ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของการกีดกันทางการค้าในการค้าขายระหว่างประเทศ

ทำความเข้าใจกับมาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) ในการค้าระหว่างประเทศ มาดูกันว่าการกีดกันทางการค้า คืออะไร? และทำอย่างไร

การกีดกันทางการค้า คืออะไร?

การกีดกันทางการค้า คือ มาตรการในการค้าระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศใช้เพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า มาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) โดยอาจเป็นได้ทั้งมาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี และ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

มาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) คือมาตรการทางการค้าที่มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าดังกล่าวภายในประเทศ จากการเข้ามาของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงปกป้องการขาดดุลการค้าจากการนำเข้าสินค้ามามากกว่าการส่งออก

ตัวอย่างเช่น การห้ามนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากต่างประเทศของประเทศหนึ่งด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่เหตุผลที่แท้จริงก็คือการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ

การกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) และ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)

ข้ามไปที่หัวข้อที่ต้องการอ่าน

  • มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers)
  • มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)

มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี

มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี คือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่รัฐบาลจะใช้การจัดเก็บ ภาษีศุลกากรขาเข้า หรือ ภาษีนำเข้า ในอัตราที่สูง (หรือสูงขึ้น) เพื่อทำให้ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าสินค้าได้ยากขึ้นตามราคาสินค้าที่สูงขึ้นตามภาษีนำเข้าที่รัฐจัดเก็บ

การกีดกันทางการค้า ด้วยภาษีที่สูงตาม มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) จะส่งผลให้สินค้าประเภทเดียวกันที่ต้องนำเข้า มีราคาแพงกว่าสินค้าภายในประเทศ

ทั้งหมดจะส่งผลให้ผู้บริโภคต้องการนำเข้าสินค้าดังกล่าวน้อยลง และหันไปใช้สินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศแทน

ตัวอย่างเช่น ประเทศ T เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ 300% เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่อยู่ภายในประเทศ T ให้ไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากรถยนต์ที่ผลิตจากต่างประเทศ

สรุปให้รวบรัดกว่านั้น มาตรการกีดกันทางการค้าทางภาษี (Tariff Barriers) คือ การกีดกันทางการค้าที่จะทำให้สินค้านำเข้าแพงขึ้นจนผู้ซื้อไม่อยากนำเข้าสินค้าดังกล่าว เพื่อทำให้สินค้าจากต่างประเทศไม่ถูกนำเข้ามาแข่งขันภายในประเทศได้ง่าย

แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากว่ารัฐบาลต้องการส่งเสริมการส่งออกสินค้า รัฐบาลก็จะจัดเก็บภาษีการส่งออกในระดับที่ต่ำหรือไม่เก็บภาษีขาออกเลย

มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี คือ มาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าด้วยวิธีใดก็ตามที่ไม่ใช่การใช้ภาษีนำเข้า แต่จะใช้ประเด็นละเอียดอ่อนบางอย่างเป็นข้ออ้างและเงื่อนไขในการห้ามนำเข้าสินค้า หรือจำกัดการนำเข้าสินค้าบางอย่าง

การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี อาจเป็นการห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด หรือสามารถนำเข้าแต่ต้องใช้ใบอนุญาตินำเข้า หรือจำกัดการนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง

สำหรับประเด็นที่นำมาใช้เป็นเหตุผลของ มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ได้แก่

  • มาตรฐานของสินค้า
  • สวัสดิภาพสัตว์
  • ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
  • กฎหมายแรงงาน
  • มาตรฐานด้านแรงงาน

ตัวอย่างเช่น ประเทศ U ห้ามนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับมะพร้าวจากประเทศ T ด้วยประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ โดยให้เหตุผลว่า ประเทศ T ใช้ลิงเก็บมะพร้าวจากสวน ซึ่งเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นการทรมาณสัตว์

นอกจากนี้ การกีดกันทางการค้าด้วยวิธีที่ไม่ใช่ภาษียังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการนำเข้าสินค้า ตัวอย่างเช่น การกำหนดคุณภาพสินค้าเอาไว้มากเกินปกติ และ การยืดเวลาตรวจสอบสินค้านำเข้าให้นานกว่าปกติ

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับพิกัดศุลกากร

  1. หน้าหลัก
  2. สิทธิพิเศษทางการค้า
  3. เขตการค้าเสรี (FTA และ WTO)

สิทธิ์เขตการค้าเสรีและ WTO

  • WTO
  • ASEAN
  • ASEAN - CHINA
  • ASEAN - KOREA
  • ASEAN - JAPAN
  • ASEAN - INDIA
  • ASEAN - AUSTRALIA - NEW ZEALAND
  • THAI - AUSTRALIA
  • THAI - NEW ZEALAND
  • THAI - JAPAN
  • THAI - PERU
  • THAI - INDIA
  • THAI - CHINA
  • THAI - CHILE
  • THAI - SINGAPORE
  • THAI - EU
  • RCEP
  • DFQF
  • GSP
  • GSTP
  • AISP
  • BIMSTEC
  • ASEAN - HONGKONG

    ความสำคัญและความเป็นมาของ FTA

    FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

      

    1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
    2. แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)
      นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้
      1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
      2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
      3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
      4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

    3. ความหมายของเขตการค้าเสรี
    4. เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
    5. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย
    6. เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

    ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA 

    ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

    1. ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
    2. เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
    3. เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
    4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
    5. สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
    6. ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยง และสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
    7. พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
    8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
    9. สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง