไปด้วยชาวเมืองซึ่งไม่ได้อยู่ในสังคมฟิวดัล แต่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ดำเนินชีวิตประกอบการค้าและอุตสาหกรรม ผลของการค้าที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นยังทำให้สังคมฟิวดัลและขุนนางเริ่มเสื่อมอำนาจลง แต่พวกพ่อค้าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เนื่องจากสังคมเริ่มมองที่ฐานะความมั่นคงเป็นหลักสำคัญ

      ในช่วงเวลานี้คริสต์ศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองสูงสุด สันตะปาปามีฐานะเป็นสถาบันสากลที่เป็นระบบ เห็นได้จากชัยชนะของคริสตจักรที่เหนือกว่าจักรพรรดิ เป็นผลจากการครอบงำทางความเชื่อของศาสนาที่มีต่อประชาชน

       กล่าวได้ว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในยุโรป รวมประชาชนในอาณาจักรเข้าด้วยกันภายใต้กฎเกณฑ์ของศาสนจักรและมีอิทธิพลต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของยุโรปกลาง
           แต่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่13สถาบันศาสนาเริ่มเสื่อมลง

2.3 ระยะปลาย

     สมัยนี้มีช่วงระยะเวลาระหว่างค.ศ.1350-1500 ช่วงเวลานี้เป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ศาสนาถูกลดบทบาทลง ความคิดแบบมนุษยนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาทในทัศนคติและความคิดของคนในสังคม
   
    ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในดินแดนต่างๆของยุโรปตะวันตก ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์Holy Roman Empire และการเกิดรัฐชาติขึ้นในฝรั่งเศส อังกฤษ และสเปน

2.3.1 ศาสนา

     1.ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

      การแข่งขันกันของจักรวรรดิเยอรมันแห่งจักรวรรดิโรมันกับสันตะปาปาแห่งคริสตจักรเนื่องมาจากการที่ทั้งจักรพรรดิเยอรมันทรงพยายามรวบรวมจักรวรรดิทั้งในดินแดนเยอรมันและอิตาลี ซึ่งขัดกับผลประโยชน์ทางการเมืองของคริสตจักรที่กรุงโรม และสันตะปาปาทรงมีความเชื่อว่าคริสตจักรมีอำนาจเหนืออาณาจักร

     2.การเกิดรัฐชาติ

     ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่14 อำนาจของสถาบันกษัตริย์ในยุโรปตะวันตกตกต่ำลง เนื่องจากขุนนางไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ขณะเดียวกันกษัตริย์ก็หันไปพึ่งพาพวกพ่อค้ามากขึ้นระบบฟิวดัลจึงเสื่อมสลายไป และเมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ชาติก็เกิดความแตกแยก เกิดสงครามระหว่างขุนนาง เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆภายในประเทศ

     สันตะปาปาเคยทรงบัพพาชนียกรรมจักรพรรดิเยอรมันหลายพระองค์และสนับสนุนให้เกิดสงครามการเมืองในเยอรมันขึ้นเพื่อทำลายอำนาจของจักรพรรดิ ผลก็คือตั้งแต่ ค.ศ.1273เป็นต้นมา จักรพรรดิกลายเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ อำนาจตกเป็นของเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ดินแดนเยอรมันและอิตาลีจึงแตกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยไม่สามรถรวมตัวกันได้ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมืองของดินแดนเยอรมันเท่านั้น

      จนทำให้ขุนนางอ่อนแอลงประกอบกับได้เกิดสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่14-15จึงยิ่งทำให้ขุนนางเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว เปิดโอกาสให้กษัตริย์สามารถรวบรวมอำนาจและก่อตั้งรัฐขึ้นมาได้ในเวลาต่อมา เกิดเป็นรัฐชาติภายใต้การนำของกษัตริย์

2.3.2 เศรษฐกิจ

     เศรษฐกิจในช่วงนี้สามารถแบ่งได้เป็น2ช่วงเวลาได้แก่

    1.ช่วงคริสต์ศตวรรษที่14
     
     เป็นช่วงเวลาของความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจของยุโรปทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการค้า โดยมีสาเหตุมาจากสภาวะสงครามและเกิดกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในทวีปยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบ ทำให้ขาดแคลนอย่างรุนแรง เพราะประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก

     2.ช่วงคริสต์ศตวรรษที่15

     ระบบเศรษฐกิจได้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง กิจการอุตสาหกรรมได้รับการพัฒนา ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นกิจการด้านช่างฝีมือ การทอผ้า และการทำเหมืองแร่ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจในเขตเมืองทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบฟิวดัลต้องเสื่อมลง ช่วงคริสต์ศตวรรษที่15 เกิดกลุ่มนายทุนซึ่งลงทุนในกิจการด้านต่างๆ

     ในช่วงปลายศตวรรษที่15 ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการเดินเรือทำให้ชาวยุโรปค้นพบดินแดนแห่งใหม่ๆซึ่งเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและเป็นแหล่งวัตถุดิบ ทำให้ชาวยุโรปอพยพไปยังดินแดนแห่งใหม่พร้อมกับยึดครองดินแดนแห่งนี้เป็นสถานีการค้า การขยายตัวทางการค้าและการยึดครองดินแดนทำให้ชนชั้นนายทุนร่ำรวยขึ้น

      แต่ชนชั้นขุนนางและชนชั้นแรงงานต้องยากจนลง พวกนายทุนได้ให้การสนับสนุนสถาบันกษัตริย์เพื่อปกป้องคุ้มครองกิจการทางเศรษฐกิจของตน ขณะที่พวกขุนนางต้องยอมอ่อนน้อมต่อกษัตริย์และชนชั้นนายทุนขุนนางที่ต้องการขายที่ดินให้แก่ชนชั้นอื่นๆ จึงเริ่มมีการลงทุนในที่ดินทางด้านเกษตรกรรมเพื่อหวังผลกำไร ทำให้เศรษฐกิจแบบฟิวดัลต้องยุติลงในคริสต์ศตรวรรษที่16

2.3.3 สังคม

     ในช่วงเวลานี้สังคมระบบฟิวดัลและศาสนจักรเริ่มเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด การเกิดสังคมเมือง การค้า ทำให้เกิดสังคมชั้นกลางขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยชนชั้นกลางมีสถานะอยู่ระหว่างชนชั้นสูงและชนชั้นล่างกับชนชั้นชาวนา ชนชั้นกลางต้องการรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งในการคุ้มครองทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันกษัตริย์ก็ต้องการการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง ดังนั้นจึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นทั้งสองขึ้น ก่อให้เกิดลักษณะของสังคมที่เปลี่ยนไป คือ

     1.สังคมระบบฟิวดัลเสื่อมสลายลง
     เนื่องจากสงครามครูเสดทำให้ขุนนางต้องออกไปทำสงครามและเสียชีวิตจำนวนมาก และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ขุนนางยากจนลงอีกทั้งพวกข้าติดที่ดินได้หลบหนีอพยพเข้าเมืองเป็นจำนวนมาก

    2.ชนชั้นกลางขึ้นมามีอำนาจแทนที่ชนชั้นขุนนาง
     เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนค่านิยมจากเรื่องชาติกำเนิดมาเป็นฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล

     3.เกิดขบวนการนักวิชาการสายมนุษย์นิยมที่หันไปสนใจศึกษาอารยธรรมกรีกและโรมัน

ระบอบการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในยุโรปยุคกลางคือข้อใด

ยุโรปได้เข้าสู่สมัยกลาง เมื่อจักรวรรดิโรมัน ล่มสลาย ใน ค.ศ. 476 จากการรุกรานของพวกชนเผ่ากอทหรือชนเผ่า เยอรมัน มีอาณาจักรใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายอาณาจักร มีกษัตริย์ เป็นประมุข แต่มิได้มีอานาจในการปกครองอย่างแท้จริง การปกครองสมัยกลางใช้ระบอบฟิวดัล (Feudalism) หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์

ยุคกลางมีรูปแบบการปกครองแบบใด

ในสมัยกลางระบอบการปกครองแบบฟิวดัลเป็นองค์กรเบ็ดเสร็จ (a total organization) ของ สังคมตะวันตกที่ใช้เป็นเครื่องกำหนดฐานะและสิทธิต่างๆ ของปัจเจกชนในสังคม ตลอดจนเป็นระบบที่ เกี่ยวพันและครอบคลุมทั้งการทหาร การปกครอง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างแยกจากกันไม่ได้ จนกล่าวได้ว่า ระบอบการปกครองแบบฟิวดัลเป็นระบบสังคมที่ควบคุมชีวิตของ ...

ลักษณะทางสังคมของยุโรปสมัยกลางเป็นแบบใด

สังคมในช่วงเวลาสมัยกลางตอนต้นมีความวุ่นวายมาก ขาดระเบียบวินัยและความมั่นคง สังคมเมืองแทบล่มสลายในช่วงเวลานี้คริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในยุคกลางตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นชีวิตศาสนจักรจึงทำหน้าที่แทนจักรวรรดิโรมันในการยึดเหนี่ยวประชาชนยุโรปไว้ และรักษาวัฒนธรรมความเจริญต่างๆสืบต่อมา

ยุคกลาง ค.ศ.อะไร

สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง