ข้อ ใด เป็นความผิดฐานยักยอกตาม กฎหมายอาญา

บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น หากเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกร้องให้ส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่ตนเอง แต่บุคคลผู้นั้นปฏิเสธไม่ส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ กรณีลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้ความผิดฐานยักยอกเสมอไปเพราะกรณีดังกล่าวอาจเป็นเพียงการโต้แย้งกรรมสิทธิทางแพ่งเท่านั้น

ทั้งนี้เพราะการกระทำผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 นั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สาม ซึ่งการเบียดบังนั้นจะต้องเป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นออกจากตัวเจ้าของกรรมสิทธิ์ มิใช่เป็นเพียงการยึดถือไว้ชั่วคราวเท่านั้น

และนอกจากนี้การกระทำความผิดฐานยักยอกผู้กระทำความผิดจะต้องมีองค์ประกอบภายใน 2 ประการ ได้แก่

1.มีเจตนาธรรมดาซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ดังนั้นถ้าหากผู้กระทำสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าทรัพย์สินที่ตนเองครอบครองนั้นเป็นของตนเองหรือสำคัญผิดว่าตนเองมีสิทธิ์ยึดถือทรัพย์สินดังกล่าวไว้ย่อมถือว่าผู้กระทำขาดเจตนากระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62

2. นอกจากนั้นผู้กระทำผิดยังต้องมีเจตนาพิเศษคือ “เจตนาทุจริต” คือการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หากผู้กระทำมิได้กระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ก็ดีหรือกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แต่มีสิทธิจะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายก็ดี ย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกตามกฎหมาย

ซึ่งตัวอย่างคำพิพากษา กรณีที่ถือว่าผู้ครอบครองไม่มีเจตนาเบียดบังทรัพย์ที่ครอบครองในลักษณะที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครองขาดเจตนากระทำผิด นั้นมีตัวอย่างเช่น

 1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/ 2516 , 233/2504

ผู้เสียหายฝากเงินไว้กับจำเลยเมื่อผู้เสียหายทวงถามจำเลยแจ้งว่านำเงินไปใช้หมดแล้วแล้วจะผ่อนชำระให้ เช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 672 วางหลักว่าผู้รับฝากไม่ต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่ฝาก ดังนั้นผู้รับฝากจึงมีสิทธิเอาเงินที่รับฝากออกไปใช้ได้เพียงแต่จะต้องใช้คืนให้ครบจำนวนเมื่อผู้ฝากทวงถามเท่านั้น เมื่อผู้รับฝากไม่คืนเงินที่ฝากจึงเป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง

แต่ถ้าหากปรากฎว่าเมื่อผู้ฝากทวงถาม ผู้รับฝากปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากเงินไว้เลย เช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้รับฝากมีเจตนาเอาเงินไปในลักษณะที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของผู้ฝาก ย่อมเป็นความผิดฐานยักยอก ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2535 ,273/2486

 2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2547

จำเลยประกอบอาชีพรับเลี่ยมพระ จำเลยทำพระเขาเสียหาย จึงตกลงจะเลี่ยมพระให้ผู้เสียหายเป็นการหักหนี้จำนวน 2 องค์ ต่อมาจำเลยได้เลี่ยมไปแล้วองค์ 1และส่งมอบให้ผู้เสียหายแล้ว ต่อมาจำเลยเห็นว่าค่าเสียหายสูงเกินไปจึงยึดหน่วงตลับพระทองคำพิพาทไว้เพื่อหักหนี้กับค่าเลี่ยมพระองค์ที่ 2 ดังนี้จำเลยมีเพียงเจตนายึดหน่วงตลับพระทองคำไว้เพื่อเจรจาต่อรองกันใหม่เกี่ยวกับค่าเสียหาย ไม่ได้มีเจตนาเบียดบังเอาตลับพระทองคำดังกล่าวเป็นของตนเอง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2482

นำทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครองของตนเอง ไปจำนำโดยมีเจตนาที่จะไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนภายหลังไม่เป็นการเบียดบังทรัพย์สินในลักษณะที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นการจำนำในลักษณะที่ไม่มีเจตนาจะไถ่ถอนคืนหรือไม่มีความสามารถในการไถ่ถอนคืนเลยก็เป็นความผิดฐานยักยอกได้ ตัวอย่างเช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2507, 1165/2468

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2550 , 619/2504

เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วไม่คืนทรัพย์สินที่เช่า แต่มิได้ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยยักย้ายหรือเบียดบังทรัพย์สินที่เช่าเป็นของตนเอง เช่นนี้เป็นเพียงข้อพิพาทในทางแพ่งเท่านั้น แต่ทั้งนี้หากปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เช่าทรัพย์สินไปย่อมถือได้ว่ามีเจตนาเบสบังทรัพย์สินนั้นเป็นของตนเอง

 5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2501, 979/2501

ผู้เสียหายนำทรัพย์สินไปจำนำไว้กับจำเลย เมื่อผู้ที่หายไปไถ่ถอนจำเลยไม่ให้ไถ่ถอนโดยอ้างว่าพ้นกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนแล้ว จำเลยมีสิทธินำทรัพย์สินนั้นไปขายแก่บุคคลอื่น เช่นนี้ย่อมเป็นเพียงการโต้แย้งสิทธิทางแพ่ง จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2488

ฝ่ายผู้เสียหายอ้างว่าให้จำเลยเช่าเรือ ถึงเวลาแล้วจำเลยไม่คืนเรือให้ แต่ฝ่ายจำเลยอ้างว่าผู้เสียหายขายเรือให้จำเลยแล้วมิใช่เป็นเพียงแค่การเช่า เช่นนี้เป็นเพียงการโต้แย้งกันในทางแพ่งเท่านั้น

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/ 2537

จำเลยไม่คืนทรัพย์พิพาทให้โจทก์ร่วมก็เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่าอุปกรณ์บางส่วนเป็นของบุคคลอื่นและจะคืนให้ต่อเมื่อโจทก์ร่วมชำระค่าบริการเรียบร้อยแล้วจึงเป็นการใช้สิทธิยึดหน่วงอย่างหนึ่งไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8290/2543

โจทก์ว่าจ้างจำเลยหล่อฝาสูบ และได้มอบตัวอย่างฝาสูบให้จำเลย เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการหล่อฝาสูบ ต่อมาจำเลยทำงานเสร็จไม่ทันภายในกำหนดโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและเรียกเอาตัวอย่างฝาสูบคืน แต่จำเลยไม่คืนให้โดยอ้างว่าโจทก์จะต้องชำระค่าการงานในส่วนที่จำเลยทำเสร็จแล้วมาให้ก่อน เช่นนี้เป็นการใช้สิทธิครอบครองไว้เพื่อเรียกร้องทางแพ่งไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

9. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886-887/2470

การต่อสู้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ครอบครองเป็นของตนเองหากต่อสู้โดยสุจริตยอมเป็นเพียงเรื่องทางแพ่งไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าลำพังเพียงการที่บุคคลใดซึ่งครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย และเมื่อถึงเวลาแล้วเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกร้องให้คืนทรัพย์สินแล้วบุคคลนั้นไม่คืนให้ จะถือว่าบุคคลนั้นมีความผิดยักยอกเสียทีเดียวหาได้ไม่

แต่จะต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นได้กระทำการเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือเพียงแต่ยึดถือทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราว ทั้งยังต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นมีเจตนาธรรมดาหรือมีเจตนาทุจริตในการกระทำความผิดหรือไม่ หากผู้ครอบครองทรัพย์สินไม่ได้กระทำการเบียดบังทรัพย์สินก็ดี หรือไม่มีเจตนากระทำความผิดก็ดี ย่อมไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอกแต่เป็นเพียงเรื่องทางแพ่งเท่านั้น

ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังกล่าวย่อมต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 ที่ว่า  “เมื่อมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย”  ทั้งนี้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548

ข้อใดเป็นความผิดฐานยักยอก

1. ยักยอกทรัพย์ คือ การ “ครอบครอง”ทรัพย์ของ ผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแล้วเบียดบัง เอาทรัพย์นั้นเป็นของตน โดยทุจริต 2. ผู้กระทามีเจตนาทุจริตหลังครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น 3. เป็นความผิดอันยอมความได้ 4. ผู้กระทาเอาไป โดยไม่รู้ว่าเจ้าของทรัพย์กาลังติดตาม ทรัพย์อยู่ เป็นยักยอกทรัพย์

ความผิดฐานยักยอกเป็นความผิดที่อยู่ในลักษณะใดในประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๓๕๖ ความผิดในหมวดนี้ (ยักยอก) เป็นความผิดอันยอมความได้ ความผิดอันยอมความได้ ลูกหนี้จะต้องร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๖ ที่บัญญัติว่า “…ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้

ยักยอกเป็นคดีอาญาไหม

ในคดียักยอกนั้น ถือว่าเป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ต้องเช่าหลักทรัพย์ประกันตัว สำหรับทางออกในคดียักยอกทรัพย์ จึงมีทางแก้ไขอยู่บ้าง ได้แก่

ความผิดฐานยักยอก เกิดที่ไหน

สรุป เหตุยักยอกเกิดสถานที่ที่ส่งมอบทรัพย์ที่ยืม พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรยางตลาดซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น ย่อมเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง