ข้อ ใด ไม่ใช่ วัตถุประสงค์ ในการก่อตั้ง สหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์ไทย – สหภาพยุโรป

ไทยกับสหภาพยุโรป (European Union – EU)  มีความสัมพันธ์ทางการทูตมายาวนานกว่า 40 ปี โดยได้มีการจัดตั้งคณะผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรปที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2521 ซึ่งถือเป็นคณะผู้แทนแห่งแรกของประชาคมยุโรปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย”  ในส่วนของไทย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ มีฐานะเป็นคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรปด้วย

ด้านการเมือง

ไทยกับอียูมีกลไกดำเนินความสัมพันธ์ทวิภาคี ได้แก่ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-อียูมาตั้งแต่ปี 2535-ปัจจุบัน มีการประชุมมาแล้ว 14 ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 ณ กรุงบรัสเซลส์ ขณะนี้ไทยกับ EU อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อลงนามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement – PCA) โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถลงนามได้ภายในปี 2564 ทั้งนี้ ความตกลง PCA จะช่วยสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายให้ใกล้ชิดและมีผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นในทุกมิติของความสัมพันธ์

ด้านเศรษฐกิจ

ไทยกับ EU กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement – FTA) โดยอียูเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย ในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอียูมีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.21 ของการค้าต่างประเทศของไทยทั้งหมดซึ่งมีมูลค่า 15 ล้านล้านบาท โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า EU

ประเทศสมาชิก EU ที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยไป EU ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  รถยนต์และอุปกรณ์  อัญมณีและเครื่องประดับ  เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ  ผลิตภัณฑ์ยาง  แผงวงจรไฟฟ้า  ไก่แปรรูป  รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ  เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรกจาก EU ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  เคมีภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม  ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์  เครื่องบินและอุปกรณ์การบิน  เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์  แผงวงจรไฟฟ้า  เครื่องเพชรพลอย อัญมณี

ด้านการลงทุน

EU อยู่ในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ 5 อันดับแรกของไทย (ร่วมกับญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และอาเซียน) โดยประเทศสมาชิก EU ที่มีมูลค่าการลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน และฝรั่งเศส

ความร่วมมือด้านมาตรฐานระหว่างไทย – สหภาพยุโรป

ไทยกับ EU มีกรอบความร่วมมือในการยกระดับมาตรฐานด้านต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ มาตรฐานด้านการประมง แรงงาน การบินพลเรือน ผลิตภัณฑ์ไม้ ทรัพย์สินทางปัญญา ด้านภาษี เกษตรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการยกระดับมาตรฐานเหล่านี้ ถือเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนในระยะยาวให้กับประเทศไทย ผ่านโครงการความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลกับอียู ที่ผ่านมามีการประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่

  • Thailand-EU FLEGT VPA ครั้งที่ 3 (Forest Law Enforcement, Governance and Trade Voluntary Partnership Agreement) เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 (ผ่านระบบทางไกล)
  • EU-Thailand Labour Dialogue ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563
  • Joint Taskforce between Government of Thailand and DG MARE in combating against IUU Fishing ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9-10 ธันวาคม 2562
  • Thai-EU Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562
  • Joint Taskforce between Government of Thailand and DG MARE in combating against IUU Fishing ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2562
  • Thai-EU Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561
  • Thailand-EU FLEGT VPA ครั้งที่ 2 (Forest Law Enforcement, Governance and Trade Voluntary Partnership Agreement) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561
  • EU-Thailand Labour Dialogue ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2561
  • Thai-EU Senior Officials’ Meeting (SOM) ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560
  • Thailand-EU FLEGT VPA ครั้งที่ 1 (Forest Law Enforcement, Governance and Trade Voluntary Partnership Agreement) เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2560

ความร่วมมือด้านวิชาการและการพัฒนา

EU มีโครงการสนับสนุนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาวิจัยของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐและเอกชนในหลายระดับ ได้แก่ ระดับทวิภาคี ระดับอาเซียน ระดับภูมิภาคเอเชีย (โครงการ SWITCH-Asia) และระดับโลก (ทุน Erasmus Mundus และ Erasmus+ และทุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม (Horizon 2020))

ความร่วมมือกับอาเซียน

EU มองอาเซียนว่าเป็นหุ้นส่วนโดยธรรมชาติ (natural partner) และประสงค์จะมีความร่วมมือ
ในทุกมิติ และมีความประสงค์ที่จะผลักดันและยกระดับความสัมพันธ์กับอาเซียนจาก “หุ้นส่วนที่เพิ่มพูน” (Enhanced Partnership) ในปัจจุบันไปสู่ความเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์” (Strategic Partnership) ต่อไปในอนาคต โดยประเด็นที่ EU ให้ความสนใจ เช่น ความมั่นคงทางทะเล การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ เป็นต้น

สถานะ ณ วันที่ 16 กันยายน 2563

สหภาพยุโรป (EU) 

สหภาพยุโรป (อียู)  (European Unions: EU)

ที่ตั้งสำนักงานอียู

ตั้งอยู่ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

ภูมิหลัง

สหภาพยุโรปประกอบไปด้วยรัฐอิสระ 28 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐสมาชิก: ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันมีประเทศสมัครเข้าเป็นสมาชิก 2 ประเทศ คือ มาซิโดเนียและตุรกี ส่วนประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตกเช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกรและเซอร์เบีย ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ โคโซโวเองก็ได้สถานะนี้เช่นเดียวกัน

2000 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญานีซ (Treaty of Nice) และประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 เน้น "เสาหลัก" 3 ประการ (the three pillars of the European Union) คือ

1. เสาหลักที่หนึ่ง การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ (Economic Integration) ยุโรปตลาดเดียว (Single Market) ให้มีการเคลื่อนที่ปัจจัย 4 ประการ โดยเสรี (free movement) คือ (1) บุคคล (2) สินค้า (3) การบริการ (4) ทุน การมีนโยบายร่วม (Community or Common Policies) ในด้านการค้า การเกษตร (CAP) พลังงาน สิ่งแวดล้อม ประมง และด้านสังคม เป็นต้น

2. เสาหลักที่สอง นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศ และความมั่นคง (CFSP) และนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (Common Security and Defense Policy)

3. เสาหลักที่สาม ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน (มหาดไทย) รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด การจัดตั้งกองตำรวจร่วม (Europol) และการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน ฯลฯ

ในภาพรวม สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทาง การเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก ในด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็น“Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด

พื้นที่  4.325 ล้าน ตารางกิโลเมตร (8.4 เท่าของไทย)

ประชากร 513,949,445 คน (พ.ศ. 2558)

ภาษา ภาษาทางการ 24 ภาษา

สกุลเงิน  ยูโร (เขตยูโร หรือ Eurozone คือ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร 

ที่มา

//www.dnp.go.th/pkeu/EU/eu.htm

//www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ee.html

//europa.eu/about-eu/basic-information/eu-presidents/index_en.htm

กลไกการทำงานของอียู

มีคณะกรรมาธิการอียู เป็นผู้รับผิดชอบงานประจำส่วนใหญ่ของสหภาพยุโรป ร่างข้อเสนอกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อให้สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ ยังคอยควบคุมให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งการใช้งบประมาณของสหภาพยุโรป และคอยสอดส่อง ให้มีการปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฎหมายของสหภาพยุโรป ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะทำงานอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก โดยมีสำนักงานอยู่ที่ คณะกรรมาธิการยุโรปประกอบด้วยประธานและกรรมาธิการยุโรป รวม 25 คน โดยประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก และได้รับการอนุมัติเห็นชอบโดยสภายุโรป ส่วนกรรมาธิการยุโรปคนอื่น ๆ ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลประเทศสมาชิกหลังจากที่ได้มีการหารือกับผู้ที่จะมาเป็นประธาน ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภายุโรปเช่นกัน คณะกรรมาธิการยุโรป มีวาระการทำงาน 5 ปี แต่สามารถถูกถอดถอนได้โดยสภายุโรปความสัมพันธ์ไทย-ยุโรป

บทบาทของไทย

ไทยกับสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ดี ไทยมองว่าสหภาพยุโรปเป็นหนึ่งใน player ที่สำคัญมากในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีบทบาทในการสร้างกระแสและทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระดับโลก เป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในการซื้อสูงที่สุดของโลกตลาดหนึ่ง มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง สหภาพยุโรปย้ำเสมอว่า ไทยคือหุ้นส่วนที่สำคัญของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมิติการเมืองและความมั่นคง โดยไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงสหภาพยุโรปกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ และในกรอบ ARF (ASEAN Regional Forum)

สหภาพยุโรปมองว่า ไทยคือหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมิติการเมืองและความมั่นคงซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงสหภาพยุโรปกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ และในกรอบ ARF (ASEAN Regional Forum)

ไทยเห็นว่า สหภาพยุโรปเป็นภูมิภาคที่สำคัญและมีบทบาทอย่างมากในประชาคมโลก โดยเฉพาะบทบาทในแง่มุมของการพัฒนาระบบการเมืองระหว่างประเทศไปสู่ระบบหลายขั้ว (multipolar world) ไทยและสหภาพยุโรปได้มีความร่วมมือด้านความมั่นคงในหลายๆ มิติ เช่น การต่อต้าน การก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การลักลอบค้ามนุษย์

ที่ผ่านมา ไทยได้พยายามปรับบทบาทและกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องและเสริมสร้างความใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป โดยมีเป้าหมาย ดังนี้

1. การเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชีย

2. การเป็นศูนย์กลางของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชียในด้านที่สำคัญ เช่น การผลิต ทางอุตสาหกรรม การค้า สาธารณสุข เทคโนโลยีชีวภาพ SMEs การวิจัยและ การพัฒนา และการลงทุนของสหภาพยุโรป

3. การลดปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจและการค้าของไทยในตลาดสหภาพยุโรปและขยายส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าส่งออกของไทยในสหภาพยุโรป

4. การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาสังคม รวมทั้งสื่อมวลชน วงการวิชาการ และความร่วมมือระดับท้องถิ่นกับ ท้องถิ่น

5. ความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการพัฒนาและปฏิรูปเวทีและองค์การระหว่าง ประเทศ รวมทั้งการมีท่าทีร่วมในประเด็นระหว่างประเทศ

6. การมีภาพลักษณ์ที่ดีของไทย และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย

ที่มา thaieurope.net

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ไทย-ประชาคมยุโรป (Thailand-EC Senior Official Meeting – Thai-EC SOM) : จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยประธานของแต่ละฝ่ายเป็นระดับปลัดกระทรวง ประกอบด้วยการประชุมคณะทำงาน (Working Group) 3 คณะ ได้แก่ คณะทำงานด้านการค้า และการลงทุน (Working Group on Trade and Investment-related Issues) คณะทำงานด้านความปลอดภัยอาหารและสิ่งแวดล้อม (Working Group on Food Safety and Environment-related Issues) และคณะทำงานด้านความร่วมมือ (Working Group on Cooperation) ทั้งนี้ การประชุม Thai-EC SOM ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 9) จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16-17 ธ.ค. 2547 การจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป (Framework Agreement on Partnership and Cooperation between the Kingdom of Thailand and the European Community) : เป็นความตกลงที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกมิติของความสัมพันธ์ อาทิ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การค้าการลงทุน การศึกษาและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน การต่อต้านยาเสพติด และการต่อต้านการฟอกเงิน เป็นต้น โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาในขั้นสุดท้าย

บทบาทของกรมประมง

-ให้ความร่วมมือในการประสานข้อมูล ความคิดเห็นด้านการประมงระดับประเทศทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ตลอดจนส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมประจำปี คณะทำงานด้านประมง และการประชุมทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสหภาพยุโรปเพื่ออะไร

สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคยุโรปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในลักษณะสถาบันแบบเหนือรัฐ (Supranational Institution) ที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพเป็นการถาวรระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งทาง ...

สหภาพยุโรปจัดตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร * 1 คะแนน

สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันของประเทศในทวีปยุโรป เพื่อสร้างเสถียรภาพทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาค แนวคิดการสร้างให้เกิดสันติภาพในยุโรปเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกและสงครามระหว่างประเทศในภูมิภาค ในช่วงแรกเป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาให้เกิดตลาดเดียว (Single Market) ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy ...

สหภาพยุโรป มีความสําคัญอย่างไร

เป็นการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในโลก (supranational cooperation) และมีบทบาทสำคัญต่อทิศทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระดับโลก ในด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปมี GDP สูง ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และผู้ลงทุนในต่างประเทศที่สำคัญ รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด

สหภาพยุโรป ตั้งอยู่ที่ไหน

การประชุมสุดยอดของประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล ประธานคณะมนตรียุโรปและประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ให้แรงผลักดันการเมืองที่จำเป็นต่อการพัฒนาสหภาพและตั้งวัตถุประสงค์และลำดับความสำคัญทั่วไป ไม่ออกกฎหมาย ตั้งอยู่ในกรุงบรัสเซลส์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง