ข้อใดจัดเป็นแนวปฏิบัติของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี

ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล หรือ Digital Citizenship เชื่อว่าเรื่องนี้คนไทยหลายๆคนยังไม่เคยรู้จักว่าคืออะไร แต่ถ้าพูดถึงเพลงนี้ “เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน…..” รับรองว่าต้องรู้จักกันทุกคน เพราะเป็นเพลงที่เราถูกปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กในเรื่องของหน้าที่ของเด็ก 10 ประการ ที่จะทำให้คนไทยทุกคนเติบโตมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

iT24Hrs

แต่ในปัจจุบันปฎิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลกันอย่างเต็มตัวแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ชีวิตต้องอยู่กับโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็เปรียบเหมือนเป็นเด็กที่ต้องเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในยุคดิจิตอลกันใหม่ไปพร้อมๆกัน เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีและสภาพสังคมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจนทำให้พวกเราตั้งตัวกันไม่ทัน  เราจึงเห็นข่าวแทบทุกวันถึงคนที่ต้องเดือดร้อนเพราะโลกออนไลน์   มีทั้งโดนหลอกให้เสียทรัพย์ เสียชื่อเสียง เสียความรู้สึก หรือถึงขั้นเสียชีวิตก็มีให้เห็นเป็นข่าวอยู่เป็นประจำ และนี่ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว ทุกคนก็มีโอกาสทีจะเป็นหนึ่งในข่าวทำนองนี้ได้ในสักวัน หากไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอยู๋ในโลกดิจิทัล

ณ เวลานี้ วิถีชีวิตของพวกเราต้องเปลี่ยนไป ต้องอยู่กับชีวิตวิถีใหม่ New Normal ที่พวกเราต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งในการใช้ชีวิตและการทำมาหากิน หน้าที่เด็กดี 10 ประการ ที่เราถูกปลูกฝังกันมาตั้งแต่เล็ก คงไม่เพียงพอแล้วที่จะทำให้พวกเราอยู่รอดในโลกดิจิทัล จำเป็นต้องมีทักษะการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลเพิ่มเข้ามาอีกด้วย และนี่ก็คือที่มาของเรื่อง “ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิตอล หรือ Digital Citizenship”  ที่เราทุกคนจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เราอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุข และ ปลอดภัย

ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล คืออะไร 

iT24Hrs

ความเป็นพลเมืองดิจิตอล (Digital Citizenship) คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม มีความเห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น ในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัล

เรียนรู้ 8 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล ปรับตัวสู่ชิวิตวิถีใหม่

ก่อนหน้าจะเกิดวิกฤตการณ์โควิด19 หลายๆคนก็อาจจะยังไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์มากเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์โควิด19 เราทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่กับรูปแบบที่เรียกว่า New Normal ชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งทำให้พวกเราทุกคนต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้งออนไลน์ การสั่งอาหาร หรือแม้แต่การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วบบริการ e-payment ต่างๆ อีกทั้งยังทำให้เราได้มีโอกาสพบปะผู้คนบนโลกออนไลน์มากขึ้น และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องมีทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล เพื่อให้อยู่ในโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย มาดูกันเลยว่ามีทักษะอะไรบ้างที่จะต้องเรียนรู้กัน

iT24Hrs

 

ทักษะที่ 1  การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง (Digital Citizen Identity) คือ  ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกชีวิตจริง

เรื่องอัตลักษณ์ หรือ ภาพลักษณ์ ที่ดีของเราเป็นเรื่องสำคัญมากๆ และสิ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจคือ ภาพลักษณ์ของเราในโลกออนไลน์และโลกชีวิตจริงควรจะเป็นภาพเดียวกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นสังคมชีวิตจริง หรือ สังคมออนไลน์ก็คือตัวเราคนเดิมที่ติดต่อกับผู้คน โดยคนที่เราติดต่อในสังคมชีวิตจริงบางคนก็จะเห็นเราในโลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน

iT24Hrs

ยกตัวอย่างเช่น บางคนในโลกชีวิตจริงภาพลักษณ์ที่แสดงออกต่อคนในสังคมทั่วไป หรือ กับเพื่อนร่วมงาน ก็ดูเป็นคนสุภาพ พูดจาดี แต่พออยู่บนโลกออนไลน์กลับแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมาเต็มที่ โพสต์ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ต่อว่าผู้อื่นที่ทำให้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำที่รุนแรงโดยไม่ผ่านการกลั่นกรองใดๆทั้งสิ้น เพราะคิดว่านี่เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่ไม่ทันได้คิดต่อว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวนี้ได้เปิดเป็นสาธารณะเอาไว้ ที่ใครๆก็เข้ามาอ่านโพสต์ของเราได้ตลอดเวลา และนี่ก็คือเหตุผลที่เราจึงควรรักษาอัตลักษณ์ หรือ ภาพลักษณ์ ของเราให้ดีทั้งในโลกออนไลน์​และโลกชีวิตจริง

ทักษะที่ 2 การการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) คือ ความสามารถในการบริหารเวลาให้เกิดความสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกชีวิตจริง

เมื่อนึกย้อนไปถึงในยุคก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟนเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวเกิดได้ทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาโต๊ะอาหารที่ทุกคนในครอบครัวจะทานข้าวกันไป พูดคุยกันถึงเรื่องราวต่างๆมากมายที่แต่ละคนพบเจอในแต่ละวัน หรือจะเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวนั่งดูละครอยู่ด้วยกันด้วยความอินกับบทละคร ถึงขั้นวิจารณ์ตัวละครกันอย่างออกรสออกชาติ หรือแม้แต่กิจกรรมเล่นสนุกของเด็กๆที่พวกเด็กๆในชุมชน หรือ หมู่บ้าน จะออกมารวมตัวกันเล่นกันแถวบ้าน มีทั้งการละเล่นโบราณอย่าง มอญซ่อนผ้า เล่นพ่อแม่ลูก เล่นเกมเศรษฐี เตะบอล ตีแบต และ กิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งนั้น

iT24Hrs

แต่เมื่อมีสมาร์ทโฟนเข้ามาในชีวิตพร้อมกับสื่อสังคมออนไลน์​ (Social Media)  โดยที่พวกเราทุกคนไม่ทันได้ตั้งตัวหรือเตรียมตัวว่าจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับเจ้าสิ่งนี้อย่างไรให้สมดุลย์ กว่าจะรู้ตัวอีกทีพวกเราก็แปลงร่างกลายเป็นมนุษย์ก้มหน้าไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับคน Gen Y ลงไปถึงคน Gen Baby Bommer ก็คือการเสพติดโลกโซเชียลบนสมาร์ทโฟนอย่างรุนแรง สิ่งที่ตามมาก็คือความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และ กับคนรอบข้างลดน้อยลงทุกวัน ซึ่งก็ส่งผลกระทบมาถึงเด็กยุค Gen Alpha ที่ถูกยัดเยียดความเสพติดสมาร์ทโฟนให้ตั้งแต่ยังพูดไม่ได้ เดินไม่เป็น และก็ถูกเลี้ยงให้เติบโตมากับการอยู่กับตัวเอง มีคำๆหนึ่งที่เด็กๆมักจะพูดกันคือ “มาเล่นกัน” ซึ่งคำๆนี้ในสม้ยก่อนคือการมาเล่นมาทำกิจกรรมร่วมกัน แต่สำหรับเด็กสมัยนี้คือ มานั่งใกล้ๆกันแล้วต่างคนต่างเล่นสมาร์ทโฟนของตัวเอง คำถามที่อยากฝากให้คิดคือ เราอยากให้ลูกหลานเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แบบไหนกัน? อยากให้สังคมไทยเป็นอย่าไร ?

ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไกลไปมากเพียงใด มนุษย์ก็ยังคงเป็นสัตว์สังคม มีชีวิตจิตใจ ยังคงต้องการความรัก ความเอาใจใส่ จากคนรอบข้างอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น สามี-ภรรยา พ่อ-แม่-ลูก เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความเข้าอกเข้าใจกัน ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นก็จะสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเสมอ สังคมก็จะเข้มแข็ง เป็นสังคมที่น่าอยู่ ด้วยเหตุนี้เองทักษะการบริหารเวลาหน้าจอ จึงเป็นสิ่งจำเเป็นมากๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควรตระหนักและบริหารเวลาระหว่างโลกออนไลน์กับโลกชีวิตจริงให้สมดุลย์

ทักษะที่ 3 การรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Mamangement) คือ ความสามารถในการรับรู้และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกไซเบอร์ ได้อย่างชาญฉลาด

ก่อนที่เราจะอยู่ในสังคมออนไลน์​เวลาถูกต่อว่า ถูกล้อ ถูกตำหนิ ก็จะเป็นไปเฉพาะในวงแคบ ซึ่งโดยมากก็จะเป็นคนที่เรารู้จัก ซึ่งเรื่องราวที่คนเหล่านั้นพูดก็มักจะมีทั้งจริงและไม่จริง แต่การรับมือกับเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ยากนักเพราะเราจะรู้จักตัวตนของคนที่กระทำต่อเรา สามารถอธิบายทำความเข้าใจกันได้ แต่ในโลกของสังคมออนไลน์นั้น ต้องยอมรับกันก่อนเลยว่ายากที่จะควบคุมเพราะผู้คนที่จะกระทำกับเรานั้นมาจากทั่วทุกสารทิศ มีทั้งต่อว่า ตำหนิ สร้างเรื่องเท็จ และ อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่า Cyberbullying หรือ การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

iT24Hrs

การรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ อันดับแรกเราต้องเข้าใจธรรมชาติของโลกไซเบอร์ก่อนว่า เป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้พรหมแดน ทุกคนสามารถมาติดต่อกับเราได้หมด และส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่รู้จักเรา และ เราก็ไม่รู้จักพวกเขา ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกัน ไม่รู้เรื่องราวใดๆของกันและกัน คอมเมนท์ต่างๆเกิดจากการคอมเมนท์ตามๆกันมา ขึ้นกับว่าคนกลุ่มแรกจะคอมเมนท์ไปในทิศทางไหน และข้อความที่คอมเมนท์ส่วนใหญ่ก็ออกมาจากทัศนคติความคิดของแต่ละคน ซึ่งมีข้อเท็จจริงน้อยมาก และคนเหล่านั้นไม่ได้มีความสำคัญกับชีวิตเราเลย บางคนแค่มาพิมพ์ทิ้งไว้แล้วก็ไม่ได้กลับมาสนใจกับคอมเมนท์นั้นอีกเลย แต่ถ้าเรานำทุกคอมเมนท์มาคิด หรือ ไปตอบแก้ต่างทุกคอมเมนท์ก็จะทำให้เราเครียดโดยใช่เหตุ

วิธีการรับมือกับเรื่องนี้อย่างชาญฉลาดที่สุดคือ การไม่ไปตอบโต้ใดๆ หรือ ตอบโต้ให้น้อยที่สุด แล้วไม่นานเรื่องก็จะเงียบหายไป เพราะบนโลกออนไลน์มีกระแสเรื่องใหม่ๆเกิดขึ้นทุกชั่วโมง ถ้ายิ่งตอบโต้กันไปมาเรื่องของเราก็จะยิ่งอยู่กระแสต่อไปอีกนานมากขึ้น แต่หากมีผลกระทบกับชื่อเสียงของเรา ก็ให้เก็บรวบรวมหลักฐานเอาไว้และก็ดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อพิสูจน์ความจริงกันในชั้นศาล

ทักษะที่ 4 การรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) คือ ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีทางไซเบอร์ได้

ปัจจุบันนี้เรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกไซเบอร์โดยพวกแฮกเกอร์  (Hacker) มีให้เห็นมากขึ้นทุกวันในรูปแบบที่เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) ซึ่งก็มีอยู่หลากหลายวิธีการเช่น การทำเวบไซต์ปลอม, การส่งอีเมลล์ปลอม, การใช้ไวรัสมัลแวร์ เป็นต้น ดังนั้นในยุคดิจิทัลแบบนี้เราต้องให้ความสำคัญกับการตั้งรหัสผ่านในทุกกิจกรรมที่เราทำบนโลกออนไลน์ให้มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านที่คนจะเดาได้ง่ายที่เขาเรียกกันว่า รหัสยอดแย่แห่งปี หรือใข้รหัสผ่านเดียวกันในทุกๆบริการออนไลน์ที่เราใช้ เพราะเมื่อแฮกเกอร์สามารถล่วงรู้รหัสผ่านเราได้แล้วก็จะสามารถเข้าถึงทุกบริการออนไลน์ของเราได้ทันที

iT24Hrs

ทักษะที่ 5 การรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) คือ การมีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ทั้งของตนเอง และผู้อื่น รู้เท่าทันกลลวงทางอินเตอร์เน็ต และ กลลวงทางไซเบอร์

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนยุคดิจิทัลจะถูกหลอกง่ายก็คือ การไม่ระวังรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สื่อโซเชียลในชีวิตประจำวัน หลายคนก็โพสต์ทุกสิ่งอย่างลงไปเลย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ความรู้สึก สุข เศร้า เหงา รัก อกหัก รักคุด หรือการเช็กอินอ้ปเดตชีวิตทุกที่ที่ได้ไป แม้กระทั่งภาพต่างๆในบ้าน เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในครอบครัว เปิดเผยหมด โดยไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ทำอยู่คือการเรียกแขก เรียกผู้ไม่หวังดีเข้ามาในชีวิต

iT24Hrs

เหตุผลพราะก่อนที่เราจะเข้าสู่ยุคดิจิทัล กว่าที่เราจะสามารถเข้าใจถึงนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิด ชีวิตความเป็นอยู่ ของใครสักคนจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการศึกษาเก็บข้อมูล เพราะนั่นเป็นการพบกันในชีวิตจริงไม่ใช่โลกออนไลน์ ผู้คนต่างๆก็จะพยายามเก็บรักษาความเป็นส่วนตัวให้มากที่สุดไม่เปิดเผยออกไปง่ายๆ แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์​ ถ้าเราอยากจะรู้จักใครสักคนอย่างลึกซึ้ง ก็แค่เข้าไปส่องในสื่อโซเชียลของคนๆนั้น ทั้ง Facebook, Line, Instagram, Twitter เพียงไม่กี่นาทีก็สามารถล่วงรู้ตัวตนของคนๆนั้นได้ทันที แถมด้วยตารางชีวิตประจำวันทั้งหมดว่าจะต้องทำอะไร ตอนไหน ไปที่ไหน กับใคร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองที่ผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในการวิเคราะห์วางแผนเพื่อมาหลอกลวงเรา

ด้วยเหตุและผลข้างต้น การรักษาข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การโพสต์อะไรในสื่อโซเชียลก็ควรเปิดเผยแต่พอดี เรื่องในครอบครัวก็ให้อยู่ในครอบครัว ข้อมูลส่วนตัวเช่น บัตรประชาชน ตั๋วเครื่องบิน หนังสือเดินทาง รหัสผ่านต่างๆ ก็ควรเก็บรักษาให้ดี ปฎิบัติตัวในการอยู่ในโลกออนไลน์ให้เหมือนในโลกชีวิตจริง เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง

  • สิ่งไม่ควรโพสต์ลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ค

ทักษะที่ 6 การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) คือ ความสามารถในการแยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์​ และข้อมูลที่มีเนื้อหาอันตราย และเข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่างๆในโลกไซเบอร์ 

iT24Hrs

ในยุคที่ทุกคนมือสื่ออยู่ในมือแบบนี้ ใครอยากจะโพสต์อยากจะนำเสนอเรื่องราวอะไรก็ได้ ทำให้ในแต่ละวันมีข่าวสารและเรื่องราวมากมายบนโลกออนไลน์ให้เสพเต็มไปหมด มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม เรื่องทีมีประโยชน์และเรื่องที่ไร้สาระ แม้กระทั่งเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่หลงเชื่อไปทำตามจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นข่าวอะไร หรือข้อมูลเรื่องอะไรก็ตาม อย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อ อย่าเพิ่งแชร์ข้อมูลต่อโดยทันที แม้เรื่องนั้นจะถูกส่งมาจากคนใกล้ชิดที่น่าเชื่อถือก็ตาม เราควรตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆแแหล่งข่าวก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าข่าวหรือเรื่องราวนั้นๆเป็นเรื่องจริง แล้วจึงเชื่อหรือแชร์ออกไป เพื่อที่เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมและไม่เป็นผู้ปล่อยข่าวปลอมไปทำร้ายคนในสังคมเสียเอง

  • ข่าวปลอม Fake News อย่าหลงเชื่อ ! มาดู 5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอม

ทักษะที่ 7 การบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) คือ ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล ว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ

เรื่องนี้สำคัญมากๆเมื่อรูปแบบการเก็บข้อมูลเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัล ขอให้ทุกคนจงตระหนักไว้เลยว่าข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในระบบดิจิทัลส่วนใหญ่มันจะคงอยู่ตลอดไป แม้เราจะลบข้อมูลต้นทางของเราออกไปแล้ว แต่โพสต์นั้นอาจจะถูกก๊อบปี้และนำไปแชร์ต่อแล้วโดยทันทีก็เป็นได้ ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นข้อมูลเหล่านั้นก็จะคงอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดไป

iT24Hrs

ไม่เพียงแต่การโพสต์ของเราเท่านั้น อย่าลืมว่าในยุคนี้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันสามารถถูกบันทึกได้หมดทั้งโดยกล้องวงจรปิดที่มีอยู่รอบตัว และกล้องสมาร์ทโฟนที่มีอยู่รอบด้านด้วยเช่นกัน เรามักจะเห็นตามข่าวอยู่บ่อยๆเมื่อมีกรณีข้อขัดแย้งกันก็จะมีการถ่ายคลิบมาแชร์ให้เป็นเรื่องเป็นข่าว และถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องของเราที่เราเกิดพลาดทำในเรื่องที่ขาดสติออกไปเพียงช่วงเวลาสั้นๆ จนทำให้คนอื่นในสังคมเดือดร้อน และก็จะส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวเราทั้งในเรื่องหน้าที่การงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน อย่างที่มีให้เห็นกันบ่อยๆตามข่าว เช่น กรณี “กราบรถกู”, “ลูกค้าทะเลาะกับคนส่งเดลิเวอรี่” เป็นต้น ซึ่งบทสรุปก็คือต้องถูกให้ออกจากงานตามมาด้วยคดีความต่างๆอีกด้วย

สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลที่ทุกคนควรจะต้องตระหนักคือ เรื่องราวทุกอย่างของเราเมื่อมันถูกนำเข้าไปอยู่สื่อออนไลน์แล้ว มันจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า ร่องรอยทางดิจิทัล หรือ Digital Footprint ซึ่งจะคงอยู่ตลอดไป และร่องรอยทางดิจิทัลนี้จะได้ส่งผลกระทบแค่ตัวเรา แต่อาจจะส่งผลกระทบถึงคนรอบข้างเราด้วย ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่มักจะเห็นกันบ่อยๆในสังคมยุคนี้คือ การหย่าร้างเลิกรากันของผู้ที่มีชื่อเสียง แต่ก่อนจะหย่าร้างกันนั้นก็มีการออกมาให้ข่าว ให้สัมภาษณ์ บางครั้งก็ตอบโต้กันด้วยเรื่องที่เป็นส่วนตัว โดยไม่ตระหนักเลยว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกบันทึกเอาไว้บนโลกออนไลน์ และอนาคตลูกๆที่ตอนนี้ยังเล็กอยู่ก็จะต้องมีโอกาสได้มาเห็นข้อมูลต่างๆเหล่านี้ได้เมื่อเติบโตขึ้นมา ซึ่งก็อาจจะส่งผลกระทบทางด้านจิตใจกับลูกๆในอนาคตได้ ดังนั้นก่อนจะทำอะไรลงไปให้เรื่องราวของเราเข้าไปอยู่ในสื่อออนไลน์ก็ขอให้ตั้งสติก่อนสตาร์ท คิดให้รอบประกอบให้กว้างในทุกๆเรื่องกันให้ดีด้วย

ทักษะที่ 8 การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) คือ มีความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์​ มีปฎิสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง ทั้งในโลกออนไลน์และโลกชีวิตจริง รวมถึงเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้

สังคมบนโลกออนไลน์เป็นสังคมแห่งการสื่อสารไร้พรหมแดน ทำให้เราสามารถติดต่อกับคนได้ทั้งโลกสามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆของคนอื่นๆได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราก็ควรจะพัฒนาในเรื่องของการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับคนบนโลกออนไลน์ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นถึงแม้จะไม่รู้จักกัน คอมเมนท์ให้กันและกันในเชิงสร้างสรรค์​ ให้กำลังใจกัน และเมื่อเห็นผู้ที่เดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือเราก็สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆเป็นกระบอกเสียงเพื่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ อย่างเช่น เมื่อเกิด เหตุการไฟป่าที่ออสเตรเลีย สื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นหนึ่งช่องทางที่สำคัญในการระดมความช่วยเหลือจากคนทั้งโลก ทั้งในเรื่องของเงินบริจาค สิ่งของ วิทยาการ หรือแม้แต่กำลังคนจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อช่วยให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆไปได้ด้วยดี

iT24Hrs

แม้แต่ในเมืองไทยเองก็เช่นกัน เมื่อมีเหตุการภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆอย่างเช่น น้ำท่วมที่ จ.อุบลราชธานี เราก็จะได้เห็นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์​ จนเกิดธารน้ำใจหลั่งไหลช่วยกันบริจาคเงินได้เป็นจำนวนนับร้อยๆล้านบาท นี่ก็คือหนึงในตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม ใช้เพื่อให้เกิดสาธารณประโยชน์กับคนใสสังคม

แต่ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่เราต้องพึงระวังในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือกับผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อนผ่านโลกออนไลน์ เพราะมักจะมีมิจฉาชีพแอบแฝงมาหาผลประโยชน์กับความมีน้ำใจของคนอื่นๆด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเห็นข่าวสารต่างๆที่มีคนร้องขอความช่วยเหลือบนโลกออนไลน์​ ก็ขอให้ตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านก่อนว่าเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องของมิจฉาชีพที่มาหลอกลวง เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในทุกๆกรณี

ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล ที่คนในยุคดิจิทัลควรรู้เพื่อปรับตัวสู้ชีวิตวิถีใหม่ New Normal ที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง 8 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่กล่าวมานี้ ก็เปรียบได้กับหน้าที่เด็กดี 10 ประการ ที่คนไทยได้เรียนรู้และถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กเพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สำหรับในยุคดิจิทัลนี้ก็เช่นกัน ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล ก็เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีความสุข และปลอดภัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง