ข้อใดต่อไปนี้ ใช้คำว่า เซต ไม่ ถูก ต้อง

บริการสื่อความรู้ออนไลน์ Vlearn นี้ เป็นบริการของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (“บริษัทฯ”) สำหรับผู้ใช้บริการซึ่งลงทะเบียนสำเร็จผ่านช่องทางที่บริษัทฯ กำหนด โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขดังนี้

1. สื่อความรู้ออนไลน์ Vlearn ที่ผู้ใช้บริการสามารถรับชมได้นั้น เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ และ/หรือ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวแทนของเจ้าของ หรือบุคคลใดตามที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัทฯ ไม่อนุญาตให้มีการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ ไม่ว่ากรณีใดๆ

2. บริการนี้มีไว้สำหรับรับชมส่วนบุคคลเท่านั้น ไม่สามารถนำไปเผยแพร่ หรือเปิดเผยต่อสาธารณะได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือแบ่งปัน(Share) ตามช่องทางที่บริษัทฯ อนุญาต

3. ผู้ใช้บริการสามารถรับชมสื่อการเรียนออนไลน์ Vlearn ผ่านเว็บไซต์ //www.vlearn.world/ ซึ่งสามารถลงทะเบียนและเข้าชมได้ทันทีสำหรับสื่อความรู้ฟรี และสามารถซื้อคอร์สต่างๆ เพิ่มเติมของบริการ VCourse

4. การสมัครสมาชิก

4.1 ผู้ใช้บริการประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำเป็นต้องสมัครสมาชิกผ่านช่องทางที่บริษัทฯกำหนด ด้วย Email address (Username) และ รหัสผ่าน (Password) พร้อมกับยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขบริการของบริษัทฯ

4.2 ผู้ใช้บริการจะต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อยืนยันความเป็นผู้ใช้บริการและสามารถสมัครสมาชิกได้เพียง 1 Email address (Username) ต่อ 1 สมาชิกเท่านั้น

4.3 บริษัทฯ มีสิทธิยกเลิกหรือจำกัดความเป็นสมาชิกได้ หากปรากฏว่าผู้ใช้บริการผิดเงื่อนไขการใช้บริการหรือนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมถึงการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย

4.4 ความเป็นสมาชิกจะมีผลอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกเลิกการเป็นสมาชิก หรือบริษัทยกเลิกการเป็นสมาชิกอันเนื่องจากสมาชิกปฏิบัติผิดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง หรือไม่ทำการแก้ไขภายในระยะเวลาที่บริษัทได้แจ้งให้ทราบ หรือกระทำผิดกฎหมายใด ๆ รวมถึงกรณีที่บริษัทยุติการให้บริการ

4.5 ผู้ใช้บริการจะต้องรักษาบัญชีผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไว้เป็นความลับเฉพาะตน และจะไม่ยินยอมให้บุคคลใดนำบัญชีผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ไปใช้ ไม่ว่าจะโดยความประมาทเลินเล่อ หรือโดยเจตนา หรือโอนสิทธิ หรือโดยประการใด ๆ เป็นอันขาด อย่างไรก็ดี การที่ผู้ใช้บริการยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้บริการนั้น ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องแต่เพียงผู้เดียว

5. บริษัทฯ เป็นเพียงเจ้าของลิขสิทธิ์ และ/หรือ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวแทนของเจ้าของ หรือบุคคลใดตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น มิได้เป็นผู้รับรองความถูกต้องของเนื้อหาแต่อย่างใด

6. บริษัทฯ มีสิทธิเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ข้อกำหนดและเงื่อนไขของบริการ ตามความเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า

7. หากบริษัทฯ ตรวจสอบพบว่ามีการนำบริการไปใช้โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือนำบริการไปใช้ในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แก่บริษัทฯ หรือ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการใช้บริการ บริษัทฯมีสิทธิระงับการใช้บริการได้ทันที

8. การให้ความยินยอมและคำรับรองของผู้ใช้บริการ

ผู้ใช้บริการรับทราบว่ายินยอมให้ผู้ให้บริการ เก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการ หรือเพื่อปรับปรุงการให้บริการ และเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อวัตถุประสงค์การวิจัยตลาดและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือเพื่อวิเคราะห์และนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของผู้ให้บริการ และ/หรือบุคคลที่เป็นผู้จำหน่าย เป็นตัวแทน หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ และ/หรือของพันธมิตรทางธุรกิจของผู้ให้บริการ และ/หรือ บริษัทในกลุ่มทรู หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ใช้บังคับใช้กับผู้ให้บริการทั้งขณะนี้และในภายภาคหน้า โดยผู้ให้บริการสามารถส่ง โอน และ/หรือเปิดเผยข้อมูลข้างต้นให้แก่บริษัทในกลุ่มของผู้ให้บริการ พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ประมวลผลข้อมูล หรือหน่วยงาน/องค์กร/นิติบุคคลหรือบุคคลใดๆ ที่มีสัญญา ข้อตกลง หรือนิติสัมพันธ์ กับผู้ให้บริการหรือมีความสัมพันธ์ด้วยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

9. ผู้ใช้บริการยินยอมให้บริษัทฯเชื่อมโยงข้อมูลที่ให้ไว้กับทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนวีเลิร์นเข้ากับบัญชีผู้ใช้ (Username) ที่ลงทะเบียนไว้

10. ผู้ใช้บริการตกลงจะไม่กระทำการหรือร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการใด ๆ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของบริการวีเลิร์นที่ผิดวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ หรือผิดกฎหมาย หรือขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี หรือก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ กับบุคคล และ/หรือผู้ใช้บริการรายอื่น

11. การใช้บริการ Vlearn ไม่ว่าด้วยอุปกรณ์ใด หรือเวลาใด ผู้ใช้บริการรับทราบและตกลงว่าจะปฏิบัติตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการใช้ทุกประการ รวมทั้งเงื่อนไขอื่น ๆ ที่บริษัทฯจะได้กำหนดให้มีขึ้นเพิ่มเติมภายหลังตามที่บริษัทเห็นสมควร หรือเพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย

12. บริษัทฯ มีสิทธิเปลี่ยนแปลงบริการหรือระงับบริการได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า

13. ผู้ใช้บริการตกลงใช้นามจริงหรือนามแฝง ที่เหมาะสม สุภาพ โดยห้ามใช้คำหยาบ ดูถูก เสียดสี สร้างความแตกแยก ยั่วยุ ส่อไปในทางลามกอนาจาร ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แสดงถึงการหมิ่นต่อพระบรมเดชานุภาพแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือแอบอ้าง อ้างอิง พาดพิงถึงบุคคลหนึ่งคนใด สมาชิกที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นเองโดยตรงทั้งสิ้น และตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทฯ หากการฝ่าฝืนดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ

14. บริษัทฯไม่ต้องรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการวีเลิร์นแก่ผู้ใช้บริการหรือบุคคลอื่นใด ไม่ว่าในกรณีใด ๆ หากบริษัทฯไม่สามารถให้บริการบางส่วนหรือทั้งหมด อันเนื่องจากระบบหรืออุปกรณ์ใด ๆ ของผู้ใช้บริการชำรุดหรือขัดข้อง หรือระบบโทรศัพท์ หรือระบบสื่อสารโทรคมนาคมขัดข้องหรือเหตุใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ

15. พบปัญหาการเข้าชมสื่อความรู้ออนไลน์ Vlearn หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ 02-700-8044 หรือ 064-132-2929  (จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.)

Education > มัธยมปลาย > คณิตศาสตร์

เซต คืออะไร สรุปมาให้เน้น ๆ

7381 views | 31/12/2021

Copy link to clipboard

Arrietty .

Content Creator

สรุปเนื้อหา หลักการใช้ "เซต"



เซต คือ ลักษณะนามที่ใช้เรียกกลุ่มหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะต้องระบุได้ว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่มและสิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น เซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ ที่ประกอบไปด้วย วันอาทิตย์, จันทร์, อังคาร, พุธ, พฤหัสบดี, ศุกร์ และวันเสาร์ หรือเซตของวันในเดือนกันยายน ที่มีวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 เป็นต้น สำหรับการเรียนในเรื่องเซตนั้น ผู้เรียนจะต้องบอกได้ว่าอะไรอยู่ในเซต และอะไรที่ไม่อยู่ในเซต เช่น ยูเรนัส ไม่ได้อยู่ในเซตของวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้น


วิธีการเขียนเซต

  1. การเขียนแบบแจกแจงสมาชิก เป็นวิธีการเขียนสมาชิกของเซตทั้งหมดลงในเครื่องหมาย { } โดยมีเครื่องหมาย ( , ) คั่นแต่ละสมาชิกของเซตเอาไว้ เช่น เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10 ได้แก่ {1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9} 
  2. การเขียนบอกเงื่อนไข เป็นการเขียนโดยใช้ตัวแปรแทนสมาชิก จากนั้นค่อยบรรยายคุณสมบัติของสมาชิกที่อยู่ในเซต เช่น A = {x|x เป็นจำนวนเต็มบวก} หมายความว่า A เป็นเซตที่ประกอบไปด้วยสมาชิก x โดยที่ x เป็นจำนวนเต็มบวก สัญลักษณ์ “|” แทนคำว่า “โดยที่”

การเขียนเซตด้วยวิธีอื่น ๆ การเขียนเซตในรูปแบบวิธีอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการบรรยาย, การใช้แผนภาพ หรือข้อความ เช่น เซตของนักเรียนห้อง ม.4/1 ที่เป็นเลขคู่ทั้งหมด หรือการใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ใช้เขียนแทนเซตซึ่งแทนเอกภพสัมพัทธ์ U ตามตัวอย่างรูปด้านล่าง



  จากรูปมีความหมายว่า 

  รูปวงกลม แทนเซต A โดยที่ A = {1, 2, 3}

  รูปสามเหลี่ยมแทนเซต B โดยที่ B = {a, b, c}

  รูปห้าเหลี่ยมแทนเซต C โดยที่ C = {d, e }



รวมสัญลักษณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเซตที่ควรทราบ

  I แทนเซตจำนวนเต็ม คือ { … , -2 , -1 , 0 , 1 , 2 , … }

  I- แทนเซตจำนวนเต็มลบ คือ { … -5, -4 , -3 , -2 , -1 }

  I+ แทนเซตจำนวนเต็มบวก คือ { 1 , 2 , 3 , 4, 5, … }

  N แทนเซตของจำนวนนับ คือ { 1 , 2 , 3 , … } 

  P แทนเซตของจำนวนเฉพาะที่เป็นบวก คือ { 2 , 3 , 4 , 7 , 10 , … }

  R แทนเซตของจำนวนจริง ประกอบด้วย จำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ

  R+, R- แทนเซตของจำนวนจริงบวกและจำนวนจริงลบ ตามลำดับ


ชนิดของเซต

เซต ถูกแบ่งออกเป็นสองชนิดได้แก่ เซตจำกัดและเซตอนันต์ ซึ่งเซตแต่ละชนิดจะมีวิธีในการแยกแยะออกจากกันดังนี้

เซตจำกัด หมายถึงเซตที่มีจำนวนสมาชิกที่เป็นจำนวนเต็มบวก หรือเต็มศูนย์ เช่น F = {1, 2, 3, 4, 5} หมายความว่าเซต F มีสมาชิกทั้งหมด 5 ตัว ดังนั้น เซต F จึงเป็นเซตจำกัด หรือ X = { 8 } X มีสมาชิกเพียง 8 ตัวเดียว เป็นต้น

เซตอนันต์ หมายถึงเซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด หรือเป็นเซตที่ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้ เช่น B = {1, 2, 3, ….} จะเห็นว่าเซต B มีสมาชิกที่เริ่มต้นด้วย 1, 2, 3,… แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า สมาชิกตัวสุดท้ายของเซต B คืออะไร เซต B จึงเป็นเซตอนันต์ ไม่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้



ตัวอย่าง

จงบอกสมาชิกของเซต และจำนวนสมาชิกของเซต ( n(A) )

   1. {a, b, c, x, y, z }

     ตอบ ถ้า (A) = {a,b,c,x,y,z} จะได้ (n(A)) = 6

   2. {56789}

     ตอบ ถ้า (A) = {56789} (n(A)) = 1 

   3. {{a, b, c}, a, {b, c}}

     ตอบ ถ้า (A) = {{a, b, c}, a, {b, c}} จะได้ (n(A)) = 3

   4. {x│x เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 10}

     ตอบ (A) = {1,2,3,4,5,6,7,8,9} จะได้ (n(A)) = 9 

   5. เซตของจำนวนเต็มระหว่าง 5 กับ 9

     ตอบ (A) = {6,7,8} จะได้ (n(A)) = 3


ข้อใดต่อไปนี้ เป็นเซตจำกัดหรือ เซตอนันต์

    1. เซตของจำนวนคี่ที่มี 7 เป็นหลักสิบ

    2. {1, 2, 3, …, 50}

    3. {x|x เป็นจำนวนเต็มลบ}

    ตอบ ข้อ 1 กับข้อ 3


การเท่ากันของเซต

จากนิยาม เซต A เท่ากับ เซต B ก็ต่อเมื่อ เซตทั้งสองมีสมาชิกเหมือนกัน ซึ่งเซตจะเท่ากันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกภายในเซตเหมือนกัน เช่น A = {2, 3}, B = {3, 2} ดังนั้น A = B เป็นต้น



สับเซตและเพาเวอร์เซต

สับ เซต คือ เซตย่อยที่มาจากเซตที่ใหญ่กว่าอีกครั้งหนึ่ง เช่น A เป็นสับเซตของ B แสดงว่า B ใหญ่กว่าหรือเท่ากับ A เนื่องจาก A ย่อยมาจากเซต B แสดงว่าสมาชิกทุกตัวของ A จะต้องอยู่ในเซตของ B ด้วย ซึ่งสัญลักษณ์ในการเขียนสับเซตคือ ⊂ สามารถเขียนได้ดังนี้ A ⊂ B เช่น

 A = {1, 2, 3, 4}

 B = {1, 2, 3, 4, 5, 6,…100}

 A ⊂ B  เพราะสมาชิกทุกตัวในเซต A เป็นสมาชิกในเซต B

ไม่เป็นสับเซต คือ สมาชิก X ไม่เป็นสมาชิกของ Y โดยที่สมาชิกของ X ทุกตัวต้องไม่เป็นสมาชิกของ Y สามารถเขียนได้ดังนี้ X ⊄ Y เช่น 

  X = {5, 6, 7, 8}

  Y = {a, b, c, d,}

  X ⊄ Y เพราะสมาชิกทุกตัวในเซต X ไม่เป็นสมาชิกในเซต Y


ข้อควรจำ

  • เซตทุกเซต ย่อมเป็นสับเซตของตัวมันเอง 
  • เซตว่าง Ø เป็นสับเซตของเซตทุกเซต 
  • สับเซตแท้ คือ สับเซตที่ไม่ใช่เซตของตัวมันเอง


เพาเวอร์เซต

หาก A เป็นเซต เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของ A ซึ่ง พาวเวอร์เซต A เขียนแทนด้วย P(A) เช่น A = {1, 2} 

ดังนั้น สับเซตทั้งหมดของ A ได้แก่ Ø , {1}, {2} และ {1, 2}

P(A) เพาเวอร์เซต A = { Ø , {1}, {2}, {1, 2} จำนวนสมาชิกของ P(A) = 4 

สูตรหาจำนวนสมาชิกของ P A( ) หรือ จำนวนของเซตที่เป็นสับเซตของ A

คือจำนวนสมาชิกของ P(A )= 2n (A ) เมื่อ n (A ) เป็นจำนวนสมาชิกของ A



การดำเนินการของเซต (Operations)

คือการนำเซตต่าง ๆ มากระทำกันเพื่อเกิดเป็นเซตใหม่ โดยมีด้วยกัน 4 วิธี ได้แก่

  1. ยูเนียน ของ A และ B คือ เซตที่ประกอบไปด้วยจำนวนสมาชิกของ A หรือจำนวนสมาชิกของ B เข้าไว้ด้วยกัน เขียนแทนด้วย A U B 
  2. อินเตอร์เซกชัน ของ A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกของ A ที่เหมือนกันกับจำนวนสมาชิกของ B เขียนแทนด้วย A ∩ B
  3. ผลต่าง คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของ A ที่ไม่ใช่สมาชิกของ B เขียนแทนด้วย A – B
  4. คอมพลีเมนต์ ของ A เขียนแทนด้วย A' คือสับเซตของ U ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่ไม่อยู่ ใน A


ข้อสังเกตของเพาเวอร์เซต

  1. P(Ø) = { Ø }
  2. P(A) ≠ Ø
  3. เซตว่าง Ø ⊂ P(A)
  4. A ⊂ P(A)
  5. เซต A มีสมาชิก n ตัว P(A) จะมีสมาชิก = 2n
  6. n(P(A) ∩ P(B ))= 2n(A ∩ B )
  7. A B ก็ต่อเมื่อ P(A) ⊂ P(B)
  8. P(A) ∩ P(B) = P(A∩B)
  9. P(A) U (B) P(A U B)


คุณสมบัติของโอเปอเรชัน

  1. กระทำตัวเอง A U A , A ∩ A
  2. การสลับที่ A U B = B U A A ∩ B = B ∩ A
  3. การเปลี่ยนกลุ่ม (A U B) U C = A U (B U C) (A ∩ B) ∩ C = A ∩ (B ∩ C)
  4. การแจกแจง A U (B ∩ C) = (A U B) ∩ (A U C) หรือ A ∩ (B U C) = (A ∩ B) U (A ∩ C)
  5. A ∩ (A U B) = A
  6. A U (A ∩ B) = A
  7. A ∩ (A’ U B) = A ∩ B
  8. A U (A’ ∩ B) = A U B 
  9. (A U B) ∩ (A U B’) = A
  10. (A ∩ B) U (A ∩ B’) = A


การหาจำนวนสมาชิกของเซต

การหาจำนวนสมาชิกของเซต สามารถหาได้ 2 วิธีได้แก่

  1. การวาดรูปหรือการเขียนแผนภาพ โดยส่วนใหญ่จะใช้เมื่อมีจำนวนของเซตในปริมาณน้อยและไม่ซับซ้อน 
  2. การใช้สูตร ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็ว แต่อาจใช้ได้กับข้อสอบบางข้อเท่านั้น


สูตรการหาจำนวนสมาชิก

โดย n แทนจำนวนสมาชิกใน เซต คือ

  • n(A U B) = n (A) + n(B) - n(A ∩ B)
  • n (A U B U C) = n (A)+ n(B)+ n(C)- n(A ∩ B)- n (A ∩ C)- n(B ∩ C) + n (A ∩ B ∩ C)


จากที่อธิบายมาข้างต้น ก็ได้ทราบกันแล้วว่า เซต คือ อะไร สำหรับนักเรียนคนใดสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเซตและหัวข้ออื่น ๆ เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ หรือการแก้ไขโจทย์และสมการต่าง ๆ สามารถหาดูได้ผ่านทางเว็บไซต์วิชาการหรือเว็บรวมข้อสอบเก่าในการสอบ O-Net ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ เพื่อที่จะได้ฝึกฝนการทำโจทย์และจะได้เข้าใจเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง