ปัจจัย ใน ข้อ ใด ไม่ใช่ สาเหตุ ที่ทำให้เกิด ภัยแล้ง เพิ่มขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ

แม้ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะไม่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดขึ้นจากฝีมือของมนุษย์ ดังที่สะท้อนจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของเขา เช่น การประกาศขู่ถอนตัวจากข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว รวมถึงความพยายามผลักดันอุตสาหกรรมถ่านหินและพลังงานฟอสซิลให้กลับมาเฟื่องฟู

แม้ภายหลังดูเหมือนว่าสหรัฐจะมีท่าทีที่อ่อนลง อาจเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่สหรัฐต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายกว่านับแสนล้านดอลลาร์ ทำให้ทรัมป์ที่ไม่เคยเชื่อเรื่องโลกร้อนมีท่าทีเปลี่ยนไปอย่างที่ให้สัมภาษณ์กับ the New York Times ในช่วงเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา และยอมรับว่ากิจกรรมของมนุษย์มีความเกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

รายงานขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) และศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Centers for Environmental Information: NCEI) เปิดเผยตัวเลขความเสียหายจาก 16 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตลอดปี 2017 ได้แก่ ภัยแล้ง 1 เหตุการณ์ น้ำท่วม 2 เหตุการณ์ อากาศเย็นจัด 1 เหตุการณ์ พายุ 8 เหตุการณ์ พายุหมุนเขตร้อน 3 เหตุการณ์ และไฟป่าครั้งใหญ่ 1 เหตุการณ์

มูลค่าความเสียหายทุกเหตุการณ์สูงถึง 3.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ  ประกอบด้วย ค่าประกันภัยต่างๆ มูลค่าความเสียหายของอาคาร บ้านเรือน และระบบโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละรัฐ รวมถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจและผลผลิตทางการเกษตร จำนวนผู้เสียชีวิต 362 คน ไม่รวมตัวเลขผู้บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก

ต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะปรากฏการณ์โลกร้อนเสียทั้งหมด ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากให้ความเห็นคล้ายกันว่า ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เร่งให้ภัยพิบัติต่างๆ รุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ เช่น วัฒนธรรมเมือง (urbanization) ที่แผ่ขยายทับพื้นที่ป่าและชนบทอย่างต่อเนื่อง

ภัยพิบัติที่รุนแรงและสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ยิ่งทำให้กลุ่มธุรกิจต้องหันกลับมาทบทวนต้นตอของปัญหา เพราะเดิมพันคือเงินและกระบวนการทางธุรกิจที่พวกเขาต้องจ่ายทดแทน ซึ่งตรงกับการศึกษาของ ไมเคิล แมน (Michael Mann) ศาสตราจารย์วิชาบรรยากาศศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตท (Penn State Earth System Science Center) ค้นพบว่า การเพิกเฉยต่อประเด็นโลกร้อนมีราคาแพงกว่าการเตรียมนโยบายรับมือ

“เพราะต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศอย่างรุนแรงได้ไปขัดขวางห่วงโซ่อาหารและสร้างหายนะให้กับตลาด” ศาสตราจารย์แมน กล่าว

และนี่คือการประมวลเหตุการณ์สำคัญ 12 ภัยพิบัติ จากทั้งหมด 16 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในสหรัฐเมื่อปี 2017

อุทกภัยในแคลิฟอร์เนีย

เวลาเกิดเหตุ: 8-22 กุมภาพันธ์ 2017
ความเสียหาย: 1,500 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 5 ราย

อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของรัฐแคลิฟอร์เนีย เกิดจากพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกก่อให้เกิดน้ำท่วมหนัก ดินโคลนถล่ม หลุบยุบ ต้นไม้ล้มกีดขวางทางจราจร ทำให้ทั้งเมืองไม่มีไฟฟ้าใช้กว่า 10 วัน พายุลูกนี้ยังทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อน Oroville เอ่อล้นจนรัฐต้องประกาศให้ประชาชนกว่า 188,000 ครัวเรือน อพยพออกจากพื้นที่ รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ Coyote Creek อีก 14,00 ครัวเรือน ต้องอพยพพื้นที่เช่นกัน

อุทกภัยในรัฐมิสซูรีและรัฐอาร์คันซอ

เวลาเกิดเหตุ: 25 เมษายน – 7 พฤษภาคม 2017
ความเสียหาย: 1,700 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 20 ราย

ฝนที่ตกหนักเป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ ในรัฐมิสซูรีและรัฐอาร์คันซอ กลายเป็นมูลเหตุให้เขื่อนกั้นแม่น้ำ Black River ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโพคาฮอนทัสและมีอาณาเขตใกล้กับรัฐอาคาร์ซอกับมิสซูรีเกิดรอยร้าวและแตกในที่สุด ส่งผลให้ทั้งสองรัฐกลายเป็นเมืองบาดาลในชั่วพริบตา แทบทุกภาคส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัยทั่วหน้า ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และระบบโครงสร้างพื้นฐาน

พายุทอร์นาโด 70 ลูก บริเวณตอนใต้และกลางของสหรัฐ

เวลาเกิดเหตุ: 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2017
ความเสียหาย: 1,800 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 6 ราย

เพียง 48 ชั่วโมงที่พายุทอร์นาโดเข้าพัดถล่มรัฐบริเวณทางใต้และกลางของสหรัฐ เช่น อาร์คันซัส จอร์เจีย อิลินอยส์ อินเดียนา ไอโอวา เคนทักกี้ มิชิแกน มิสซูรี โอไฮโอและเทนเนสซี กรมอุตุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศรายงานความรุนแรงเตือนประชาชนถึง 1,000 ฉบับ ทำลายทุกสถิติการรายงานตลอด 6 ปีที่ผ่านมา นับเป็นพายุทอร์นาโดครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในปี 2017 ห่างจากครั้งแรกเพียงไม่กี่สัปดาห์และมีจำนวนทอร์นาโดมากถึง 70 ลูก

พายุทอร์นาโดกว่า 60 ลูก ถล่มมิดเวสต์

เวลาเกิดเหตุ: 6-8 มีนาคม 2017
ความเสียหาย: 2,200 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 2 ราย

ประชาชนจาก 11 รัฐในมิดเวสต์ ได้แก่ อาร์คาซัส ไอโอวา อิลลินอยส์ แคนซัส มิชิแกน มินนิโซตา มิสซูรี เนแบรสกา นิวยอร์ก โอไฮโอ และวิสคอนซิน ต่างต้องเผชิญกับพายุทอร์นาโดกันถ้วนหน้า แต่สถานการณ์รุนแรงที่สุดคือรัฐอิลลินอยส์และรัฐมิสซูรี ซึ่งถูกพายุทอร์นาโดถล่มมากกว่า 60 ลูก ขณะเดียวกัน ประชาชนในมิชิแกนไม่มีไฟฟ้าใช้ ระบบสาธารณูปโภคและระบบคมนาคมล้มเหลว

พายุลูกเห็บในรัฐมินิโซตา

เวลาเกิดเหตุ: 9-11 มิถุนายน 2017
ความเสียหาย: 2,400 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

พายุลูกเห็บและลมมรสุมพัดโหมกระหน่ำสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่รัฐมินิโซตาและรัฐวิสคอนซิน โดยเฉพาะที่มินนีแอโพลิส เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐมินนิโซตา ความรุนแรงของพายุลูกเห็บในครั้งนี้ นอกจากจะทำลายบ้านเรือนเสียหาย กิ่งไม้หักพังตลอดถนนแล้ว ระบบไฟฟ้ายังขัดข้องจนใช้การไม่ได้ นับว่าสร้างความเสียหายมากกว่าเหตุการณ์พายุลูกเห็บถล่มเมื่อวันที่ 15 เมษายน 1998

ภัยแล้งเกือบ 1 ปี ที่นอร์ท ดาโกต้า, เซาท์ ดาโกตา และมอนทานา

เวลาเกิดเหตุ: มีนาคม-ธันวาคม 2017
ความเสียหาย: 2,500 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

ภัยแล้งครั้งนี้ที่ถือเป็นภัยแล้งครั้งแรกที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมาของนอร์ท ดาโกตา, เซาท์ ดาโกตา และมอนทานา กินเวลายาวนานเกือบ 1 ปี ส่งผลให้หลายๆ เมืองในรัฐเหล่านั้นถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับภาคเกษตรกรรมและต่อเนื่องมาถึงปศุสัตว์ เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์จำนวนมากต้องขายกิจการทิ้ง เพราะไม่สามารถหาอาหารมาเลี้ยงสัตว์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น อุณหภูมิที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่องประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง ยังเป็นมูลเหตุให้เกิดไฟป่าตามมา

พายุลูกเห็บและลมมรสุมบริเวณตอนใต้ของสหรัฐ

เวลาเกิดเหตุ: 6-28 มีนาคม 2017
ความเสียหาย: 2,700 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

พายุลูกเห็บ ลมมรสุมและพายุทอร์นาโดเกิดขึ้นอย่างๆ พร้อมกัน สร้างความเสียหายให้กับระบบไฟฟ้า ประปา และคมนาคมในเมืองดัลลัส เมืองทางตอนเหนือของรัฐเท็กซัส โดยผลกระทบดังกล่าวยังส่งต่อไปอีกหลายๆ รัฐใกล้เคียง เช่น โอกลาโฮมา เทนเนสซี เคนทักกี มิสซิสซิปปี และอลาบามา

พายุลูกเห็บในรัฐโคโลราโด

เวลาเกิดเหตุ: 8-11 พฤษภาคม 2017
ความเสียหาย: 3,400 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต:

ความรุนแรงในครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับหลายๆ รัฐ ได้แก่ โคโลราโด โอคลาโฮมา เท็กซัส นิวเม็กซิโก และมอนทานา แต่ที่เสียหายที่สุดคือเดนเวอร์ เมืองใหญ่ของรัฐโคโลราโด ซึ่งโดนลูกเห็บขนาดเท่าลูกเบสบอลโจมตีอย่างหนัก สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะมีประชาชนมายื่นเคลมประกันรถยนต์มากกว่า 15,000 คัน และประกันภัยบ้านอีกไม่น้อยกว่า 50,000 หลัง

ไฟป่าโธมัสที่รัฐแคลิฟอร์เนีย

เวลาเกิดเหตุ: มิถุนายน-ธันวาคม 2017
ความเสียหาย: 18,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 54 ราย

ขณะที่รัฐทางใต้กำลังจมน้ำเพราะพายุฝนและทอร์นาโด หลายเมืองใกล้กับรัฐแคลิฟอร์เนียต่างถูกไฟป่าที่ชื่อ “โธมัส” เผาผลาญพื้นที่กว่า 9.8 ล้านเอเคอร์ (39,659 กิโลเมตร) โดยเฉพาะในรัฐมอนทานา ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่ากินพื้นที่ไปถึง 1 ล้านเอเคอร์

ช่วงเวลาตลอด 6 เดือน ไฟป่าโธมัสได้กลืนกินสิ่งปลูกสร้างและบ้านเรือนไปกว่า 15,000 หลัง ทำลายสิ่งมีชีวิตไปเป็นจำนวนมากและรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้ไฟป่ารุนแรงอย่างต่อเนื่องและยากต่อการควบคุม มาจากภัยแล้งของแต่ละรัฐ อย่างไรก็ตาม หายนะครั้งนี้นำไปสู่ความท้าทายในการฟื้นฟูระบบนิเวศต่างๆ ต่อไปในอนาคต

เฮอริเคนเออร์มา

เวลาเกิดเหตุ: 6-12 กันยายน 2017
ความเสียหาย: 50,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 97 ราย

เฮอริเคนเออร์มานับเป็นภัยพิบัติที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดแห่งปี 2017  สิ่งปลูกสร้างในหมู่เกาะฟลอริดาเสียหายมากกว่า 25% ในขณะที่อีก 65% พังทลายไม่มีชิ้นดี โดยเฮอริเคนเออร์มาได้โหมกระหน่ำใส่หมู่เกาะทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวอร์จินและหมู่เกาะอื่นๆ รอบทะเลแคริบเบียน ก่อนจะขยับความรุนแรงขึ้นเป็นระดับ 5 เมื่อถึงเกาะเซนต์จอห์นและเซนต์โธมัส โดยสาเหตุที่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเกิดจากอุณหภูมิท้องทะเลที่สูงขึ้น

ด้าน NOAA ชี้ว่าพายุเออร์มารักษาความเร็วลมไว้ได้อย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเวลา 37 ชั่วโมง และเป็นหนึ่งในบรรดาเฮอริเคนที่รักษาความรุนแรงไว้ที่ระดับ 5 ซึ่งถือเป็นความรุนแรงระดับสูงสุด ได้นานที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ รองจากเฮอริเคนไอแวนที่มีความรุนแรงระดับ 5 เมื่อปี 2004

 

เฮอริเคนมาเรีย

เวลาเกิดเหตุ: 19-21 กันยายน 2017
ความเสียหาย: 90,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 65 ราย

เฮอริเคนมาเรียความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 4 ความเร็วลม 282 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของเปอร์โตริโกไปถึงเกาะเซนต์ครอยหนึ่งในหมู่เกาะเวอร์จิน ทำลายทุกอย่างไม่เหลือซาก ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่ง ระบบสื่อสาร โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ไฟฟ้า และพื้นที่เกษตรกรรมในเปอร์โตริโกเกือบทั้งหมด โดยมีน้ำท่วมสูงถึง 37 นิ้ว ดินโคลนถล่ม ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความมืดเป็นเวลาหลายวัน

เฮอริเคนฮาร์วีย์

เวลาเกิดเหตุ: 25-31 สิงหาคม 2017
ความเสียหาย: 125,000 ล้านดอลลาร์
ผู้เสียชีวิต: 89 ราย

จากรายงานของ NOAAA เฮอริเคนฮาร์วีย์ถูกจัดระดับความรุนแรงที่ระดับ 4 ด้วยความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุฝนที่ตกกระหน่ำกว่า 7 วัน 7 คืน ส่งผลให้ประชาชนกว่า 6.9 ล้านคน ต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางภาวะน้ำท่วมสูงถึง 30 นิ้ว ประชาชนอีก 1.2 ล้านคน อาศัยอยู่กับน้ำท่วมสูง 45 นิ้ว และอีก 11,000 คน อาศัยอยู่กับน้ำท่วมสูงกว่า 50 นิ้ว

มหาอุทกภัยครั้งนี้ทิ้งให้ประชาชนกว่า 30,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างกว่า 200,000 หลัง ถูกทำลายจนใช้การไม่ได้ นับเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดของสหรัฐอเมริกา

ที่มา:
//www.scientificamerican.com/article/the-16-ldquo-billion-dollar-disasters-rdquo-that-happened-in-2017/
//www.treehugger.com/climate-change/top-16-extreme-weather-disasters-2017.html
//www.ncdc.noaa.gov/billions/events/US/1980-2017

ต่างประเทศ น้ำท่วม พายุ อเมริกา โลกร้อน ไฟป่า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง