ข้อใดเขียนหมายเลขโทรศัพท์ได้ถูกต้องตามระเบียบการเขียนหนังสือราชการ

ผมได้รับข้อมูลจากน้อง ที่ทำงานเดิม เกี่ยวกับการเขียน เบอร์โทร ซึ่งก็ไม่ทราบหลักการ และก็เจอรูปแบบการเขียนที่หลากหลาย อันที่จริงหลักสากลเขามีอยู่ เวลาจะเปลี่ยนนามบัตรจะได้ Update ที่ถูกต้อง..
ตั้งแต่นี้ไป ถ้าพิมพ์นามบัตรใหม่ หรือพิมพ์หัวกระดาษจดหมายใหม่ต้องพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ตามหลักสากลดังข้างล่างนี้ คือ

เบอร์โทรศัพท์บ้าน 0 2 123 4567 ถ้าแจ้งชาวต่างชาติ ต้องเพิ่มรหัสประเทศ +66 2 123 4567

เบอร์มือถือ 08 1123 4567 ถ้าแจ้งชาวต่างชาติ ต้องเพิ่มรหัสประเทศ +668 1123 4567

เบอร์บ้านเชียงใหม่ 0 53 12 3456 ถ้าแจ้งชาวต่างชาติ ต้องเพิ่มรหัสประเทศ +66 53 12 3456

คำอธิบายโปรดอ่านข้างล่างนี้

คำแนะนำในการเขียนเลขหมายโทรศัพท์ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

อ้างถึง

การ เพิ่มเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานทั่วประเทศจาก 7 หลักเป็น 8 หลัก ในปี พ.ศ. 2544 นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเขียนเลขหมายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในนามบัตร โบรชัวร์ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

ทีโอทีได้แนะนำรูปแบบการเขียนเลขหมายโทรศัพท์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) เพื่อให้เป็นที่เข้าใจได้ง่าย ตรงตามมาตรฐานสากล โดยมีแนวทาง ดังต่อไปนี้
แบ่งกลุ่มตัวเลขให้ถูก

  • เลขหมายโทรศัพท์ในประเทศให้เขียนเลขศูนย์นำหน้า ตามด้วยเลขหมาย 8 หลัก ซึ่งเป็นไปตามหลักของการเขียน Trunk prefix + Subscriber numbers เช่น 0 2345 6789 หรือ 0 5345 6789
  • เลขหมายโทรศัพท์สำหรับติดต่อกับ ต่างประเทศ ให้เขียนรหัสประเทศตามด้วยเลขหมายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการเขียน Country code + Subscriber numbers เช่น +66 2345 6789 หรือ +66 5345 6789

หลายคนอาจจะมีปัญหากับการเขียนเลขหมายระบบใหม่ เพราะเคยชินกับระบบเดิมอยู่ แต่ก่อนเราเขียน (02) 345 6789 เพื่อแยกรหัสพื้นที่ ออกจากเลขหมายโทรศัพท์ ในเมื่อระบบเลขหมาย 8 หลัก ไม่มีรหัสพื้นที่แล้ว การที่เรายังคงเขียนเป็น (02) 345 6789 นั้นก็อาจทำให้เข้าใจผิดไปได้บ้าง แม้ว่าผลลัพธ์ของการโทรนั้นไม่แตกต่างกัน แต่ในการพูด คุณสามารถที่จะบอกเบอร์โทรของคุณเป็น “ศูนย์สอง สามสี่ห้า หกเจ็ดแปดเก้า” ได้เหมือนเดิม ก็ไม่มีใครว่าอะไร ที่จริงแล้ว บ้านเราก็ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของ ITU เสียทั้งหมด รูปแบบบางอย่างเราก็ยังคงใช้ตามนิยมที่ทุกคนเข้าใจ เช่น การเขียนเบอร์โทรที่ประกอบด้วยหลายเลขหมาย (Multiple numbers) นั้น มาตรฐาน ITU-T Recommendation E.123 แนะนำให้ใช้เครื่องหมายทับ (/) ระหว่างตัวเลข เช่น * เลขหมายที่ไม่ติดกัน 0 2123 4567 / 3456 7890 / 4567 8901
* เลขหมายที่ติดกัน สามารถย่อเป็น 0 2123 4567 / 8 / 9 แต่ เราแทบจะไม่เคยเห็นรูปแบบนี้ในประเทศไทยเลย ที่นิยมใช้และเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป จะใช้เครื่องหมายขีด “-” ระหว่าง เลขหมายที่ติดกัน หรือคั่นด้วย “,” สำหรับเลขหมายที่ไม่ติดกัน เช่น * เลขหมายติดกัน 0 2123 4567-9 หรือ 0 2123 4567-71 * เลขหมายที่ไม่ติดกัน 0 2134 4567, 0 2345 6789 การเขียนเลขโทรศัพท์ตามแบบใหม่นี้ยังมีข้อดีคือ เลขหมายของคนกรุงเทพฯและต่างจังหวัด จะมีรูปแบบเหมือนกันทั้งประเทศ เช่น เลขหมายของชาวกรุงเทพฯ 0 2345 6789 กับเลขหมายของชาวเชียงใหม่ 0 5345 6789 ถือเป็นการลดช่องว่างระหว่างเมืองกรุงกับภูมิภาคได้อีกระดับหนึ่ง

แบ่งกลุ่มตัวเลขด้วยช่องว่าง

มาตรฐาน ITU E.123 แนะนำให้มีการแบ่งกลุ่มตัวเลขของหมายเลขโทรศัพท์ โดยใช้ สัญลักษณ์ช่องว่าง (Spacing symbols) เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและความสะดวกในการบอกกล่าว สัญลักษณ์ที่ควรใช้ที่สุดก็คือ ช่องว่าง (space) หรือการเว้นวรรค ไม่ควรใช้เครื่องหมายอื่นอย่างเช่น เครื่องหมายขีด “-” โดยเฉพาะเลขหมายระหว่างประเทศ เพราะอาจสร้างความสับสนได้โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้รวมกับเลขหมายที่ต่อเนื่องกัน เช่น 0-2123-4567-8 หรือ 0-2123-4567-70ด้วยเหตุนี้ เราควรใช้ “ช่องว่าง” ในการแบ่งกลุ่มตัวเลขเท่านั้น

ใครที่เคยเขียนเบอร์โทรเป็น 02-123-456 นั้น ก็ควรเปลี่ยนมาเขียนเป็น 0 2123 4567 ซึ่งถูกต้องกว่า เลิกใช้เครื่องหมายวงเล็บ ( ) กับเบอร์โทร เครื่องหมายวงเล็บ ( ) นั้นใช้แสดงว่า ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บนั้นอาจไม่จำเป็นต้องใช้ในการโทร เช่น รหัสพื้นที่ (02) สำหรับกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งแต่ก่อนสามารถโทรถึงกันได้โดยไม่จำเป็นต้องกดรหัส 02 ก่อน เราจึงสามารถเขียนเลขหมายเป็น (02) 123 4567 หรือ (053) 123 456 ได้ เพื่อแสดงให้ทราบว่าถ้าอยู่ในพื้นที่เดียวกันไม่ต้องกดรหัสพื้นที่ แต่หลังจากการเปลี่ยนระบบเลขหมายโทรศัพท์จาก 7 หลักมาเป็น 8 หลัก ทำให้ในปัจจุบัน เราต้องกดรหัสพื้นที่ก่อนเสมอ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรใช้เครื่องหมายวงเล็บ ( ) ในเลขหมายโทรศัพท์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกต่อไป
คำแนะนำในการเขียนเลขหมายโทรศัพท์ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล Part 2/6 ใช้ +66 สำหรับเลขหมายระหว่างประเทศ (International number)

  • เครื่องหมายบวก “+” เป็น International prefix symbol ที่ใช้นำหน้ารหัสประเทศ และแสดงให้ทราบว่าเลขหมายโทรศัพท์ที่ตามมานั้นเป็นเบอร์โทรระหว่างประเทศ
  • สำหรับตัวเลข “66” นั้นก็คือ รหัสประเทศ(Country code) ของไทยนั่นเอง
  • ในการกดเบอร์โทรไปต่างประเทศด้วยเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา เราไม่ต้องกดเครื่องหมายบวก “+”
  • แต่ถ้าโทรออกด้วยโทรศัพท์มือถือ เราถึงจะสามารถกดเครื่องหมายบวก “+” ได้จริงๆ
  • แต่ถ้าเป็นการโทรระหว่างประเทศ เลข 0 ซึ่งเป็น Trunk prefix นี้จะถูกละเว้นไป นั่นเป็นเหตุผลที่เราสามารถเขียนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับการโทรระหว่างประเทศ เป็น +66 2345 6789 และไม่ควรใช้เครื่องหมายวงเล็บ ( ) และเครื่องหมายขีด (-) ในเลขหมายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ซึ่งจะสร้างความสับสนได้ง่าย
  • หมายเลขต่อ (ext.) สำหรับ เบอร์ต่อนั้น ITU แนะนำให้เขียนโดยใช้คำว่า “ext.” ซึ่งย่อมาจาก extension ตามด้วยเลขหมาย เช่น 0 2345 6789 ext. 1234แต่ของไทยเรานั้นใช้คำว่า “ต่อ” แทน จึงเขียนได้เป็น 0 2345 6789 ต่อ 1234 บางทีก็เห็นใช้เครื่องหมายชาร์ป (#) แทนอย่าง 0 2345 6789 # 1234 ก็เป็นที่เข้าใจได้เช่นกัน

สรุปแนวทางการเขียนเลขหมายโทรศัพท์
จาก หลักการเขียนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับสิ่งพิมพ์และสื่อต่างๆ ซึ่งได้แก่ การแบ่งกลุ่มตัวเลขให้ถูกต้อง การใช้ช่องว่างแยกกลุ่มตัวเลข, การเลิกใช้เครื่องหมายวงเล็บ และการใช้ “+66” สำหรับเลขหมายระหว่างประเทศ เราจึงมีแนวทางการเขียนเบอร์โทรศัพท์ดังนี้
เลขหมายโทรศัพท์ สำหรับโทรในประเทศ
เลิกใช้วงเล็บ ไม่ควรเขียนว่า (02) 345 6789
เลิกใช้เครื่องหมายขีด (-) ไม่ควรเขียนว่า 02-345-6789
เลิกใช้ช่องว่างรวมกับเครื่องหมายขีด (-) ไม่ควรเขียนว่า 02 345-6789
ใช้ช่องว่างแยกกลุ่มตัวเลข เขียนได้เป็น 02 345 6789
แยกกลุ่มตัวเลขให้ถูกต้อง เขียนได้เป็น 0 2345 6789

การ เขียนเลขหมายโทรศัพท์อย่างถูกต้องนั้น อาจจะดูแปลกในตอนแรก หากเราลองฝืนใจทำตามคำแนะนำไปสักระยะหนึ่ง ไม่นานก็จะรู้สึกดีขึ้น ที่เราเขียนเบอร์โทรได้ตรงตามมาตรฐาน ไม่ทำให้คนอื่นสับสน

สำหรับเลขหมายโทรศัพท์สำหรับติดต่อกับต่างประเทศ
ไม่ควร เขียน (662) 3456789 เพราะไม่ควรใช้วงเล็บ และขาดเครื่องหมาย +
ไม่ควรเขียน +66 23 456789 เพราะแบ่งกลุ่มตัวเลขไม่เหมาะสม
ไม่ควรเขียน +66(0) 23456789 เพราะไม่จำเป็นต้องมีเลข 0 ให้สับสน
ไม่ควรเขียน +66 (0) 2 345 6789 เพราะไม่จำเป็นต้องมีเลข 0 และยังแบ่งกลุ่มไม่ถูก ยิ่งทำให้ดูสับสน
ไม่ควรเขียน +66-2345-6789 เพราะไม่ควรใช้เครื่องหมายขีด (-) ที่ทำให้ดูสับสนเมื่อมีทั้งเครื่องหมายบวก (+) และลบ (-) อยู่ร่วมกัน
ควรเขียนเป็น +66 2345 6789 ซึ่งเรียบง่าย และเป็นที่เข้าใจในระดับสากล

การเขียนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่
สำหรับติดต่อในประเทศ
ให้เขียนโดยแยก 08 ไว้ข้างหน้า เว้นวรรคด้วยช่องว่าง ตามด้วยเลขอีก 4 ตัว เว้นวรรคด้วยช่องว่าง แล้วจึงตามด้วยเลขที่เหลืออีก 4 ตัว เช่น 08 1234 5678

ไม่ควรเขียนเป็น (081)-234-5678, (081) 234 5678, (081) 234 5678, 081-234-5678, 081 234 5678, 08-1234-5678, (08) 1234 5678

ข้อใดเขียนหมายเลขโทรศัพท์ได้ถูกต้องตามระเบียบการเขียนหนังสือราชการ *

ตามหนังสือราชการ และสากล เค้าจะเขียนหมายเลขโทรศัพท์ ดังนี้ครับ ไม่ว่าหมายเลจจะมีกี่หลัก เขียนติดกันที่ละ 4 หลัก เรียงจากท้าย เช่น 08 4669 1680 ไม่ใช่ 084 669 1680 หรือ 0-2248-1234 ไม่ใช่ 02-248-1234.

ข้อใดเป็นการเขียนเบอร์โทรศัพท์ที่ถูกต้อง

เลขหมายโทรศัพท์ในประเทศ ให้เขียนเลขศูนย์นำหน้า ตามด้วยเลขหมาย 8 หลัก ซึ่งเป็นไปตามหลักของการเขียน Trunk prefix + Subscriber numbers. เช่น 0 2345 6789 หรือ 0 5345 6789. เบอร์โทรศัพท์บ้าน 0 2 123 4567 ถ้าแจ้งชาวต่างชาติ ต้องเพิ่มรหัสประเทศ +66 2 123 4567.

เบอร์ต่อ มี กี่ หลัก

ภายในปี 2564 เลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ หรือ โทรศัพท์บ้าน จะปรับใหม่ให้ใหม่เป็น 10 หลัก จากเดิมมี 9 หลัก เพื่อนำตัวเลขขึ้นต้นเดิมของโทรศัพท์บ้าน มาใช้เป็นหมายเลขโทรศัพท์มือถือ รองรับความต้องการเลขหมายที่เพิ่มขึ้น

เบอร์โทรศัพท์ต้องมีขีดไหม

เลขหมายโทรศัพท์ สำหรับโทรในประเทศ เลิกใช้เครื่องหมายขีด (-) ไม่ควรเขียนว่า 02-345-6789. เลิกใช้ช่องว่างรวมกับเครื่องหมายขีด (-) ไม่ควรเขียนว่า 02 345-6789. ใช้ช่องว่างแยกกลุ่มตัวเลขให้ถูกต้อง เขียนได้เป็น 0 2345 6789.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง